backup og meta

เมล็ดป๊อบปี้ (Poppy Seed)

เมล็ดป๊อบปี้ (Poppy Seed)

เมล็ดป๊อบปี้ (Poppy seed) เป็นเมล็ดที่ได้จากต้นป๊อบปี้ ใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืด อาการไอ ท้องผูก ท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อ นอนไม่หลับ

ข้อบ่งใช้

เมล็ดป๊อบปี้ ใช้สำหรับ

เมล็ดป๊อบปี้ (Poppy seed) เป็นเมล็ดที่ได้จากต้นป๊อบปี้ เราจะรับประทานเมล็ดป๊อบปี้เพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืด อาการไอ ท้องผูก ท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อ นอนไม่หลับ และอาจใช้เพื่อรักษาอาการทางทะลุเชื่อมระหว่างกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ (Vesicoenteric fistula) ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ เมล็ดป๊อบปี้ยังจะนำใช้สำหรับประกอบอาหารเป็นเมนูต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเค้ก ขนมปัง ข้าวต้ม หรือทำเป็นไส้ในของขนมต่างๆ ส่วนน้ำมันเมล็ดป๊อบปี้นั้นจะใช้ในการอุตสาหกรรม เช่น ใช้เพื่อผลิตเป็นสบู่ สี และน้ำยาเคลือบเงา

การทำงานของเมล็ดป๊อบปี้

ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของเมล็ดป๊อบปี้ที่เพียงพอ แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดกันว่าเมล็ดป๊อบปี้นั้นอาจจะสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งบางชนิด ไม่ให้ลุกลามขึ้นได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้เมล็ดป๊อบปี้

เมล็ดป๊อบปี้นั้นอาจจะปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ หากรับประทานในปริมาณที่สามารถพบได้ในอาหาร สำหรับการใช้งานเพื่อหวังผลทางการรักษานั้น เคยมีการใช้โยเกิร์ตที่มีส่วนผสมของเมล็ดป๊อบปี้ ในปริมาณ 35-250 กรัม พบว่าปลอดภัยต่อการใช้

อย่างไรก็ตาม เมล็ดป๊อบปี้นี้อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในบางคนได้ โดยมีอาการคือ อาเจียน ปากและคอบวม ตาบวม ลมพิษ และหายใจไม่ออก การสูดดมเมล็ดป๊อบปี้เข้าไปก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เมล็ดป๊อบปี้นี้อาจจะปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร หากรับประทานในปริมาณที่พบได้ในอาหาร แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป

ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ต่อพืชชนิดอื่น ผู้ที่มีอาการแพ้ต่อเมล็ดป๊อบปี้ อาจจะแพ้ต่อเฮเซลนัท (Hazelnut) กีวี่ งา หรือบัควีท (Buckwheat) ด้วยเช่นกัน หากคุณแพ้ต่อเมล็ดป๊อบปี้ ควรรับการตรวจว่าคุณมีอาการแพ้ต่อพืชชนิดอื่นหรือไม่

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้เมล็ดป๊อบปี้

เมล็ดป๊อบปี้นั้นจะปลอดภัย หากรับประทานในปริมาณที่พบได้ในอาหาร แม้ว่าบางคนอาจจะเกิดอาการแพ้จากการรับประทานเมล็ดป๊อบปี้ แต่ก็เป็นกรณีที่ค่อนข้างหายาก

สำหรับการใช้เมล็ดป๊อบปี้เพื่อจุดประสงค์ทางการรักษานั้น เคยมีการใช้โยเกิร์ตที่มีส่วนผสมของเมล็ดป๊อบปี้ ในปริมาณ 35-250 กรัม พบว่าปลอดภัยต่อการใช้

การรับประทานเมล็ดป๊อบปี้ในปริมาณมากอาจไม่ปลอดภัย เนื่องจากเมล็ดป๊อบปี้อาจไปอุดตันในลำไส้ได้ นอกจากนี้ ส่วนเปลือกนอกของเมล็ดป๊อบปี้ก็อาจจะมีมอร์ฟีนอยู่ การแช่เมล็ดป๊อบปี้ไว้ในน้ำอาจทำให้มอร์ฟีน (Morphine) นั้นออกมา และอาจเป็นอันตรายหากรับประทานน้ำที่แช่เมล็ดป๊อบปี้ไว้

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

เมล็ดป๊อบปี้อาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของ เมล็ดป๊อบปี้

รับประทาน

สำหรับการรักษาอาการทางทะลุเชื่อมระหว่างกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ (Vesicoenteric fistula) รับประทานเมล็ดป๊อบปี้ผสมกับเครื่องดื่ม หรือโยเกิร์ต ในปริมาณ 35-250 กรัม แล้วรับประทาน หลังจากนั้นควรทำการตรวจปัสสาวะภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากนั้น

ขนาดยาอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ดีก่อนตัดสินใจใช้

รูปแบบของเมล็ดป๊อบปี้

  • เมล็ดป๊อบปี้แห้ง

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

POPPY SEED https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-1503/poppy-seed. Accessed 13 March 2020
POPPY SEED https://www.rxlist.com/poppy_seed/supplements.htm. Accessed 13 March 2020
Can Eating Poppy Seeds Give You a Positive Drug Test? https://www.healthline.com/health/fitness-nutrition/poppy-seeds-drug-test#how-soon. Accessed 13 March 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/08/2020

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

เม็ดแมงลัก

อาการไอแห้ง ไร้เสมหะ เราสามารถรักษาได้อย่างไรกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 03/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา