ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด โรคเซลิแอค ไม่เพียงแต่จะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยังส่งผลเสียต่อพัฒนาการของเด็กด้วย แต่หากคุณพ่อคุณแม่รู้เท่าทันปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็กชนิดต่าง ๆ ก็จะช่วยให้คุณรับมือกับปัญหาสุขภาพเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

เด็กท้องผูก เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร

เด็กท้องผูก มักทำให้เด็กขับถ่ายยาก เจ็บปวดเมื่อขับถ่าย มีเลือดออก หรือปวดท้องมาก ซึ่งอาการท้องผูกมักเกิดขึ้นเมื่อลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง จนทำให้อุจจาระแห้งและแข็ง ซึ่งปัญหาเด็กท้องผูกเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและสามารถป้องกันได้ การฝึกฝนให้เด็กขับถ่ายเป็นเวลา รับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย และการดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อาจช่วยบรรเทาและป้องกันปัญหาเด็กท้องผูก คำจำกัดความ เด็กท้องผูก คืออะไร เด็กท้องผูกเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กอาจรับประทานอาหารที่มีเกากใยน้อย ไม่ได้รับการฝึกในการเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา สถานที่ในการขับถ่ายแปลกออกไปจนอาจทำให้เด็กไม่กล้าขับถ่าย หรืออาจเกิดจากปัญหาอื่น ๆ เช่น รู้สึกเจ็บปวดขณะขับถ่าย มีเลือดออกขณะขับถ่าย พันธุกรรม แพ้นมวัว เมื่อสาเหตุเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือเป็นเวลานาน อาจทำให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อย ลำไส้ใหญ่ดูดน้ำกลับจากอุจจาระมากขึ้นจนทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง ส่งผลให้เด็กขับถ่ายยากและมีอาการท้องผูกได้ อาการ อาการของเด็กท้องผูก อาการของเด็กท้องผูกที่อาจพบได้บ่อย มีดังนี้ อุจจาระแข็ง และรู้สึกเจ็บปวดเมื่อขับถ่าย อุจจาระก้อนใหญ่มาก ไม่ขับถ่ายเป็นเวลาหลายวัน หรือน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ มีเลือดออกขณะขับถ่าย ปวดท้องมาก เป็นตะคริว และมีอาการคลื่นไส้ อาจมีคราบของอุจจาระเหลวที่ไหลออกมาติดในกางเกงในของเด็ก ซึ่งเป็นสัญญาณว่ามีอุจจาระอยู่มากในทวารหนัก ควรเข้าพบคุณหมอหากพบว่าเด็กท้องผูกเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ พร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น มีไข้ ไม่อยากอาหาร ท้องบวม น้ำหนักลดลง สาเหตุ สาเหตุของเด็กท้องผูก อาการท้องผูกในเด็กมักเกิดขึ้นเมื่อลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อยลง ทำให้อุจจาระตกค้างในลำไส้เป็นเวลานาน ถูกดูดน้ำกลับเข้าร่างกายจนอุจจาระแห้งและแข็งส่งผลให้เด็กท้องผูกในที่สุด ซึ่งปัญหานี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การรับประทานอาหาร […]

สำรวจ ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

ลูกท้องผูก สาเหตุ อาการ วิธีรับมือ

ลูกท้องผูก เป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวลใจ เพราะบางครั้งไม่สามารถช่วยเหลือลูกน้อยได้ โดยส่วนใหญ่เด็กที่มีอาการท้องผูกมักขับถ่ายได้น้อยหรือมีอุจจาระแข็งและแห้ง โดยขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์  และมีอาการปวดขณะขับถ่าย แต่อาจมีอาการอื่นที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตด้วยเช่นกัน คำจำกัดความลูกท้องผูก คืออะไร ลูกท้องผูก (Constipation in children) เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป เด็กที่มีอาการท้องผูกมักขับถ่ายได้น้อยหรือมีอุจจาระแข็งและแห้ง ลูกท้องผูก พบบ่อยเพียงใด ท้องผูกพบได้ทั่วไปในเด็ก โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการลูกท้องผูก เป็นอย่างไร อาการทั่วไป ได้แก่ ขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อุจจาระแข็ง แห้ง และถ่ายยาก อุจจาระมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่มาก มีอาการปวดขณะขับถ่าย ปวดท้อง มีร่องรอยอุจจาระเหลวหรือคล้ายดินเหนียว ในกางเกงชั้นในของเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า อุจจาระไหลย้อนกลับเข้าไปในทวารหนัก อุจจาระแข็งและมีรอยเลือดปน อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการท้องผูกมากกว่า 2 สัปดาห์ หรือเกิดขึ้นร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ อาการไข้ อาเจียน เลือดปนในอุจจาระ ท้องบวม น้ำหนักลด มีบาดแผลบริเวณผิวหนังโดยรอบทวารหนัก ลำไส้ยื่นออกมาจากทวารหนัก สาเหตุสาเหตุลูกท้องผูก สาเหตุที่ลูกท้องผูกที่พบได้มากที่สุด คือ การที่อุจจาระเคลื่อนที่ผ่านทางทางเดินอาหารช้ากว่าปกติ ทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง และยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่ทำให้ลูกท้องผูก ซึ่งได้แก่ การกลั้นอุจจาระ เด็กอาจไม่ยอมถ่ายอุจจาระเนื่องจากกลัวโถส้วมหรืออยากเล่นต่อ เด็กบางคนมักกลั้นอุจจาระเมื่ออยู่นอกบ้านเนื่องจากไม่สะดวกที่จะเข้าห้องน้ำสาธารณะ การขับถ่ายอุจจาระขนาดใหญ่และแข็งทำให้เด็กรู้สึกเจ็บ และยังอาจมักกลั้นอุจจาระไว้ เมื่อรู้สึกเจ็บเวลาขับถ่าย เด็กก็จะพยายามกลั้นอุจจาระไว้ เพราะไม่อยากเจ็บซ้ำอีก การฝึกการเข้าห้องน้ำ หากเด็กเพิ่งเริ่มฝึกการเข้าห้องน้ำ อาจจะยังขัดขืนและกลั้นอุจจาระไว้ หากเด็กรู้สึกว่าถูกบังคับให้เข้าห้องน้ำจะสร้างนิสัยการขับถ่ายที่ไม่ดีและจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก การเปลี่ยนแปลงอาหารที่รับประทาน หากเด็กไม่รับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยและดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ก็ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ นอกจากนี้ การที่เด็กในวัยหนึ่งเปลี่ยนจากการกินอาหารเหลวทั้งหมดมาเป็นอาหารแข็ง ก็มีส่วนทำให้เกิดอาการท้องผูกได้เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน การเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันของเด็ก เช่น การเดินทาง […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

เด็กแพ้แลคโตส สาเหตุ และวิธีการรับมือ

เด็กแพ้แลคโตส (Lactose Intolerance) คือภาวะที่ร่างกายของเด็กไม่สามารถย่อยแลคโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่อยู่ในนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัว เช่น ชีส โยเกิร์ต เนย ทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเสีย ปวดท้อง และอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ เมื่อรับประทานนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมเข้าไป หากเด็กมีอาการแพ้แลคโตส ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีการรับมือที่เหมาะสม [embed-health-tool-bmi] เด็กแพ้แลคโตส คืออะไร แพ้แลคโตส เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถย่อยแลคโตสได้ เนื่องจากร่างกายขาดเอนไซม์แลคเตส (Lactase) ที่จะย่อยแลคโตสในลำไส้เล็ก โดยแลคโตส คือ น้ำตาลที่พบในนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว ถ้าเด็กแพ้แลคโตส พวกเขาอาจมีอาการบางอย่างหลังจากดื่มนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว โดยอาการเหล่านี้ ได้แก่ ท้องอืด ท้องเสีย มีแก๊สในกระเพาะ ปวดท้อง วิงเวียนศีรษะ ร่วมด้วยอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารที่สามารถปรากฏขึ้นได้ นอกจากนี้การแพ้แลคโตสจะแตกต่างกับการแพ้นม และต่างจากการแพ้โปรตีนในนมวัวด้วย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกๆและติดตามพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอาการแพ้แลคโทสที่สามารถเกิดขึ้นได้ เด็กแพ้แลคโตส เกิดจากสาเหตุใด การแพ้แลคโตสสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยสามารถเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ การเป็นโรคหรือการติดเชื้อระบบย่อยอาหาร บาดเจ็บที่ลำไส้เล็ก คนในครอบครัวมีประวัติการแพ้แลคโตส กรณีนี้เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้ร่างกายสร้างเอนไซม์ย่อยแลคโตสน้อยลง โดยอาการจะเกิดขึ้น ในช่วงที่เป็นวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ เด็กที่คลอดก่อนกำหนด ซึ่งการแพ้แลคโตสจะเกิดขึ้นในเวลาสั้น ๆ และจะหายไปในที่สุด ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะแพ้แลคโตส การแพ้แลคโตสเป็นอาการที่พบบ่อยในชาวเอเชีย ชาวพื้นเมืองอเมริกัน ชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และชาวลาตินอเมริกา โดยคนส่วนใหญ่ที่แพ้แลคโตสจะเป็นไปตลอดชีวิต แต่สำหรับเด็กบางคนการแพ้แลคโตสเป็นอาการชั่วคราว […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

ลูกท้องผูก อาการ สาเหตุ วิธีบรรเทาอาการ

ลูกท้องผูก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็น เด็กอาจถ่ายอุจจาระไม่ออก อุจจาระมีลักษณะแข็งหรือแห้ง ทำให้เวลาถ่ายอุจจาระแต่ละทีต้องใช้เวลานาน หรือต้องพยายามเบ่งจนเหนื่อย โดยส่วนใหญ่ลูกท้องผูกเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เและเป็นปัญหาสุขภาพที่คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือได้  แต่ไม่ควรปล่อยไว้นานเกินไป หากเป็นบ่อยครั้งควรรีปปรึกษาแพทย์ อาการแบบไหนที่ถือว่า ลูกท้องผูก การขับถ่ายของเด็กแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน แต่หากการขับถ่ายอุจจาระของลูกคุณ มีลักษณะเหล่านี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่า “ลูกท้องผูก” เข้าแล้ว ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อุจจาระแข็ง แห้ง และถ่ายอุจจาระยาก อุจจาระก้อนใหญ่ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการขับถ่าย มีอาการเจ็บปวดขณะขับถ่าย มีอาการปวดท้อง อุจจาระเหลวหรือมีลักษณะคล้ายดินเหนียว อุจจาระแข็งและมีเลือดปน ทำไมเด็กถึงท้องผูก อาการท้องผูกในเด็กอาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ อั้นอุจจาระ เด็กๆ อาจไม่สนใจการขับถ่าย เนื่องจากพวกเขาอาจกลัวการเข้าห้องน้ำ หรือติดเล่นจนไม่อยากไปเข้าห้องน้ำ ทำให้เด็กบางคนอาจอั้นอุจจาระ จนเป็นเหตุให้เกิดอาการท้องผูก อาหาร เมื่อเด็กกินอาหารที่มีไฟเบอร์อย่างผักและผลไม้ไม่เพียงพอ รวมถึงดื่มน้ำน้อย ก็สามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกในเด็กได้ การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน เช่น การไปท่องเที่ยว อาจส่งผลกระทบต่อเวลาในการขับถ่ายของลูก จนทำให้ลูกท้องผูกได้ ยาบางชนิด ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด สามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ การแพ้นมวัว การแพ้นมวัวหรือการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัวมากเกินไปอาจเป็นเหตุให้เกิดอาการท้องผูก ปัญหาสุขภาพ อาการท้องผูกสามารถบ่งบอกได้ว่า เด็กๆอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร หรือมีโรคอื่น […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

ทารกท้องอืด แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ รับมือได้อย่างไรบ้าง

ทารกท้องอืด ที่มีสาเหตุจากแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ นับเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้บ่อยในเด็กแรกเกิด แต่เด็กบางคนอาจมีปัญหาในการระบายแก๊สออกมาทำให้เกิดอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวจนร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ เมื่อลูกเกิดอาการท้องอืด คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยลูกน้อยให้รู้สึกดีขึ้นได้เพียงแต่รู้วิธีรับมือทารกท้องอืดที่เหมาะสม แก๊สในกระเพาะอาหารเด็กทารกเกิดขึ้นได้อย่างไร อาการทารกท้องอืด อาจนับเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งของเด็กทารก เด็กทุกคนมักจะมีแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ เนื่องจากกินไม่หยุด และระบบการย่อยอาหารของเขายังพัฒนาไม่เต็มที่ ส่งผลให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารขึ้นมา เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถย่อยนมแม่และนมผงได้ แต่หากอาการเหล่านี้ทำให้ทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยไม่ได้หลับไม่ได้นอน คุณพ่อคุณแม่ต้องหาทางแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน วิธีช่วยแก้ปัญหาทารกท้องอืด เมื่อลูกท้องอืด จากแก๊สในกระเพาะอาหาร คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีเหล่านี้ ตรวจเช็กท่าป้อนนม และจุกนม ในช่วงที่ให้ลูกน้อยกินนมแม่หรือป้อนนมขวด ลองพยายามยกศีรษะลูกให้สูงกว่าท้อง เพราะจะช่วยให้น้ำนมไหลลงไปอยู่ตรงกระเพาะอาหารส่วนล่าง และไล่อากาศให้มาอยู่ด้านบน ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้อยเรอออกมาได้ง่ายขึ้น วางขวดนมให้ตั้งขึ้นเล็กน้อย เพื่อจะได้ลดฟองอาการในจุกนมลง ถ้าคุณพ่อคุณแม่ป้อนนมขวดให้ลูกกิน อาจลองเปลี่ยนไปใช้จุกนมแบบที่ทำให้น้ำนมไหลออกมาช้าๆ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารลงได้   ช่วยทำให้ลูกน้อยเรอออกมา  วิธีที่ง่ายที่สุดในการระบายแก๊สออกมา ก็คือ การทำให้ลูกน้อยเรอออกมาในช่วงระหว่างและหลังป้อนนม ถ้าลูกน้อยไม่ยอมเรอ อาจลูกนอนหงายซักสองสามนาที จากนั้นลองทำให้เรอใหม่อีกครั้ง ถ้าลูกน้อยเกิดอาการเคลิ้มหลับในระหว่างป้อนนม ควรพาออกไปเดินเล่นให้เรอออกมา เมื่อเด็กเรอออกมาแล้ว จะทำให้สบายตัว การเรอช่วยระบายแก๊สในกระเพาะอาหารทำให้เด็กนอนหลับได้ยาวขึ้น  ทารกท้องอืด นวดช่วยได้ การนวดเนื้อตัวให้ลูกเบา ๆ พร้อมกับจับขาหมุนวนเหมือนท่าถีบจักรยานอากาศ รวมถึงการลูบท้องลูกวนตามเข็มนาฬิกา จะช่วยแก้ปัญหาท้องอืดได้ นอกจากนี้การอาบน้ำอุ่นก็ช่วยไล่แก๊สในกระเพาะอาหาร และทำให้ลูกน้อยหลับสบายได้เช่นกัน ตรวจสอบอาหาร คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับคุณหมอ เกี่ยวกับอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้มากเป็นพิเศษ พ่อแม่บางคนให้ลูกน้อยดื่มน้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมของซอร์บิทอล (Sorbitol) ซึ่งเป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายของทารกไม่สามารถดูดซึมได้ จนทำให้ทารกท้องอืด  แน่นท้อง ดังนั้นเพื่อป้องกันอาการท้องอืดจากอาหารควรปรึกษาคุณหมอว่าควรให้ลูกกินอาหารชนิดใด และหลีกเลี่ยงอาหารชนิดใดบ้าง ระมัดระวังอาหารที่กิน ถ้าลูกกินนมแม่ อาจมีปัญหาในเรื่องการย่อยอาหารบางชนิดที่คุณแม่รับประทานเข้าไปซึ่งส่งผ่านให้ทางน้ำนม เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม คาเฟอีน […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

พรีไบโอติก สำคัญต่อลูกน้อย มากกว่าแค่ป้องกันลูกท้องผูก

พอได้ยินคำว่า “แบคทีเรีย” คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจคิดว่าเป็นเชื้อโรค ไม่ดีต่อสุขภาพของลูกน้อย และควรหลีกให้ห่าง แต่ความจริงแล้ว แบคทีเรียไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกายเสมอไป เพราะในลำไส้ของคนเราก็มีแบคทีเรียชนิดดี อาศัยอยู่มากมายหลากหลายชนิด ที่ได้ยินชื่อกันบ่อยๆ เช่น แล็กโทบาซิลลัสหากในลำไส้ของเรามีแบคทีเรียชนิดดีมากกว่าแบคทีเรียชนิดไม่ดี ก็จะช่วยให้สุขภาพของเราแข็งแรง ลดปัญหาในระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย และตัวช่วยอย่างหนึ่งในการเพิ่มและรักษาสมดุลของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ก็คือ การเพิ่มอาหารของแบคทีเรียชนิดดี อย่างพรีไบโอติก Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับเจ้า “พรีไบโอติก” นี้ให้มากขึ้น แล้วคุณจะรู้ว่าพรีไบโอติกมีดีต่อสุขภาพของเด็ก มากกว่าแค่ช่วยป้องกันลูกท้องผูก พรีไบโอติก คืออะไร พรีไบโอติก (Prebiotic) คือ ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ ที่ระบบย่อยอาหารของเราย่อยไม่ได้ จึงสามารถผ่านเข้าสู่ลำไส้ และกลายเป็นอาหารของแบคทีเรียชนิดดี และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ชนิดอื่นๆ ในลำไส้ เมื่อร่างกายได้รับพรีไบโอติกอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและเสริมสร้างการทำงานของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดี โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร และระบบขับถ่าย พรีไบโอติกสำคัญกับเด็กยังไงบ้าง ช่วยป้องกันท้องผูก ท้องเสีย พรีไบโอติก เป็นไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหารชนิดหนึ่ง เมื่อได้รับในปริมาณพอเหมาะ จะช่วยให้เด็กขับถ่ายสะดวกขึ้น จึงช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกในเด็กได้ อีกทั้งยังช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของอาการท้องเสียบางชนิดได้ เช่น อาการท้องเสียจากยาปฏิชีวนะ (antibiotic-associated diarrhea) ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับช่องท้องอื่นๆ เมื่อเด็กได้รับพรีไบโอติก นอกจากจะช่วยลดอาการท้องผูก ท้องเสียได้แล้ว ยังช่วยบรรเทาและป้องกันปัญหาในช่องท้องอื่นๆ เช่น อาการปวดท้อง แน่นท้อง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน