backup og meta

เช็กปัญหาสายตาที่ควรเร่งแก้ไข ด้วย การตรวจการตอบสนองของรูม่านตา (PERRLA)

การตรวจการตอบสนองของรูม่านตา ซึ่งเป็นการใช้เทคนิคบางอย่างโดยจักษุแพทย์ ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ไม่ว่าจะเป็นการมองไม่ชัด ปวดตา เจ็บตา เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพตา ควรเข้ารับการตรวจดวงตาเพื่อป้องกันความเสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ ที่ร้ายแรง

[embed-health-tool-bmi]

การตรวจการตอบสนองของรูม่านตา คืออะไร

การตรวจการตอบสนองของรูม่านตา (PERRLA) คือ ขั้นตอนการตรวจพื้นฐาน เพื่อวัดระดับการทำงานของรูม่านตา และสัญญาณเตือนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านสายตา หรือโรคในตา โดยเป็นการตรวจตามคำย่อภาษาอังกฤษ PERRLA ดังนี้

  • Pupils (P) เป็นการตรวจจุดกึ่งกลางในดวงตา หรือม่านตา (Iris) ที่สามารถควบคุมการหดตัว หรือขยายตัว เมื่อเผชิญกับแสงรอบตัวที่ได้รับ
  • Equal (E) คุณหมอจะตรวจขนาดรูม่านตา โดยปกติแล้ว รูม่านตาควรจะมีขนาดเท่ากัน หากคุณหมอพบว่ารูม่านตาข้างใดข้างหนึ่งมีขนาดต่างออกไป ก็อาจจำเป็นต้องตรวจสอบด้วยเทคนิคอื่นเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด
  • Round (R) ปกติรูม่านตามักมีลักษณะเป็นวงกลม คุณหมอจึงต้องตรวจสอบเส้นขอบ และรูปร่างของรูม่านตาอย่างละเอียด
  • Reactive (R) เป็นการทดสอบปฏิกิริยา และความเคลื่อนไหวของรูม่านตาว่ามีการตอบสนองต่อแสงมากน้อยเพียงใด
  • Light (L) ในการตรวจนี้ คุณหมอมักจะส่องแสงไฟเข้าที่รูม่านตา เพื่อดูว่า รูม่านตาตอบสนองได้ดีแค่ไหน เช่น หากส่องไฟเข้าไปแล้วรูม่านตาไม่มีการหดตัวลง ก็อาจคาดเดาได้ว่าขณะนั้นกำลังเสี่ยงกับปัญหาด้านสายตาบางอย่างอยู่
  • Accommodation (A) คือการเช็กความสามารถการมองเห็นในระยะใกล้-ไกล หากทดสอบแล้วรูม่านตาไม่มีการหดตัวเวลามองสิ่งที่อยู่ใกล้ หรือไม่มีการขยายออกขณะมองวัตถุที่อยู่ในระยะไกล ก็อาจสรุปได้ว่ากำลังมีปัญหาทางด้านสายตาที่ผิดปกติอยู่นั่นเอง

ขั้นตอนการตรวจ รูม่านตา จากทางการแพทย์

ในการตรวจนั้น คุณหมออาจให้เข้าไปในห้องตรวจเฉพาะในสภาวะแสงไฟสลัว หรือแสงน้อย แล้วจึงเริ่มขั้นตอนการตรวจ ดังนี้

  1. ขั้นตอนแรก คุณหมอจะตรวจดูรูม่านตา เพื่อตรวจสอบขนาด และรูปทรงของรูม่านตาว่าต่างไปจากปกติหรือไม่
  2. จากนั้นจะแกว่งไฟฉายไปมา โดยให้คนไข้มองตรงไปด้านหน้า เพื่อตรวจสอบรูม่านตาว่ามีการตอบสนองต่อแสงที่เห็นมากน้อยเพียงใด
  3. ส่วนในขั้นตอนสุดท้าย คุณหมอจะนำวัตถุบางอย่าง เช่น ปากกา มาร่วมทดสอบ โดยนำวัตถุเข้าไปใกล้ในระยะสายตา และนำออกมาให้ไกลสายตา หรือเลื่อนปากกาไปทางซ้ายขวา เพื่อดูการโฟกัสของรูม่านกับวัตถุว่ามีปฏิกิริยาอย่างไร

ผลการตรวจ บอกอะไรได้บ้าง

หากคุณหมอระบุผลลัพธ์ว่า รูม่านตามีการทำงานผิดปกติ ก็อาจเป็นได้ว่ากำลังมีความเสี่ยงในการเกิดโรค และปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดวงตา โดยแยกได้เป็น 2 กรณีหลัก ดังต่อไปนี้

  1. รูม่านตามีขนาด หรือรูปร่างไม่สม่ำเสมอ อาจเป็นเพราะ ต้อหิน เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดในสมอง ไมเกรน การตกเลือดภายในกะโหลกศีรษะ อุบัติเหตุจากการถูกกระแทกอย่างรุนแรง
  2. รูม่านตาไม่มีการตอบสนองต่อแสง หรือวัตถุที่เคลื่อนไหว อาจเป็นเพราะ โรคประสาทอักเสบ การติดเชื้อที่จอประสาทตา เส้นประสาทตาถูกทำลาย เนื้องอกในเส้นประสาทตา โรคระบบประสาทขาดเลือด ต้อหิน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The perils of PERRLA. https://www.researchgate.net/publication/6390887_The_perils_of_PERRLA. Accessed May 31, 2023.

What to know about the PERRLA eye test. https://www.medicalnewstoday.com/articles/perrla-eyes. Accessed May 31, 2023.

PERRLA Eye Assessment Test. https://www.medicinenet.com/perrla_eyes/article.htm. Accessed May 31, 2023.

PERRLA Eye Assessment: What It Is and How It Works https://www.webmd.com/eye-health/perrla-eye-exam. Accessed May 31, 2023.

What to know about the PERRLA eye test https://www.medicalnewstoday.com/articles/perrla-eyes. Accessed May 31, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

จอประสาทตาลอก สาเหตุ อาการ และการรักษา

สัญญาณเตือนของดวงตา ที่เป็นสัญญาณของการเกิด โรคต้อกระจก


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไข 31/05/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา