ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น เช่น การจัดการกับความโกรธ เทคนิครับมือกับความเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวต่าง ๆ หาคำตอบได้ที่นี่เลย!

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ประโยชน์ของการร้องไห้ ต่อสุขภาพ ที่คุณอาจไม่เคยรู้

การร้องไห้ เป็นเรื่องปกติของคนเรา ที่ร่างกายจะตอบสนองต่ออารมณ์ต่าง ๆ ทำให้เรานั้นร้องไห้ออกมา ไม่ว่าจะเป็นความเสียใจ ความสุข หรือร้องไห้เมื่อรู้สึกโกรธ ซึ่งนักจิวัยพบว่าการร้องไห้นั้นมีประโยชน์ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับ ประโยชน์ของการร้องไห้ มาให้อ่านกันค่ะ [embed-health-tool-bmr] ทำไมมนุษย์เราถึงร้องไห้ การร้องไห้เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของมนุษย์ ต่ออารมณ์และความรู้สึกที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสีย ความเศร้าโศก เสียใจ หรือแม้กระทั่งความสุข แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะร้องไห้ เมื่อพวกเขาตกอยู่ในภาวะความเศร้าโศก หรืออาจจะร้องไห้น้อยกว่าที่ตนเองหรือผู้อื่นคิด แม้ว่าสำหรับหลาย ๆ คน มักจะร้องไห้เมื่อรู้สึกเศร้า แต่การไม่ร้องไห้ เมื่อรู้สึกเศร้าก็ไม่ได้ถือว่าเป็นความผิดปกติแต่อย่างใดสาเหตุหลักอาจเป็นเพราะคนเรามีความแตกต่างกันมาก ทั้งการแสดงออกต่อภาวะสะเทือนอารมณ์ และปฏิกิริยาการตอบสนองของระบบประสาท ต่อความตึงเครียดจากความเศร้าโศก โดยเฉพาะในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่น ๆ ที่คนร้องไห้อีก เช่น ร้องไห้เมื่อถูกกระตุ้นจากบางอย่าง เช่น แสงแดด แก๊สน้ำตา สารระเหยจากหัวหอม หรือร้องไห้จากการระคายเคือง ประโยชน์ของการร้องไห้ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ ประโยชน์ของการร้องไห้ต่อสุขภาพกาย ล้างสารพิษในร่างกาย Reflex tears หรือ น้ำตาที่เกิดจากการกระตุ้น เป็นน้ำตาที่มีส่วนช่วยล้างเศษฝุ่น ออกจากดวงตา ส่วนน้ำตาที่ช่วยเพิ่มความหล่อลื่น (Continuous tears) นอกจากช่วยเพิ่มชุ่มชื่นให้ดวงตาแล้วยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้ออีกด้วย ส่วนน้ำตาจากอารมณ์ (Emotional tears) […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ย้ำคิดย้ำทำ กับเพอร์เฟกชันนิสต์ เส้นกั้นบางๆ ของจิตผิดปกติ

คุณคงเคยพบเห็นคนหรือตัวละครที่มีบุคลิกรักษาความสะอาดมากเกินปกติ และมักทำความสะอาดทุกสิ่งหลังการสัมผัส บางคนอาจคิดว่าพฤติกรรมเหล่านี้คงเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มคนที่นิยมความสมบูรณ์แบบ หรือ เพอร์เฟกชันนิสต์ แต่หากถามจิตแพทย์ อาจได้คำตอบว่า อาการเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของโรค ย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder, OCD) นั่นเอง โรคย้ำคิดย้ำทำ เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่หากเกิดขึ้นแล้ว ถือเป็นอาการป่วยรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วยและคนที่อยู่รอบตัวอย่างมาก โรคนี้เป็นความผิดปกติทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะไม่กล้าเปิดเผยให้คนอื่นรู้ว่าเขามีความผิดปกติ จึงเป็นสาเหตุที่ผู้ป่วยหลายคนไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่น่าเกิดขึ้น โรค ย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder: OCD) เป็นรูปแบบหนึ่งของความผิดปกติทางจิตชนิดเรื้อรัง และคงอยู่เป็นระยะเวลานาน โดยมีลักษณะเฉพาะ คือ ความผิดปกติทางสมองในกระบวนการประมวลผลข้อมูล พวกเขาจะเกิดความคิดแบบซ้ำๆ (ความหมกมุ่น) และพฤติกรรม (การย้ำทำ) ที่ทำให้เขาหรือเธอรู้สึกถึงแรงกระตุ้นให้ทำสิ่งใดๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ต่อไปนี้เป็นสิ่งแสดงอาการในระยะเริ่มต้นของโรคย้ำคิดย้ำทำ โรคนี้เป็นอาการป่วยทางจิตที่พบไม่บ่อย และคนที่เป็นโรคนี้ตามปกติเป็นวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว แต่ก็สามารถเกิดได้ในผู้สูงอายุหรือเด็กได้เช่นกัน ควรทำการวินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อไม่ให้ทำให้เกิดผลเสียรุนแรงตามมาซึ่งจะส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของพวกเขาในระยะยาว ในระยะเริ่มต้น การหมกมุ่นกับสิ่งที่มองไม่เห็นหรือไม่มีตัวตนมักจะทำให้จิตใจของผู้ป่วยตกอยู่ในสภาวะกังวล เหนื่อยล้า และสับสน เช่น การรังเกียจสิ่งที่มองเห็น (visual aversion) หรือผมร่วง หรือมีพฤติกรรมอื่นๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด คือ มีพฤติกรรมลักเล็กขโมยน้อย หรือการจับจ่ายซื้อของแบบไม่ยั้งคิด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

พฤติกรรมและอาการแปลกๆ สัญญาณเบื้องต้นที่อาจนำไปสู่ โรคจิตเภท

โรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป โดยเกิดขึ้นได้อัตราหนึ่งในร้อยของบุคคลทั่วไป และสามารถเป็นได้ตั้งแต่วัยรุ่น ขั้นแรกของโรคจะเรียกว่าระยะแสดงอาการ (Prodromal phase) ในระยะนี้ การนอนหลับ อารมณ์ความรู้สึก แรงจูงใจ การสื่อสารและความสามารถในการคิด จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด อาการของ โรคจิตเภท เป็นอย่างไร โรคจิตเภทจะทำให้ผู้ป่วยมีความคิด ความรู้สึก และการกระทำที่ผิดปกติไปจากเดิม แต่ละคนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการไม่เหมือนกัน และอาการนั้นสามารถเป็นๆ หายๆ ได้เช่นกัน ไม่มีผู้ป่วยคนใดจะแสดงอาการตลอดเวลา โดยทั่วไป อาการจะแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอาการทางบวก (Positive Symptoms) มีพฤติกรรมที่เริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม กลุ่มอาการทางลบ (Negative Symptoms) หยุดการกระทำหรือพฤติกรรมที่เคยทำ และมีอาการเฉื่อยชา กลุ่มบกพร่องทางเชาวน์ความคิด (Cognitive Deficit) อาการเหล่านี้ปกติจะเกิดขึ้นในช่วงอายุระหว่าง 16 ถึง 30 ปี โดยที่ผู้ชายมักเป็นเร็วกว่าผู้หญิง อาการกลุ่มทางบวก (Positive) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้ยินเสียงแว่วในหัวซึ่งคอยสั่งการให้ทำสิ่งต่างๆ หรือร้องเตือนถึงอันตราย รวมถึงพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไม่ดีใส่ผู้ป่วย และเสียงแว่วเหล่านั้นอาจเป็นการพูดคุยกันเองได้เช่นกัน ผู้ที่เกิดอาการอาจคิดว่ามีใครสักคนกำลังพยายามควบคุมสมองของตนเองผ่านทางโทรทัศน์ หรือตำรวจจะมาจับกุมตัว รวมถึงรอาจเชื่อว่าตนเองเป็นคนอื่น เช่น คิดว่าตนเองเป็นดาราดังหรือประธานาธิบดี และหลงผิดคิดว่าตัวเองมีพลังพิเศษอีกด้วย มีความคิดและการพูดที่สับสน ผู้ป่วยโรคจิตเภทจะจัดระเบียบความคิดได้ยาก จึงพูดคุยกับคนปกติไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยจึงแสดงพฤติกรรมแปลกแยก อยู่ตัวคนเดียว […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ศาสตร์ในการ ควบคุมความโกรธ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพกายและจิต

ความโกรธ เป็นอารมณ์ธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน แต่ถ้าหากคุณรู้สึกว่าไม่สามารถ  ควบคุมความโกรธ ได้แล้วละก็ นั่นอาจส่งผลร้ายต่อความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจของคุณด้วย  Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับ เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการแสดงอารมณ์โกรธของมนุษย์ทุกคน รวมทั้งเทคนิคในการ ควบคุมความโกรธ ที่คุณสามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และเสริมสร้างสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดีในระยะยาวของตัวคุณเอง มาฝากคุณผู้อ่านทุกคนในบทความนี้ ทำไมคุณจำเป็นต้อง ควบคุมความโกรธ อันที่จริง อารมณ์โกรธก็ไม่ได้แย่ แต่ก็ไม่ได้ดีเท่าใดนัก ก็เหมือนทุกอารมณ์อื่นๆ ที่ทำหน้าที่แสดงข้อความบางอย่างที่อยู่ภายในใจ และแสดงความรู้สึกของคุณออกมา เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจ รู้สึกโดนข่มขู่ หรือแม้แต่รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม แม้จะเป็นเรื่องปกติหากคุณจะรู้สึกโกรธเมื่อได้รับการปฎิบัติที่แย่ๆ จากคนอื่น แต่ความโกรธอาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ทันที หากคุณแสดงมันออกมาในทางที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น และนี่จึงเป็นเหตุผลที่จำเป็นต้องมีเครื่องมือจัดการกับความโกรธ ผลดีของการควบคุมความโกรธคืออะไร วัตถุประสงค์ของการจัดการความโกรธนั้นไม่ได้มุ่งหวังที่จะซ่อนความโกรธเอาไว้ แต่เป็นการทำความเข้าใจและรู้เท่าทัน เหตุผลของการเกิดอารมณ์เหล่านั้น และแสดงมันออกมาในเชิงสร้างสรรค์และไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อทั้งตัวคุณเองและคนรอบข้าง ถ้าคุณประสบความสำเร็จในการจัดการความโกรธ ไม่เพียงแต่คุณจะรู้สึกดีเท่านั้น แต่คุณยังสามารถที่จะจัดการความขัดแย้งต่างๆ ในชีวิต รวมทั้งสามารถเสริมสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้อีกด้วย เทคนิคการควบคุมอารมณ์โกรธอย่างได้ผล เทคนิดเหล่านี้ จะช่วยคุณทำความเข้าใจอารมณ์โกรธและควบคุมอารมณ์โกรธได้ดีขึ้น คิดก่อนพูด คุณควรใช้เวลาหยุดคิดสักครู่ ก่อนที่จะพูดอะไรออกมา เพื่อรวบรวมและเรียบเรียง สิ่งที่คุณอยากจะพูดออกมาให้เรียบร้อยภายในหัวก่อน แล้วจึงค่อยพูดออกมา เพราะหากคุณปล่อยให้อารมณ์โกรธครอบงำ แล้วพูดออกมาโดยไม่คิด คุณอาจจะเสียใจภายหลังได้ รอให้ใจเย็นลงก่อนแล้วค่อยบอกว่าโกรธ การบอกให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าคุณโกรธนั้นเป็นเรื่องดี เพราะจะช่วยให้ปรับความเข้าใจกันได้ดีขึ้น แต่การบอกไปขณะที่กำลังโกรธอยู่ อาจทำให้อารมณ์ปะทุ และใช้แต่อารมณ์คุยกัน จนอาจเผลอทำร้ายอีกฝ่ายได้ คุณควรรอให้ใจเย็นลงเสียก่อน แล้วจึงค่อยพูดคุยปรับความเข้าใจกับอีกฝ่าย เพื่อจะได้อธิบายสิ่งที่คุณไม่พอใจได้อย่างชัดเจน […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ใครกำลังเสียเซลฟ์มาทางนี้! 5 เทคนิคดีๆ พิชิตความ ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง

ชีวิตคนเรานั้นเต็มไปด้วยความเหงาและความรู้สึกขาดหาย เมื่อเรานั้นไม่รู้สึกเชื่อมันในตัวเอง ความรู้สึก ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง (self-doubt) อย่างรุนแรงนั้น อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เป็นเหตุให้สูญเสียโอกาสดีๆ มากมายในชีวิต เช่น งานในฝัน สัมพันธภาพดีๆ หรือแม้แต่ความสุขของตัวเราเอง มาดูสาเหตุทางจิตวิทยาที่ทำให้คุณขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง พร้อมลองเทคนิคสร้างความมั่นใจต่อไปนี้ ภาวะ ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง คืออะไร ลองนึกย้อนดูว่า กี่ครั้งแล้วที่คุณเกิดความคิดที่ยอดเยี่ยมและคุณคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ และไม่แม้แต่จะลองลงมือทำ ผลลัพธ์ก็คือ คุณเห็นคนอื่นทำมันและไประสบความสำเร็จแทนที่จะเป็นตัวคุณ มีคนเก่งๆ มากมายที่ชีวิตและการงานของพวกเขากลับไม่ราบรื่นเพียงเพราะพวกเขาหรือรู้สึกไม่มั่นใจ หรือกล่าวได้ว่า พวกเขายังรู้สึกสูญเสียความเชื่อมั่นในตัวเอง การขาดความมั่นใจนั้นไม่ใช่คำตรงกันข้ามกับคำว่า ไม่มีความสามารถ หรือ ไม่มีศักยภาพ คนส่วนใหญ่ที่รู้สึกไม่มั่นใจในตนเองมักจะมีลักษณะดังนี้ ไม่มองโลกตามความเป็นจริง หรือ ไม่มีเป้าหมาย กลัวความล้มเหลว กลัวผลลัพธ์ไม่เป็นอย่างที่คิด ใส่ใจความคิดเห็นของคนอื่นมากเกินไป ไม่เคยรู้สึกพึงพอใจหรือมั่นใจกับอะไรเลยในชีวิต เหตุใดคุณถึงรู้สึกไม่เชื่อมั่นในตัวเองและจะแก้ไขได้อย่างไร ไม่มองตัวเองตามความเป็นจริง เพราะคุณไม่มั่นใจในตัวเอง จึงมักจะประเมินค่าตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง รู้สึกด้อยกว่าเมื่อนำตัวเองไปเปรียบเที่ยบกับผู้อื่น จนกลายเป็นคนปิดตัว รู้สึกอ้างว้าง หรือถูกทอดทิ้ง นอกจากนี้ คุณยังรู้สึกว่าต้องการใครสักคน หรืออะไรสักอย่างเพื่อมาทำให้มีชีวิตชีววา ในยามที่คุณไม่มีใครอยู่เคียงข้าง ก็จะกลายเป็นคนเก็บตัว คาดหวังจากคนอื่นมากเกินไป เมื่อคุณคิดว่าคนอื่นรอบตัวคุณจะต้องแสดงพฤติกรรมอย่างที่คุณคิด นั่นแปลว่าคุณกำลังแบกความคาดหวัง ความมั่นใจและความสุขของตัวคุณเองไปทุ่มเทกับความไม่แน่นอน คนเราไม่เหมือนกันและแต่ละคนก็มีความคิดอ่านที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงไม่มีทางที่ใครจะทำทุกอย่างที่เราคาดหวัง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่รักคุณ เลิกคาดหวังและเลิกวางมาตรฐานกะเกณฑ์สิ่งต่างๆ จากคนอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดหวัง หากผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คุณคาดไว้ ไม่รู้คุณค่าของตนเอง คนส่วนใหญ่โอดครวญถึงสิ่งที่ตัวเองไม่มีและอยากเปลี่ยนแปลงความเป็นจริง โดยไม่มองถึงสิ่งที่ตนเองมีอยู่ในมือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สุด เมื่อคุณรู้สึกพึงพอใจในสิ่งที่ตัวคุณมีและชื่นชมมันทุกวัน นั่นแหละเป็นเวลาที่คุณจะรู้สึกว่าความสุขเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพราะคุณมีชีวิตอยู่เพื่อสิ่งนั้น ไม่รู้วิธีใช้เวลา หากคุณนั่งลงแล้วคำนวณดู จะพบว่าตัวคุณเองนั้นอาจใช้เวลาสิ้นเปลืองไปกับความคิดลบๆ มากมาย มัวแต่ไปสนใจคนอื่น นั่งดูเว็บไซด์เป็นชั่วโมงอย่างไร้จุดมุ่งหมาย […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เซลฟี (Selfie) เป็นประจำ เป็นอาการของ โรคหลงตัวเอง หรือเปล่า

คุณอาจมองว่า การ เซลฟี (Selfie) หรือการถ่ายรูปตนเองด้วยกล้อง แล้วโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย เป็นเพียงการแชร์เรื่องราวของตัวเองให้เพื่อนๆ รู้ แต่มีงานวิจัยที่ชี้ว่า ผู้ที่ชอบเซลฟีบ่อยๆ และลงรูปเซลฟีวันละหลายๆ ครั้ง อาจเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังเป็น โรคหลงตัวเอง ก็เป็นได้ เซลฟี เป็นประจำ เป็นอาการของโรคหลงตัวเองหรือเปล่า งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Open Psychology Journal ได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 74 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-34 ปี เป็นเวลา 4 เดือน และพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่โพสต์รูปภาพจำนวนมากและเซลฟีบนโซเชียลมีเดีย มีลักษณะนิสัยที่แสดงความหลงตัวเอง เช่น ชอบโอ้อวด รู้สึกว่าตัวเองเหนือกว่าผู้อื่น เอาเปรียบผู้อื่น ต้องการการยอมรับอย่างมาก เพิ่มขึ้นประมาณ 25% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่เข้าข่ายเป็นโรคหลงตัวเอง เมื่อวัดจากเกณฑ์ที่ทีมนักวิจัยกำหนดไว้ ในขณะที่ กลุ่มตัวอย่างที่เน้นโพสต์ข้อความลงโซเชียลมีเดีย ไม่เน้นโพสต์รูปเซลฟี กลับไม่พบความเปลี่ยนแปลงนี้แต่อย่างใด แม้งานวิจัยชิ้นนี้พบการโพสต์รูปเซลฟีบ่อยๆ นั้นสามารถทำให้คนเราหลงตัวเองมากขึ้นได้ แต่ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ที่โพสต์รูปเซลฟีบ่อยๆ จะต้องกลายเป็นโรคหลงตัวเองเสมอไป แต่นักวิจัยก็ชี้ว่า หากเปรียบกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากร ก็เท่ากับว่า ประชากรประมาณ 20% อาจมีลักษณะนิสัยหลงตัวเองมากขึ้น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ฝันร้าย คืออะไรและมันกำลังบอกอะไรกับเราบ้าง?

ฝันร้าย ที่ทำให้สะดุ้งตื่นกลางดึก นอกจากจะรบกวนการนอนหลับแล้ว บางครั้งอาจทำให้คุณกลัวจนต้องเปิดไฟนอนทั้งคืนด้วย ความจริงแล้วฝันร้ายคืออะไร และฝันร้ายหมายถึงความเครียดและวิตกกังวลหรือเปล่า Hello คุณหมอ ไปหาคำตอบกันเลย ฝันร้าย คืออะไร ฝันร้าย คือความฝันเหมือนความจริง ที่รบกวนการนอนหลับของคุณ และทำให้ตื่นจากการหลับลึก อีกทั้งฝันร้ายมักจะทำให้หัวใจเต้นแรงเพราะความกลัวด้วย ฝันร้ายมีแนวโน้มเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในช่วง REM sleep ที่ย่อมาจาก Rapid Eye Movement sleep ซึ่งเป็นช่วงที่ดวงตาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว และเป็นช่วงที่ยาวนานประมาณ 90 นาที นอกจากนี้ หลายคนมักจะฝันร้ายในช่วงเช้ามืดมากกว่าช่วงเวลาอื่นด้วย สาเหตุที่ทำให้ฝันร้าย อาจเกิดจากความเครียด เนื่องจากมีงานวิจัยจากประเทศอังกฤษชิ้นหนึ่งเผยว่า ประสบการณ์ความเครียดตลอดทั้งวัน สามารถเชื่อมโยงกับความฝันของคุณได้ อีกทั้งยังมีงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ The journal Motivation and Emotion ชี้ว่า แม้ในเวลาที่คุณหลับ ก็ไม่สามารถหนีจากหัวหน้างานที่คอยจู้จี้ และความกดดันอื่น ๆ ในชีวิตได้ และถ้าคุณรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว ความรู้สึกและอารมณ์เหล่าก็นี้สามารถแทรกซึมเข้าไปในความฝันของคุณได้ด้วย ฝันร้ายแบบนี้ บอกอะไรกันแน่ จากงานวิจัยพบว่าฝันร้ายอันดับต้น ๆ ที่คนมักจะฝันกันมากที่สุด ได้แก่ ฝันว่าตกจากที่สูง 39.5% ฝันว่าโดนไล่ล่า หรือฝันว่าวิ่งหนี 25.7% ฝันว่าเป็นอัมพาต ขยับตัวไม่ได้ 25.3% ฝันว่าไปถึงที่หมายสาย […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เราจะรับมือกับความเศร้าจากการ สูญเสียคนที่รัก อย่างไร

แน่นอนว่า ความตกใจและความเสียใจหลังจากการ สูญเสียคนที่รัก นั้น เป็นความรู้สึกที่ไม่อาจบรรยายได้ การสูญเสียเพื่อนหรือคนที่คุณรักเป็นสิ่งที่ทำใจลำบาก และอาจทำให้คุณรู้สึกว่ามีบางอย่างที่เปลี่ยนไป หรือต่อไปนี้ ชีวิตของคุณจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว หรือ คุณอาจกังวลว่าคุณจะใช้ชีวิตตามปกติอย่างไรต่อไป ความเศร้าอาจจะยังติดอยู่ในใจคุณเป็นระยะเวลานาน และทำให้คุณอ่อนแอทุกครั้งเมื่อนึกย้อนเหตุการณ์นั้น อย่างไรก็ตาม คุณเองสามารถเรียนรู้จากการสูญเสีย และรู้จักการมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างเข้มแข็ง รวมทั้งต้องประคองจิตใจให้ก้าวผ่านความท้าทายครั้งนี้ให้ได้ โดยใช้หลักการการเยียวยาจิตใจที่คุณสามารถเริ่มต้นได้ด้วยตัวเอง ด้วยคำแนะนำที่อาจเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณ ที่ทาง Hello คุณหมอ นำมาฝากกันในบทความนี้ ความโศกเศร้าในทางการแพทย์ คืออะไร ความโศกเศร้า เป็นปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคุณสูญเสียบางคนหรือบางสิ่งที่สำคัญต่อจิตใจไป ความรู้สึกต่างๆ อาจเกิดขึ้นเป็นลำดับ เมื่อมาถึงจุดของความสูญเสีย โดยแพทย์ได้จัดลำดับความรู้สึกโศกเศร้าไว้ 5 ลำดับ ได้แก่ การปฏิเสธ ความโกรธ การต่อรอง ภาวะซึมเศร้า การยอมรับ ทุกคนผ่านขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ด้วยวิธีของตนเอง สิ่งที่เตือนใจถึงความสูญเสีย เช่น การครบรอบการแต่งงาน ความตาย หรือเพลงธรรมดาทั่วไป ก็สามารถทำให้ความรู้สึกเศร้ากลับมาได้ แต่ละคนมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของตนเองได้แตกต่างกัน และความรู้สึกของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน  วิธีการดังต่อไปนี้เป็นแนวทางในการช่วยเยียวยาสภาพอารมณ์ความรู้สึกของคุณ เมื่อต้องเผชิญกับการสูญเสียคนสำคัญในชีวิต วิธีการรับมือกับการ สูญเสียคนที่รัก ต้องทำอย่างไร หากำลังใจ การมีใครสักใครอยู่เคียงข้าง เมื่อคุณต้องการกำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญ คุณอาจพูดคุยกับเพื่อน คนในบ้าน ผู้ให้คำแนะนำ หรือบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งนี้ การมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มสนับสนุนทางสังคม-ชุมชน ซึ่งมีวิธีการเยียวยาจิตใจที่หลากหลาย ก็เป็นอีกหนึ่งคำแนะนำในการบรรเทาความเศร้าโศกของคุณ เนื่องจากแต่ละคนในกลุ่มอาจมีประสบการณ์การสูญเสียมาก่อน และสามารถเข้าใจความรู้สึกของคุณได้เป็นอย่างดี อดทน ระยะเวลาการรักษาอาจใช้เวลา […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

งานวิจัยชี้ การแต่งงาน ไม่ได้สร้างความสุขให้ชีวิตเสมอไป

การแต่งงาน คือหนึ่งในธรรมเนียมทางสังคมที่มีความสำคัญ และดูเหมือนจะส่งผลกระทบต่อชีวิต และความสุขในชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ ไม่มากก็น้อย โดยคนส่วนใหญ่มักถือว่า สถานภาพการสมรส เป็นเครื่องมือจัดระเบียบสัมพันธภาพทางเพศและสร้างพันธสัญญาร่วมกันระหว่างคู่สมรส สำหรับบางคน การแต่งงานถือเป็นจุดหมายปลายทางของเรื่องราวความรักของคนสองคน และอาจถือเป็นเครื่องชี้ความสุข ความพึงพอใจ ในการใช้ชีวิตอีกด้วย แต่จริงๆ แล้ว ผลที่ตามมาจากการแต่งงานนั้นจะเป็นอย่างไร สร้างความสุขให้กับชีวิตเราได้จริงหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ การแต่งงาน สร้างความสุขในชีวิตจริงหรือ ผลจากงานวิจัยเกี่ยวกับชีวิตคนที่แต่งงานแล้วและชีวิตคนโสด พบว่าผู้ที่แต่งงานแล้วมีความพึงพอใจในชีวิตพอๆ กับการมีรายได้จำนวน 2.5 เท่าของรายได้ครัวเรือนโดยเฉลี่ย โดยผู้ที่แต่งงานแล้วจำนวน 3 ใน 10 มีความพึงพอใจในชีวิตในระดับเท่าๆ กับความพึงพอใจที่มีงานทำ สำหรับคู่ที่อยู่ด้วยกันโดยไม่ได้แต่งงาน พบว่ามีความพึงพอใจคล้ายคลึงกันโดยคิดเป็นจำนวน 2 ใน 3 ของจำนวนของผู้ที่แต่งงานแล้ว มีการศึกษาวิจัยด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา และระบาดวิทยา ถึงข้อดีของการแต่งงาน โดยนักวิจัยในสาขาดังกล่าวได้ทำการศึกษาโดยการเปรียบเทียบคนที่แต่งงานแล้วกับคนโสด และพบว่าผู้แต่งงานแล้วนั้นมักมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดีกว่าผู้ที่ยังโสด (เช่น ใช้สารเสพติดน้อยกว่า และมีอาการซึมเศร้าน้อยกว่า) และยังมีอายุที่ยืนยาวกว่าอีกด้วย ผลการวิจัยยังระบุด้วยว่า ผู้ที่แต่งงานแล้วมักมีรายได้มากกว่าคนโสด  ซึ่งนั่นอาจเป็นเพียงเพราะว่า เพศชายที่มีรายได้สูงนั้น มีแนวโน้มว่าจะมีคู่ครองและแต่งงานมากกว่านั่นเอง การแต่งงานทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่างไร ประการแรก การแต่งงานสามารถสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของคู่สมรส เช่น มีที่ให้หลบพักจากความเครียดจากบางแง่มุมของชีวิต โดยเฉพาะเรื่องงาน ซึ่งการแต่งงานนั้นมีประโยชน์ในแง่การมีที่พึ่งทางใจ ไม่ต้องแบกรับปัญหาไว้เพียงคนเดียว […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

Cortisol (ฮอร์โมนความเครียด) มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

Cortisol หรือฮอร์โมนความเครียด เป็นฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยให้ร่างกายจัดการกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด โดยสมองจะกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล เพื่อตอบสนองต่อความเครียดหลายรูปแบบ แต่หากระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงเกินไปเป็นเวลานาน ฮอร์โมนชนิดนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ ผลเสียของ Cortisol มากเกินไป จากการศึกษาพบว่า ระดับ Cortisol ที่สูงมากเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ ดังนี้ โรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคกระดูกพรุน น้ำหนักเพิ่มขึ้น คอร์ติซอลสามารถเพิ่มความอยากอาหาร และส่งสัญญาณให้ร่างกายเปลี่ยนการเผาผลาญพลังงาน เป็นการสะสมไขมัน ซึ่งส่งผลให้อ้วนขึ้นได้ เหนื่อยล้า ฮอร์โมนความเครียดสามารถส่งผลต่อฮอร์โมนอื่น ๆ ในร่างกาย และยังรบกวนการนอนหลับ ซึ่งสามารถทำให้มีอาการเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย ส่งผลต่อการทำงานของสมอง คอร์ติซอลรบกวนหน่วยความจำของสมอง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะสมองล้า (Brain Fog) การติดเชื้อ ระดับฮอร์โมนเครียดที่สูงขึ้นส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อ วิธีลดระดับ Cortisol ด้วยวิธีธรรมชาติ ระดับคอร์ติซอลอาจลดลงได้ด้วยวิธีธรรมชาติ ดังนี้ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เวลานอน ระยะเวลาในการนอนหลับ และคุณภาพของการนอนหลับต่างมีผลกระทบต่อคอร์ติซอลเนื่องจากมีการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 28 คนที่ทำงานเป็นกะ ผลการศึกษาพบว่าระดับคอร์ติซอลเพิ่มขึ้นในผู้ที่นอนหลับในช่วงเวลากลางวัน มากกว่าผู้ที่นอนหลับในเวลากลางคืน นอกจากนี้ การนอนหลับไม่เพียงพออาจทำให้ระดับ Cortisol สูงขึ้น ดังนั้นจึงควรนอนหลับสนิทเป็นเวลา 7-8 ชั่วโมงในเวลากลางคืน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ทำงานเป็นกะ และจำเป็นต้องนอนหลับในเวลากลางวัน วิธีเหล่านี้อาจช่วยลดระดับ Cortisol ได้ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนตอนเย็น งีบหลับ จำกัดสิ่งรบกวน เช่น […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม