backup og meta

กินปลอบใจ ให้อารมณ์ดี แบบไม่ต้องกลัวอ้วน!

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    กินปลอบใจ ให้อารมณ์ดี แบบไม่ต้องกลัวอ้วน!

    ในวันที่เรารู้สึกเศร้าหรือจิตตกจากเรื่องแย่ๆ บางครั้ง แค่กินขนมหวานๆ เข้าไปสักชิ้นก็ทำให้เราอารมณ์ดีขึ้นได้แล้ว แต่จริงๆ แล้ว รสชาติอาหารส่งผลต่ออารมณ์จริงหรือ และอาหารบางประเภทช่วยปรับอารมณ์ หรือช่วยทำให้คลายความเศร้าได้จริงหรือ มาลองหาคำตอบเกี่ยวกับ อาหารกับอารมณ์ ด้วยกันกับ Hello คุณหมอ

    อาหารกับอารมณ์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

    ตามปกติแล้ว เวลาที่ร่างกายของเราเกิดความเครียดหรือซึมเศร้า เรามักจะต้องการอาหารที่มีแคลอรี่สูง นั่นเป็นเพราะว่า ร่างกายของเราเข้าใจว่าความเครียดนั้น เป็นความเครียดที่มาจากการอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นอันตราย ทำให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะพร้อมสู้ และต้องใช้พลังงานเป็นอย่างมาก เราจึงรู้สึกอยากอาหารที่มีแคลอรี่สูง ทั้งของทอด พิซซ่า และน้ำหวานต่างๆ ในบางครั้ง เราก็เรียกอาหารเหล่านี้ว่า “คอมฟอร์ท ฟู้ด’ (comfort food)

    อาหารแต่ละชนิด ส่งผลกับร่างกายอย่างไร

    อาหารจำพวกแป้ง

    ทริปโตเฟน (Tryptophan) เป็นสาเหตุเพียงหนึ่งเดียวที่ว่า ทำไมคาร์โบไฮเดรตจึงมีผลต่ออารมณ์ หน้าที่หลักของทริปโตเฟน คือ การทำให้สมองผลิตสารเซโรโทนิน (serotonin) ซึ่งเป็นสารที่ส่งผลดีต่อสภาวะทางอารมณ์ ทำให้เกิดความสุข การวิจัยเผยว่า การขาดสารเซโรโทนิน ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนล้าและซึมเศร้า โดยคุณควรเลือกกินคาร์โบไฮเดรต ชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จากอาหารจำพวกผัก ผลไม้ หรือธัญพืช แทนการกินคาร์โบไฮเดรต ที่อาจส่งผลต่อน้ำหนักตัวของคุณ

    กรดไขมันโอเมก้า 3

    กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ที่พบได้ในปลา และถั่วเปลือกแข็ง อย่างเช่น วอลนัท กรดไขมันชนิดนี้ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า และส่งผลต่อวิถีของสารสื่อประสาท แม้ว่านักวิจัยจะชี้ว่า โอเมก้า 3 อาจจะไม่ได้ส่งผลอะไรในเรื่องนี้มากนัก แต่คุณก็ควรรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 ในแต่ละมื้ออาหาร เพราะกรดไขมัชนิดนี้ ให้ประโยชน์อื่นที่หลากหลายแก่ร่างกาย

    ซีลีเนียม

    มีผลการศึกษากลุ่มผู้สูงอายุจำนวน 16 คนเกี่ยวกับอาการซึมเศร้าว่า การได้รับซีลีเนียมปริมาณ 200 ไมโครกรัมต่อวัน ช่วยทำให้อาการซึมเศร้าหายไป แท้จริงแล้ว การขาดซีลีเนียมในอาหารสามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้

    วิตามินดี

    นอกจากอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตแล้ว วิตามินดียังสามารถเพิ่มระดับสารเซโรโทนินในสมองได้เช่นกัน ปริมาณวิตามินดีที่ควรรับประทานไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อย่างไรก็ตาม คุณควรได้รับวิตามินดีจากอาหารมากกว่า

    มื้อเช้าเป็นมื้อสำคัญ

    นักวิจัยเผยว่า การรับประทานอาหารเช้าป็นประจำ ช่วยทำให้อารมณ์กระปรี้กระเปร่า นอกจากนี้ การกินอาหารเช้าครบทุกหมู่ ยังช่วยเสริมสร้างความสามารถด้านความจำ และรักษาระดับพลังงานได้ตลอดทั้งวัน อีกทั้งทำให้อารมณ์ดี และไม่หงุดหงิดอีกด้วย ผลของการไม่กินอาหารเช้าเป็นประจำ คือ คุณจะรู้สึกเหนื่อยล้า และกระสับกระส่าย จึงควรทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ กล่าวคือควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ โปรตีน มีไขมันต่ำ อุดมด้วยไขมันดี

    เมื่อพูดถึงการปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น หลายคนอาจนึกถึงวิธีต่างๆ เกี่ยวกับความบันเทิง แต่คุณสามารถปรับอารมณ์ได้ด้วยอาหารที่รับประทานเข้าไปเหล่านี้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา