ความสัมพันธ์ที่ดี

ความสัมพันธ์ที่ดี ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว เพื่อน โดยเฉพาะความสัมพันธ์ในรูปแบบคนรัก สามารถส่งเสริมสุขภาพของเราให้แข็งแรงและดีขึ้นได้ หากคุณอยากรู้ว่า ความสัมพันธ์ที่ดีส่งผลดีอย่างไรบ้าง และอยากได้เคล็ดลับดี ๆ ในการพัฒนาความสัมพันธ์ เราช่วยคุณได้!

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความสัมพันธ์ที่ดี

รักเขาข้างเดียว แอบรักมานาน ปัญหาหัวใจที่รับมือยาก แต่รับมือได้

การสมหวังกับความรักเป็นหนึ่งในเรื่องราวดี ๆ ที่ทำให้รู้สึกว่าชีวิตนี้ช่างโชคดีจริง ๆ  ที่เกิดมาแล้วมีใครอีกคนคอยอยู่เคียงข้างเสมอ ซึ่งก็คงมีแต่คนที่สมหวังเท่านั้นแหละ ที่รู้สึกว่า ความรัก เป็นเรื่องสวยงาม เพราะถ้าเทียบกับคนที่ไม่สมหวัง หรือคนที่ได้แต่แอบรักเขาข้างเดียว โดยไม่ได้ความรักตอบกลับมานั้น มันช่างเป็นความเจ็บปวดจนยากที่จะป่าวประกาศให้ใครรู้ได้ คุณผู้อ่านก็เป็นอีกคนหนึ่งหรือเปล่า ที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้แล้วรู้สึกว่ายากเหลือเกินที่จะก้าวผ่านมันไป วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีรับมือกับอาการ รักเขาข้างเดียว มาฝากค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] รักเขาข้างเดียว เป็นอย่างไร อาการรักเขาข้างเดียว คือความรู้สึกที่รัก ห่วงใย และถวิลหาใครสักคนอย่างหนักหน่วง โดยที่อีกฝ่ายอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ แต่ที่แน่ ๆ คือไม่ได้มีความรู้สึกแบบเดียวกันตอบกลับมา ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า “รักเขาข้างเดียว” เพราะมีแค่เราคนเดียวเท่านั้นที่รู้สึกกับอีกฝ่ายมากมายขนาดนี้ ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบของ ความรัก ที่ไม่สมหวัง และบางครั้งอาจจะเจ็บปวด เศร้าโศก เสียใจ จนยากที่จะข้ามผ่านมันไปได้ การรักเขาข้างเดียว มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ดังนี้ รักใครสักคนโดยที่ไม่ได้ ความรัก แบบเดียวกันตอบกลับมา รักใครสักคนที่เขามีเจ้าของอยู่แล้ว ทั้งสองฝ่ายมีความรู้สึกเดียวกัน แต่ต่างฝ่ายต่างมีแฟนอยู่แล้ว ยังรักแฟนเก่าอยู่ แม้ว่าจะเลิกรามานานแล้ว สัญญาณที่กำลังบอกว่ามีอาการ รักเขาข้างเดียว เป็นฝ่ายเข้าหาอยู่คนเดียว เมื่อรู้สึกหลงรักหรือแอบชอบใครสักคนอย่างหนักหน่วง เราจะพยายามทำตัวเข้าไปใกล้ชิด สนิทสนม หรือพยายามใช้เวลาอยู่กับคนที่แอบรักให้มากขึ้น แต่ก็จะรู้สึกได้ว่าอีกฝ่ายไม่มีปฏิกิริยาตอบกลับมา หรืออีกฝ่ายมีระยะห่างซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน […]

สำรวจ ความสัมพันธ์ที่ดี

ความสัมพันธ์ที่ดี

รับมือกับ อาการเหวี่ยงวีน ของสาวๆ มนุษย์เมนส์ ที่คนรักควรรู้ไว้

อารมณ์ของสาวๆ ที่ขึ้นๆ ลงๆ นั้น ไม่ได้แปลว่าคนรักของคุณกำลังเข้าสู่ช่วงวัยทองแต่อย่างใด แต่อาจเป็นเพราะเธอกำลังเข้าสู่การมีรอบเดือนจึงมี อาการเหวี่ยงวีน จนทำให้คุณทำตัวไม่ถูกเลยทีเดียว วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำเคล็บลับการเอาใจสาวๆ มนุษย์เมนส์ มาแนะนำให้คุณผู้ชายทั้งหลายลองทำตามกัน โมโหร้าย หงุดหงิดง่ายก่อนมีประจำเดือน สาเหตุมาจากอะไร? เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในกลุ่มของ ในผู้หญิงหมู่มากก่อนประจำเดือนมา มีชื่อเรียกว่า (Premenstrual Syndrome ; PMS) อารมณ์ไม่คงที่นี้มักมาในเวลาสั้นๆ ประมาณ 5-11 วัน และมักหายเองเมื่อสาวๆ เมนส์มาหรือมีรอบเดือนนั่นเอง ซึ่งสาเหตุของการเกิดอาการ PMS มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น ทำให้อารมณ์แปรปรวน ทั้งเกรี้ยวกราด และหงุดหงิด นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องเป็นผลให้คนรักของคุณเหวี่ยงวีนได้ ดังนี้ มีภาวะซึมเศร้า ได้รับผลกระทบที่ส่งผลต่อจิตใจ และอารมณ์ ประวัติการใช้ความรุนแรงของครอบครัว โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized anxiety disorder) โรคอารมณ์สองขั้ว หรือไบโพลาร์ (Bipolar disorder) เช็กอาการทั่วไป ที่เกิดจากสาวๆ ก่อนเป็นประจำเดือน อาการหลักทั่วไปที่ทำให้สาวๆ เริ่มมีอารมณ์ไม่คงที่ อาการปวดท้องหน่วงๆ บริเวณหน้าท้องช่วงล่าง เจ็บหน้าอก สิวขึ้นบนใบหน้า ความอยากอาหารเพิ่ม รวมถึงน้ำหนักที่มากขึ้น ปวดศีรษะ ร่างกายรู้สึกเมื่อยล้า ปวดตามข้อกระดูก และกล้ามเนื้อ สัญญาณทางอารมณ์ เช่น หงุดหงิด […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

สำรวจตัวเอง เป็น Sociopath ชอบต่อต้านสังคม หรือไม่

Sociopath เป็นความผิดปกติทางบุคลิภาพประเภทหนึ่ง โดยคำว่าโซซิโอพาธ หมายถึง ผู้ที่มีพฤติกรรมและทัศนะคติที่ต่อต้านสังคม หรือผู้ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) มักไม่มีมโนธรรม แปลกแยก เกลียดชัง หลีกเลี่ยงสังคม [embed-health-tool-bmi] Sociopath คืออะไร โดยปกติแล้วคำว่า  Sociopath  มักใช้สำหรับอธิบายถึงบุคคลที่มีลักษณะไม่มีมโนธรรม แปลกแยก เกลียดชัง หลีกเลี่ยงสังคม คำว่าโซซิโอพาธ หมายถึง ผู้ที่มีพฤติกรรมและทัศนะคติที่ต่อต้านสังคม หรือผู้ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) โดยคนเหล่านี้จะแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดว่าไม่ชอบเข้าสังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่นยาก ขี้เบื่อ ตลอดไปจนถึงหลอกลวงและชักจูงผู้อื่น โดยมักจะมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมที่เลี้ยงดูมา Sociopath นั้นอาจจะไม่ใช่คำเรียกอย่างเป็นทางการ แต่คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders หรือ DSM) ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ที่เป็นโรคโซซิโอพาธนั้นจะมีลักษณะใกล้เคียงกับผู้ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคมที่สุดแล้ว คนที่เป็นโรค Sociopath นั้นในบางครั้งอาจจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับคนที่เป็นไซโคพาธ (Psychopaths) แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้สองภาวะนี้แตกต่างกัน คือการที่ผู้ที่เป็นโรค Sociopath นั้นยังสามารถมีความรู้สึกผิด เห็นอกเห็นใจ และเข้าใจได้ว่าการกระทำของตัวเองนั้นเป็นเรื่องที่ผิด เพราะพวกเขายังคงมีกระบวนการทางสมองเป็นปกติอยู่ แต่ก็เลือกที่จะไม่สนใจอยู่ดี จะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นโรค […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

ปีเตอร์ แพน ซินโดรม หยุดโรคนี้ด้วยการไม่เลี้ยงลูกแบบตามใจ

คงไม่มีใครไม่รู้จักวรรณกรรมสุดคลาสสิคอย่าง เรื่อง ปีเตอร์แพน  ตำนานเด็กผู้ชายบินได้และไม่มีวันโต เด็กๆหลายคนเมื่อดูเรื่องนี้ต่างมีความฝันว่า อยากจะบินได้เหมือนปีเตอร์แพนและเล่นสนุกกับเพื่อนๆในดินแดนเนเวอร์แลนด์ ทว่าในชีวิตจริงก็มีเช่นกัน พวกเขาเหล่านี้ไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ และมีความคิดเหมือนเด็กๆ เราเรียกอาการเหล่านี้ว่า ปีเตอร์ แพน ซินโดรม ซึ่งสาเหตุนั้นมักเกิดขึ้นกับเด็กที่ถูกเลี้ยงดูจากครอบครัวที่ตามใจลูกมากจนเกินไป วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามาทำความรู้จักโรคนี้กันค่ะ โลกการ์ตูน สู่ชีวิตจริงปีเตอร์ แพน ซินโดรม (Peter Pan Syndrome) ปีเตอร์ แพน ซินโดรม (Peter Pan Syndrome)  คือโรคที่ไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ มีความคิดเป็นเด็ก ไม่อยากทำงาน ไม่รับผิดชอบอะไรเลย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่ถูกครอบครัวเลี้ยงแบบตามใจมากจนเกินไป ทำให้ลูกต้องพึ่งพ่อแม่ตลอดเวลา ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้  ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม และไม่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตและแก้ปัญหาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ พ่อแม่รังแกฉัน ในปัจจุบันเชื่อว่ามีหลายครอบครัวที่ถูกพ่อแม่เลี้ยงดูแบบตามใจ ไม่ว่าลูกจะขออะไรก็หามาให้ลูกทุกอย่าง ตามใจลูกตลอด แม้แต่ลูกทำผิดก็ไม่ลงโทษ รู้หรือไม่ว่า พฤติกรรมการเลี้ยงดูลูกดังกล่าวนี้เป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ของพ่อแม่ที่ส่งผลกระทบต่อลูกในอนาคต การเลี้ยงดูแบบตามใจนั้นส่งผลกระทบต่อลูกในอนาคตดังนี้ ขาดทักษะในการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ เป็นคนไม่มีระเบียบวินัย เอาแต่ใจตัวเอง คิดว่าตัวเองมีศูนย์กลางของจักรวาล เห็นไหมคะว่าการเลี้ยงดูลูกแบบตามใจไม่ส่งผลดีต่อลูกเราเลย ทำให้เขาไม่รู้จักโตและไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตัวเองได้ และเป็นสาเหตุให้ลูกของคุณเป็นโรคปีเตอร์ แพน ซินโดรม โดยไม่รู้ตัว 4 สัญญาณเตือนว่าลูกของคุณเสี่ยงเป็นโรคปีเตอร์ แพน ซินโดรม ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่สามารถแก้ด้วยตัวเองได้ ต้องถามพ่อแม่หรือคนในครอบครัวทุกครั้ง ขาดความรับผิดชอบ อยากใกล้ชิดพ่อแม่ตลอดเวลาเพราะรู้ว่าครอบครัวคุ้มครองเขาได้ วิธีการรักษาเมื่อลูกเป็นโรคปีเตอร์ แพน […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

ทนไม่ไหว แต่ยังต้องทน จะมี วิธีอดทนกับเพื่อนร่วมงาน อย่างไรบ้าง

เคยไหมที่รู้สึกไม่โอเคกับเพื่อนร่วมงาน ทำไมเอาเปรียบฉันแบบนี้? โยนงานอีกแล้วหรือ? การพบเจอเพื่อนร่วมงานที่จัดว่าแย่ และก่อปัญหาที่กระทบตัวคุณ อาจส่งผลให้คุณมีอาการเครียดได้ แม้ปลายทางของปัญหาอาจจบลงได้ง่าย ๆ ด้วยการลาออก แต่ปัจจัยในชีวิตของคนเราที่แตกต่างกัน อาจเป็นเหตุผลให้เราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้เหมือนกันทุกคน ทั้งเรื่องภาระค่าใช้จ่าย อายุที่มากขึ้น หรือประสบการณ์ทำงานที่ยังน้อย และถ้าหากคุณยังจำเป็นต้องทนกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา เพื่อรอจังหวะดี ๆ ที่จะเข้ามาล่ะก็ วันนี้ Hello คุณหมอ มี วิธีอดทนกับเพื่อนร่วมงาน มาฝากทุกท่านค่ะ ความเครียดจากที่ทำงาน การไปออฟฟิศเพื่อทำงานสำหรับใครหลายคน อาจไม่ใช่สถานที่ที่ต้องไปเพื่อแสดงออกถึงทักษะ ประสบการณ์ ความรู้และความสามารถในการที่จะร่วมพัฒนาให้องค์กรที่ปฏิบัติงานอยู่สามารถเจริญเติบโตและก้าวหน้าต่อไป เพียงอย่างเดียว เพราะบางครั้ง และหลายครั้ง ที่ทำงานอาจเป็นขุมนรกที่ส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ ความเครียดจากที่ทำงานเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ละออฟฟิศก็จะมีสาเหตุที่ต่างกันออกไป เช่น ระบบของงานที่ไม่เป็นสัดส่วน การทำงานที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่เคยคุยกันไว้ตั้งแต่วันแรก หรืออาจมาจากสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เมื่อความไม่สบายใจจากปัญหาเหล่านี้ถูกสะสมเข้าทุกวัน ๆ ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเครียด หรืออาจนำไปสู่ภาวะของโรคซึมเศร้าเพราะหาทางออกจากปัญหาเหล่านั้นไม่ได้ ความเครียดจากเพื่อนร่วมงาน อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทั้งชาวออฟฟิศ และไม่ออฟฟิศต้องปวดหัวไปตาม ๆ กัน ก็คือ ปัญหาความเครียดที่มาจากเพื่อนร่วมงาน การอยู่ร่วมกับคนหมู่มาก ย่อมหมายถึงการอยู่กับความแตกต่างนับร้อย ยิ่งอยู่กันหลายคน ก็ยิ่งมีความแตกต่างทางความคิดและทัศนคติที่มากตามไปด้วย หลายคนถูกบูลลี่ในที่ทำงาน หลายคนถูกลั่นแกล้งให้รับผิดที่ไม่ได้ก่อ หรือหลายคนต้องรับภาระงานที่เกินหน้าที่ของตนเอง เนื่องจากเพื่อนร่วมงานที่ไม่เอาไหน หรือการถูกโยนงาน […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

คุณโลกส่วนตัวสูงหรือกำลังเป็น โรคกังวลต่อการเข้าสังคม (Social anxiety disorder)

บางครั้งการที่ต้องการอยู่คนเดียว เงียบๆ อาจหมายถึงคุณมีโลกส่วนตัวสูง แต่ในทางกลับกัน หากคุณเกิดความประหม่า หรือวิตกกังวลที่จะต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม นั่นอาจหมายความว่าคุณกำลังเป็น โรคกังวลต่อการเข้าสังคม ก็เป็นได้ หากยังไม่แน่ใจกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ลองอ่านบทความของ Hello คุณหไมอ และสังเกตตัวเองกันดีกว่า โรคกังวลต่อการเข้าสังคม (social anxiety disorder) คืออะไร? คนที่มีความวิตกกังวลทางสังคน อาจจะเกิดจากการกลัวความอับอายอย่างมากในสถานการณ์ทางสังคม ซึ่งความกลัวที่เกิดขึ้นนี้อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ส่วนตัวและอาชีพที่ทำอยู่ โดยความวิตกกังวลทางสังคมนั้นมักจะเกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก ซึ่งในช่วงวัยเด็กถือเป็นช่วงหนึ่งของการพัมนาการเข้าสังคม แต่ความวิตกกังวลนี้อาจจะไม่มีใครสังเกตเห็นจนกระทั้งอายุมากขึ้น อาการกังวลต่อการเข้าสังคมและความถี่ของอาการที่เกิดขึ้นนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โรคกังวลต่อการเข้าสังคม จำเป็นจะต้องได้รับการรักษา เนื่องจากอาจมีผลกระทบในชีวิตประจำวัน เพราะทำให้เกิดความประหม่า ความละอายใจ จนทำให้เกิดอาการเครียดเมื่อต้องอยู่ร่วมกับเพื่อน หรืออยู่ในที่สาธารณะร่วมกับบุคคลอื่นๆ อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมมีอะไรบ้าง อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมนั้น อาจมีอาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม ซึ่งความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบต่องานประจำวัน ชีวิตในโรงเรียน และกิจกรรมอื่นๆ อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมที่แสดงออกทางพฤติกรรมและอารมณ์ หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกว่ากำลังเป็นศูนย์กลางหรือจุดสนใจ กลัวการอยู่ในสถานการ์ที่ต้องอยู่กับคนแปลกหน้า กลัวเมื่อต้องออกไปนำเสนอวิธีการต่างๆ ต่อผู้อื่น กลัวหรือละอายที่ต้องถูกล้อเลียนหรือถูกวิพากษ์วิจารณ์ กลัวการพบปะผู้คนที่มีอำนาจ วิตกกังวลอย่างรุงแรงจนถึงขั้นเสียขวัญ เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความกลัว ไม่ยอมเข้าร่วมกิจกรรมบางอย่าง หรือผู้คุยกับผู้คน เพราะกลัวการอับอายขายหน้า รู้สึกว่างเปล่าเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ทางสังคมที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล รู้สึกกลัวที่จะต้องวิตกกังวล ซึ่งส่งผลทำให้ความวิตกกังวลแย่ลง อาการของโรคกังวลต่อการเข้าสังคมที่แสดงออกทางร่างกาย ใจสั่น ปวดท้อง หลีกเลี่ยงการสบตา หน้าแดง ร้องไห้ โกรธ เกรี้ยวกราด ยึดติดกับพ่อแม่ หรือเกิดความเหงาขึ้นในเด็ก มือเย็นและชื้น สับสน มีเสียงก้องอยู่ในหัว ท้องร่วง พูดคุยได้ยาก เสียงสั่น ปากและลำคอแห้ง เหงื่อออกมากเกินไป ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ความเกลียดชัง ตัวสั่น เสียสมดุลในการเดิน เดินสะดุด สำหรับผู้ที่เป็นโรคกังวลต่อการเข้าสังคม มักเกิดความวิตกกังวลจนทำให้เกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ตามมา มีความรู้สึกไวต่อการวิจารณ์มากเกินไป มีความนับถือตนเองต่ำ มีทักษะทางสังคมที่ไม่ดี ไม่กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม พูดในแง่ลบเกี่ยวกับตัวเองด้วยความคิดที่ไม่ถูกต้องและเอาชนะตนเอง เมื่อเป็นโรคกังวลต่อการเข้าสังคมต้องรักษา อันดับแรกคือการไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เมื่เกิดอาการกลัวและหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคมที่ปกติ เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดความลำบากใจ กังวล หรือตื่นตระหนก การรักษาด้วยจิตบำบัดและการรักษาด้วยยาถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จิตบำบัด เป็นการรักษาทางจิตวิทยาที่ใช้หลากหลายเทคนิค เพื่อช่วยให้มองเห็นตัวเองและปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองในแง่ที่เป็นจริงมากขึ้น รวมถึงหาวิธีการเอาชนะและรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ จิตบำบัดมีหลายประเภทด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

คนที่เป็นพิษต่อผู้อื่น (Toxic People) ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคุณอย่างไรบ้าง

คุณเคยมีเพื่อนที่เหมือนจะดี แต่ก็ทำให้คุณรู้สึกไม่มีความสุขไหม ? หรือว่าในที่ทำงาน มีเพื่อนร่วมงานที่คุณไม่อยากพูดคุยกับเขาเลย เพราะแค่เห็นหน้าก็รู้สึกไม่สบายใจแล้ว บทความนี้ชวนมาดู คุณสมบัติของคนที่เป็นพิษต่อผู้อื่น  (Toxic People)  ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร แล้วการคบกับพวกเขา จะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของคุณได้อย่างไรบ้าง คนที่เป็นพิษต่อผู้อื่น มีลักษณะอย่างไร คนที่เป็นพิษต่อผู้อื่น (Toxic People) มักจะมีลักษณะร่วมกันดังต่อไปนี้ มาลองดูกันว่าเพื่อนของคุณ หรือตัวคุณเองมีลักษณะแบบนี้หรือเปล่า 1.ชอบใช้คนอื่นเป็นเครื่องมือ – คนที่เป็นพิษต่อผู้อื่นมักจะชอบใช้คนอื่นเป็นเครื่องมือ โดยจะพยายามทำให้คนอื่น ยอมทำตามในสิ่งที่พวกเขาต้องการ โดยไม่สนใจว่าคนอื่นจะเดือนร้อนหรือไม่ เช่น ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นตลอดเวลา รบกวนผู้อื่นอยู่ตลอด เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ 2. ชอบวิจารณ์และตัดสินทุกอย่าง – ควรระวังการวิพากษ์วิจารณ์จากคนพวกนี้ เพราะไม่ใช่เรื่องที่คุณควรนำมาใส่ใจ เนื่องจากพวกเขามักจะตัดสินคนอื่น ว่าเป็นแบบนั้นแบบนี้ คนนั้นเป็นคนไม่ดี คนนี้ไม่สวย ไม่หล่อ ซึ่งความจริงแล้วสิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เป็นก็ได้ คุณควรรับฟังข้อมูลจากหลายๆ แหล่งก่อนที่จะตัดสินใจอะไร 3. ไม่เคยโทษตัวเองเลย – บางคนก็ไม่เคยรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ เวลาเกิดปัญหาต่างๆ ก็จะโทษผู้อื่นไว้ก่อน หรือกล่าวโทษโชคชะตา ผลกรรมแต่ชาติปางก่อน ทุกอย่างผิดไปหมด ยกเว้นตัวเอง 4. ไม่เคยขอโทษ – เพราะโทษคนอื่นตลอด พวกเขาไม่เคยคิดว่าตัวเองผิด ก็เลยไม่เคยขอโทษ 5. เล่นบทเหยื่อตลอดเวลา […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

ปัญหาโลกแตก! รับมืออย่างไรเมื่อ เพื่อนร่วมงานเป็นไบโพลาร์

ชีวิตในการทำงานของแต่ละคนอาจไม่ราบรื่นเสมอไป การทำงานส่วนใหญ่มักมีปัญหาให้เราต้องแก้ไขอยู่ตลอดเวลา แต่บางครั้ง ปัญหาจากงานอาจกลายเป็นเรื่องเล็กไปเลย เมื่อเทียบกับปัญหาที่เกิดจากคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า โดยเฉพาะเพื่อนร่วมงาน เพราะเป็นคนที่เราต้องทำงานด้วยและเจอหน้ากันแทบทุกวัน ยิ่งหากใครเจอ เพื่อนร่วมงานเป็นไบโพลาร์ ด้วยแล้ว ชีวิตในการทำงานอาจยิ่งย่ำแย่ จนส่งผลกระทบกับสุขภาพและลามไปถึงคุณภาพในการทำงานด้วย ใครกำลังประสบปัญหานี้อยู่ Hello คุณหมอ มีวิธีรับมือมาให้คุณแล้ว รับรองว่า… ชีวิตการทำงานของคุณจะง่ายขึ้นอีกเยอะ เพื่อนร่วมงานเป็นแบบนี้ ไบโพลาร์ชัวร์! โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างช่วงซึมเศร้าหรือภาวะซึมเศร้า (Depressive Episode) กับช่วงมาเนีย (Mania) หรือภาวะฟุ้งพล่าน หรือ คุ้มคลั่ง (Manic Episode) โดยอาการในแต่ละช่วง อาจเป็นอยู่หลายสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน และอาจกลับมาเป็นปกติได้ในช่วงสั้นๆ ก่อนจะกลับไปมีอาการของโรคไบโพลาร์สลับกันไปมาอีกครั้ง อาการของโรคไบโพลาร์นั้นวินิจฉัยได้ยาก แต่หากคุณสงสัยว่า เพื่อนร่วมงานเป็นไบโพลาร์หรือไม่ ก็สามารถสังเกตเบื้องต้นได้จากอาการและสัญญาณดังต่อไปนี้  สัญญาณของภาวะฟุ้งพล่าน รู้สึกมีความสุข หรือคึกคักเกินปกติ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่อยากนอน หรือนอนน้อย พูดเร็ว คิดเร็ว หุนหันพลันแล่น หรือ ด่วนตัดสินใจ ไม่มีสมาธิ มั่นใจในตัวเองมากเกินไป มักแสดงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ช้อปปิ้งกระจาย เอาเงินเก็บมาใช้แบบไม่เหมาะสม สัญญาณของภาวะซึมเศร้า รู้สึกเศร้าหรือสิ้นหวัง ติดต่อกันเป็นเวลานาน ปลีกตัวออกจากเพื่อนร่วมงาน ครอบครัว คนใกล้ชิด เลิกสนใจกิจกรรมที่เคยโปรดปราน ความอยากอาหารเปลี่ยนไป เช่น จากกินจุกลายเป็นไม่อยากอาหาร […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

8 เหตุผลที่ทำให้คนนอกใจ ที่ไม่ได้มีแค่ ‘เราเข้ากันไม่ได้’

เหตุผลที่ทำให้คนนอกใจ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ไม่ว่าคุณจะโดนคนรักนอกใจ หรือเป็นคุณที่นอกใจคนรักเสียเอง ก็ล้วนแล้วแต่จะกระทบต่อความสัมพันธ์ จนอาจทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้สึกเจ็บปวด โกรธแค้น ซึมเศร้า หรือแม้แต่มีอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย แล้วสาเหตุที่ทำให้คนเรานอกใจกัน เกิดจากอะไรกันแน่ ลองมาดูข้อมูลจากงานวิจัยกันค่ะ 8 เหตุผลที่ทำให้คนนอกใจ งานวิจัยในปี 2017 ที่เผยแพร่ในวารสาร The Journal of Sex Research ได้ทำการศึกษาวิจัย โดยใช้แบบสำรวจทางออนไลน์ในการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 495 คนที่นอกใจคนรัก ว่าพวกเขามีเหตุผลอะไรในการนอกใจกันแน่ โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้หญิง 259 คน ผู้ชาย 213 คน และไม่ระบุเพศ 23 คน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ชายและผู้หญิง 87.9% ส่วนใหญ่อยู่ในวัย 20 ปี และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้มีความสัมพันธ์อย่างจริงจัง มีเพียง 51.8% ที่รายงานว่า มีความสัมพันธ์แบบคบหากันเป็นคู่รัก ผลการวิจัยพบว่ามี 8 ปัจจัยหลักที่ทำให้คนนอกใจ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้อธิบายการนอกใจทุกกรณี เพราะบางกรณีอาจไม่ได้เกิดจาก 8 สาเหตุนี้ก็ได้ แต่ข้อมูลเหล่านี้ก็สามารถช่วยทำให้เข้าใจเหตุผล ที่คนนอกใจได้มากขึ้น ดังนี้ 1 ความโกรธ หรือต้องการแก้แค้น หลายคนนอกใจ เพราะความโกรธและอยากแก้แค้น […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

กอดเติมพลัง ชาร์ตแบตให้ใจและกายให้เต็มร้อย

ประโยชน์ของการกอด ในช่วงเวลาที่เรารู้สึกเหนื่อย หรือว่าเศร้าใจ สามารถช่วยเป็นกำลังใจที่ดีได้ในยามท้อแท้ การได้อ้อมกอดดีๆ จากคนที่เรารัก มันช่างเติมเต็มหัวใจให้มีความสุขขึ้นมาก เรียกได้ว่าการกอดเป็นการแสดงความรักที่เปรียบเสมือนยาวิเศษ ช่วยทำให้อบอุ่นหัวใจ การกอดนอกจากจะช่วยรักษาในเรื่องของจิตใจ อารมณ์ของเราแล้ว ประโยชน์ของการกอด ยังส่งผลต่อสุขภาพของเราในด้านอื่นๆ อีกด้วย Hello คุณหมอ อยากชวนทุกคนมารู้ ประโยชน์ ของการกอดกันค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] พลังแห่งการกอด การกอด เราสามารถเรียกมันว่า “พลัง” ได้จริงๆ เพราะขณะที่ร่างกายเรากำลังหมดเรี่ยวแรง เมื่อได้กอดดีๆ มาเติมเต็มก็ทำให้เรารู้สึกเหมือนชาร์ตแบตให้เต็มอีกครั้ง เพราะการกอดเป็นการสัมผัสที่ช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียด ช่วยให้เกิดความผูกพันธ์ รู้สึกถึงความมั่นคง ความปลอยภัยทางอารมณ์ เมื่อมีการสัมผัสไม่ว่าจะเป็นการจับมือ การกอด เราจะรับรู้ถึงความรู้สึกนั้น และร่างกายก็จะมีการตอบสนอง สมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) จะผลิตสารเคมีที่เรียกว่าออกซิโทซิน (Oxytocin) หรือ ฮอร์โมนแห่งความรัก ซึ่งปล่อยออกมาจากต่อมใต้สมอง เมื่อมันเข้าสู่ร่างกาย เราจะรู้สึกอบอุ่น รู้สึกดี หลังจากกอดพลังการกอดก็จะยังคงอบอวลอยู่กับเรา เพราะออกซิโทซินจะช่วยก่อให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจ การถูกเอาใจใส่และความสงบ นอกจากนี้ยังกระตุ้นการทำงานของฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง ทำให้การลำเลียงของออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายดีขึ้น ผลที่ตามมาคือร่างกายจะกระปรี้กระเปร่าและแข็งแรง สุขภาพดีขึ้น ช่วยรักษาภาวะซึมเศร้า ลดความเครียด ประโยชน์ของการกอด ลดความรู้สึกโดดเดี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนสูงอายุหรือคนป่วยที่มีความเปราะบาง […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

ติดมือถือทำร้ายชีวิตรัก อาการติดมือถือกำลังบ่อนทำลายชีวิตรักของคุณอยู่หรือเปล่า

แฟนเรียกไม่ได้ยินเพราะกำลังแชทอยู่กับเพื่อน แฟนนั่งอยู่ข้างๆ แต่ตาเอาแต่จ้องหน้าจอโทรศัพท์ ระวังจะเสียคนรักโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากมีงานวิจัยหลายงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่าการ ติดมือถือทำร้ายชีวิตรัก ของคุณ ติดมือถือทำร้ายชีวิตรัก เราได้อย่างไร งานวิจัยพบว่า การใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินไป ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบเลอร์ (Baylor University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สำรวจชาวอเมริกัน วัยผู้ใหญ่ 450 คน ว่าการใช้โทรศัพท์มือถือส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักหรือไม่ ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มที่ไม่ได้รับความสนใจจากคู่รักมีมากกว่า 46% กลุ่มที่บอกว่า อาการติดโทรศัพท์มือถือสร้างความขัดแย้งให้คู่รัก มีจำนวน 23% กลุ่มที่บอกว่าพวกเขารู้สึกหดหู่บางครั้ง มีจำนวน 37% และมี 32% ที่บอกว่าโทรศัพท์มือถือไม่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ เจมส์ โรเบิร์ต ศาสตราจารย์ภาคการตลาด หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่า สิ่งที่งานวิจัยค้นพบคือ การติดมือถือจนไม่สนใจคนรัก จะทำให้เกิดความขัดแย้งและความไม่พอใจกัน ผลเสียของอาการติดมือถือคือ บั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก และอาจยังส่งผลให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจในตัวเอง ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าในที่สุด คู่สามีภรรยากับอาการติดมือถือ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ได้ศึกษาพฤติกรรมการใช้ โซเชียลมีเดีย ของคู่สมรส ชาวยุโรป 24,000 คน พบว่าการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค ส่งผลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรสของคู่รัก โดยคู่รักมีแนวโน้มที่จะดูชีวิตของคนในโซเชียล มีเดีย และเอามาเปรียบเทียบกับคนรักของตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดความไม่พึงพอใจต่อคนรัก และยังมีการสำรวจที่พบว่า โทรศัพท์มือถือทำให้คู่รักห่างกัน […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม