backup og meta

ยิ้มไม่สวย ถ่ายรูปไม่ปัง! ระวังคุณอาจกำลังเสี่ยงป่วยเป็น โรคปากเบี้ยวครึ่งซีก

ยิ้มไม่สวย ถ่ายรูปไม่ปัง! ระวังคุณอาจกำลังเสี่ยงป่วยเป็น โรคปากเบี้ยวครึ่งซีก

หากคุณถ่ายเซลฟีแล้วสังเกตพบว่า ทำไมทุกครั้งถ่ายรูปตนเองออกมา องศาของใบหน้ากลับดูแปลกไป อาจจะยิ้มไม่สวยเหมือนดั่งที่คาดเอาไว้ นอกจากปัจจัยที่เกี่ยวกับมุมกล้องแล้ว อาจเป็นที่มาของอาการแรกเริ่มของ โรคปากเบี้ยวครึ่งซีก ก็เป็นได้ ดังนั้นบทความของ Hello วันนี้ จึงขอนำความรู้เบื้องต้นของโรคดังกล่าว มาฝากกันค่ะ เพื่อให้ทุกคนได้เริ่มเช็กตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนเกิดอาการรุนแรงขึ้นในอนาคต

โรคปากเบี้ยวครึ่งซีก คืออะไร

โรคปากเบี้ยวครึ่งซีก หรือโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s Palsy) เป็นหนึ่งในอาการอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทใต้ใบหน้าที่เกิดการอักเสบ ซึ่งมักจะเป็นเพียงแค่ด้านใดด้านหนึ่ง จึงทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้ บางครั้งอาจทำให้คุณประสบกับปัญหาในการพูดคุย การยิ้ม และต่อมรับรสเกิดความบกพร่อง

อีกทั้งยังอาจมาจากปัจจัยอื่น ๆ ที่กระทบต่อทางสุขภาพ จนนำไปสู่การอัมพาตของใบหน้า เช่น ไวรัสงูสวัด เชื้อเอชไอวี ไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein-Barr Virus) โรคไลม์ (Lyme Disease) ไวรัสจาก โรคมือเท้าปากเปื่อย (Coxsackievirus) เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่โรคปากเบี้ยวครึ่งซีกสามารถหายไปเองได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ หรืออาจมีอาการดีขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับการรักดูแลรักษา อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่อายุ 16-60 ปี ขึ้นไป ถึงอย่างไรโรคดังกล่าวยังถูกจัดเป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็ไม่ควรที่จะประมาทได้

มาเช็กอาการของ โรคปากเบี้ยวครึ่งซีก กันเถอะ

เมื่อเส้นประสาทในใบหน้าคุณเกิดการบกพร่อง อาจทำให้ทำให้คุณรู้สึกปวดในช่องหูเล็กน้อย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินล่วงหน้า1-2 วัน จากนั้น จะค่อย ๆ เริ่ม พัฒนาเป็นอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ดวงตามีอาการคันระคายเคือง และรู้สึกแห้ง หรืออาจมีน้ำตามากกว่าปกติ
  • เปลือกตามีปัญหาข้างใดข้างหนึ่ง เช่น กระพริบยาก
  • รับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มลำบาก
  • ต่อมรับรสไม่ทำงาน
  • น้ำลายไหลออกจากปากข้างใดข้างหนึ่ง
  • ปวดศีรษะ
  • กล้ามเนื้อของใบหน้ามีอาการกระตุก

ถึงแม้ผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการในระดับเบา แต่เพื่อความปลอดภัย คุณควรรีบเข้ารับการรักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพราะโรคปากเบี้ยวครึ่งซีก อาจเชื่อมโยงไปยังโรคร้ายแรงอื่น ๆ ที่อาจตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเนื้องอกในสมอง เป็นต้น

วิธีรักษาใบหน้า ให้กลับมาปกติดังเดิม

ในกรณีส่วนใหญ่อาการของโรคปากเบี้ยวครึ่งซีกจะสามารถหายไปได้เอง หากไม่ได้เป็นการถูกคุกคามโดยไวรัสงูสวัด หรือไวรัสอื่น ๆ แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงที่จำเป็นต้องเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาวิธีบรรเทาอาการข้างเคียงลง และรับประทานยารักษากล้ามเนื้อใต้ใบหน้าของคุณให้แข็งแรงขึ้น เพื่อให้ใบหน้านั้นกลับมาเป็นปกติดังเดิม ดังนี้

  • กายภาพบำบัดใบหน้า

แพทย์อาจจำเป็นให้คุณบริหารใบหน้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อให้มีความกระชับ และแข็งแรงขึ้น

  • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)

การได้รับยาในกลุ่มนี้อาจช่วยลดการอักเสบของเส้นประสาทใต้ใบหน้าที่เกิดการบกพร่องได้ ซึ่งระยะการใช้ และปริมาณการใช้ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นคนกำหนด และเป็นคนให้เพียงเท่านั้น เนื่องจากต้องให้ตามความเหมาะสมของอาการแต่ละบุคคล

  • สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา

หากผู้ป่วยที่มีอาการตาแห้ง หรือตาแฉะจากน้ำตาไหลปริมาณมาก ซึ่งเป็นหนึ่งในาการของโรคปากเบี้ยวครึ่งซีก คุณอาจจำเป็นต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา หรือปิดตาไว้ เพื่อป้องกันเชื้อโรค ฝุ่นละออง เนื่องจากคุณอาจยังไม่สามารถกระพริบตาได้เหมือนดั่งปกติ อีกทั้งยังอาจจำเป็นต้องใช้ยาหยอดตารักษาอาการเบื้องต้นร่วม

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Bell’s Palsy: What Causes It and How Is It Treated? https://www.healthline.com/health/bells-palsy Accessed July 16, 2020

What Is Bell’s Palsy? https://www.webmd.com/brain/understanding-bells-palsy-basics Accessed July 16, 2020

What are the causes of Bell’s palsy? https://www.medicalnewstoday.com/articles/158863 Accessed July 16, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/08/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

อัมพาต สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

วัคซีนป้องกันงูสวัด เหมาะสำหรับใคร ฉีดแล้วเกิดผลข้างเคียงอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 18/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา