backup og meta

อาการ สัญญาณ สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ที่มักจะเกิดขึ้น

อาการ สัญญาณ สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ที่มักจะเกิดขึ้น

โรคสมาธิสั้น เป็นโรคที่มักจะเจอในช่วงวัยเด็ก แต่ก็มีโอกาสที่จะเจอ โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ได้ ซึ่งก็จะมีสัญญาณและอาการบางอย่างที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นโรคสมาธิสั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สัญญาณ สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ที่ควรรรู้ว่ามีอะไรบ้าง ไปอ่านกันเลยค่ะ

อาการสมาธิสั้น คืออะไร

สมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder; ADHD) เป็นโรคทางระบบประสาทที่พัฒนาในวัยเด็ก ซึ่งอาการส่วนใหญ่คือขาดสมาธิ ไม่มีสมาธิจดจ่อในการทำกิจกรรมบางอย่างได้นาน ๆ มีปัญหาในการตัดสินใจและการยับยั้งอารมณ์ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงของอาการสมาธิสั้นนั้นยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด แต่ทางการแพทย์ได้แสดงข้อมูลให้เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม และความบกพร่องในการพัฒนาของสมอง สำหรับการรักษาอาการสมาธิสั้นนั้นยังไม่มีรูปแบบการรักษา แต่สามารถบรรเทาอาการ บำบัดพฤติกรรมให้ดีขึ้นได้

สัญญาณ สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ที่มักมี

ขาดสมาธิ

อาการขาดสมาธิถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงอาการสมาธิสั้นได้ดีที่สุด มักจะมีการแสดงอาการวอกแวก หันเหความสนใจได้ง่าย ไม่มีสมาธิในการฟังผู้อื่น หรือทำกิจกรรมใด ๆ อาจเป็นปัญหาในการทำงาน เช่น ไม่สามารถทำงานได้เสร็จตามเวลา ทำงานช้ากว่าที่ควรจะเป็น

ความสับสน ไม่เป็นระเบียบ

แน่นอนว่าความวุ่นวายในการใช้ชีวิตถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องพบเจอในชีวิตกันบ้าง แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาสมาธิสั้นมักจะมีชีวิตที่วุ่นวายยิ่งกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น การเก็บของให้เป็นระเบียบ เก็บไว้ในที่ที่ควรจะอยู่ถือเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่มีอาการสมาธิสั้น ซึ่งผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสมาธิสั้นที่เจอกับปัญหานี้อาจส่งผลต่อการทำงาน และส่งผลต่อการจัดลำดับความสำคัญในการทำงาน

ปัญหาในการบริหารเวลา

ปัญหาในการบริหารเวลา เป็นปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับปัญหาความไม่เป็นระเบียบในชีวิต ผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสมาธิสั้นมักจะประสบกับปัญหาในการจัดสรรเวลา การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ พวกเขาอาจมีปัญหาผัดวันประกันพรุ่งในงานที่มีความสำคัญ หรือเพิกเฉยกับงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ ทำให้มีปัญหาในการบริหารเวลาทำงาน

มักจะหลงลืม

การลืมเป็นครั้งคราวนั้นถือเป็นเรื่องปกติที่ทุก ๆ คนมักจะเจอ แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาสมาธิสั้น อาการหลงลืมถือเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน บางครั้งอาจลืมบางอย่างที่มีความสำคัญ เช่น การนัดหมายประชุมกับลูกค้า ลืมวันส่งงาน  บางครั้งอาการหลงลืมนั้น อาจสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่มีอาการ แต่หากอาการหลงลืมส่งผลต่อการใช้ชีวิต ขนาดส่งผลต่องานที่ทำ อาจส่งผลต่ออาชีพหรือเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

หุนหันพลันแล่น

อาการหุนหันพลันแล่นในผู้ที่มีภาวะสมาธิสั้นนั้นสามารถแสดงอาการได้หลายรูปแบบ เช่น

  • รบกวน ขัดจังหวะขณะที่ผู้อื่นสนทนากันอยู่
  • แสดงออกหรือทำอะไรลงไปโดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา

มีปัญหาทางอารมณ์

ผู้ที่มีปัญหาสมาธิสั้นนั้นดูเหมือนว่าชีวิตจะมีความวุ่นวาย นั่นเป็นเพราะว่าอารมณ์ไม่มีความคงที่ คุณอาจจะรู้สึกเบื่อง่าย และมองหาความเร้าใจ ตื่นเต้นใหม่ๆ บางครั้งเมื่อรู้สึกผิดหวังเล็กๆ น้อยๆ ก็เหมือนจะทนไม่ไหว หรือมีอารมณ์แปรปรวน เมื่อปัญหาทางอารมณ์ไม่ได้รับการแก้ไข อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ จนส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้

วิตกกังวล

ความวิตกกังวล เป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยในโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ เนื่องจากมักจะคิดเรื่องที่กังวลเรื่องเดิมซ้ำ ๆ  เมื่อคุณต้องการทำอะไรในทันที แต่ไม่สามารถทำสิ่งนั้นได้ในทันที่อาจทำให้คุณรู้สึกกังวลขึ้นมาได้

ปัญหาสมาธิสั้นในผู้ใหญ่นั้นสามารถส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ การใช้ชีวิตได้มากมายหากยังไม่ได้รับการแก้ไข การจัดระเบียบชีวิตของตนเอง หรือการเริ่มต้นบำบัดอาการสมาธิสั้นอาจทำให้อาการของคุณค่อย ๆ ดีขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการจัดการกับความเครียด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับให้เพียงพอ นอกจากจะช่วยให้อาการสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีขึ้นอีกด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Symptoms and Signs of Adult ADHD

https://www.healthline.com/health/adhd/adult-adhd#impulsivity

Is it Possible to Develop ADHD in Adulthood?

https://www.verywellmind.com/can-adhd-develop-in-adulthood-20485

Signs and Symptoms of Adult ADHD

https://www.gracepointwellness.org/3-adhd/article/13877-signs-and-symptoms-of-adult-adhd

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/08/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการสมาธิสั้นในเด็ก ปัจจัยเสี่ยง วิธีป้องกัน

ป่วยเป็น โรคสมาธิสั้น ควรเลือกกินอาหารอย่างไร ถึงจะดีต่อร่างกาย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 19/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา