backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 40 ของลูกน้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 01/12/2022

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 40 ของลูกน้อย

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 40 ลูกน้อยจะเริ่มแสดงออกถึงนิสัยส่วนตัวในช่วงนี้ และจะเริ่มชอบเข้าสังคม ยิ้มกว้างให้กับคนที่พบเจอ หรืออาจจะมีอาการเขินอายมากขึ้นเล็กน้อย หลบหน้าเมื่อเจอคนแปลกหน้า นอกจากนั้น เริ่มพูดเป็นคำ ๆ ได้บ้าง เด็กบางคนอาจมีพัฒนาเร็ว จึงอาจเรียกพ่อหรือแม่ได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการเร็วช้าต่างกัน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเร่งรัดลูกจนเกินไป

    การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 40

    ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 40 ลูกน้อยจะเริ่มแสดงออกว่าต้องการความสนใจจากพ่อแม่ และอาจจะรู้จักการโบกมือบ๊ายบาย  ทั้งนี้ พัฒนาการด้านต่างๆ ในสัปดาห์ที่ 40 ของลูกน้อย ได้แก่

  • เล่นลูกบอลและกลิ้งลูกบอลกลับมาให้
  • ดื่มน้ำจากแก้วได้ด้วยตัวเอง
  • หยิบของเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ ด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ ดังนั้น พ่อแม่ควรเก็บของที่อาจเป็นอันตรายไว้ให้ห่างมือลูกน้อย
  • ยืนนิ่งๆ ได้ด้วยตัวเองสักครู่หนึ่ง
  • ยืนเองได้แล้ว
  • พูดคำว่า “พ่อ” หรือ “แม่” ได้ชัดเจน
  • พูดคำอื่น ๆ นอกเหนือจากคำว่า “แม่” หรือ “พ่อ” ได้
  • ตอบสนองต่อคำสั่ง 1 อย่าง พร้อมท่าทาง โดยคุณแม่ต้องพูดพร้อมทำท่าทา เช่น “ส่งมาให้แม่” พูดพร้อมยื่นมือออกไป
  • ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

    เรียนรู้เกมส์สำหรับเล่นกับลูกน้อยต่อไปนี้

    • จ๊ะเอ๋
    • ตบมือ
    • ร้องเพลงและเต้น
    • ตา จมูก ปาก
    • เกมส์อื่น ๆ

    สุขภาพและความปลอดภัย

    ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร

    หากมีคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ ก็ตาม ไม่ควรเก็บไว้ ควรถามคุณหมอเพื่อให้ได้รับคำตอบจากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และอาจนำคำแนะนำไปปฏิบัติเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและทักษะต่าง ๆ ให้ลูกได้อย่างเหมาะสมกับวัย รวมทั้งวิธีการดูแลสุขภาพร่างกายด้านต่าง ๆ ด้วย เช่น

    • ขอคำแนะนำเกี่ยวกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในเดือนต่อไป ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการกิน การนอน พัฒนาการ และความปลอดภัยของเด็ก
    • คำถามที่อาจต้องการถาม เช่น เมนูอาหารใหม่ ๆ ที่สามารถให้เด็กกินได้ตอนนี้ ให้กินอาหารรสเปรี้ยว ปลา เนื้อ ไข่ขาว ได้เมื่อไร  เมื่อไรควรหย่านม วิธีฝึกลูกให้ดื่มนมจากขวดทำอย่างไร

    สิ่งที่ควรรู้

    ไม่มีฟัน

    ในช่วงที่ลูกน้อยยังไม่มีฟัน ฟันยังไม่ขึ้น เด็กอายุ 9 เดือนบางส่วนอาจจะมีแต่เหงือก ถึงแม้โดยปกติฟันซี่แรกจะขึ้นเมื่อตอนอายุ 7 เดือน ฟันของเด็ก ๆ อาจจะขึ้นเร็วและช้าต่างกันออกไป ในช่วงตั้งแต่ 2-12 เดือน การมีฟันขึ้นช้านั้นโดยปกติมักจะเกิดจากพันธุกรรม และไม่มีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก ฟันซี่ที่ 2 อาจจะขึ้นในภายหลังด้วย การที่ฟันเด็กยังไม่ขึ้นนั้นไม่จำเป็นต้องไปทำอะไร โดยเฉพาะเด็กที่เริ่มกินอาหารที่ต้องเคี้ยว เพราะจริง ๆ แล้วเหงือกก็สามารถใช้เคี้ยวอาหารได้

    ไม่มีผม

    การไม่มีผมก็เหมือนกับการไม่มีฟัน ในช่วงอายุนี้ถือเป็นเรื่องปกติ และจะเริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อพวกเขาโตขึ้น ไม่ได้เป็นอย่างนี้ไปตลอด เด็กไม่มีผมหรือมีผมน้อยไม่ได้หมายความว่าลูกจะกลายเป็นคนที่มีผมน้อย หรือมีหัวล้านเมื่อเขาโตขึ้น ผมจะค่อย ๆ งอกและเติบโตอย่างช้า ๆ เมื่อลูกน้อยโตขึ้น

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

    ช่วงเวลารับประทานอาหาร

    คุณแม่คุณพ่อควรทำให้การกินอาหารเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ปล่อยให้ลูก ๆ แสดงออกว่าชอบอาหารแบบไหนและไม่ชอบแบบไหน อย่าบังคับให้กินหมด หรือให้ลองกินทุกสิ่งอย่าง ควรป้อนอาหารในขณะที่ลูกอยู่บนเก้าอี้สูงสำหรับเด็ก โดยให้อยู่ห่างจากสิ่งที่รบกวนต่างๆ เช่น โทรทัศน์หรือสัตว์เลี้ยง ควรทุ่มเทความสนใจให้ลูกน้อย และอาจลองเติมความสนุกสนานเข้าไปเล็กน้อยด้วย นอกจากนี้ ก็สามารถพูดคุยเกี่ยวกับอาหาร หรือให้ลูกลองนับว่าเหลืออยู่บนจานเท่าไหร่ วิธีนี้จะช่วยให้เขาเรียนรู้เรื่องสิ่งของ และการพัฒนาทางด้านภาษา

    ลูกน้อยสามารถกินอาหารแบบเดียวกับที่ทุกคนในครอบครัวกินได้ แต่ควรช่วยหั่นหรือบดอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อความปลอดภัย และไม่มีส่วนผสมของสิ่งที่จะทำให้เกิดอาการแพ้ หรือสร้างปัญหาอื่นให้กับลูกน้อย นอกจากนี้ ก็ควรหลีกเลี่ยงการให้อาหารที่ร้อนเกินไป เพราะอาจจะลวกปากเขาได้ เด็กอาจติดใจในรสชาติอาหารแบบไหนก็ได้ และเจ้าตัวเล็กก็อาจมีความสนใจในอาหารที่คุณพ่อคุณแม่กินก็ได้

    เมื่อตัดสินใจที่จะรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรเลือกร้านอาหารที่เสิร์ฟอาหารเด็ก ร้านอาหารหลาย ๆ ร้านมักจะเตรียมความพร้อมสำหรับครอบครัวอยู่แล้ว อย่างเช่น มีเก้าอี้สูงสำหรับเด็ก หรือแม้กระทั่งเตรียมของเล่นไว้ให้ลูกน้อยด้วย หากคิดว่าลูกน้อยไม่ชอบสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเสียงอึกทึก  ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการเลือกร้านอาหารให้เหมาะสมด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 01/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา