โรคทางเดินหายใจในเด็ก

ระบบทางเดินหายใจของเรา ทั้งจมูก ลำคอ และปอด สามารถถูกเชื้อโรคโจมตีได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะในวัยเด็กที่ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงนัก ว่าแต่ โรคทางเดินหายใจในเด็ก จะมีโรคอะไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่เลย

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจในเด็ก

ยา ขยาย หลอดลม เด็ก มีอะไรบ้าง และวิธีรับมืออาการหอบหืดในเด็ก

ยา ขยาย หลอดลม เด็ก (Bronchodilators) เป็นยาที่ใช้โดยทั่วไปในผู้ที่เป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจอย่างโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ยาจะออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อรอบทางเดินหายใจและเปิดช่องให้อากาศไหลผ่านได้สะดวกขึ้น ยาขยายหลอดลมมี 2 ประเภท คือ ยาชนิดออกฤทธิ์สั้นที่ใช้รักษาอาการเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากทางเดินหายใจหดตัวหลังการสัมผัสสิ่งกระตุ้น และยาชนิดออกฤทธิ์ยาวที่ใช้ควบคุมอาการและลดความถี่การเกิดอาการใช้เป็นประจำทุกวัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ยา ขยาย หลอดลม เด็ก ใช้เพื่ออะไร ยาขยายหลอดลมเด็กเป็นยาที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อในปอดและขยายทางเดินหายใจบริเวณหลอดลม ใช้เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางเดินหายใจตีบแคบและอักเสบจนทำให้เด็กไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ เช่น โรคหอบหืด (Asthma) เป็นความผิดปกติของปอดที่เกิดจากทางเดินหายใจอักเสบ ทำให้เด็กมีอาการไอบ่อย หายใจถี่ หายใจออกมีเสียงหวีด แน่นหน้าอก เป็นต้น อาการอาจแย่ลงในเวลากลางคืน เมื่อเป็นไข้หวัด สัมผัสกับสิ่งกระตุ้นเช่นอากาศเย็น ฝุ่นควัน หรือออกกำลังกาย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease หรือ COPD) เป็นโรคในกลุ่มอาการปอดอักเสบเรื้อรังที่เกิดขึ้นเมื่อปอดได้รับความเสียหายในระยะยาว ส่งผลให้ผนังถุงลมปอดอ่อนแอ ทำให้เด็กมีอาการหายใจลำบาก ไอเรื้อรัง ปอดติดเชื้อบ่อย หายใจมีเสียงหวีด เป็นต้น แต่พบได้น้อยมากในเด็ก ยา ขยาย หลอดลม เด็กมีอะไรบ้าง ยาขยายหลอดลมเด็กเป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการตีบตันและการอักเสบของทางเดินหายใจ มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น ของเหลวที่ใส่ในเครื่องพ่นละอองยา […]

สำรวจ โรคทางเดินหายใจในเด็ก

โรคทางเดินหายใจในเด็ก

โรคครูป เกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร

โรคครูป (Croup) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่จะมาจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิด ซึ่งพบมากในเด็กเล็ก ๆ ตั้งแต่อายุ 6 เดือน-3 ปี โดยการติดเชื้อดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดอาการอักเสบที่บริเวณกล่องเสียงจนถึงหลอดลมส่วนต้น เป็นผลให้หลอดลมมีลักษณะบวมและตีบแคบ เพราะหลอดลมของเด็กเล็กมีขนาดเล็กจึงแสดงอาการได้ชัดเจน [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคครูป เกิดจากอะไร โรคครูปนั้นมักจะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะเชื้อไวรัสพาราอินฟลูเอนซา (Parainfluenza) ซึ่งสามารถติดเชื้อชนิดนี้ได้จากการหายใจหรือสัมผัสกับพื้นผิวของวัตถุที่มีเชื้อนี้เกาะอยู่ แต่บางรายก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยจะมีอาการรุนแรงมากกว่าการติดเชื้อไวรัส นอกจากนี้ โรคครูปยังเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคภูมิแพ้หรือแม้แต่หายใจเอาสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองเข้าไป ภาวะกรดไหลย้อน มักจะเริ่มจากมีอาการคล้ายโรคหวัดที่เป็นระยะเวลา 3-5 วัน เช่น มีไข้ น้ำมูกไหล คัดจมูก และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตาแดง มีผื่นขึ้น เสียงแหบ ต่อมน้ำเหลืองบวม หายใจเสียงดัง หายใจลำบาก ไอแบบมีเสียงก้องหรือคล้ายเสียงเห่า จะมีอาการไอมากขึ้นเมื่อเกิดการอักเสบและโดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน วิธีการรักษาโรคครูป เมื่อพาลูกไปพบคุณหมอก็จะได้รับการรักษาด้วยการวัดระดับออกซิเจน รวมถึงคุณหมออาจตรวจลักษณะการหายใจของเด็กว่ามีลักษณะเหนื่อยหอบหรือไม่ จากนั้นจะประเมินความรุนแรงของโรค ดังนี้ อาการไม่รุนแรง คุณหมอจะให้ยาสเตียรอยด์โดยการฉีดหรือรับประทาน หากมีอาการดีขึ้นก็สามารถกลับบ้านได้แล้วนัดติดตามอาการภายใน 24-48 ชั่วโมง อาการรุนแรงปานกลาง คุณหมอจะให้พ่นยาอะดรีนาลีนเพิ่มเติมจากยาสเตียรอยด์ จากนั้น ประเมินอาการที่โรงพยาบาล 2-4 […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

โรคโควิด 19 ส่งผลต่อสุขภาพเด็กอย่างไร และวิธีดูแลเด็กที่ควรรู้

การแพร่ระบาดของ ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ หรือที่เรียกว่า โรคโควิด 19 ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้เกี่ยวกับไวรัสโคโรนา และวิธีป้องกันการติดเชื้อ จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย เพื่อจะได้ดูแลลูกได้เป็นอย่างดี ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และหากลูกติดเชื้อโคโรนา ก็จะได้สามารถดูแลได้อย่างเหมาะสม ไวรัสโคโรนา (Coronaviruses) และโรคโควิด 19 คืออะไร เชื้อไวรัสโคโรนา (Coronaviruses) เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นไวรัสตระกูลเดียวกันที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ส (SARS: Severe Acute Respiratory Syndrome) หรือโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง และโรคเมอร์ส (MERS: Middle East Respiratory Syndrome) หรือโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง โดยพบผู้ติดเชื้อที่แรกในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประมาณปลายเดือนปี 2019 ในประเทศจีน โดยมีข้อสันนิษฐานว่าต้นตอการระบาดในครั้งนี้มาจากเนื้อสัตว์ป่าที่ขายในตลาดหัวหนาน ซึ่งปัจจุบันได้ระบาดไปยังเมืองต่างๆของประเทศจีนและไปยังต่างประเทศรวมถึงมีการแพร่ระบาดในประเทศไทยอีกด้วย โรคโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อเด็กอย่างไร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดย ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ลงนามหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 26 มกราคม 2563 เรื่อง การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

เด็กนอนกรน แบบไหนที่ไม่ปกติ

อาการนอนกรนในเด็ก หรือ เด็กนอนกรน เป็นปัญหาสุขภาพเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามพ่อแม่ เด็กนอนกรน อาจเกิดจากปัจจัยทางด้านร่างกาย เช่น กรามเล็ก วามสามารถของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ทำงานประสานกันได้ไม่ดีตอนนอนหลับ ทำให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เด็กนอนกรน เกิดจากอะไร อาการนอนกรนในเด็ก เป็นปัญหาสุขภาพเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจาก อาจเกิดจากปัจจัยทางด้านร่างกาย เช่น กรามเล็ก หรือมีทางเดินหายใจที่แคบตั้งแต่เกิด อีกอย่างหนึ่งคือ ความสามารถของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ทำงานประสานกันได้ไม่ดีตอนนอนหลับ ทำให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ แต่สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เด็กนอนกรน คือ ต่อมทอนซิล (Tonsils) มีหน้าที่หลักในการดักจับและกำจัดเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร และต่อมอดีนอยด์ขยาย (Adenoids) ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในส่วนหลังของโพรงจมูก มีโครงสร้างภายในใกล้เคียงกับต่อมทอนซิล มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค และผลิตเซลล์สร้างภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจจนเกิดเสียงกรนที่เป็นภาวะอันตราย จากการศึกษาพบว่า ปกติแล้ว 11%-12% ของเด็ก ๆ วัย 1-9 ปี มักจะมีอาการกรน โดยจะกรนอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งเสียงดังพอที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ยิน หากกรนมากกว่านี้คือเริ่มไม่ปกติแล้ว หากไม่เข้ารับการรักษาอาจทำให้เด็กถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอนกรน แบบนี้ ไม่ดีแน่ กรนเสียงดัง นอนอ้าปากกรน หรือมีอาการสำลัก ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เนื่องจากมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน