backup og meta

โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

เด็กแต่ละช่วงวัยมักต้องการสิ่งที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตแตกต่างกัน เช่น เด็กในช่วงวัยทารกยังคงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารจากนมแม่ แต่หากเข้าสู่ช่วงวัยเริ่มหัดเดิน เด็กอาจต้องการสารอาหารที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อกระตุ้นพัฒนาการและให้พลังงานแก่ร่างกาย โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ เพื่อช่วยให้ลูกเติบโตอย่างสมวัย

โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน มีอะไรบ้าง

เด็กวัยหัดเดินและเด็กวัยก่อนเรียนที่อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 2-6 ปี ควรได้รับโภชนาการอย่างครบถ้วน เนื่องจากเด็ก ๆ วัยนี้ต้องการพลังงานเพื่อดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน รวมถึงช่วยบำรุงสมอง ระบบประสาท เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ เพื่อพร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ

โภชนาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรจัดสรรหามาให้แก่ลูกรักของคุณ มีดังนี้

  • โปรตีน ควรเน้นโปรตีนที่มีประโยชน์ เช่น ถั่วเหลือง ปลา เนื้อไม่ติดมัน ไข่
  • ธัญพืช ถึงแม้ธัญพืชจะมีหลากหลายชนิด แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรเลือกธัญพืชเต็มเมล็ดหรือธัญพืชไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต
  • แคลเซียม ผลิตภัณฑ์จากนม อุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามินดี สามารถช่วยเสริมสร้างกระดูกของเด็กให้แข็งแรง โดยคุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กวัยหัดเดินดื่มนมอย่างน้อย 2 มื้อเป็นประจำทุกวัน
  • ผักและผลไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับโซเดียมจากขนมมากเกินไป การฝึกให้เด็กรับประทานผักและผลไม้จึงอาจเป็นทางออกที่ดี โดยอาจนำผักผลไม้มาปรุงเป็นเครื่องดื่ม เพื่อให้เด็กรับประทานง่ายขึ้น

ปริมาณอาหารที่ เด็กวัยหัดเดิน ควรได้รับต่อวัน

เพื่อป้องกันการเกิดโรคอ้วนในเด็ก และภาวะเรื้อรังด้านสุขภาพอื่น ๆ ตั้งแต่ยังเล็ก คุณพ่อคุณแม่ควรจำกัดปริมาณอาหารอาหารของเด็กให้พอดี โดยปริมาณอาหารสำหรับวัยเด็กหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียนที่เหมาะสม มีดังนี้

สำหรับเด็กผู้หญิง

  • พลังงาน 1,000-1,400 กิโลแคลอรี
  • โปรตีน 2-4 ออนซ์ (56-113 กรัม)
  • ธัญพืช 3-5 ออนซ์ (85-141 กรัม)
  • ผัก 1-1.5 ถ้วย
  • ผลไม้ 1-1.5 ถ้วย
  • แคลเซียมหรือผลิตภัณฑ์จากนม 2-2.5 ถ้วย

สำหรับเด็กผู้ชาย

  • พลังงาน 1,000-1,600 กิโลแคลอรี
  • โปรตีน 2-5 ออนซ์ (56-141 กรัม)
  • ธัญพืช 3-5 ออนซ์ (85-141 กรัม)
  • ผัก 1-2 ถ้วย
  • ผลไม้ 1-1.5 ถ้วย
  • แคลเซียมหรือผลิตภัณฑ์จากนม 2-2.5 ถ้วย

ทั้งนี้ ปริมาณของโภชนาการสำหรับเด็กที่กล่าวมาข้างต้นอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล เด็กบางคนอาจต้องการปริมาณอาหารมากกว่าที่กำหนด เนื่องจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันและการเจริญเติบโตของเด็ก ๆ แต่ละคนไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรจำกัดปริมาณอาหารประเภทไขมันทรานส์ น้ำตาล และโซเดียม เพราะหากเด็กได้รับอาหารประเภทนี้ตั้งแต่ยังเด็ก อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ได้ไวขึ้น

วิธีทำให้ลูกรักรับโภชนาการได้อย่างครบถ้วน

เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยให้ให้เด็ก ๆ ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วมในการเลือกรับประทานอาหารตัวเองชื่นชอบ หรือได้ช่วยทำอาหารของตัวเอง
  • เลือกวัตถุดิบที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ แคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม
  • ควบคุมแคลอรีให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการให้เด็กกินอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแปรรูป
  • หมั่นให้เด็กดื่มน้ำปริมาณมากเป็นประจำทุกวัน
  • ให้เด็กดื่มน้ำผลไม้สดหรือกินผลไม้กินหลังมื้ออาหารแทนการให้กินขนมกรุบกรอบ เบเกอรี่ หรือช็อกโกแลต

หากต้องการให้เด็ก ๆ รับประทานอาหารเสริมหรือวิตามินเสริม ควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอและพาเด็กไปเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อน เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงในภายหลัง

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Nutrition: Toddler. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=toddler-nutrition-90-P02291 .Accessed July 30, 2021

Nutrition Guide for Toddlers. https://kidshealth.org/en/parents/toddler-food.html .Accessed July 30, 2021

What and How Much to Feed Your Toddler. https://www.webmd.com/parenting/features/what-and-how-much-to-feed-your-toddler#1 .Accessed July 30, 2021

Toddler Food Guidelines. https://www.medicinenet.com/toddler_food_guidelines/article.htm .Accessed July 30, 2021

Nutrition for kids: Guidelines for a healthy diet. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/childrens-health/in-depth/nutrition-for-kids/art-20049335 .Accessed July 30, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/09/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิตามินและแร่ธาตุ สำหรับเด็ก มีอะไรบ้างที่จำเป็นต่อร่างกาย

คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรให้ เด็ก กินผัก


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 29/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา