backup og meta

อาการตาบอดสี กับข้อเท็จจริง 5 ประการที่ควรต้องรู้ไว้

อาการตาบอดสี กับข้อเท็จจริง 5 ประการที่ควรต้องรู้ไว้

ดวงตา ถือเป็นอวัยวะสำคัญที่มีบทบาทต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก มีข้อมูลระบุว่า การรับรู้และการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ของคนเราเกิดจากการมองเห็นประมาณร้อยละ 70-80 เลยทีเดียว หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับดวงตา ย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเราอย่างมากทีเดียว หนึ่งในความผิดปกติของดวงตาที่เราเจอกันบ่อยคือ อาการตาบอดสี เราจึงขอนำคุณมาทำความรู้จักความจริง 5 ประการเกี่ยวกับอาการ ตาบอดสี ปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น

รู้หรือไม่ คนเรานั้นมองเห็นสีไม่เหมือนกัน

เมื่อมีคนถามว่า ใบผักโขมมีสีอะไร คำตอบของคุณอาจเป็น สีเขียว อย่างไรก็ตาม สีเขียว ที่แต่ละคนมองเห็นอาจไม่ใช่สีเขียวแบบเดียวกัน คุณและเพื่อนของคุณอาจจะมองเห็นสีเขียวไม่เหมือนกันก็ได้

คุณมองเห็นสีสันของวัตถุต่าง ๆ เพราะว่าแสงนั้นส่องมายังวัตถุและสะท้อนมายังเลนส์ตาและกระจกตาของคุณ โดยมารวมกันที่จุดรับภาพของจอประสาทตา

สีของแสงนั้นระบุได้ด้วยความยาวคลื่น หมายความว่า สีเขียว มีความยาวคลื่นที่คุณเห็นคือสีเขียว ใบผักโขมเป็นสีเขียวเพราะผิวของมันสะท้อนความยาวคลื่นสีเขียวและซึมซับความยาวคลื่นของสีอื่น ๆ ไว้

มนุษย์แต่ละคนมองเห็นสีของวัตถุแตกต่างกันออกไปเล็กน้อย เพราะตาและสมองทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อระบุความแตกต่างของระดับความเข้มของแสงแตกต่างกัน

สาเหตุของ อาการตาบอดสี คืออะไร

ตาบอดสีอาจเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ ดวงตา สมอง หรืออาจเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดได้จากการที่เซลล์รูปกรวยทำหน้าที่บกพร่อง หรือไม่มีเซลล์รูปกรวยในดวงตาซึ่งอาจเป็นผลจากความบกพร่องของยีนส์บางตัวที่มีหน้าที่เฉพาะในกระบวนการสร้างเซลล์เหล่านี้

เซลล์รูปกรวย (Cone cells) ทำหน้าที่จำแนกสีต่าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งจะทำหน้าที่รับรู้สีหลัก ๆ 3 สี ได้แก่ สีเขียว สีแดง และสีฟ้า

หากคุณมีอาการตาบอดสี คุณอาจไม่มีเซลล์รูปกรวยอันใดอันหนึ่งหรือสองอัน หรืออาจะไม่มีเซลล์รูปกรวยทั้งหมดที่กล่าวมาก็ได้

บางครั้งการกระทบกระเทือนทางร่างกายหรือได้รับสารเคมีบางชนิดที่ดวงตา ระบบประสาท หรือสมอง ก็สามารถส่งผลกระทบต่อการรับรู้สี และทำให้เกิดอาการตาบอดสีได้เช่นกัน

นอกจากนี้ เมื่อคุณมีอายุมากขึ้น ก็อาจเกิดต้อกระจกซึ่งทำให้เลนส์ตากลายเป็นสีเหลือง และอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่อาการตาบอดสีได้

อาการตาบอดสี พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

ผลการวิจัยระบุว่า เพศชายมักมีอาการตาบอดสีมากกว่าเพศหญิง เพราะการตอบสนองของยีนที่ก่อให้เกิดอาการตาบอดสีนั้นอยู่ในโครโมโซม X

เพศชายมีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว ในขณะที่เพศหญิงมีโครโมโซม X สองโครโมโซม ในเพศหญิงนั้น หากโครโมรโซม X ตัวใดได้รับผลกระทบ อีกตัวจะทำหน้าที่ชดเชยกัน

ผู้ที่ตาบอดสีแดงและสีเขียวมีอาการร่วมกัน

ผู้ที่ตาบอดสีแดงและสีเขียวนั้นพบได้บ่อยที่สุดสำหรับผู้ที่มีอาการตาบอดสี เกิดขึ้นเพราะการขาดเซลล์รูปกรวยที่ทำหน้าที่รับรู้สีเขียวและสีแดง ผู้ที่ตาบอดสีแดงและสีเขียวจึงมักแสดงอาการร่วมกันระหว่างตาบอดสีแดงและตาบอดสีเขียว

เลนส์พิเศษสามารถช่วยผู้มีอาการตาบอดสีได้

อาการดังกล่าวอาจสร้างความรำคาญและทำให้ผู้มีอาการประสบความลำบากในการอ่านหนังสือ การเรียนรู้ หรือการขับรถ แต่ก็ไม่ได้ก่ออาการเจ็บป่วยรุนแรงแต่อย่างใด แม้ว่าอาการตาบอดสีนี้จะไม่สามารถรักษาได้ แต่คุณก็สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้

มีตัวช่วยต่าง ๆ มากมายหากคุณมีอาการตาบอดสี โดยคุณอาจขอให้แพทย์ทำเลนส์พิเศษสำหรับผู้มีอาการตาบอดสี เลนส์เหล่านี้จะช่วยให้คุณมองเห็นสีต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น และยังสามารถใช้มันนอกสถานที่ได้ รวมถึงยังมีแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนที่ช่วยคุณรับรู้สีสันของวัตถุต่าง ๆ รอบตัวได้ดีขึ้นด้วย

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Facts About Color Blindness. https://nei.nih.gov/health/color_blindness/facts_about. Accessed April 5, 2017.

Color Blindness. https://medlineplus.gov/colorblindness.html. Accessed April 5, 2017.

Facts About Myopia. https://nei.nih.gov/health/errors/myopia. Accessed April 5, 2017.

Color Blindness – Topic Overview. http://www.webmd.com/eye-health/tc/color-blindness-topic-overview#1. Accessed April 5, 2017.

What Is Color Blindness?. https://www.aao.org/eye-health/diseases/what-is-color-blindness. Accessed April 5, 2017.

What is a chromosome?. https://ghr.nlm.nih.gov/primer/basics/chromosome. Accessed April 5, 2017.

Genes. https://medlineplus.gov/ency/article/002371.htm. Accessed April 5, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/06/2020

เขียนโดย อนันตา นานา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคตาขี้เกียจในเด็ก สาเหตุ การรักษา และการตรวจดวงตาในเด็ก

อาการผิดปกติของดวงตา ที่อาจดูเหมือนเล็กน้อย..แต่ไม่ใช่เรื่องเล็ก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 04/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา