backup og meta

ลูกสำลักนม อันตรายใกล้ตัวที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 14/07/2023

    ลูกสำลักนม อันตรายใกล้ตัวที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

    คุณแม่มือใหม่ต้องคอยสังเกตและดูลูกน้อยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในกรณีที่ ลูกสำลักนม นับเป็นอันตรายใกล้ตัวที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากสำลักนมและได้รับการดูแลไม่ถูกวิธี อาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ คุณแม่ควรหาวิธีป้องกันและวิธีแก้ไขเพื่อไม่ให้ลูกน้อยสำลักนมบ่อยเกินไป

    เรื่องน่ารู้ สำหรับคุณแม่ให้นม

    • หลังคลอดลูก คุณแม่ควรให้นมลูกเร็วที่สุดภายใน 1 ชั่วโมง
    • ให้นมลูกบ่อยๆ หรือทุก 2-3 ชั่วโมง หลังจากคลอดลูก เพื่อกระตุ้นให้ลูกชินกับเต้านม
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เน้นอาหารบำรุงน้ำนม เช่น หัวปลี ตำลึง
    • หลังคลอดอย่าทำความสะอาดหัวนมมากจนเกินไปจะทำให้หัวนมแห้ง และไหลน้อย
    • ใช้ลูกประคบอุ่นๆ นวดเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนม
    • งดเว้นการอาบน้ำอุ่นเพราะจะทำให้หัวนมขาดความชุ่มชื้น และหัวนมแตกได้

    สาเหตุที่ทำให้ลูกสำลักนม

    สาเหตุที่ทำให้ลูกสำลักนมนั้นเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันทั้งสาเหตุจากคุณแม่เองและตัวคุณลูก  โดยสาเหตุจากคุณแม่นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การให้นมที่ผิดท่า การที่คุณแม่ดึงเต้านมออกก่อนขณะที่ลูกกำลังดูดนม หรือการที่ให้ลูกน้อยกินนมมากจนเกินความต้องการ รวมถึงน้ำนมที่ไหลเร็วจนเกินไป  ส่วนสาเหตุที่เกิดจากตัวลูกเอง เช่น ลูกน้อยมีอาจมีปัญหาเรื่องความผิดปกติภายในร่างกายอย่างปอดและหัวใจ หรืออาจมีพัฒนาการที่ช้า

    สังเกตอาการลูกสำลักนมอย่างใกล้ชิด

    • ลูกจะมีอาการไอ เหมือนขย้อนนมหรือคายออกมา
    • หากมีอาการสำลักแบบรุนแรง หน้าลูกจะเริ่มเปลี่ยนสี
    • ลูกมีอาการหายใจผิดปกติ
    • ระหว่างที่คุณแม่ให้นมลูกควรปรับการไหลของปริมาณน้ำนมโดยการกดบริเวณลานหัวนมเพื่อไม่ให้น้ำนมไหลเข้าปากลูกเร็วจนเกินไป
    • จับลูกน้อยนอนตะแคงระหว่างการให้นมเพื่อป้องกันการสำลัก
    • อย่าให้นมลูกบ่อยจนเกินไป หากลูกน้อยร้องไห้ควรสังเกตอาการให้แน่ใจว่าลูกนั้นร้องไห้เพราะหิวจริงๆ หรือเพราะสาเหตุใด

    รับมืออย่างไร เมื่อลูกสำลักนม

    หากลูกมีอาการสำลักนม ไม่ควรจับลูกอุ้มขึ้นทันทีเมื่อเกิดอาการสำลัก ควรจับลูกนอนตะแคงให้ศีรษะต่ำลง เป็นการป้องกันนมที่อยู่ในปากลูกไหลย้อนกลับไปที่ปอด

    ถึงแม้ว่าลูกสำลักนม อาจจะไม่ได้เป็นภาวะที่ร้ายแรงมากนัก แต่ย่อมดีกว่าหากคุณแม่ให้นมลูกอย่างถูกวิธี และรู้จักระมัดระวัง ดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัยของลูกรัก

     

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 14/07/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา