ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้พบเจอกับเหตุการณ์รุนแรง สะเทือนขวัญ จนยากที่จะลืม บางครั้งก็ยังกลับไปนึกถึงเหตุการณ์นั้นๆ อยู่เสมอ จนทำให้มีอาการทางจิต ไม่ว่าจะเป็นอาการ วิตกกังวล กลัวการเข้าสังคม ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการรับมือเมื่อคนใกล้ชิดมีภาวะนี้มาฝากกันค่ะ
ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง คืออะไร
ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (Post-traumatic stress disorder หรือ PTSD) เป็นภาวะทางสุขภาพจิต ที่เกิดจากการการได้เผชิญกับเหตุการณ์ที่รุนแรง มีผลกระทบต่อจิตใจ โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีภาวะนี้มักจะนึกถึงเรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่น ฝันร้าย มีความวิตกกังวลอย่างรุนแรง และไม่สามารถหยุดคิดถึงเหตุการณ์นั้นได้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ร้ายแรงนี้ มักจะมีปัญหาในการปรับตัว โดยปกติแล้วเมื่อเวลาผ่านไป อาการต่างๆ เหล่านี้ก็จะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ก็จะมีคนบางกลุ่มที่ไม่สามารถลืมเรื่องราวต่างๆ เหล่านั้นได้ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ตาม
อาการของ ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง
อาการของภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง มักจะแสงดอาการเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1 เดือน แต่ในบางครั้งก็ไม่แสดงอาการใดๆ จนเวลาผ่านไป 1 ปีจึงแสดงอาการของมา ซึ่งอาการของภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรงนั้นจะมีปัญหาในการเข้าสังคม การทำงาน และเกิดปัญหาความสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาการของภาวะนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
- Intrusive memories
- Avoidance
- Negative changes in thinking and mood
- Changes in physical and emotional reactions
Intrusive memories
เป็นรูปแบบของอาการที่ผู้ป่วยมักจะนึกถึงเหตุการณ์ร้ายๆ ที่เกิดขึ้น และรู้สึกว่าเหตุการณ์นั้นเหมือนจะกลับมาเกิดขึ้นได้อีกครั้งหนึ่ง โดยผู้ที่มีอาการประเภทนี้ มักจะฝันร้ายหรือฝันถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ มีอารมณ์รุนแรง หากมีตัวกระตุ้นที่ทำให้ย้อนกลับไปนึกถึงเหตุการณ์ก็จะมีปฏิกิริยาตอบโต้ที่รุนแรงทั้งทางกายภาพและทางสภาพจิตใจ
Avoidance
หากแปลอย่างตรงตัวก็คือ การหลีกเลี่ยง ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการประเภทนี้มักจะไม่พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลีกเลี่ยงการรับรู้เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับเหตุกาณ์นั้น หรือทำเป็นลืมว่าเคยเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น สำหรับบางคนอาจจะหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่เกิดเหตุ ผู้คน ที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น
Negative changes in thinking and mood
มีความคิดหรืออารมณ์ในเชิงลบ การมีความคิดหรืออารมณ์ในเชิงลบเป็นหนึ่งในอาการที่ผู้ป่วยแสดงออกมา โดยผู้ป่วยจะมองทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตัวเอง โลก หรือสิ่งต่างๆ รอบตัวนั้นมีแต่ข้อเสียเต็มไปหมด นอกจากนี้ยังมีความรู้สึกสิ้นหวัง รู้สึกแปลกแยก ขาดความสนใจในการทำกิจกรรมต่างๆ มักไม่มองสิ่งต่างๆ ในเชิงบวก
Intrusive memories
เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและอารมณ์ ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งเมื่อเจอเหตุการณ์รุนแรงมา โดยจะมีอาการตกใจ กลัวได้ง่าย รู้สึกหวาดระแวงอยู่เสมอ ตกใจได้ง่าย หงุดหงิดหรือโกรธง่าย แสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว นอกจากนี้แล้วผู้ที่มีอาการประเภทนี้ยังมีพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพอีกด้วย เช่น เมาเป็นประจำ ขับรถเร็ว
การดูแลและรับมือกับผู้ป่วยที่มี ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง
จุดมุ่งหมายในการรักษาภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง นั้นเพื่อทำให้ผู้ป่วยมีอาการทางกายภาพและจิตใจลดลง เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเหล่านั้น รับมือกับเหตุการณ์หรือสิ่งเร้าที่ทำให้พวกเขานึกถึงเหตุการณ์นั้นๆ ซึ่งวิธีที่สามารถทำได้คือ
จิตวิทยาบำบัด
การใช้จิตวิทยาบำบัดสำหรับการรักษาภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง เพื่อให้ผู้ป่วยมีทักษะในการจัดการและสามารถควบคุมอาการของโรคได้ดีขึ้น โดยผู้บำบัดจะให้ข้อมูลและความรู้แก่ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อที่จะช่วยให้พวกเขาก้าวข้ามเหตุการณ์รุนแรงที่ยังคงฝังอยู่ในใจไปได้ ซึ่งการใช้จิตวิทยาบำบัดนั้นมีหลากหลายวิธี ดังนี้
การสร้างความรู้และการเข้าใจ เป็นวิธีการบำบัดที่ ผู้บำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงภาวะที่เกิดขึ้น ว่าเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร ต้องจัดการกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ร้ายๆ นั้นอย่างไร
การจำลองเหตุการณ์ เป็นรูปแบบการบำบัดที่ถือว่าได้ผลมากที่สุดวิธีหนึ่ง ซึ่งรูปแบบการบำบัดเป็นการจำลองเหตุการณ์หรือการใช้ตัวกระตุ้นที่ทำให้ผู้ป่วยนึกถึงเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น สิ่งของ สถานการณ์ หรือว่าเสียง โดยการจำลองเหตุการณ์ทั้งหมดจะต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีการควบคุมหรือได้รับการดูแลจากผู้ที่เชี่ยวชาญ โดยวิธีนี้เป็นรูปแบบที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกล้าเผชิญหน้ากับเรื่องร้ายๆ ที่เจอมาจนเอาชนะแล้วก้าวผ่านมันไปได้
การบำบัดร่วมกับครอบครัว
นอกจากนี้ยังมีวิธีในการบำบัดรูปแบบอื่นๆ อีก เช่น การบำบัดทั้งครอบครัว เป็นรูปแบบการบำบัด ที่จะเลือกใช้ก็ต่อเมื่อ อาการของผู้ป่วยส่งผลต่อคนในครอบครัว การบำบัดรูปแบบนี้นอกจากตัวผู้ป่วยเองแล้ว คนในครอบครัวจึงจำเป็นต้องได้รับการบำบัดด้วย เพื่อเรียนรู้วิธีในการจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้น
การบำบัดแบบกลุ่ม
การบำบัดแบบกลุ่ม เป็นรูปแบบการบำบัดที่ผู้ป่วย ที่เจอเหตุการณ์คล้ายๆ กันมานั่งคุยกัน เพื่อแบ่งบันประสบการณ์ ความคิด ความรู้สึก ความกลัวที่เกิดขึ้น เพื่อให้เพื่อนในกลุ่มได้รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น หรือวิธีการแก้ปัญหา นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่โดดเดี่ยว หรือไม่รู้สึกว่าชีวิตของตนเองนั้นโชคร้ายที่เจอเหตุการณ์เช่นนี้ แต่ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่เจอเหตุการณ์คล้ายๆ กัน
Hello Health Groupไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด