โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก เกิดขึ้นเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ สมองเลยไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารตามปกติ เซลล์สมองจึงตายภายในเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น โรคนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที ไม่เช่นนั้น อาจเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไร

อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาจเกิดจากร่างกายไม่สามารถลำเลียงเลือดไปยังสมองได้ตามปกติ ทำให้เนื้อสมองบางส่วนไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารเพียงพอ ส่งผลให้เซลล์สมองเสียหายและถูกทำลายอย่างรวดเร็ว อาจทำให้มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ล้มลงกระทันหัน พูดลำบาก สับสนมึนงง สายตาพร่ามัว ผู้ที่มีมีอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ควรถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสียหายถาวรและการเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของ อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ มักเกิดจากหลอดเลือดตีบตันหรือหลอดเลือดสมองมีลิ่มเลือดอุดกั้นจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปยังเนื้อสมองส่วนต่าง ๆ ได้ตามปกติ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากภาวะเลือดออกในเนื้อสมองและภาวะเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง ที่ทำให้มีเลือดคั่งสะสมและกดอัดเนื้อเยื่อสมอง แต่อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเนื่องจากมีภาวะเลือดออกในสมองเป็นกรณีที่พบได้น้อยกว่ากรณีแรก โดยปกติแล้วเลือดจะลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์สมอง หากสมองได้รับเลือดไม่เพียงพอนำไปใช้เป็นพลังงาน จะทำให้เซลล์สมองตายและเสียหายถาวร หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาต หรือเสียชีวิตได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาจมีดังนี้ พันธุกรรม ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อาจเสี่ยงเกิดอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอได้มากกว่าคนทั่วไป อายุ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงเกิดอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่หรือสัมผัสกับควันบุหรี่มือสองจะได้รับสารพิษในบุหรี่อย่างนิโคติน (Nicotin) ที่ส่งผลให้หลอดเลือดตีบตัน ทำให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายรวมไปถึงบริเวณเนื้อสมองได้น้อยลง ภาวะความดันโลหิตสูง หากมีระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ทำให้เลือดไหลเวียนได้น้อยลง เช่น […]

สำรวจ โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยวิธีที่คุณเองก็ทำได้

ในปี 2019 กรมควบคุมโรคได้ระบุว่า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ข้อมูลของประชาชนในปี 2562 ยังพบว่าประชากรทุกๆ 4 คนจะพบเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน ส่วนข้อมูลของประเทศไทยพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงและยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทยอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีวิธี ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้มาให้อ่านกันค่ะ โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)  เป็นโรคที่เกิดเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่มคือ ภาวะที่ไม่มีเลือดไปเลี้ยงสมอง และภาวะที่มีเลือดออกในสมอง ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถพบได้ในทุกวัย และปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังช่วยเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้ด้วย นอกจากนี้การใช้ยาบางชนิดยังทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดได้ด้วย เช่น ทำให้เกิดการอุดตัน หลอดเลือดอักเสบ สิ่งที่คุณควรทำเพื่อ ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดสมองหรือการควบคุมสภาวะสุขภาพที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งวิธีการเหล่านี้ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมีส่วนช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีประโยชน์ เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ต่ำ และอาหารที่คอเลสเตอรอลต่ำ นอกจากนี้การเลือกรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ยังช่วยป้องกันคอเลสเตอรอลสูงได้ด้วย ที่สำคัญหารลดปริมาณโซเดียมในอาหารลงยังช่วยลดความดันโลหิต เพราะทั้งคอเลสเตอรอลและโซเดียมต่างเป็นตัวการสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ เมื่อร่างกายมีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรืออ้วนขึ้นนั้นช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งการคำนวณค่า […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Cerebral arteriovenous malformation)

โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Cerebral arteriovenous malformation)  เกิดจากความผิดปกติที่เชื่อมกันระหว่างหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงในสมอง โดยหลอดเลือดแดง ทำหน้าที่ ในการถ่ายเลือดออกจากหัวใจ ที่มีปริมาณออกซิเจน ไปเลี้ยงสมอง และหลอดเลือดดำนำเลือดที่เสียของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ เพื่อนำกลับมาฟอกที่ปอด โดยโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มจะเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานนี้ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก สูญเสียการมองเห็น เป็นต้น คำจำกัดความโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม(Cerebral arteriovenous malformation) คืออะไร   โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Cerebral arteriovenous malformation)  เกิดจากความผิดปกติที่เชื่อมกันระหว่างหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงในสมอง อย่างไรก็ตามหลอดเลือดแดง ทำหน้าที่ ในการถ่ายเลือดออกจากหัวใจ ที่มีปริมาณออกซิเจน ไปเลี้ยงสมอง และ หลอดเลือดดำนำเลือดที่เสียของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ เพื่อนำกลับมาฟอกที่ปอด โดยโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มจะเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานนี้ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก สูญเสียการมองเห็น เป็นต้น พบได้บ่อยเพียงใด โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเพศชายที่มีอายุระหว่าง 10-40 ปี อาการอาการโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม ผู้ป่วยสตรีมีครรภ์โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มอาจมีอาการรุนแรงมากกว่าปกติ เนื่องจากมีความเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดและความดันโลหิต รวมถึงเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี มักกมีอาการชัก มีเลือดคั่งที่หัวใจ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม จะมีอาการแสดงออก ดังนี้ ชัก ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียการมองเห็น อัมพาต สับสน ไม่สามารถเข้าใจการสื่อสารของผู้อื่น ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ

ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ ภาวะสมองขาดเลือด (stroke) ซึ่งเป็นภาวะที่ขาดเลือดไปเลี้ยงสมองแบบฉับพลัน ส่งผลต่อหลอดเลือดใหญ่ที่นำไปสู่และอยู่ภายในสมอง โรคหลอดเลือดสมองมีสองประเภทที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะสมองขาดเลือดจากหลอดเลือดสมองตีบตัน (Ischemic stroke) ตามปกติเกิดจากการตีบตันของการส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ภาวะเลือดออกในสมอง (hemorrhagic strokes) เกิดขึ้นเมื่อเลือดไหลจากหลอดเลือดที่แตกเข้าสู่สมอง ในวัยผู้ใหญ่ โรคหลอดเลือดสมอง 80% จะเกิดจากการตีบตัน และ 20% เกิดจากเลือดไหลในสมอง วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ (Amyloid Angiopathy) คืออะไร Cerebral amyloid angiopathy (CAA) หมายถึงส่วนประกอบของความผิดปกติประเภทหนึ่ง ที่อะมีลอยด์ (amyloid) เกิดตกตะกอนในสมอง และมักจะพบในสมองของผู้ป่วยสูงอายุที่มีระบบประสาทและสมองแข็งแรงดี อย่างไรก็ตาม CAA อาจนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม ภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ (intracranial hemorrhage, ICH) สาเหตุของ ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ (Amyloid Angiopathy) นี้ยังไม่ถูกค้นพบ แต่มีข้อสังเกตว่าอาจเกิดจากพันธุกรรมในครอบครัว ภาวะเลือดออกในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage, ICH) คืออะไร เส้นเลือดขนาดเล็กที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนลึกเข้าภายในเนื้อสมอง ความดันเลือดสูง (hypertension) อาจทำให้เส้นเลือดฝอยเล็กๆ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

5 วิธีรับมือกับ กล้ามเนื้อหดเกร็ง จากโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ที่เกิดภาวะสมองขาดเลือดแล้วสามารถรอดชีวิตมาได้นั้น มักเกิดภาวะที่เรียกว่า กล้ามเนื้อหดเกร็ง (muscle spasticity) ซึ่งทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวไม่ได้ตามปกติ หรือเคลื่อนไหวไม่สะดวกเหมือนเดิม แต่อย่าเพิ่งกังวลใจไป เพราะมีวิธีการรักษาและฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับมาเป็นปกติได้ ด้วยแนวทางต่างๆ ดังต่อไปนี้ แนวทางการรับมือกับอาการ กล้ามเนื้อหดเกร็ง มีอะไรบ้าง การออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นส่วนสำคัญในการรักษากล้ามเนื้อหดเกร็ง หลังจากเกิดภาวะสมองขาดเลือด แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณเข้าพบนักกายภาพบำบัด เพื่อเริ่มการฟื้นฟูร่างกาย นักกายภาพบำบัดจะช่วยให้คุณเริ่มต้นเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายอีกครั้ง พร้อมทั้งฟื้นฟูการทำงานของร่างกายเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวและป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อหดแบบถาวร โดยคุณสามารถออกกำลังกายได้ด้วยตัวเอง ด้วยความช่วยเหลือจากนักกายภาพบำบัดหรือการใช้อุปกรณ์พิเศษ ในบางกรณี นักกายภาพบำบัดของคุณอาจแนะนำให้ประคบเย็นหรือใช้การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหายดียิ่งขึ้น ใช้อุปกรณ์ช่วยต่างๆ คณสามารถใช้อุปกรณ์เสริม เช่น เครื่องพยุงหลัง เครื่องพยุงขา ช่วยพยุงให้กล้ามเนื้ออยู่ในตำแหน่งปกติ ในขณะที่ เฝือกหล่อและเครื่องดามต่างๆ สามารถช่วยเหยียดกล้ามเนื้อและป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อหดตัวได้ ยารักษา ยาอาจเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาภาวะกลามเนื้อหดเกร็ง โดยแพทย์อาจให้คุณใช้ยาเพื่อคลายกล้ามเนื้อประเภทต่างๆ เช่น Baclofen (Lioresal) จะออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ยาประเภทนี้สามารถช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งและความตึง รวมทั้งบรรเทาความเจ็บปวดและเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงของยาชนิดนี้ก็มีหลายประการ ได้แก่ การเสียความสามารถในการประสานงานของกล้ามเนื้อ การเกิดภาพหลอน กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดย Baclofen เป็นยาที่แพทย์สั่งเพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งบ่อยที่สุด Tizanidine hydrochloride (Zanaflex) ออกฤทธิ์ต่อทำงานของคลื่นประสาท (nerve impulses) ยาประเภทนี้สามารถลดความหดเกร็งได้ อย่างไรก็ตาม ฤทธิ์ของ tizanidine อยู่ได้ไม่นาน […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

เทคนิคการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างเหมาะสม

โรคหลอดเลือดสมอง ถือเป็นโรคที่พบบ่อยในคนไทย และเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการทำให้เกิดภาวะพิการบางส่วน หรือทั้งหมดของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในดำเนินการชีวิตตามปกติ จำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด แต่การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากโรคหลอดเลือดสมองอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้ดูแลจำเป็นต้องมีความเข้าใจในภาวะดังกล่าว รวมถึงต้องเข้าใจสภาพจิตใจ และความรู้สึกของผู้ป่วยด้วย บทความนี้จึงขอนำเสนอเทคนิคดีๆ ขั้นพื้นฐาน ของการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งทางร่างกายและสภาพจิตใจ โรคหลอดเลือดสมองส่งผลต่อร่างกายอย่างไร หนึ่งในประเภทของโรคหลอดเลือดในสมอง คือ ภาวะสมองขาดเลือด ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของสมอง เกิดการติดขัด หรือลดลงอย่างรุนแรง โดยส่งผลให้เซลล์สมองในบริเวณนั้นตายลง หลัง 2-3 นาทีผ่านไป เพราะขาดออกซิเจนและสารอาหาร ดังนั้น การที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสามารถได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จึงมีความสำคัญมากในการลดความเสียหายที่เกิดกับสมอง และอาการแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ หนึ่งในอาการแทรกซ้อนที่สำคัญของภาวะสมองขาดเลือด คือ การสูญเสียการควบคุมร่างกายบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น คนที่มีอาการสมองซีกซ้ายเป็นอัมพาตอาจมองไปทางด้านขวาได้ลำบาก ในคนที่มีอาการอัมพาตบางส่วน โดยไม่ใช้งานเป็นประจำ ร่างกายส่วนนั้นอาจมี ภาวะละเลย (neglect) ต่อไปนี้ คือ สัญญาณที่แสดงว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะสมองขาดเลือดนั้นกำลังเผชิญกับ ภาวะละเลย (neglect) ซึ่งจะสามารถช่วยให้ผู้รักษาหรือผู้ดูแลเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและหาวิธีรักษาหรือป้องกันได้ทันเวลา โดยสัญญาณของ ภาวะละเลย มักพบในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยใช้เพียงมือหรือเท้าของซีกที่มีอาการเท่านั้น ผู้ป่วยใช้สายตาด้านที่ไม่เกิดอาการเท่านั้น ผู้ป่วยไม่สามารถจดจำบุคคลที่เข้าหาทางด้านที่เกิดอาการ ผู้ป่วยตอบสนองกับวัตถุที่เห็นได้ตามปกติเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เช่นรับประทานอาหารในจานจากเพียงซีกเดียวเท่านั้น ผู้ป่วยสับสนระหว่างมือและเท้าของตัวเองและผู้อื่น ผู้ป่วยไม่สามารถกะระยะของวัตถุสิ่งของที่อยู่บริเวณด้านที่เกิดอาการได้อย่างถูกต้อง อาจเห็นว่าวัตถุนั้นๆ อยู่ใกล้หรือไกลกว่าความเป็นจริง โดยอาจไปสัมผัสกับวัตถุโดยบังเอิญ และเกิดการบาดเจ็บได้ วิธีการ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

ถอดรหัส อาการเตือน สมองขาดเลือด

ผู้ป่วยที่เกิดภาวะ สมองขาดเลือด หลายรายเปิดเผยว่า พวกเขามีความรู้สึกแปลกๆ ก่อนที่จะเกิดอาการ ความรู้สึกในทำนองนี้มักจะถูกเรียกว่า อาการเตือนล่วงหน้า ซึ่งบางครั้งสัญญาณเตือนล่วงหน้าเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นได้ 2-3 วัน ก่อนเกิดภาวะสมองขาดเลือด มาถึงตรงนี้ คุณอาจมีคำถามว่าอาการเตือนล่วงหน้าสมองขาดเลือด นั้นน่าเชื่อถือจริงหรือ? จริงๆ แล้ว มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์หลายประการที่ระบุว่า อาการเตือนล่วงหน้าบางอย่าง อาจนำไปสู่เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ ซึ่งหากเรารู้ทันสัญญาณต่างๆ เหล่านี้ ก็จะสามารถป้องกันหรือรับมือกับภาวะสมองขาดเลือดได้อย่างทันทท่วงที และลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นให้ได้น้อยที่สุด อาการเตือน สมองขาดเลือด เชื่อได้จริงหรือ? อาการเตือนล่วงหน้า สามารถรับรู้ได้ด้วยความรู้สึกที่ชัดเจน ว่าบางสิ่งกำลังจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับอาการไม่สบายต่างๆ ในบางกรณี มีสัญญาณที่แสดงอาการเริ่มแรกของโรคที่คุณสามารถสังเกตได้ ตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบางรายเล่าว่าพวกเขาเกิดอาการขาดเลือดไปเลี้ยงสมองในระยะสั้นๆ ในระหว่างการพักฟื้นจากภาวะสมองขาดเลือด ผู้ป่วยมักจำจดความรู้สึกหรืออาการเตือนก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ได้ โดยสามารถบอกได้ว่า ‘ฉันรู้ว่าสิ่งผิดปกติกำลังจะเกิดขึ้น’ หรือ ‘ฉันมีความรู้สึกแปลกๆ’ สัญญาณที่แสดงออกมา มักจะเป็นความรู้สึกเหน็บชา ไม่ได้ยินเสียง มองเห็นภาพผิดปกติเป็นพักๆ วิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ สับสน งุ่มง่าม หรือพูดไม่ชัด อาการเตือนภาวะสมองขาดเลือดค่อนข้างพบได้บ่อย เห็นได้จากการศึกษาเกี่ยวกับอาการเตือนล่วงหน้าในผู้ป่วย 16 ราย ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Neurology, […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

รวมเทคนิค และ วิธีรักษาภาวะสมองขาดเลือด ในนาทีฉุกเฉิน

ภาวะสมองขาดเลือด (Stroke) เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เมื่อคุณมาถึงโรงพยาบาล แพทย์จะตรวจวินิจฉัยอาการของคุณเพื่อดูว่าพวกเขาจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนและความพิการให้เหลือน้อยที่สุด โดยปัจจุบัน มีการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์หลายประเภทที่จะสามารถช่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาวะฉุกเฉิน แพทย์จะมี วิธีวินิจฉัย และ วิธีรักษาภาวะสมองขาดเลือด อย่างไรบ้าง เราจะมาดูรายละเอียดกัน วิธีวินิจฉัย และ วิธีรักษาภาวะสมองขาดเลือด มีอะไรบ้าง การซักประวัติทางการแพทย์และการตรวจร่างกาย แพทย์จะสอบถามคุณ (ถ้าคุณยังรู้สึกตัวดีและตื่นอยู่) หรือสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับอาการของคุณ อาการเริ่มเกิดเมื่อไร และสมาชิกในครอบครัวทำอย่างไรกับอาการเหล่านั้น แพทย์จะสอบถามว่ามีปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองขาดเลือดหรือไม่ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ การสูบบุหรี่ ประวัติทางการแพทย์และประวัติการเป็นโรคหัวใจ หรือภาวะสมองขาดเลือดของคนในครอบครัว รวมทั้งยาที่คุณกำลังรับประทานอยู่ด้วย ในระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจความดันโลหิตของคุณ ความตื่นตัว การทรงตัว และการทำงานประสานกันของอวัยวะต่างๆ แพทย์จะตรวจว่าคุณมีอาการอ่อนแรงที่บริเวณใบหน้า แขน ขา มีปัญหาเกี่ยวกับการเดิน การพูดหรือการมองเห็นเปลี่ยนแปลงหรือไม่ นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจฟังชีพจรที่หลอดเลือดใหญ่บริเวณคอที่เลี้ยงสมองส่วนหน้า (carotid artery) เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่หลอดเลือดใหญ่นี้ด้วย การตรวจเลือด สามารถใช้การตรวจเลือดเพื่อดูว่าลิ่มเลือดของคุณแข็งตัวเร็วเพียงใด ตรวจวัดจำนวนเกล็ดเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดที่ผิดปกติ (สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป) ความไม่สมดุลของสารเคมีในเลือดระดับวิกฤติ หรือการติดเชื้อ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้เกิดอาการคล้ายภาวะสมองขาดเลือดได้ จำนวนเกล็ดเลือดที่ผิดปกติก็อาจเป็นสัญญาณแสดงการเกิดเลือดออกในสมองหรือความผิดปกติจากหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombotic) การตรวจสมองด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจสมองด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน จะแสดงภาพสมองของคุณอย่างละเอียด เป็นขั้นตอนการปฏิบัติที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดด้วยการใช้การเอ็กซเรย์หลายครั้ง นอกจากนี้ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

เลือดคั่งในสมอง (Intracerebral Hemorrhage: ICH)

เลือดคั่งในสมอง (Intracerebral Hemorrhage: ICH) คือ โรคหลอดเลือดสมองชนิดหนึ่ง เป็นภาวะที่มีเลือดออกในเนื้อสมองอย่างกะทันหัน ทำให้มีเลือดคั่งอยู่ภายในสมอง และสร้างความเสียหายให้แก่สมองโดยรวม คำจำกัดความเลือดคั่งในสมอง คืออะไร เลือดคั่งในสมอง (Intracerebral Hemorrhage: ICH) คือ โรคหลอดเลือดสมองชนิดหนึ่ง เป็นภาวะที่มีเลือดออกอย่างกะทันหันในเนื้อสมอง ทำให้มีเลือดคั่งอยู่ภายในสมอง และสร้างความเสียหายให้แก่สมองโดยรวม เลือดที่ไหลออกมาจะสร้างความระคายเคืองต่อเนื้อสมอง ส่งผลให้เกิดการบวม ซึ่งเรียกอาการดังกล่าวว่า สมองบวม (Cerebral Edema) โดยเลือดที่ไหลออกมาจะรวมตัวจับเป็นก้อน สภาวะเหล่านี้จะเพิ่มแรงกดบนเนื้อเยื่อสมองโดยรอบ และฆ่าเซลล์สมองในที่สุด การเกิดเลือดออกในสมองสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายบริเวณ เช่น เลือดออกระหว่างตัวเนื้อสมองกับเยื่อหุ้มสมอง ระหว่างชั้นของเยื่อหุ้มสมอง หรือระหว่างกะโหลกศีรษะกับเยื่อหุ้มสมอง เลือดออกในสมองเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาทันที คนส่วนใหญ่ต้องพิการตลอดชีวิต เพราะรักษาไม่ทัน แต่คนไข้บางรายก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ โรคแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ ประกอบไปด้วย โรคหลอดเลือดสมอง สมองทำงานบกพร่อง รวมถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรับยาหรือการรักษา ผู้มีอาการอาจถึงขั้นเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว แม้จะได้รับการรักษาทางการแพทย์แล้วก็ตาม เลือดคั่งในสมอง พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะเลือดคั่งในสมอง พบได้ทั่วไป เกิดขึ้นได้ในคนทุกวัย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของภาวะ เลือดคั่งในสมอง อาการโดยทั่วไปของ ภาวะเลือดคั่งในสมอง ได้แก่ ปวดหัวหนักอย่างกะทันหัน แขนขารู้สึกอ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ความตื่นตัวลดน้อยลง พูดลำบากหรือพูดเข้าใจยาก มีปัญหาในการพูด กลืนน้ำลายลําบาก มีปัญหาการมองเห็นในดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง สูญเสียการทรงตัว การประสานงานของร่างกาย วิงเวียนศีรษะ เหม่อลอย เซื่องซึม […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

สัญญาณเตือนเริ่มแรกของโรคหลอดเลือดสมอง ที่คุณไม่ควรเพิกเฉย

มีหลายคนที่ไม่รู้จัก สัญญาณเตือนเริ่มแรกโรคหลอดเลือดสมอง สิ่งสำคัญเมื่อเกิดโรคหลอดเลือดสมองก็คือ ผู้เกิดอาการควรได้รับการรักษาภายใน 6 ชั่วโมงแรก การรักษาที่ชักช้าในหลายกรณี ทำให้ฟื้นตัวได้ยากมากขึ้น หรือกระทั่งไม่อาจที่จะรักษาเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นเราจึงควรรู้จักอาการของโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อที่จะได้หาหนทางแก้ไขให้ทันท่วงที โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากอะไร เช่นเดียวกับหลายส่วนในร่างกายของคนเรา เซลล์สมองจำเป็นต้องได้รับการหล่อเลี้ยงจากเลือดเพื่อความอยู่รอด โรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นได้ เมื่อบางส่วนของสมองมีเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ โรคหลอดเลือดสมองมีอยู่ 2 ชนิด ชนิดแรกคือภาวะสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) เกิดจากการขาดเลือดเมื่อหลอดเลือดอุดตัน ส่วนอีกชนิดคือภาวะเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke) ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการตกเลือดในสมอง ภาวะสมองขาดเลือดเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าร้อยละ 80 หากเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้อย่างกะทันหัน จะเรียกว่าเกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient Ischemic Attack: TIA) ภาวะนี้บ่งชี้ได้ว่า ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างถาวร ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยจึงควรรักษาโรคหลอดเลือดสมองอย่างจริงจัง สาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดสมองและภาวะ TIA เกิดจากโรคหลอดเลือดแดงคาโรติด (Carotid Artery Disease) ซึ่งหมายถึงการที่คราบไขมันเกาะอยู่ในหลอดเลือดแดงคาโรติด ปิดกั้นเส้นทางของเลือดที่จะขึ้นไปเลี้ยงสมอง ส่วนภาวะเลือดออกในสมองนั้นเกิดขึ้นได้น้อยกว่า โดยสาเหตุของภาวะเลือดออกในสมองนั้น เกิดขึ้นจากการแตกตัวของหลอดเลือดหรือการโป่งพองของหลอดเลือด (ซึ่งหมายถึงหลอดเลือดมีการขยายตัวเพราะผนังหลอดเลือดอ่อนแอ) ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง การมีอาการดังต่อไปนี้ เพิ่มความเสี่ยงของคุณที่จะป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation) หมายถึงอัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ หลอดเลือดอุดตันหรือแข็งตัว เคยมีประวัติเกิดภาวะ TIA เคยมีประวัติเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เคยมีประวัติหัวใจวาย อาการของโรคหลอดเลือดสมอง อาการของโรคหลอดเลือดสมองมักจะเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน อาการโดยทั่วไปมีดังต่อไปนี้ เกิดความรู้สึกชาหรืออ่อนแรงอย่างปัจจุบันทันด่วน บริเวณใบหน้า แขน […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

หักกระดูกข้อต่อคอ หรือ หักคอ บ่อยๆ ระวัง! เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

หากคุณปวดเมื่อยต้นคอ ควรคิดให้ดีก่อนที่จะใช้วิธี หักกระดูกข้อต่อคอ หรือ หักคอ แก้เมื่อย เพราะผู้ที่ชอบ หักกระดูกข้อต่อคอ ด้วยตัวเอง  หรือแม้แต่การบำบัดอาการเจ็บป่วยด้วยการจัดกระดูกสันหลัง และการจัดกระดูกคอ ก็อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ อีกทั้งยังมีบทความในวารสารการแพทย์ของอังกฤษ (BMJ) ที่ระบุว่าการหักกระดูกข้อต่อคอ อาจเป็นสาเหตุให้คอเสียหายถาวรได้อีกด้วย ดังนั้น Hello คุณหมอ จะพาคุณไปรู้จักเรื่องนี้ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ [embed-health-tool-bmi] ทำไมต้อง “หักคอ” สิ่งที่เราเรียกว่าการ “หักคอ” อาจฟังดูน่ากลัว แต่แน่นอนว่ามันไม่ใช่สิ่งเดียวกับการทำให้ “คอหัก”แต่การ หักคอ เป็นสิ่งที่หลายคนนิยมทำ เพื่อใช้ในการผ่อนคลายอาการตึงเครียดที่ลำคอ ซึ่งมักเกิดขึ้นเวลาที่เราอยู่ในท่าหนึ่งท่าใดเป็นเวลานานๆ การหักหรือบิดกระดูกข้อต่อคอ จะช่วยในการยืดกล้ามเนื้อที่แข็งตึงบริเวณลำคอและข้อต่อ และคลายความตึงเครียดที่สะสมอยู่ในบริเวณนี้ ในการทำท่าหักคอเพื่อคลายเมื่อย จะทำให้เกิดสุญญากาศระหว่างข้อต่อและกล้ามเนื้อ และก๊าซไนโตรเจนก็จะไหลเข้ามาสู่น้ำในข้อต่อ และเมื่อกระดูกกลับสู่ท่าปกติ ก็จะผลักก๊าซพวกนั้นออกไป ซึ่งทำให้เกิดเสียงแกร็กอย่างที่เราได้ยิน และทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายจากอาการตึงลำคอ โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นภาวะที่สมองขาดเลือด เนื่องจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน ตีบ หรือฉีกขาด ทำให้เนื้อเยื่อสมองไม่ได้รับออกซิเจน จนเซลล์สมองถูกทำลาย ส่งผลให้การทำงานของร่างกายที่ควบคุมโดยสมองส่วนนั้นๆ เช่น ระบบความจำ การควบคุมกล้ามเนื้อ หยุดชะงัก โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดขึ้นกับได้กับคนทุกเพศทุกวัยและทุกเมื่อ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบางคนมีอาการไม่รุนแรง เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน