backup og meta

โรคไอกรน (Whooping cough) อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรคไอกรน (Whooping cough) อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงในจมูกและลำคอ ในกรณีส่วนใหญ่ โรคนี้สังเกตได้จากอาการไอแค็ก ๆ ตามด้วยการเกิดเสียงแหลมดังขึ้นขณะหายใจเข้า

[embed-health-tool-bmi]

คำจำกัดความ

โรคไอกรนคืออะไร

โรคไอกรน (Whooping cough) หรือ Pertussis จัดเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงในจมูกและลำคอ ในกรณีส่วนใหญ่ โรคนี้สังเกตได้จากอาการไอแค็ก ๆ ตามด้วยการเกิดเสียงแหลมดังขึ้นขณะหายใจเข้า โรคไอกรนสามารถแพร่กระจายได้ง่าย แต่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน DTaP และวัคซีน Tdap ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

โรคไอกรนพบบ่อยเพียงใด

โรคไอกรนพบในทารกและเด็กมากกว่าวัยผู้ใหญ่ แต่สามารถส่งผลต่อผู้ป่วยได้ทุกวัย สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของโรคไอกรน

ระยะเวลาแสดงอาการของโรคมักอยู่ที่ประมาณ 10 วันหลังจากได้รับเชื้อ โดยสิ่งบ่งชี้และอาการทั่วไปของไอกรนในระยะเริ่มแรกมักไม่รุนแรงและคล้ายคลึงกับอาการหวัดโดยทั่วไป เช่น

  • น้ำมูกไหล
  • คัดจมูก
  • ตาแดงและน้ำตาไหล
  • มีไข้
  • ไอ

หลังจาก 1-2 สัปดาห์ผ่านไป สิ่งบ่งชี้และอาการจะเริ่มแย่ลง โดยจะมีอาการไอรุนแรงและเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดอาการร่วมต่างๆ ดังนี้

  • อาเจียน
  • ใบหน้าเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือเขียวคล้ำ
  • อ่อนเพลียมาก
  • หายใจแล้วมีเสียงแหลมเกิดขึ้น

อาจไม่พบอาการไอในทารกที่เป็นโรคไอกรน แต่อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรืออาจหยุดหายใจชั่วคราว อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

ควรไปพบหมอหากมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้

  • อาเจียน
  • ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือเขียว
  • หายใจลำบากหรือหยุดหายใจอย่างสังเกตได้
  • หายใจเข้าแล้วมีเสียงดัง

สาเหตุ

สาเหตุของโรคไอกรน

แบคทีเรียเป็นสาเหตุของโรคไอกรน โดยเมื่อสัมผัสกับผู้ติดเชื้อหรืออยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อที่ไอหรือจาม แล้วอาจหายใจเอาละอองขนาดเล็กที่มีเชื้อที่แพร่กระจายในอากาศเข้าสู่ปอด

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคไอกรน

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ทำให้เกิดโรคไอกรน เช่น

  • วัคซีนไอกรนที่ได้รับในวัยเด็กหมดฤทธิ์ไป
  • เด็กที่เพิ่งได้รับวัคซีน ระหว่างการฉีดวัคซีน เด็กจะยังไม่มีภูมิต้านทานเต็มที่ โดยต้องรอจนกว่าจะได้รับวัคซีนอย่างน้อยสามครั้งจึงจะมีภูมิต้านทานโรค เพราะฉะนั้น ระยะเวลา 6 เดือน ระหว่างการรับฉีดวัคซีนมักมีความเสี่ยงที่เด็กจะได้รับเชื้อไอกรนได้

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคไอกรน

อาการของโรคไอกรนมักไม่แสดงให้เห็นในระยะเริ่มแรก หรืออาจมีอาการเหมือนกับโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจทั่วไป เช่น หวัด ไข้หวัด หรือโรคหลอดลมอักเสบ ซึ่งยากที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน ในบางกรณี แพทย์อาจต้องตั้งคำถามเกี่ยวกับอาการต่างๆ และฟังลักษณะเสียงไอ เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ

หากแพทย์ต้องการยืนยันการวินิจฉัย ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการทดสอบบางประการ เช่น การเพาะเชื้อและการทดสอบจมูกและลำคอ การตรวจเลือด หรือการเอ็กซเรย์หน้าอก

การเพาะเชื้อและการทดสอบจมูกและลำคอหมายถึงการป้ายหรือดูดเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อบริเวณที่จมูกและลำคอเชื่อมต่อกันเพื่อตรวจหา

ร่องรอยของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคไอกรน การตรวจเลือดต้องทำในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว นอกจากนี้

อาจมีการเอ็กซเรย์หน้าอกเพื่อตรวจหาการอักเสบหรือของเหลวในปอด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นเมื่อปอดบวมทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอื่นๆ

การรักษาโรคไอกรน

การรักษาไอกรนในระยะเริ่มแรกสามารถใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าแบคทีเรียที่ทำให้เกิดไอกรน ทั้งยังช่วยลดอาการต่างๆ และเร่งการฟื้นตัวของร่างกาย หรือหากมีการวินิจฉัยไอกรนช้าเกินไป ยาปฏิชีวนะยังคงออกฤทธิ์ได้ดี ในบางกรณี สมาชิกในครอบครัวอาจจำเป็นได้รับยาปฏิชีวนะด้วยเพื่อป้องกันการติดต่อ

หากอาการไอทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดื่มน้ำได้อย่างเพียงพอ อาจมีความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำ ซึ่งควรติดต่อแพทย์ทันที

โรคไอกรนจะมีอันตรายมากกว่าหากเกิดในทารก จึงเป็นเหตุผลที่ทารกมักจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หากทารกมีปัญหาเกี่ยวกับการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร อาจจำเป็นต้องให้น้ำเกลือ โดยแพทย์อาจให้แยกทารกออกจากผู้อื่นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ แต่หากเป็นเด็กโต อาจให้การรักษาที่บ้านก็ได้

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับไอกรน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการการดูแลรักษาตัวเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้รับมือกับโรคไอกรนได้

  • ควรพักผ่อนให้มากขึ้น
  • แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่า น้ำผลไม้ และน้ำซุปมากๆ เพื่อเพิ่มของเหลวในร่างกาย
  • การรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันการอาเจียนหากเกิดอาการไอได้
  • การฟอกอากาศเป็นสิ่งจำเป็นในการกำจัดสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการไอ เช่น ควันบุหรี่และควันไฟจากเตาไฟ
  • ควรป้องกันการแพร่เชื้อโดยการปิดปากขณะไอและล้างมืออย่างสม่ำเสมอ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Whooping cough. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/whoopingcough/-basics/definition/con-20023295. Accessed July 25, 2016.

Whooping Cough: Causes, Symptoms, and Treatment. http://www.webmd.com/children/-guide/whooping-cough-symptoms-treatment. Accessed July 25, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/11/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผื่น เด็ก สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร ควรรักษาอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด เมื่ื่อวาน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา