ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น เช่น การจัดการกับความโกรธ เทคนิครับมือกับความเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวต่าง ๆ หาคำตอบได้ที่นี่เลย!

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

งานวิจัยชี้ แชท คือตัวป่วนชวนให้คนยิ่งเครียด!

ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ การสนทนาด้วยข้อความหรือการ แชท กลายเป็นการสื่อสารหลักในชีวิตประจำวันของเราไปเสียแล้ว การแชทผ่านแอพลิเคชั่นหรือโซเชียลมีเดีย อย่าง Line, Whatsapp, Wechat, Facebook, และ Instagram ได้กลายเป็นการสื่อสารที่แพร่หลาย แต่คุณเคยรู้สึกเครียด จากการตอบข้อความสนทนาในแชทใช่มั้ย? คุณรู้สึกรำคาญ ที่ได้รับข้อความสนทนาเป็นร้อยๆ ข้อความจากห้องสนทนาแบบกลุ่มหรือเปล่า ? คุณต้องคอยหมั่นเช็กข้อความสนทนาในแชท เพราะกลัวว่าจะพลาดเรื่องสำคัญหรือเปล่า? การศึกษาชิ้นหนึ่งจัดทำโดย Viber เมื่อไม่นานมานี้ พบว่า หนึ่งในสามของผู้ร่วมวิจัยพบว่า ตัวเองมีความเครียด เมื่อต้องใช้การสนทนาด้วยข้อความ และนี่คือรายละเอียดที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมมาให้คุณผู้อ่านได้ทราบกัน ทำไมคนเราถึงเครียดเมื่อสนทนาด้วยข้อความ คนส่วนใหญ่รู้สึกเครียดจากการสนทนาด้วยข้อความ เนื่องจากพฤติกรรมที่น่ารำคาญ งานวิจัยระบุว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 32 นั้นเกิดความรู้สึกหงุดหงิด จากการที่คู่สนทนาหายไประหว่างการสนทนา นอกจากนี้ การใช้ไวยกรณ์ผิดๆ และการใช้อีโมจิมากเกินไป ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้นอีกด้วย บางคนยังพบว่า บางครั้งการสนทนานั้นก็เข้าใจยาก เนื่องจากมีการใช้งานอีโมจิมากเกินไป โดยทั่วไป คนเราจะรู้สึกหงุดหงิด กับการสนทนาแบบกลุ่มที่มีคนมากกว่า 3 คนขึ้นไป โดยผู้ร่วมตอบแบบสอบถามร้อยละ 39 รู้สึกไม่ชอบการใช้งานการสนทนาแบบกลุ่ม โดยการสนทนากันคนละหัวข้อ เป็นพฤติกรรมที่น่ารำคาญที่สุดในการสนทนาแบบกลุ่ม ตามด้วยการแชร์ข้อมูลที่มากเกินไป หรือการส่งภาพหรือวิดีโออันไม่พึงประสงค์ ดังนั้น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

คอร์ติซอล ฮอร์โมนความเครียด ที่ไม่ได้หยุดอยู่แค่ทำให้เครียด!

เวลาที่ร่างกายอยู่ในสภาวะกดดันหรือเครียด ร่างกายจะหลั่งสารที่เรียกว่า คอร์ติซอล ออกมารับมือกับความเครียด แต่ความจริงแล้ว คอร์ติซอลไม่ได้เกี่ยวข้องแค่กับความเครียด แต่ส่งผลกับร่างกายในหลายด้าน การเรียนรู้หน้าที่ต่างๆ ของคอร์ติซอล จึงอาจช่วยให้เราควบคุมระดับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงได้ง่ายขึ้น คอร์ติซอล ฮอร์โมนความเครียดมาจากไหน คอร์ติซอล คือสเตียรอยด์ฮอร์โมน (Steroid hormone) จัดเป็นฮอร์โมนกลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoids) ที่ผลิตจากต่อมหมวกไตชั้นนอก และส่งผ่านไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านกระแสเลือด เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมา เพื่อตอบสนองต่อสภาวะเครียดหรือกดดันต่างๆ จึงมักเรียกกันว่า “ฮอร์โมนความเครียด” หลากหลายหน้าที่ของคอร์ติซอล เนื่องจากเซลล์ส่วนใหญ่ในร่างกายมีตัวรับคอร์ติซอล (cortisol receptor) ฮอร์โมนตัวนี้จึงไม่ได้หยุดอยู่แค่ความเครียด แต่ส่งผลกับการทำงานของร่างกายในหลายด้าน ขึ้นอยู่กับประเภทของเซลล์ เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้กระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) หรือการเผาผลาญพลังงานในร่างกายคงที่ ทำหน้าที่เป็นสารต้านการอักเสบ ช่วยเรื่องความจำ ควบคุมความสมดุลของโซเดียมและของเหลวในร่างกาย ช่วยควบคุมความดันโลหิต ช่วยให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการเป็นปกติ มากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ได้ การหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลส่วนใหญ่ถูกควบคุมโดยสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) และต่อมหมวกไต หรือที่เรียกรวมกันว่า แกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล (Hypothalamic–pituitary–adrenal axis / HPA axis) โดยในแต่ละวัน ระดับคอร์ติซอลในร่างกายของเราจะขึ้นลงหลายครั้ง ปกติจะต่ำสุดในช่วงประมาณเที่ยงคืน และจะค่อยๆ ไต่ระดับสูงขึ้น จนถึงระดับสูงที่สุดในช่วงประมาณ 9 โมงเช้า อย่างไรก็ตาม การใช้ชีวิตที่ผิดปกติ เช่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรควิตกกังวล ผู้ป่วยมีทางทางเลือกการรักษาอย่างไรบ้าง

ความวิตกกังวล (Anxiety) โดยทั่วไปถือเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่ออันตราย ซึ่งเป็นการแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อคุณรู้สึกถูกคุกคาม อยู่ภายใต้ความกดดัน หรือเมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ตึงเครียด แต่หากความวิตกกังวลนั้นมีความรุนแรงเกินไป อาจเป็นอาการของ โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ขึ้นมาได้ โดยแต่ละคนจะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันไป การรักษาสำหรับผู้ป่วยโรควิตกกังวลมีหลายวิธี เช่น การบำบัดความกังวล การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตเพื่อบรรเทาความวิตกกังวล รวมถึงการใช้ยา [embed-health-tool-bmi] การบำบัดความกังวล การบำบัดทางจิต (Psychotherapy) โดยใช้หรือไม่ใช้ยาร่วมด้วยก็ตาม มักจัดว่าเป็นพื้นฐานในการรักษาโรควิตกกังวลโดยทั่วไป รูปแบบเฉพาะของการบำบัดทางจิตหลายประการ ดังที่มีการอธิบายไว้ในการศึกษาวิจัยต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการบรรเทาอาการต่างๆ ของ GAD (Generalized Anxiety Disorder ซึ่งเป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง) ได้แก่ จิตบำบัดแบบจิตพลวัต (Psychodynamic psychotherapy) การบำบัดทางจิตแบบประคับประคองและระบายถึงปัญหา (Supportive-expressive therapy) การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive-behavioral therapy) การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตเพื่อบรรเทาความวิตกกังวล การออกกำลังกายทุกวันเป็นการรักษาที่มีประโยชน์อีกประการหนึ่งสำหรับบรรเทาอาการต่างๆ ของความวิตกกังวล ให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในช่วงเป้าหมายสำหรับอายุเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาทีในแต่ละครั้งที่ออกกำลังกาย หรือให้ลองรูปแบบการหายใจโยคะดังต่อไปนี้ นอนหงายในสถานที่ซึ่งให้ความรู้สึกสบาย หายใจเข้าอย่างช้าๆ ทางจมูก โดยใช้กระบังลมเพื่อดูดอากาศเข้าสู่ปอดพร้อมกับปล่อยให้ท้องขยายออก เมื่อหายใจออก ให้กลับกระบวนการดังกล่าว โดยให้หดท้องในขณะที่หายใจออกอย่างช้าๆ และทั้งหมด ทำซ้ำหลายๆครั้ง ในกรณีที่จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการใช้ยานั้น ความผิดปกติเกี่ยวกับความวิตกกังวลอาจมีการรักษาด้วยการใช้ยาที่แตกต่างกัน กล่าวคือยาบางชนิดช่วยป้องกันและยาบางชนิดมีไว้รักษาให้หายขาด การใช้ยา ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressants) ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressants) […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สัญญาณของโรคซึมเศร้า ที่บอกว่าคุณควรต้องรับความช่วยเหลือได้แล้ว

เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเศร้าสักครั้งหนึ่งในชีวิต มนุษย์นั้นให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึก การรู้สึกหดหู่หลังจากตกงาน หรือมีปัญหาในความสัมพันธ์นั้น ไม่ได้หมายความว่า คุณจะเป็นโรคซึมเศร้า แต่หากคุณเคยมีอาการวิตกกังวลอย่างรุนแรง หรือถูกครอบงำด้วยความรู้สึกเศร้าหมอง จนทำให้ชีวิตของคุณยุ่งเหยิง หรือมี สัญญาณของโรคซึมเศร้า ต่อไปนี้ คุณอาจจำเป็นต้องรับการช่วยเหลือทางการแพทย์ [embed-health-tool-bmr] สัญญาณทั่วไปของโรคซึมเศร้า สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (The National Institute of Mental Health) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ทำรายการอาการของโรคซึมเศร้าไว้ดังนี้ มีความสนใจในระยะสั้น ความจำไม่ดี ตัดสินใจไม่ได้ รู้สึกผิด ผิดหวังในตัวเอง รู้สึกหมดหนทาง มองโลกในแง่ร้าย การนอนหลับที่ผิดปกติ ทั้งนอนมากเกินไป หรือนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย สูญเสียความสนใจในสิ่งต่างๆ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ นิสัยการกินอาหารเปลี่ยนแปลงไป ทั้งกินมากขึ้นหรือกินน้อยลง มีอาการปวดทางกายภาพที่ไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวด รู้สึกว่างเปล่า มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย และพยายามฆ่าตัวตาย สัญญาณของการฆ่าตัวตายในโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้านั้นนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความตั้งใจที่จะฆ่าตัวตาย สัญญาณเตือนของการฆ่าตัวตายในโรคซึมเศร้า ที่มักพบโดยทั่วไปมีดังนี้ อารมณ์เปลี่ยนแปลงจากรู้สึกเศร้าไปมีความสุขอย่างฉับพลัน พูดถึงเกี่ยวกับเรื่องของความตายบ่อยๆ ทำอะไรเสี่ยงๆ ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ สูญเสียความสนใจในทุกสิ่งอย่างสิ้นเชิง พูดเกี่ยวกับความสิ้นหวัง จัดการทำงานให้เสร็จสิ้น ทำพินัยกรรม ติดต่อหาคนรัก พูดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย หากคุณหรือคนใกล้ตัวคุณมีอาการเหล่านี้ ควรติดต่อรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในทันที การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า เพื่อการวินิจฉัยโดยสมบูรณ์ แพทย์จำเป็นต้องทราบรายละเอียด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

นอนมากกว่าปกติ เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า และอีกสารพัดโรคร้าย!

คุณเคยพบว่าตัวเอง นอนมากกว่าปกติ หรือเปล่า? หากเป็นเช่นนั้น อาจเป็นผลมาจากภาวะซึมเศร้าก็เป็นได้ ปัญหาเกี่ยวกับการนอนและภาวะซึมเศร้าอาจมีปัจจัยเสี่ยง และอาการทางร่างกายแบบเดียวกัน และภาวะทั้งสองอาจมีการตอบสนองต่อวิธีการรักษาเดียวกัน ปัญหาเกี่ยวกับการนอนยังสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าที่รุนแรงมากขึ้นด้วย การนอนและภาวะซึมเศร้าสัมพันธ์กันอย่างไร ปัญหาเกี่ยวกับการนอน เป็นสิ่งบ่งชี้ประการหนึ่งของภาวะซึมเศร้า คุณอาจนอนมากเกินไป หรือนอนไม่หลับ เมื่อมีภาวะซึมเศร้า สำหรับผู้ที่ทรมานจากการนอนมากเกินไป (hypersomnia) เป็นความผิดปกติทางสุขภาพอย่างแท้จริง ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยส่วนใหญ่แล้ว อาการนอนไม่หลับ (insomnia) มักพบได้ทั่วไป โดยในทางกลับกัน ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับมีความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าผู้ที่นอนหลับปกติได้ถึง 10 เท่า โรคซึมเศร้าทำให้คุณรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง ไร้ค่า และไร้ประโยชน์ แน่นอนว่าเราทั้งหมดสามารถรู้สึกเศร้าหรือหดหู่ได้ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เมื่อคุณรู้สึกเศร้าเป็นเวลานาน และความรู้สึกดังกล่าวรุนแรงขึ้น อารมณ์ซึมเศร้าและอาการทางร่างกายที่สัมพันธ์กัน จะทำให้คุณไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ อาการซึมเศร้าอื่นๆ ได้แก่ รู้สึกเศร้าหรือว่างเปล่าอย่างมาก รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า หรือรู้สึกผิด รู้สึกอ่อนเพลียและเชื่องช้ามาก หรือวิตกกังวลและกระวนกระวาย ขาดความสนใจในสิ่งต่างๆ ซึ่งเคยสนใจมาก่อน หมดแรง มีปัญหาเกี่ยวกับการทำสมาธิ การคิด หรือการตัดสินใจ ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทำให้น้ำหนักร่างกายเปลี่ยนแปลง ความอยากนอนเพิ่มขึ้นหรือลดลง หากมีอาการเหล่านี้อย่างน้อยห้าอาการ เป็นเวลามากกว่าสองสัปดาห์ คุณควรพบแพทย์สำหรับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสม เหตุใดการนอนจึงสำคัญ แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนที่นอนมากเกินไปจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน สาเหตุอื่นๆ ที่เป็นไปได้ของการนอนมากเกินไป ได้แก่ การใช้สารบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ และยาที่แพทย์สั่งบางชนิด อาการอื่นๆ เช่น อาการซึมเศร้า อาจทำให้มีอาการนอนมากเกินไปได้ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

วิธีจัดการกับ ความเหงา ก่อนกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต

ทุกคนคงเคยรู้สึกเหงาบ้างเป็นบางครั้งบางคราว และหลายคนอาจรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล เช่น วันปีใหม่หรือวันวาเลนไทน์ มีผลสำรวจที่พบว่ามีคนเหงาในช่วงวันหยุดยาวเป็นจำนวนมาก แต่หลายคนกลับไม่รู้ว่าต้องจัดการกับ ความเหงา อย่างไร หรือเลือกที่จะไม่พูดถึงความเหงาและความโดดเดี่ยวแล้วความเหงาส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร รวมถึงวิธีรับมือกับความเหงาและความโดดเดี่ยว ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต ความเหงา กับสุขภาพจิต เมื่ออายุมากขึ้น หลายคนคงจินตนาการว่าพวกเขาจะกลายเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข เพราะรายล้อมไปด้วยเพื่อนฝูงและครอบครัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้สูงอายุหลายคนอาศัยอยู่ตามลำพัง เนื่องจากมีรายงานจากสถาบัน The National Council on Aging ว่า ผู้สูงอายุ 1 ใน 6 คนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปอยู่ตามลำพัง และจากการสำรวจในปี 2010 พบว่า 25% ของผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปบอกว่าพวกเขารู้สึกเหงา นอกจากนี้ สำหรับวัยผู้ใหญ่และวัยรุ่น ก็มีงานวิจัยที่ชี้ว่าระดับความเหงาที่สูงกว่า สัมพันธ์กับอาการของโรคซึมเศร้า (Depression) ที่มากกว่า และความสัมพันธ์ระหว่างความเหงากับภาวะซึมเศร้ายังคงมีอยู่ตลอดชีวิต ดังนั้น ถ้าคุณรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว สามารถใช้วิธีเหล่านี้เพื่อจัดการกับความเหงาได้ดังนี้ วิธีจัดการกับความเหงา 1. ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนและครอบครัว เพียงแค่การโทรหา หรือวิดีโอคอลกับเพื่อนและครอบครัวก็อาจช่วยบรรเทาความเหงาได้แล้ว นอกจากนี้ คุณอาจชวนเพื่อนหรือครอบครัวไปทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ออกกำลังกาย หรือเดินเล่นในสวนสาธารณะ ที่นอกจากจะได้จัดการกับความเหงาแล้วยังทำให้สุขภาพดีขึ้นอีกด้วย 2. […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เช็คด่วน อาการแบบนี้อาจเป็นโรคซึมเศร้าไม่รู้ตัว

สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า เช่น การร้องไห้ การขาดความสนใจในสิ่งที่ทำ หรือถึงขั้นคิดเรื่องการฆ่าตัวตาย ถือเป็นสัญญาณและอาการของโรคซึมเศร้า (Depression) ที่หลายคนทราบกันดีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีสัญญาณแปลกๆ ที่อาจหมายถึงโรคซึมเศร้า ดังต่อไปนี้ สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า ทำงานหนักเป็นพิเศษ หรือการบ้างาน ผู้ที่ซึมเศร้าบางคนอาจกลายเป็นคนบ้างาน หรือทำงานอย่างหนัก เนื่องจากมีงานวิจัยหลายงานวิจัยที่รายงานความเชื่อมโยงระหว่างความกังวล โรคซึมเศร้า และการบ้างาน (workaholism) มากไปกว่านั้นยังมีข้อมูลที่พบว่า การทำงานอย่างหนัก (ในบางกรณี) พัฒนาเป็นความพยายามที่จะลดความรู้สึกไม่สบายใจ ที่เกิดจากความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หลายคนอาจดีใจที่น้ำหนักตัวลดลง แต่การที่น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ อาจเป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้าได้ ถ้าคุณพบว่าตัวเองไม่ได้กินอาหาร 3 มื้อต่อวัน หรือกินอาหารเพียง 1-2 ครั้งต่อวันโดยไม่ทราบสาเหตุ (หรือในทางตรงกันข้ามคือ กินมากผิดปกติจนน้ำหนักขึ้น) นั่นอาจหมายถึงโรคซึมเศร้า เนื่องจากโรคซึมเศร้าสามารถทำให้ความอยากอาหารลดลง อารมณ์เสียง่าย อาการของโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยคือ รู้สึกเศร้าอย่างรุนแรง แต่นอกจากความรู้สึกเศร้าแล้ว ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าหลายคนสามารถแสดงพฤติกรรม เช่น โมโหง่าย เกรี้ยวกราด ความอดทนต่ำ และตะคอกใส่ผู้อื่น ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ไม่ได้มีแค่ในผู้ชายหรือวัยรุ่น แต่สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย หากคุณมีอาการหงุดหงิดง่าย ดุด่าคนอื่นบ่อย โดยไม่มีสาเหตุ อาจหมายถึงสัญญาณของโรคซึมเศร้า เบื่อหน่าย หนึ่งในอาการที่พบบ่อยของโรคซึมเศร้าคือ ขาดความสนใจในสิ่งที่ทำ หรือรู้สึกไม่มีชีวิตชีวา และเรามักจะมุ่งความสนใจไปที่ความรู้สึกเศร้าและการสูญเสีย แต่แท้จริงแล้วสัญญาณของโรคซึมเศร้าอีกแบบหนึ่งคือ ความรู้สึกเบื่อหน่ายแบบเดิมๆ ถ้าคุณรู้สึกว่าทุกๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปวดเรื้อรังกับโรคซึมเศร้า เกี่ยวข้องกันมากกว่าที่คุณคิด

เวลาที่คนเราป่วย โรคภัยไข้เจ็บแต่ละโรคมักมีอาการร่วม และสามารถนำไปสู่โรคอื่นๆ ได้ไม่ยาก ไม่แปลกที่เมื่อคุณมีปัญหาสุขภาพกาย ปัญหาสุขภาพจิตหรืออารมณ์ก็อาจตามมา ยกตัวอย่างภาวะหรือโรคที่พบเจอกันได้บ่อย อย่างอาการ ปวดเรื้อรังกับโรคซึมเศร้า ที่หลายๆ อาจยังไม่รู้ว่าทั้งสองโรคนี้เกี่ยวข้องกัน แต่จะเกี่ยวข้องกันอย่างไร Hello คุณหมอมี ข้อมูลมาแบ่งปัน ดังต่อไปนี้ ทำความรู้จักกับอาการปวดเรื้อรัง อาการปวดเรื้อรัง หรือความปวดเรื้อรัง (Chronic pain) เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นนานกว่า 3 เดือน โดยอาจปวดเป็นพักๆ หรือปวดต่อเนื่องก็ได้ อาการปวดเรื้อรังส่วนใหญ่ไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่อาจเกิดจากเพราะปัญหาสุขภาพ หรือโรคภัยไข้เจ็บ เช่น เส้นประสาทถูกทำลาย โรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ โรคเบาหวาน อาการปวดเรื้อรังที่พบได้บ่อยๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง อาการปวดจากโรคมะเร็ง อาการปวดจากโรคข้ออักเสบ อาการปวดที่เกิดจากสภาพจิตใจ ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้สูงอายุ แต่ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุ หรือมีน้ำหนักตัวเกินก็เสี่ยงมีอาการนี้ได้เช่นกัน โรคซึมเศร้า… โรคทางอารมณ์ โรคซึมเศร้า (Depression) คือ ความผิดปกติทางอารมณ์ ที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรม ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอาการ เช่น เศร้า เสียใจ หมดสนุกกับกิจกรรมที่เคยโปรดปราน น้ำหนักขึ้นๆ ลงๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รับมือกับโรคซึมเศร้า ไม่ยากอย่างที่คิด!

โรคซึมเศร้าเป็นอาการผิดปกติทางอารมณ์ที่สามารถส่งผลต่อการคิด ความรู้สึก และกิจกรรมประจำวันของคุณได้ คุณอาจรู้สึกลำบากใจ ที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น หรือผู้เชี่ยวชาญ ต่อไปนี้ เป็นเคล็ดลับที่ได้ผลและปลอดภัย เพื่อช่วยให้คุณ รับมือกับโรคซึมเศร้า ของคุณได้ เคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา การออกกำลังกายที่เหมาะสม มักส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณเสมอ เมื่อคุณเป็นโรคซึมเศร้า คุณอาจไม่ชื่นชอบกิจกรรมที่เคยสนุกสนานมาก่อน คุณอาจคิดว่า คุณจะไม่ชอบกิจกรรมอื่นๆ อย่างไรก็ดี คุณสามารถค่อยๆ ทำให้กิจกรรมต่างๆ กลายเป็นเรื่องสนุกสนานได้ บันทึกกิจกรรมที่คุณเคยสนใจมาก่อนเป็นโรคซึมเศร้า คุณคิดว่าคุณจะชื่นชอบกิจกรรมดังกล่าวได้อีกหรือไม่ คุณสามารถเริ่มทำกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมในแต่ละวัน แล้วเพิ่มระยะเวลาในการทำกิจกรรมดังกล่าว หลังจากทำกิจกรรมแล้ว คุณควรบันทึกหรือพูดคุยกับผู้อื่น เกี่ยวกับสิ่งที่คุณชื่นชอบในกิจกรรมดังกล่าว คุณสามารถแบ่งปันความสนุกสนานกับพวกเข้าได้ พยายามรักษาความกระฉับกระเฉงเอาไว้ สุขภาพของคุณจะดีขึ้น ทั้งทางร่างกายและจิตใจ คิดบวก เมื่อคุณเป็นโรคซึมเศร้า คุณมักคิดในเชิงลบ ความคิดในเชิงลบเหล่านั้น สามารถส่งผลให้โรคซึมเศร้ามีอาการแย่ลง และทำให้อารมณ์ไม่ดีมากขึ้น ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับในการคิดบวก หาสาเหตุของการคิดในทางลบ คุณควรหาสาเหตุเกี่ยวกับงาน การเรียน หรือชีวิตประจำวัน ที่ทำให้คุณคิดในทางลบ และหาวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว สังเกตความคิดของตัวเอง คุณควรหยุดพักสักครู่ แล้วสังเกตความคิดของตัวเอง หากความคิดของคุณเกือบจะเป็นไปในทางลบ ให้หยุดความคิดดังกล่าว และเปลี่ยนให้เป็นความคิดในทางบวก ยิ้มให้บ่อยขึ้น คุณอาจหาเรื่องตลกหรือเรื่องขำขันมาดู หรือให้มีอารมณ์ขบขันในเรื่องราวประจำวัน สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้คุณหัวเราะได้มากขึ้น อยู่ใกล้กับคนคิดบวก ให้ระลึกไว้ว่า อารมณ์ดีๆ สามารถส่งต่อหากันได้ ความคิดของคุณอาจได้รับผลจากความคิดของผู้อื่น ตั้งเป้าหมายในชีวิตประจำวัน เมื่อเป็นโรคซึมเศร้า คุณอาจรู้สึกว่าคุณไม่สามารถทำสิ่งใดๆ ได้ คุณมักคิดว่าคุณไร้ค่า ให้ระลึกไว้ว่าไม่มีใครที่ไม่มีค่า คุณสามารถ รับมือกับโรคซึมเศร้า […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคเกลียดเสียง เมื่อเสียงทำให้คุณรู้สึกคลุ้มคลั่ง! โรคนี้มีอยู่จริง!

คุณเคยเห็นคนที่รู้สึกตื่นกลัว เมื่อได้ยินเสียงเล็บกรีดลงบนกระดานบ้างไหม อาการนั้นอาจเป็นอาการที่เรียกว่า โรคเกลียดเสียง หรือมิโซโฟเนีย (Misophonia) โรคเกลียดเสียงเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่มีเสียงบางอย่าง ซึ่งทำให้คนเรารู้สึกเกลียดอย่างรุนแรง ดังนั้น จึงรู้จักกันอีกอย่างในฐานะของกลุ่มอาการที่ไวต่อการรับรู้ของเสียงบางอย่าง อาการของ โรคเกลียดเสียง เป็นอย่างไร อาการของโรคเกลียดเสียงนั้น โดยปกติแล้วจะเกิดจากสิ่งเร้า ซึ่งมีหลากหลายอย่าง อาจเป็นเสียงที่คนทำ หรือจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ บางอย่าง ดังนั้น แม้แต่เสียงเคี้ยว หาว ผิวปาก หายใจ ต่างก็สามารถกระตุ้นอาการโรคเกลียดเสียงได้ทั้งสิ้น อาการของโรคเกลียดเสียง ในกรณีที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจเกิดอาการดังต่อไปนี้ วิตกกังวล อึดอัด รู้สึกไม่สบาย อยากหลีกหนี เกิดความรู้สึกรังเกียจ ในกรณีที่อาการรุนแรง อาจมีอาการดังต่อไปนี้ เกรี้ยวกราด เกลียดหรือโกรธ ตื่นตระหนกหรือกลัว อารมณ์ตึงเครียด มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะหยุดต้นตอของเสียง อาการคันยุบยิบใต้ผิวหนัง อยากฆ่าตัวตาย โรคเกลียดเสียงทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมีความสุขกับชีวิตได้อย่างเต็มที่ อาจจะทำให้ไม่สามารถกินข้าวร่วมกับผู้อื่น หรือแม้แต่กับคู่ครอง เพื่อน และครอบครัว บางครั้งผู้ป่วยอาจทำร้ายผู้ที่ทำให้เกิดเสียง ไม่ว่าจะทางวาจาหรือทางร่างกาย เมื่ออาการรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยอาจได้รับผลกระทบจากสิ่งเร้าทางการมองเห็น เพียงแค่การเห็นคนกำลังรับประทานอาหาร ก็อาจกระตุ้นความหงุดหงิดได้ สาเหตุของโรคเกลียดเสียง แพทย์ยังหาสาเหตุของโรคเกลียดเสียงไม่ได้ แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากปัญหาทั้งทางร่างกายและอารมณ์ ซึ่งเกี่ยวกับการที่เสียงส่งผลต่อสมอง และทำให้ร่างกายตอบสนองต่อเสียงที่เข้ามากระตุ้น มีแพทย์บางคนคิดว่า โรคเกลียดเสียงนี้จัดเป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่ โรคเกลียดเสียงเป็นภาวะที่เกิดขึ้นไปตลอดชีวิต โรคนี้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ช่วงอายุระหว่าง 9 ถึง 13 ปี โดยปกติแล้ว ผู้หญิงมีแนวโน้มในการเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย การวินิจฉัยโรคเกลียดเสียงยังคงเป็นคำถาม ในบางกรณี แพทย์อาจวินิจฉัยผิดพลาด และสันนิษฐานว่าเป็นโรควิตกกังวล โรคอารมณ์สองขั้วหรือที่เรียกว่าไบโพลาร์ รวมไปถึงโรคย้ำคิดย้ำทำ จัดการกับชีวิตอย่างไรดี..หากเป็นโรคเกลียดเสียง การจัดการกับโรคเกลียดเสียงมีความยากลำบาก แต่ก็มีวิธีการดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยอาจเข้ารับการบำบัดทางเสียง ร่วมกับการให้คำแนะนำเชิงจิตวิทยา แพทย์อาจใช้เสียงบางอย่าง […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม