backup og meta

โรคโมยาโมยา ในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ ไม่สามารถประมาทได้

โรคโมยาโมยา ในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ ไม่สามารถประมาทได้

ถึงแม้ โรคโมยาโมยา จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก และยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่ก็สามารถส่งผลอันตรายร้ายแรงแก่ลูกน้อย ดังนั้น จึงควรเรียนรู้วิธีการสังเกตอาการ ควรถึงวิธีการรักษาอย่างเหมาะ เพื่อสุขภาพของลูกน้อย

[embed-health-tool-vaccination-tool]

รู้จักกับ โรคโมยาโมยา ที่คุณพ่อคุณแม่ศึกษาไว้

โรคโมยาโมยา (Moyamoya disease) ในภาษาญี่ปุ่นนั้นแปลได้ว่า กลุ่มควัน สาเหตุที่เรียกเช่นนี้ เป็นเพราะผนังหลอดเลือดแดงภายในสมองหนาขึ้นจนเกิดการอุดตัน ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนที่จำเป็นไปเลี้ยงสมองลดลง แต่ก็ยังคงมีเส้นเลือดกลุ่มอื่นๆ ที่คอยสนับสนุนโดยการลำเลียงเลือดเข้าไปช่วย จนเกิดเป็นกลุ่มก้อนบริเวณรอบๆ คล้ายกลุ่มควันลอยตัว

ส่วนใหญ่โรคโมยาโมยาพบได้มากทางด้านแถบเอเชียตะวันออก และสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับเด็ก 5-10 ขวบขึ้นไป โรคนี้จะไม่ได้แสดงอาการในทันที แต่ค่อยๆ เป็นไปอย่างช้าๆ ตามลำดับขั้นตอน ดังนี้

  • ขั้นที่ 1 หลอดเลือดแดงคาโรทิด (carotid arteries) เริ่มมีการจำกัดการลำเลียงเลือด
  • ขั้นที่ 2 หลอดเลือดมีผนังที่ขยายใหญ่ขึ้นจนเกิดการอุดตันขึ้น
  • ขั้นที่ 3 มีแรงกดจากผนังที่หนาขึ้นจนทำให้การไหลเวียนเลือดของสมองส่วนหน้าและส่วนกลางลดลง
  • ขั้นที่ 4 การอุดตันหลอดเลือดลุกลามไปยังสมองส่วนหลัง
  • ขั้นที่ 5 สมองทุกส่วนเกิดการขาดเลือดและก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยง
  • ขั้นที่ 6 เป็นการอุดตันของหลอดเลือดแดงคาโรคทิดทั้งภายในและภายนอกโดยสมบูรณ์

หากคุณพ่อคุณแม่ชะล่าใจ หรือประมาทแม้แต่เล็กน้อย อาจทำให้ลูกรักของคุณสูญเสียการทำงานของร่างกายอย่างถาวร ยากที่จะคืนสภาพกลับมาเป็นดังเดิม

 อาการที่บ่งบอกว่าลูกน้อยของคุณควรเข้าปรึกษาแพทย์

ทั้งนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับโรคโมยาโมยา ซึ่งอาจมากจากพันธุกรรมจากครอบครัวที่มีประวัติเคยเป็นโรคนี้มาก่อน หรือผู้ป่วยในกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) โรคท้าวแสนปม (Neurofibromatosis) รวมถึงภาวะโลหิตจางอีกด้วย

วิธีรักษา ลูกรักของคุณ ให้หายจากโรคโมยาโมยา

การรักษาเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยตามขั้นตอน โดยอาจเริ่มเอกซ์เรย์สมองด้วยเทคโนโลยี (CT) เพื่อเผยโครงสร้างรายละเอียดของสมองให้ง่ายต่อการเลือกวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย

  • การบายพาสสมอง ด้วยการผ่าตัดเปิดหลอดเลือดอุดตัน (Revascularization) โดยตรง เพื่อเชื่อมต่อหลอดเลือดจากนอกสมอง เข้าสู่หลอดเลือดในสมองเพิ่มฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือดชั่วคราว จากอีกเส้นสู่อีกเส้น
  • การผ่าตัดด้วยเทคนิครวมทั้งทางอ้อมและทางตรง (encephalo-duro-arterio-synangiosis ; EDAS) & (encephalo-myo-synangiosis ; EMS) โดยศัลยแพทย์จะทำการแยกกล้ามเนื้อที่มีชื่อว่า เทมโพราลิส (Temporalis) บริเวณขมับหน้าผากออก แล้วนำหลอดเลือดแดงเย็บเข้าไปในบริเวณผิวสมอง เมื่อเวลาผ่านไปเส้นเลือดใหม่จะถูกเข้าไปแทนที่ และขยายตัวนำเลือดไปหล่อเลี้ยงได้มากขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Moyamoya diseasehttps://mayfieldclinic.com/pe-moyamoya.htm Accessed January 13, 2020

Moyamoya in Children http://www.childrenshospital.org/conditions-and-treatments/conditions/m/moyamoya-disease Accessed January 13, 2020

Moyamoya disease https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/moyamoya-disease/symptoms-causes/syc-20355586 Accessed January 13, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคลูปัสทำให้สมองขาดเลือดได้อย่างไร

เทคนิคการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างเหมาะสม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา