สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

หมวดหมู่ สุขภาพจิต เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เมื่อรู้สึกผิดต่อตัวเอง ควร ให้อภัยตัวเอง อย่างไร

คนเราสามารถทำผิดกันได้เสมอ แต่เมื่อทำผิดแล้ว บางคนยังอาจจะรู้สึกผิดต่อตัวเองอยู่ตลอดเวลา บางครั้งถึงขั้นทำให้กลายเป็นโรคต่างๆ ได้ อย่างเช่น วิตกกังวล หรือซึมเศร้า ถ้าหากคุณอยากปล่อยวางความรู้สึกผิดต่อตัวเอง การ ให้อภัยตัวเอง ถือเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่จะทำได้อย่างไรบ้าง ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน การ ให้อภัยตัวเอง มีประโยชน์ด้านใดบ้าง ในด้านจิตวิทยา การให้อภัยนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการให้อภัยตัวเองหรือผู้อื่นก็ตาม นอกจากนั้น การให้อภัยยังมีผลต่อความสุขทางจิตใจอีกด้วย จากการศึกษาในปี 2016 นักวิจัยพบว่า ความเครียด สุขภาพ และการให้อภัยนั้นมีความเชื่อมโยงกันเป็นอย่างมาก ผู้ที่มีระดับความเครียดสูงตลอดชีวิตมักจะประสบกับปัญหาสุขภาพจิตที่ไม่ดี นอกจากนั้น ผู้ที่สามารถให้อภัยผู้อื่นและตัวเองได้ มักจะมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น แม้ว่าพวกเขาจะมีระดับความเครียดที่สูงด้วยก็ตาม สำหรับประโยชน์ของการให้อภัยตัวเอง มีดังนี้ สุขภาพจิต การวิจัยแสดงให้เห็นว่า การให้อภัยมีประโยชน์ทางด้านจิตวิทยาเป็นอย่างมาก ทั้งยังอาจลดอาการซึมเศร้า ความวิตกกังวล และเงื่อนไขทางจิตเวชอื่นๆ แต่ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่มาจากการปลดปล่อยความโกรธ ก็จะทำให้ความเครียดลดลงด้วย ซึ่งผู้ที่สามารถลดระดับความเครียดได้ ก็จะมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น รวมถึงมีพลังงานที่มากขึ้นด้วย สุขภาพกาย การที่คนรู้จักให้อภัยตัวเองอาจมีอาการทางสุขภาพร่างกายดีขึ้นและมีอัตราการตายที่ลดลง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความรู้สึกโกรธและความเกลียดชัง สามารถส่งผลด้านลบต่อสุขภาพได้ ในการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างความโกรธ ความเกลียดชัง และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ยังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมต่อไป ความสัมพันธ์ ความโกรธ ความผิด ความเสียใจ และความขุ่นเคืองใจนั้น สามารถสร้างความเสียหายต่อความสัมพันธ์ได้ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ทำอย่างไรดี เมื่อฉันเป็น โรคกลัวเสียงฟ้าร้อง

เด็กและผู้ใหญ่หลายคนมักมีอาการกลัวเสียงฟ้าร้อง บางรายอาจมีอาการตัวสั่น ร้องไห้ และยิ่งหวาดกลัวมากขึ้นเมื่ออยู่คนเดียว เราจะมีวิธีการกำจัดความกลัวเหล่านี้ออกไปได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ ในบทความเรื่อง ทำอย่างไรดี  เมื่อฉันเป็น โรคกลัวเสียงฟ้าร้อง [embed-health-tool-bmr] ทำความรู้จักกับโรคกลัวเสียงฟ้าร้อง (Astraphobia) โรคกลัวเสียงฟ้าร้อง (Astraphobia) คือ ความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นขณะได้ยินเสียงฟ้าร้อง เป็นความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผล ผู้ป่วยจะรู้สึกวิตกกังวลทั้งๆที่รู้ว่าสิ่งนั้นไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิด แต่ไม่สามารถหยุดความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่โรคนี้มักพบในวัยเด็กมากกว่าวัยผู้ใหญ่ ร่างกายจะรู้สึกอ่อนเพลีย ใจสั่น เหงื่อออก ทุกครั้งเมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้อง โรคกลัวเสียงฟ้าร้องนั้นสามารถรักษาให้หายได้ เช่นเดียวกับโรคอาการกลัวอื่น ๆ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม เช็กด่วน! คุณมีอาการกลัวเสียงฟ้าร้องหรือไม่ ถ้าเสียงฟ้าทำให้คุณแล้วมีอาการดังต่อไปนี้ นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคกลัวเสียงฟ้าร้อง รู้สึก ชา ตัวสั่น หัวใจเต้นไว หายใจติดขัด เจ็บหน้าอก ฝ่ามือ มีเหงื่อออก รู้สึกว่าต้องหลบซ่อนตัวขณะที่เสียงฟ้าร้อง เช่น หลบอยู่ในตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำ ใต้เตียง เป็นต้น ร้องไห้ ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็น โรคกลัวเสียงฟ้าร้อง ความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็ก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คุณกลัวเสียงฟ้าร้อง อาจเกิดจากความความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็ก เช่นความรู้สึกกลัวเสียงฟ้าร้องในวัยเด็ก อาจส่งผลกระทบให้คุณรู้สึกกลัวจนถึงปัจจุบัน ความผิดปกติทางสมอง เกิดจากความผิดปกติของสมอง ที่เรียกว่า […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

คู่รักควรรู้ เมื่อมี ความสัมพันธ์ที่ดี สุขภาพกายใจก็จะดี

หากพูดถึง คู่รัก หลาย ๆ คนคงนึกถึง ความรัก ความเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน แต่เรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนทั้งสองนั้น ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เหล่าคู่รักควรให้ความสำคัญอยู่เสมอ เพราะ ความสัมพันธ์ที่ดี นอกจากจะทำให้ความรักราบรื่นในระยะยาวแล้ว ในอีกด้าน ความสัมพันธ์ที่ดี ยังสามารถส่งผลต่อสุขภาพกายและใจของคนเราได้อีกด้วย แต่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนั้น ควรทำอย่างไร และสามารถเริ่มต้นได้อย่างไรบ้าง บทความนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน การสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง ปกติแล้ว ความรัก และการเริ่มต้นความสัมพันธ์ที่ดีมักไม่ได้มีสูตรที่ตายตัว แต่ทั้งนี้ความสำเร็จของความรัก รวมไปถึงความสัมพันธ์ที่ดีนั้น มักจะขึ้นอยู่กับการร่วมมือกันของคู่รัก โดยเคล็ดลับในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีที่เรานำมาฝากเหล่านี้ คือสิ่งที่เหล่าคู่รักควรพึงกระทำและระมัดระวัง เพื่อความรักอันราบรื่น และสุขภาพกายใจที่จะตามมาในภายหลัง เริ่มต้นความสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมาย คุณควรเริ่มต้นความสัมพันธ์ด้วยการนึกถึงสิ่งที่เราต้องการ อย่างเช่น คบกันเพื่อจะได้แต่งงานกัน เป็นต้น และพยายามหาคู่รักที่มีแนวโน้มที่สอดคล้องกับความต้องการของเรา เพื่อทำให้ความสัมพันธ์นั้นมีความสุข เนื่องจากบางครั้ง การเริ่มต้นความสัมพันธ์ โดยคิดเพียงแค่ว่าการคบไปนาน ๆ พฤติกรรมบางอย่างที่คุณรู้สึกไม่ชอบใจอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ มันอาจทำให้รักของคุณจบลงได้ พยายามสื่อสารกัน เพื่อแก้ไขความขัดแย้ง การสื่อสารที่เปิดกว้างถือเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์และการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีเอาไว้ สำหรับความสัมพันธ์ในระยะยาว การสื่อสารอย่างเปิดเผยและสร้างสรรค์ถือเป็นเรื่องควรกระทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น สิ่งที่คู่รักควรทำคือ สื่อสารเพื่อแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพราะความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อความสัมพันธ์มาถึงจุดที่ความพึงพอใจของทั้งคู่ไม่สอดคล้องกัน ปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลไปถึงความโรแมนติกที่อาจจะลดลง นอกจากนั้นแล้ว ปัญหาทางด้านการเงิน การรับผิดชอบ และความหึงหวง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รักได้ แต่อย่า ขี้หึงเกินไป ไม่งั้นสุขภาพแย่ ความสัมพันธ์ดิ่งลงเหวชัวร์

เชื่อว่าในความสัมพันธ์ของทุกคน ทั้งความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว หรือความสัมพันธ์ในรูปแบบคนรัก น่าจะเคยมีอารมณ์หึงหวงเกินขึ้นบ้างอย่างน้อยก็หนึ่งครั้ง ยิ่งเมื่อเป็นความสัมพันธ์ของคู่รัก ก็มักเกิดอารมณ์หึงหวงได้ง่ายกว่าความสัมพันธ์รูปแบบอื่นๆ แม้ความหึงหวงจะเป็นเรื่องปกติในความสัมพันธ์ แต่หากคุณเป็นคน ขี้หึงเกินไป เราแนะนำให้คุณรีบแก้ไขด่วน ไม่อย่างนั้น สุขภาพแย่ ความสัมพันธ์มีปัญหาแน่นอน [embed-health-tool-bmr] ความหึงหวง… เป็นเรื่องธรรมชาติ ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า ความหึงหวง เป็นอารมณ์ที่ซับซ้อน เพราะมักเกิดจากหลายอารมณ์ผสมกัน เช่น ความหวาดกลัวว่าจะถูกทอดทิ้ง ความโกรธแค้น ความเจ็บปวด ความเศร้า ความรู้สึกอับอายขายหน้า ไม่ว่าจะเป็นคนเพศไหนวัยไหน ก็สามารถเกิดอารมณ์หึงหวงได้ทั้งสิ้น ส่วนใหญ่แล้ว คนเรามักรู้สึกหึงหวงเพราะรู้สึกว่ามีมือที่สามมาทำให้ความสัมพันธ์อันล้ำค่าของตัวเองสั่นคลอน ความสัมพันธ์ในที่นี่ไม่จำเป็นต้องเป็นอยู่ในรูปแบบของคู่รักอย่างเดียว พี่น้อง เพื่อนร่วมงาน เพื่อนฝูงก็เกิดความหึงหวงกันได้ แต่หากเป็นคู่รักอาจเกิดอาการหึงหวงกันบ่อยกว่าความสัมพันธ์รูปแบบอื่นหน่อย อีกหนึ่งอารมณ์ที่ใกล้เคียงกับความหึงหวงก็คือ ความอิจฉาริษยา ซึ่งจริงๆ แล้วมีคำนิยามที่แตกต่างกัน ความหึงหวงหมายถึง ความหวาดกลัวว่าจะมีใครมาแย่งคนที่คุณรักหรือของรักของคุณไป แต่ความอิจฉาริษยานั้นหมายถึง ความต้องการ หรืออยากมีอยากได้ในสิ่งที่เป็นของคนอื่น ซึ่งบางครั้งทั้งสองอารมณ์นี้ก็อาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้เช่นกัน ประเภทของความหึงหวง ความหึงหวงนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น ความหึงหวงในความสัมพันธ์ เกิดจากความกลัวว่าคนที่ตัวเองรักจะมีคนอื่นเข้ามาแทนที่ตัวเอง เช่น ภรรยาโกรธเวลาเห็นสามีคุยกับผู้หญิงคนอื่น สามีรู้สึกไม่มั่นใจเวลาเห็นภรรยาออกไปเที่ยวกับเพื่อนผู้ชาย เพื่อนรู้สึกงอนเวลาเพื่อนสนิทไปดูหนังกับคนอื่น ความหึงหวงที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและสถานภาพ มักเกิดขึ้นในที่ทำงาน เนื่องจากมีการแข่งขันกันสูง เช่น รู้สึกโมโหที่เห็นเพื่อนร่วมงานตำแหน่งเดียวกันได้เลื่อนขั้นก่อนตัวเอง ความหึงหวงที่ผิดปกติ […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

ความเชื่อใจ ใช่ว่าจะสร้างกันได้ง่ายๆ เมื่อถูกทำลาย สร้างความเชื่อใจ อย่างไรให้กลับมาดีดังเดิม

ความเชื่อใจ ความเชื่อมั่นในความสัมพันธ์นั้น เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาและการกระทำ เพื่อเป็นเครื่องพิสูจน์ และทำให้มันมีค่าขึ้นมา ซึ่งความเชื่อใจอาจถูกสั่นคลอนได้ด้วยการกระทำง่ายๆ อย่างเช่น การโกหก นอกใจ ไม่รักษาสัญญา การกระทำเหล่านี้หากยังไม่ได้รับการแก้ไขก็สามารถทำลายความเชื่อใจที่มีอยู่ได้ แต่เมื่อพลาดทำให้ความเชื่อใจที่มีลดลงไป ก็สามารถสร้างใหม่ได้ แต่มีวิธีการอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการ สร้างความเชื่อใจ มาฝากกันค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] ความเชื่อใจ หมายความว่าอะไร ก่อนที่จะสร้างความเชื่อใจได้นั้น เราต้องรู้จักก่อนว่า ความเชื่อใจ นั้นคืออะไร ความเชื่อใจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถบังคับให้ใครรู้สึกได้ การจะรู้สึกเชื่อใจใครสักคนนั้นเป็นสิ่งที่ต้องตัดสินใจเอาเอง จากองค์ประกอบหลายๆ อย่าง ว่าคนคนนั้นเหมาะที่เราจะไว้ใจได้หรือไม่ ซึ่งความเชื่อใจนั้นสามารถตีความได้หลายๆ อย่าง แล้วแต่ความสัมพันธ์ แต่ในความสัมพันธ์แบบคู่รักนั้น ความเชื่อใจหมายถึง การรักเดียวใจเดียว ไม่นอกใจ รู้สึกปลอดภัยทั้งทางกายและใจเมื่ออยู่ด้วยกัน รับฟังซึ่งกันและกัน เคารพซึ่งกันและกัน สนับสนุน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นอกจากจะเข้าใจแล้วว่าความเชื่อใจคืออะไร เราต้องรู้ด้วยว่าบางสิ่งบางอย่างนั้นไม่ใช่ความไม่เชื่อใจ แต่อาจจะเป็นเรื่องส่วนตัว ที่ไม่จำเป็นต้องบอกก็ได้ เช่น รหัสมือถือ รหัสโซเชียลมีเดียต่างๆ  หรือรหัสเกี่ยวกับการเงิน เมื่อความเชื่อใจถูกทำลาย สร้างความเชื่อใจ ใหม่อย่างไรดี เมื่อความเชื่อใจถูกทำลาย อาจทำเกิดความรู้สึกเสียใจและเจ็บปวด บางครั้งอาจส่งผลต่อร่างกายอื่นๆ ได้ด้วย ซึ่งอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ของคุณได้ ซึ่งวิธีการต่างๆ […]


การจัดการความเครียด

เครียดจัด คลายได้ จัดการกับความเครียด อย่างไรให้ได้ผล

ความเครียด เป็นเรื่องที่ทุก ๆ คนล้วนต้องเคยเจอกันมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการทำงาน ปัญหาทางครอบครัว หรือปัญหาทางด้านการเงิน ความเครียดอาจจะเป็นเรื่องที่สร้างความวิตกกังวล ไม่สบายใจให้กับใครหลาย ๆ คนแต่บางครั้งความเครียดบางอย่าง ก็มีข้อดีคือ ช่วยให้คุณมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถแก้ได้ตรงจุด หรือช่วยให้มีแรงฮึดสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการ จัดการกับความเครียด ที่เกิดขึ้น มาฝากกันค่ะ ทำความรู้จักกับ ความเครียด ให้มากขึ้น ความเครียดนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ สาเหตุ ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากเรื่องงาน ปัญหาสุขภาพ การเงิน หรือแม้แต่กระทั่งปัญหาด้านการเรียน ถึงแม้สาเหตุของความเครียดที่เกิดขึ้นนั้น จะเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป แต่ว่าการตอบสนองต่อความเครียดนั้นมักจะมีอาการคล้ายๆ กัน ซึ่งปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจนั้นจะทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลให้เกิด ความเครียด ซึ่งความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นยังส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบประสาท ประเภทของความเครียด สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (The National Institute of Mental Health หรือ NIMH) ได้แบ่งประเภทความเครียดออกเป็น 2 ชนิด คือ […]


โรควิตกกังวล

คิดซ้ำไปซ้ำมา ทั้งวัน จนไม่เป็นอันทำอะไร แก้ได้ง่ายๆ ด้วยวิธีเหล่านี้

ครุ่นคิดทั้งวัน คิดซ้ำไปซ้ำมา จนไม่เป็นอันทำอะไร เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยมีเรื่องที่ต้องทำให้คิดไปทั้งวัน คิดเรื่องนี้เพียงเรื่องเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วเรื่องที่คิดมักจะเป็นเรื่องที่สร้างความเครียด ความเศร้าให้กับเรา การคิดซ้ำไปซ้ำมาแบบนี้เป็นเรื่องที่สามารถส่งผลกระทบกับสุขภาพจิตได้ ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว ใครที่กำลังคิดว่าตัวเองจมอยู่กับความคิดเหล่านี้ วันนี้ Hello คุณหมอ มี วิธีการหยุดคิดซ้ำไปซ้ำมา มาฝากกันค่ะ เป็นวิธีง่ายๆ ที่ใครก็สามารถทำได้ เชื่อว่าช่วยให้หยุดอาการคิดซ้ำไปซ้ำมาได้อย่างแน่นอน การครุ่นคิด (rumination) คิดซ้ำไปซ้ำมา คือไร มีสาเหตุมาจากอะไร การคิดซ้ำไปซ้ำมา นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราตกอยู่ในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความกังวล เสียใจ หรืออาจเกิดขึ้นจากความกลัวเหตุการณ์ในอนาคต เช่น การสอบ การสัมภาษณ์งาน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการคิดซ้ำไปซ้ำมา ได้อีกด้วย ขาดความมั่นใจในตนเอง มีความสัมพันธ์ที่ล้มเหลว มีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ เหตุการณ์ความเครียดในอนาคต เผชิญหน้ากับความกลัว วิธีหยุดการ คิดซ้ำไปซ้ำมา ที่จัดการได้ง่ายๆ เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้ต้องคิดซ้ำไปซ้ำมานั้น การหาทางออกจากความคิดเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ควรทำโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้มันรุนแรงไปมากกว่านี้ ดังนั้นการหยุดความคิดเหล่านี้ได้ก็จะช่วยให้เครียดได้น้อยลง ซึ่ง วิธีหยุดการคิดซ้ำไปซ้ำมา เหล่านี้อาจช่วยให้ดีขึ้นได้ เบี่ยงเบนความสนใจ การเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเอง เป็นหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณเลิกคิดเรื่องเดิมๆ ได้ โดยอาจจะเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองไปทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น การเล่นโยคะ วาดรูป หรือการดูหนัง การหยุดคิด แล้วเริ่มต้นทำกิจกรรมที่ชอบจะช่วยให้คุณมีสมาธิในการจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำมากกว่าจะไปคิดเรื่องที่ทำให้กังวล วางแผนในการแก้ปัญหา การคิดเรื่องเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมานั้น ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นได้ แถมยังช่วยเพิ่มความเครียดให้กับคุณอีกด้วย […]


โรควิตกกังวล

วิตกกังวล มากไป ไม่ใช่แค่ทำให้เครียด แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพอีกด้วย

ความวิตกกังวล เป็นความรู้สึกไม่สบายใจอย่างหนึ่ง มักเกิดจากความเครียด คนทุกคนมักจะมีเรื่องให้วิตกกังวลกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน ครอบครัว หรือว่าความรัก ซึ่งความวิตกกังวลนี้ถือเป็นเรื่องปกติ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน แต่หากมีความกังวลเรื้อรัง ความกังวลเหล่านั้น ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อสุขภาพจิต แต่ อาการวิตกกังวล ส่งผลต่อร่างกาย ได้อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีจ้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับความวิตกกังวลที่ส่งผลต่อร่างกายมาฝากกันค่ะ อาการวิตกกังวล ส่งผลต่อร่างกาย อย่างไรบ้าง ความวิตกกังวลนั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่ต้องไปสัมภาษณ์งาน การพูดในที่ชุมชน หรือการสอบเข้าเรียน เรื่องต่างๆ เหล่านี้สามารถทำให้เกิดความวิตกกังวลได้ทั้งสิ้น เวลาที่คุณวิตกอยู่ในความวิตกกังวลอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มสูงขึ้น หายใจถี่ขึ้น เพราะเมื่อเกิดความวิตกกังวล สมองนั้นจะมีความต้องการเลือดมาก ทำให้หัวใจทำงานหนัก หากมีความวิตกกังวลมากจะส่งผลให้เกิดความมึนงงและคลื่นไส้ บางครั้งอาจส่งผลต่อสุขภาพในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น หายใจถี่หอบ อาการหายใจถี่หอบ เป็นภาวะที่ร่างกายต้องการออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะตอบสนองต่อความวิตกกังวล แต่บางครั้งร่างกายอาจเกิดความรู้สึกว่าไม่สามารถรับออกซิเจนได้อย่างเมที่ทำให้เกิดการหายในเฮือก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ได้ เช่น วิงเวียน เป็นลม รู้สึกอ่อนเพลีย การตอบสนองของระบบหัวใจและหลอดเลือด ความวิตกกังวล เป็นอาการที่ ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนได้เร็วขึ้น ออกซิเจนและสารอาหารก็จะไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้เร็วตามไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อเกิดความวิตกกังวลหลอดเลือดจะตีบลง ทำให้ส่งผลต่ออุณภูมิของร่างกาย ทำให้เรารู้สึกร้อนวูบวาบ ทำให้ร่างกายตอบสนองโดยการขับเหงื่อออกมาเพื่อระบายความร้อน แต่บางครั้งเมื่อร่างกายขับเหงื่อออกมามากเกินไปก็จะทำให้เรารู้สึกหนาวได้ หากร่างกายเกิดความวิตกกังวลเรื้อรัง […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

วิธีที่จะช่วยให้ ผู้ป่วย โรคกลัวการเข้าสังคม เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น

การเข้าสังคมสำหรับหลายๆ คนอาจจะเป็นเรื่องง่าย แต่สำหรับผู้ที่ป่วยเป็น โรคกลัวการเข้าสังคมแล้ว ถือว่าไม่ง่ายเลย การจะเข้าสังคมในแต่ละทีนั้นเต็มไปด้วยความวิตกกังวล กลัวว่าจะถูกตัดสินจากคนในสังคม กลัวคนในสังคมไม่ชอบ การหาเพื่อนใหม่ การเข้าสังคมจึงถือเป็นเรื่องที่ยากและมีความท้าทายสำหรับพวกเขาเป็นอย่างมาก วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับการเข้าสังคมสำหรับผู้ที่กลัวการเข้าสังคมมาฝากกัน ไปดูกันเลยว่า วิธีการเข้าสังคม สำหรับคนกลัวการเข้าสังคม นั้นจะต้องทำอย่างไร โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety) คืออะไร โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety) เป็นโฟเบีย อย่างหนึ่ง ถือเป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด ผู้ที่ป่วยเป็นโรคกลัวการเข้าสังคมส่วนใหญ่มักจะไม่กล้าเข้าสังคมเพราะกลัวถูกคนภายในสังคมตัดสิน กลัวทำเรื่องขายหน้า กลัวคนในสังคมนั้นไม่ชอบ ซึ่งเมื่อจะมีการเข้าสังคมอาจทำให้พวกเขาเกิดความประหม่า เหงื่อออกตามมือ ซึ่งเมื่อดูจากอาการของโรคแล้วอาจจะมีความคล้ายคลึงกับอาการประหม่าธรรมดา แต่สำหรับผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคมนั้นเมื่อถึงเวลาที่จะต้องเข้าสังคม พบปะคนมากๆ กลับไม่สามารถบังคับตัวเองได้ และพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม จนบางครั้งอาการเหล่านี้ก็ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต วิธีการเข้าสังคม สำหรับคนกลัวการเข้าสังคม ที่จะทำให้คุณกลัวน้อยลง ความวิตกกังวลในการเข้าสังคม นั้นส่วนใหญ่แล้วมักจะกลัวการถูกตัดสินจากคนในสังคม สำหรับผู้ที่มีอาการนี้การเข้าสังคมหรือการพบปะหน้าคนอื่นจึงถือเป็นเรื่องที่มีความยากลำบาก หลายๆ คนที่มีอาการนี้รู้ดีว่าสิ่งที่พวกเข้ากลัวนั้นมันไร้เหตุผล แต่พวกเขาก็ยังไม่สามารถจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกกลัวไม่ได้ เมื่อต้องมีการเข้าสังคม วิธีการเข้าสังคม สำหรับคนกลัวการเข้าสังคม เหล่านี้อาจเป็นตัวช่วยที่ดี ที่จะช่วยให้รู้สึกสบายใจมากขึ้นเมื่อต้องเริ่มเข้าสังคม เลิกมีกำแพง กับการเข้าสังคม สิ่งแรกที่ผู้ที่มีอาการกลัวการเข้าสังคมนึกถึงคือ ความคิดในแง่ลบเกี่ยวกับการเข้าสังคม ไม่ว่าจะเป็น ความกังวลว่าจะทำตัวเองขายหน้าในที่คนมาก ๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เห็นคนสวย เป็นต้องหนี เพราะ ผมเป็น โรคกลัวผู้หญิงสวย

เห็นคนสวย ทีไร มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตัวสั่น เหงื่อออก ทุกที จนบางครั้งต้องเก็บตัวแยกออกมาคนเดียว อาการเหล่านี้ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของ โรคกลัวผู้หญิงสวย ได้ยินชื่อแล้วอาจไม่น่าเชื่อว่าจะมีโรคนี้เกิดขึ้นจริงอยู่บนโลกใช่ไหมล่ะคะ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เพราะโรคนี้เป็นหนึ่งในอาการกลัวที่มีอยู่จริง  วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ เพราะผมเป็น โรคกลัวผู้หญิงสวย (Venustraphobia) โรคกลัวผู้หญิงสวย (Venustraphobia) เป็นความกลัวแบบเฉพาะเจาะจงที่ไม่มีเหตุผล ไม่สามารถควบคุมความกลัวได้เมื่อเห็นผู้หญิงสวย  ความกลัวสามารถเกิดขึ้นได้แม้เพียงคิดเกี่ยวกับผู้หญิงที่สวยงาม ความหวาดกลัวนี้ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการควบคุมอารมณ์และกระทบกับการดำรงชีวิตในประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เพราะเหตุใด จึงกลัวผู้หญิงสวย โรคกลัวผู้หญิงสวยนั้น เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันดังนี้ ความทรงจำหรือการได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีในวัยเด็ก เช่น การต้องมองดูคนที่รักโดนทรมานจากผู้หญิงสวย ความบกพร่องภายในสมอง เช่น พันธุกรรม กลัวว่าผู้หญิงที่สวยจะทำให้เรารู้สึกอับอาย ขายหน้า 6 อาการ ที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคกลัวผู้หญิง แต่ละบุคคลจะมีอาการกลัวที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่จะมีอาการดังต่อไปนี้ หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เหงื่อออก ปากแห้ง คลื่นไส้ อาเจียน มีความวิตกกังวลสูง ตกใจกลัวอย่างรุนแรง ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ สูญเสียการทรงตัวเมื่อเจอผู้หญิงสวย หลีกตัวเองออกจากสังคม ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว วิธีการรักษา แพทย์จะทำการรักษาโรคกลัวผู้หญิงสวยด้วยการใช้จิตบำบัดและการสะกดจิตเป็นหลัก บางรายอาจจะใช้ยาร่วมด้วยในการรักษา จิตบำบัด วิธีการบำบัดประเภทนี้เป็นวิธีที่แพทย์ส่วนใหญ่ใช้ในการบำบัดที่เรียกว่า การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behaviour therapy ; CBT) การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่เน้นเจาะจงแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนที่สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยเริ่มจากสิ่งของหรือวัตถุใกล้ตัวที่เกี่ยวกับอาการป่วย ให้ผู้ป่วยเผชิญกับปัญหา เริ่มสัมผัสกับความกลัวทีละน้อย จนเกิดความคุ้นชิน การสะกดจิต การใช้เทคนิคการสะกดจิต ได้รับการพิจารณาว่ามีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการรักษาโรคกลัวผู้หญิงสวย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน