backup og meta

ลิ้นส้ม แบบนี้ เป็นสัญญาณอันตรายของสุขภาพหรือเปล่า

ลิ้นส้ม แบบนี้ เป็นสัญญาณอันตรายของสุขภาพหรือเปล่า

ปกติแล้วลิ้นของคนเรานั้นมีสีชมพู จะเปลี่ยนไปบ้างบางครั้งเวลาที่รับประทานอาหารที่มีสี เช่น ลูกอมบางยี่ห้อ หรือเครื่องดื่มที่มีสีต่าง ๆ ที่เป็นสีสังเคราะห์ แต่ถ้าลิ้นของคุณเปลี่ยนสีโดยที่ไม่ได้มาจากการรับประทานของเหล่านี้ หรือถ้าคุณมีอาการ ลิ้นส้ม จะเป็นสัญญาณว่าร่างกายของคุณกำลังเผชิญกับโรคร้ายอยู่หรือไม่ มาหาคำตอบพร้อมกันกับ Hello คุณหมอ 

สาเหตุของการเกิดลิ้นส้ม

สาเหตุของอาการลิ้นส้มนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนี้

1.ปัญหาสุขภาพช่องปาก

โดยปกติแล้ว เซลล์ที่อยู่บนผิวลิ้นของคนเรานั้นจะมีการเจริญเติบโตและหลุดออกไปทุกครั้ง แต่เมื่อใดก็ตามที่เซลล์เหล่านั้นไม่หลุดออกไปจากลิ้น ก็จะสร้างตัวและอาศัยอยู่ในลิ้นของเรา เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป อาหารก็จะไปติดกับเซลล์เหล่านี้ จนกระทั่งเกิดเป็นคราบสีขาวที่ลิ้น และในบางครั้งก็เปลี่ยนเป็นสีต่าง ๆ สาเหตุของปัญหาเหล่านี้ มาจากการดื่มชาหรือกาแฟ การสูบบุหรี่ หรือมีอาการปากแห้ง ควรหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาด แปรงฟันและแปรงลิ้นอย่างสม่ำเสมอ ระวังไม่ให้มีฟันผุ หรือปัญหาสุขภาพปากอื่น ๆ และควรหาเวลาไปตรวจสุขภาพช่องปากกับผู้เชี่ยวชาญ

2.การเจริญเติบโตของแบคทีเรียและยีสต์

บริเวณผิวลิ้นของคนเรานั้น มีแบคทีเรียและยีสต์อาศัยอยู่ เมื่อแบคทีเรียและยีสต์เหล่านี้ก่อตัวมากขึ้นหรือเร็วจนเกินไป แบคทีเรียและยีสต์พวกนี้ก็จะเริ่มปล่อยสารออกมาทำให้ลิ้นของเราเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม

3.เชื้อราในช่องปาก

เชื้อราในช่องปากที่ว่านี้ คือเชื้อราที่มีอยู่ในช่องปากและในระบบทางเดินอาหาร รวมถึงช่องคลอด ชื่อว่า แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ซึ่งเชื้อราเหล่านี้มักจะทำให้ลิ้นและกระพุ้งแก้มของเรามีคราบสีขาว และถ้าหากมีแผลหรือเลือดออกในปาก ลิ้นก็จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม

4.ยาปฏิชีวนะ

การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคและสภาวะอาการต่าง ๆ ก็เป็นผลที่ทำให้เกิดลิ้นส้มได้ด้วยเหมือนกัน เนื่องจากตัวยาบางชนิดเข้าไปรบกวนการทำงานของแบคทีเรียที่อยู่ในลิ้นและช่องปาก ทำให้ลิ้นเปลี่ยนเป็นสีส้ม

5.กรดไหลย้อน

อาการลิ้นส้มไม่ได้ทำให้เป็นกรดไหลย้อน แต่การเป็นกรดไหลย้อนมีส่วนที่ทำให้ลิ้นเปลี่ยนสี ทั้งนี้อาการกรดไหลย้อนนั้นเกิดจากการที่กรดในช่องท้องมีการตีกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างมีการหย่อน หรือคลาย ทำให้กรดในกระเพาะอาหารสามารถวกกลับขึ้นมายังหลอดอาหารได้อีก ซึ่งอาการกรดไหลย้อนนี้จะทำให้มีรสเปรี้ยวในปาก กลืนอาหารลำบาก เรอเปรี้ยว คลื่นไส้อาเจียน และยังทำให้ลิ้นมีคราบสีขาวหรือเป็นสีส้มอีกด้วย

6.เชื้อราในสิ่งแวดล้อม

เชื้อรานั้นอยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะทั้งที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื้อราบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการแพ้ และส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก และเชื้อราบางชนิดอาจผ่านเข้ามาทางอากาศในตอนที่เราอ้าปากหาว หรือหายใจ จากการดื่มน้ำ หรือจากการรับประทานอาหาร วิธีดูแลตนเองแบบง่าย ๆ คือบ้วนปากอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดปัญหาการมีลิ้นส้มลงได้

วิธีดูแลลิ้นให้สะอาดแบบง่าย ๆ

  • เลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนนุ่ม เพราะขนแปรงที่หนาเกินไป อาจทำให้บาดกระพุ้งแก้ม หรือทำให้เกิดแผลในช่องปาก
  • ใช้แปรงสีฟันที่มีฟังก์ชันการทำความสะอาดลิ้น โดยสามารถเลือกซื้อได้ตามร้านค้า และห้างสรรพสินค้าทั่วไป
  • แปรงลิ้นทุกครั้งหลังจากที่แปรงฟันเสร็จ
  • บ้วนปากอย่างสม่ำเสมอ
  • ดื่มชาเขียว เพราะการดื่มชาเขียวช่วยลดแบคทีเรียในช่องปากได้
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ และสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้ปากแห้ง
  • หมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงสีของลิ้นอยู่เสมอ หากมั่นใจว่ามีความผิดปกติควรไปพบคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำ

อาการ ลิ้นส้ม น่าเป็นห่วงหรือไม่

โดยปกติแล้วอาการลิ้นส้มนั้นจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและหายไปเอง การงด หรือลดพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้ลิ้นเปลี่ยนเป็นสีส้มอย่างเช่น ดูแลตนเองไม่ให้รับประทานวิตามินหรืออาหารเสริมมากไป รวมถึงดูแลไม่ให้ร่างกายขาดวิตามินด้วย การดูแลตนเองไม่ให้เป็นกรดไหลย้อน หรือทำความสะอาดช่องปากให้ถูกวิธี การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เหล่านี้สามารถที่จะลดสาเหตุของการเกิดลิ้นส้มได้ หรือในบางครั้งลิ้นส้มก็สามารถเกิดได้ในช่วงที่เรากำลังนอนหลับและหลังตื่นนอน แม้จะฟังดูเหมือนว่าอาการลิ้นส้มนั้นไม่น่าจะมีอะไรน่าเป็นห่วง เพียงหมั่นดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอเท่านั้นก็จะไม่พบปัญหานี้ แต่บางครั้งลิ้นส้ม ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกอาการต่าง ๆ ของเราได้ เช่น การเป็นกรดไหลย้อน การขาดวิตามิน หรือการมีเชื้อราในช่องปากมากจนเกินไป

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าอาการลิ้นส้มนั้นมักจะหายไปเองได้ในเวลาไม่กี่วัน แต่ถ้าหากคุณมีอาการลิ้นส้มติดต่อกันยาวนานเป็นสัปดาห์หรือสองสัปดาห์ คุณอาจจำเป็นที่จะต้องไปพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุและรับคำแนะนำเพิ่มเติม

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Causes Orange Tongue and How Is It Treated?. https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/orange-tongue. Accessed on January 8, 2020.

Four causes of an orange tongue. https://www.medicalnewstoday.com/articles/321426.php#causes. Accessed on January 8, 2020.

Orange Tongue Causes, Symptoms, Prevention and Diagnosis. http://www.actforlibraries.org/orange-tongue/. Accessed on January 8, 2020.

6 Things You Should Be Doing to Take Care of Your Tongue. https://www.carillondental.com/blog/six-things-you-should-be-doing-to-take-care-of-your-tongue/. Accessed on January 8, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ น้ำยาบ้วนปาก

กลิ่นปาก เกิดจากอะไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา