backup og meta

โอเมก้า 3 (Omega 3)

โอเมก้า 3 (Omega 3)

โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ มักใช้ลดระดับความดันโลหิต ลดระดับไขมันในเลือด และเสริมสร้างการทำงานของหัวใจ

ข้อบ่งใช้

โอเมก้า 3 ใช้สำหรับ

โอเมก้า 3เป็นกรดไขมันที่มักจะใช้เพื่อ

  • ลดระดับความดันโลหิต
  • ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides)
  • ชะลอการเกิดการอุดตันภายในหลอดเลือดแดง
  • ลดโอกาสในการเกิดอัตราหัวใจเต้นผิดปกติ
  • ลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
  • ลดโอกาสในการเกิดอาการหัวใจตายเฉียบพลันในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ

การทำงานโอเมก้า 3

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับการทำงานของโอเมก้า3 โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้โอเมก้า 3

โปรดปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เองโดยไม่มีใบสั่งแพทย์
  • หากคุณแพ้สารใดๆ ในโอเมก้า 3 หรือยาอื่น หรือสมุนไพรอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากคุณเป็นโรคภูมิแพ้ประเภทใดๆ เช่น แพ้อาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์

กฎข้อบังคับในการใช้อาหารเสริมนั้นเข้มงวดน้อยกว่ากฎข้อบังคับในการใช้ยา ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาความปลอดภัยของอาหารเสริมนี้ ประโยชน์ในการใช้โอเมก้า 3 จะต้องมากกว่าความเสี่ยงก่อนใช้ยา โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยของโอเมก้า 3

ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะทราบว่าโอเมก้า 3 นั้นปลอดภัยกับผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรหรือไม่ โปรดคำนึงถึงความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

อาหารเสริมโอเมก้า3 อย่างดีเอชเอ (DHA) หรืออีพีเอ (EPA) สามารถทำให้เกิดอาการเลือดออกได้ง่ายขึ้น

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้โอเมก้า 3

การใช้โอเมก้า 3 สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างดังนี้

การรับประทานน้ำมันปลามากกว่าวันละ 3 กรัมต่อวันอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการเลือดออก ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยาที่อาจจะเกิดขึ้นกับโอเมก้า 3

โอเมก้า3 อาจจะมีปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังใช้อยู่หรือโรคที่คุณกำลังเป็น โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยานี้

หากคุณมีภาวะเลือดออกหรือกำลังใช้ยาที่อาจจะเพิ่มโอกาสในการมีเลือดออก เช่น

  • ยาคูมาดิน (Coumadin)
  • ยาพลาวิกซ์ (Plavix)
  • ยาเอฟเฟียนต์ (Effient)
  • ยาบริลินตา (Brilinta)
  • ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์บางชนิด (NSAIDs)

โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารเสริมโอเมก้า 3

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของโอเมก้า 3

สมาคมสุขภาพแห่งสหรัฐอเมริกา (AHA) กล่าวว่าการรับประทานน้ำมันปลาภายในอาหารเสริมมากถึงวันละ 3 กรัมนั้นถือว่าปลอดภัย อย่ารับประทานมากกว่านี้นอกเสียจากคุณจะปรึกษากับแพทย์แล้ว

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจมักจะได้รับคำแนะนำให้รับประทานดีเอชเอร่วมกับอีพีเอในน้ำมันปลาในขนาด 1 กรัม (1,000 มก.) ต่อวัน

ผู้ที่มีสภาวะหัวใจบางประเภทอาจจะรับประทานในขนาดสูงถึง 4 กรัมต่อวัน แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์

ขนาดยาของอาหารเสริมนี้อาจจะแตกต่างกันตามแต่ละคน ขนาดยาของคุณจะขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และสภาวะอื่นๆ อาหารเสริมนั้นไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับขนาดยาที่เหมาะสมกับคุณ

รูปแบบของโอเมก้า 3

โอเมก้า 3 อาจจะอยู่ในรูปแบบดังต่อไปนี้

  • ยาแคปซูลโอเมก้า 3 30% โอเมก้า 3 60% และโอเมก้า 3 85%
  • ยาน้ำเข้มข้น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Omega-3. http://www.omega-3-fattyacids.com/. Accessed April, 06, 2017.

Omega-3. http://www.medindia.net/patients/lifestyleandwellness/omega-3-fatty-acids.htm. Accessed April, 06, 2017.

Omega-3. http://www.webmd.com/hypertension-high-blood-pressure/guide/omega-3-fish-oil-supplements-for-high-blood-pressure. Accessed April, 06, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/02/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โอเมก้า 3 ประโยชน์ ต่อสุขภาพและข้อควรระวัง

โอเมก้า สารอาหารที่จำเป็นสำหรับเด็กที่พ่อแม่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา