backup og meta

คาโอเพคเตท (Kaopectate)

คาโอเพคเตท (Kaopectate)

คาโอเพคเตท (Kaopectate) เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการกรดไหลย้อน ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ หรืออาการที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารหรือดื่มมากเกินไป

ข้อบ่งใช้

คาโอเพคเตท ใช้สำหรับ

คาโอเพคเตท (Kaopectate) เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการกรดไหลย้อน ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ หรืออาการที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารหรือดื่มมากเกินไป ยานี้อาจจะใช้เพื่อทำลำไส้ทำงานช้าลง ยาคาโอเพคเตท อาจกำหนดไว้สำหรับการใช้งานอื่นๆ โปรดสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

วิธีใช้ ยาคาโอเพคเตท

ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรใช้ยานี้ในขนาดยาที่มาก น้อย หรือนานกว่าที่แพทย์แนะนำ ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการคายน้ำ ที่เกิดจากอาการท้องเสีย

  • ใช้ขนาดยาที่เหมาะสมกับน้ำหนักและอายุ
  • เขย่าขวดก่อนใช้ยา
  • ใช้ยาที่ฝาปิดยังไม่ชำรุด ไม่ควรใช้อุปกรณ์วัดปริมาณอื่นๆ กับยานี้
  • รับประทานยาคาโอเพคเตทพร้อมอาหารหรือไม่พร้อมอาหารก็ได้
  • ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตร้าซัยคลิน (Tetracyclines) เช่น ด็อกซีซัยคลิน (Doxycycline) ภายในระยะ 2 ชั่วโมงก่อนหรือหลังการใช้ยาคาโอเพคเตท

หยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์หาก

  • อาการแย่ลง
  • ท้องเสียนานกว่า 2 วัน
  • คุณมีอาการท้องบวมหรือโป่ง ซึ่งเป็นสัญญาณของอาการรุนแรง

การเก็บรักษา ยาคาโอเพคเตท

ยาคาโอเพคเตท ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาคาโอเพคเตทบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาคาโอเพคเตทลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ยาคาโอเพคเตท

ก่อนใช้ยาคาโอเพคเตทควรแจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตร คุณควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • คุณกำลังใช้ยาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร อาหารเสริม เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้ยาคาโอเพคเตทหรือยาอื่นๆ ที่กำลังใช้อยู่ หรือไม่ใช้งานแล้ว
  • คุณมีโรคอื่นๆ หรือมีความผิดปกติทางพยาธิสภาพตามที่แพทย์ระบุไว้
  • คุณมีโรคเบาหวาน โรคเกาต์ ไขข้อ ไข้ มีมูกในอุจจาระ กระเพาะอาหารอักเสบ โรคคาวาซากิ ไตมีปัญหา ไข้ทรพิษ ไข้หวัดใหญ่ ปัญหาข้อในเด็ก ภาวะขาดน้ำ

ไม่ควรใช้ยาหากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการตกเลือด เช่น โรคฮีโมฟิเลีย แผลในกระเพาะอาหารรุนแรง อุจจาระปนเลือด โรควอนวิลลิแบรนด์ (von Willebrand’s disease)

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่เพียงพอเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาคาโอเพคเตทจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์หมวด N โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ ยาคาโอเพคเตท

ผลข้างเคียงบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ ยาคาโอเพคเตท เช่น ทำให้อุจจาระมีสีคล้ำ

หากเกิดผลข้างเคียงรุนแรงดังต่อไปนี้ รีบเข้ารับการรักษาพยาบาลทันที

  • อาการแพ้ (ผื่นลมพิษ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก บวมที่ใบหน้าริมฝีปากหรือลิ้น)
  • ปัสสาวะผิดปกติ ปากแห้ง กระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาคาโอเพคเตท อาจเกิดอันตรกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลต่อ ยาคาโอเพคเตท ได้แก่

  • กรดกรดวาลโปรอิก (Valproic Acid) สารยับยั้งเอนไซม์คาร์บอนิคแอนไฮเดรส เช่น อะเซตาโซลาไมด์ (acetazolamide) ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น เพรดนิโซโลน (Prednisolone)
  • ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น โคลพิโดเกรล (Clopidogrel) ยาอีน็อกซาพาริน (Enoxaparin) ยาวาร์ฟาริน (Warfarin)
  • ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่นแอสไพริน ไอบูโพรเฟน

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาคาโอเพคเตทอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาคาโอเพคเตทอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาด ยาคาโอเพคเตท สำหรับผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป :

  • รับประทาน 30 มล. หรือ 2 ช้อนโต๊ะ
  • รับประทาน ซ้ำทุกๆ ครึ่งชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมงตามต้องการ
  • ไม่เกิน 8 ครั้งใน 24 ชั่วโมง
  • รับประทานเพื่อบรรเทาอาการท้องร่วง แต่ไม่เกิน 2 วัน

ขนาด ยาคาโอเพคเตท สำหรับเด็ก

เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี : ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาคาโอเพคเตทชนิดน้ำ 8.0 ออนซ์

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Bismuth Subsalicylate. http://reference.medscape.com/drug/kaopectate-pepto-bismol-bismuth-subsalicylate-342037#6. Accessed February 18, 2017

Kaopectate. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-89186/kaopectate-bismuth-subsalicylate-oral/details#side-effects. Accessed February 18, 2017

Kaopectate. https://www.drugs.com/cdi/kaopectate.html. Accessed February 18, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/05/2020

เขียนโดย pimruethai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

คลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting)

10 สุดยอดอาหารแก้ท้องอืด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 28/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา