backup og meta

จุลินทรีย์ในลำไส้ กับความสำคัญต่อสุขภาพ

จุลินทรีย์ในลำไส้ กับความสำคัญต่อสุขภาพ

รู้รึเปล่าคะ ว่าร่างกายของคนเรานั้นเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ซึ่งมีอยู่มากมาย หลายล้านล้านตัว เราเรียกรวมๆ ว่า ไมโครไบโอม (Microbiome) หลายๆ คนอาจจะเข้าใจว่าแบคทีเรียนั้นไม่ดีต่อสุขภาพ แต่ว่าจริง ๆ แล้วมีแบคทีเรียหลายตัวที่ดีต่อสุขภาพ มีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน หัวใจ และสุขภาพอื่น ๆ อีกมากมาย Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ จุลินทรีย์ในลำไส้ ว่ามีความสำคัญต่อสุขภาพอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ

จุลินทรีย์ในลำไส้ คืออะไร

ลำไส้และผิวหนังของคนเรานั้นเต็มไปด้วยแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ มากมาย นับล้านล้านตัว ซึ่งไมโครไบโอมในลำไส้ หรือจุลินทรีย์ในลำไส้ มักจะพบได้ในกระเปาะลำไส้ใหญ่ หรือเรียกว่า ซีคัม (Cecum) ซึ่งเป็นลำไส้ใหญ่ส่วนแรกที่ต่อจากลำไส้เล็ก

ซึ่งในลำไส้นั้นมีจุลินทรีย์ในลำไส้มากมายกว่า 1,000 ชนิด ซึ่งจุลินทรีย์แต่ละชนิดก็จะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่แล้วจุลินทรีย์เหล่านี้มีความสำคัญและดีต่อสุขภาพ โดยยังมีจุลินทรีย์บางชนิดในลำไส้ ที่อาจก่อให้เกิดโรคได้เช่นกัน

จุลินทรีย์ในลำไส้ ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

จริง ๆ แล้วเรานั้นอยู่รวมกับแบคทีเรียมานับล้านล้านปี จนมีวิวัฒนาการในการอยู่ร่วมกัน ทำให้จุลินทรีย์ในร่างกายได้เรียนรู้ที่จะมีบทบาทและความสำคัญต่อร่างกายคนเรา ซึ่งบทบาทของจุลินทรีย์เหล่านี้เริ่มทำงานตั้งแต่เราเกิด ซึ่งครั้งแรกคุณได้สัมผัสกับจุลินทรีย์ผ่านทางช่องคลอดของแม่ และมีหลักฐานใหม่ ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ายังมีจุลินทรีย์บางตัวที่ได้รับตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หากไม่มีไบโครไบโอมเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อกระเพาะอาหารได้ เมื่อเริ่มโตขึ้น ร่างกายก็จะได้รับและสัมผัสกับจุลินทรีย์ที่หลากหลายชนิดมากขึ้น การที่ร่างกายได้รับจุลินทรีย์ที่มีความหลากหลายนั้นถือเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เมื่อจุลินทรีย์เหล่านี้โตขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายของคุณได้ ดังนี้

  • มีส่วนช่วยในการย่อยน้ำนมแม่ แบคทีเรียบางชนิดในร่างกายมีส่วนช่วยในการย่อยน้ำตาลในน้ำนมแม่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต
  • ช่วยย่อยไฟเบอร์ แบคทีเรียบางชนิดจะสร้างกรดไขมันขึ้นมาเพื่อช่วยให้ร่างกายย่อยไฟเบอร์ได้มากขึ้น ซึ่งช่วยให้ลำไส้ไม่ต้องทำงานหนัก ซึ่งไฟเบอร์ยังมีส่วนช่วยให้อิ่มนาน ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคเบาหวาน หัวใจ และช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
  • ควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน ไมโครไบโอมในลำไส้ มีส่วนช่วยในการควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยจุลินทรีย์ในลำไส้จะทำการสื่อสารกับเซลล์ภูมิคุ้มกัน ว่าร่างกายนั้นจะตอบสนองต่อการติดเชื้ออย่างไร
  • ช่วยควบคุมสุขภาพสมอง จากการวิจัยใหม่ๆ พบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ที่ช่วยควบคุมการทำงานของสมอง

วิธีเพิ่มคุณภาพจุลินทรีย์ในลำไส้

มีวิธีการมากมายที่ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหาร เช่น

  • รับประทานอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับจุลินทรีย์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น
  • รับประทานอาหารหมักดอง เช่น โยเกิร์ต ผักดอง เพราะอาหารหมักดองบางชนิดให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ และยังมีส่วนช่วยในการลดปริมาณจุลินทรีย์ที่ไม่ดีในลำไส้อีกด้วย
  • จำกัดการรับประทานสารให้ความหวาน เพราะสารให้ความหวานบางชนิดมีส่วนช่วยกระตุ้นให้แบคทีเรียชนิดไม่ดีเติบโต
  • รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยพรีไบโอติก เช่น กล้วย หน่อไม้ฝรั่ง แอปเปิล
  • เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน นมแม่เป็นสารอาหารที่ดี ที่จะช่วยให้ลูกน้อยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี และในนมแม่ยังมีส่วนช่วยให้จุลิมทรีย์ที่ดีต่อลำไส้เจริญเติบโต
  • บริโภคธัญพืช ธัญพืชเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ คาร์โบไฮเดรตที่เป็นประโยชน์ ซึ่งย่อยสลายโดยแบคทีเรียในสำไส้ ซึ่งมีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เบาหวานและความผิดปกติอื่น ๆ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Why the Gut Microbiome Is Crucial for Your Health

https://www.healthline.com/nutrition/gut-microbiome-and-health

Can gut bacteria improve your health?

https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/can-gut-bacteria-improve-your-health

What Your Gut Bacteria Say About You

https://www.webmd.com/digestive-disorders/what-your-gut-bacteria-say-your-health

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/09/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โปรไบโอติก ช่วยให้ลำไส้แปรปรวนดีขึ้น หรือเป็นเพียงความเชื่อผิด ๆ

แลคโตบาซิลลัส กับประโยชน์ต่อลำไส้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 15/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา