ปัญหาตาแบบอื่น

นอกจากการเป็นต้อหิน ต้อกระจกแล้ว ยังมี ปัญหาตาแบบอื่น ที่คุณจะได้ศึกษาถึงสาเหตุ รวมถึงวิธีการป้องกันดวงตาให้กับตัวเอง รวมถึงคนในครอบครัว ซึ่งคุณสามารถอ่านข้อมูลทั้งหมดได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาตาแบบอื่น

เปลือกตาอักเสบ (Blepharitis)

ปัญหาของสุขภาพตาที่คนส่วนใหญ่มักเผชิญไม่ได้มีเพียงแค่ ต้อหิน ต้อกระจก สายตาสั้น สายตายาว เสมอไป ยังมีภาวะอื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น อย่าง เปลือกตาอักเสบ ด้วยเช่นกัน แต่จะภาวะนี้เกิดจากสาเหตุ หรือปัจจัยใดบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนกันได้เลยค่ะ [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ เปลือกตาอักเสบ คืออะไร เปลือกตาอักเสบ (Blepharitis) คืออาการอักเสบบริเวณรอยพับของผิวหนังที่ปกคลุมดวงตา หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เปลือกตา เกิดจากการที่ต่อมน้ำมันโคนขนตาอุดตันเนื่องจากสิ่งสกปรก ส่งผลให้เกิดอาการระคายเคือง จนเปลือกตาอักเสบ และมีอาการบวม ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นกับเปลือกตาข้างใดก็ได้ และสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ อาการอักเสบบริเวณเปลือกตาด้านนอก เป็นการอักเสบของเปลือกตาด้านนอกส่วนที่ใกล้กับขนตา อาการอักเสบบริเวณเปลือกตาด้านใน เป็นการอักเสบของเปลือกตาด้านในส่วนที่ใกล้กับดวงตามากที่สุด เปลือกตาอักเสบพบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะเปลือกตาอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เมื่อต่อมน้ำมันมีการอุดตัน ดังนั้นทางที่ดีที่สุด คุณสามารถเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจากจักษุแพทย์ได้ เพื่อขอคำแนะนำการรักษาได้อย่างเหมาะสม อาการ อาการของเปลือกตาอักเสบ สัญญาณเตือนของภาวะ เปลือกตาอักเสบ มักสังเกตได้ง่าย จากอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อาการคันบริเวณเปลือกตา เปลือกตาบวมแดง รู้สึกแสบร้อนภายในดวงตา ตาแดง น้ำตาไหลตลอดเวลา ดวงตาไวต่อแสง ขี้ตาเกรอะ ดวงตาพร่ามัว เปลือกตามันเยิ้ม ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณรู้สึกมีอาการปวดที่ดวงตา […]

สำรวจ ปัญหาตาแบบอื่น

ปัญหาตาแบบอื่น

โรคตาในผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมอายุที่มากขึ้น

ร่างกายของมนุษย์ย่อมร่วงโรยไปตามวัย เมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพกายใจที่เคยแข็งแรงก็อาจเริ่มมีปัญหา เมื่อย่างเข้าสู่วัย 40 ปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นก็คือ ปัญหาสุขภาพตา นั่นเอง อายุที่มากขึ้นทำให้ดวงตาเปลี่ยนแปลง จนเกิดเป็น โรคตาในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง และสามารถป้องกันได้อย่างไร เราไปดูกันเลย โรคตาในผู้สูงอายุที่พบบ่อย ภาวะสายตายาวตามอายุ (Presbyopia) ภาวะที่ความสามารถในการเพ่งมองวัตถุที่อยู่ใกล้ลดลงตามวัย เกิดจากเลนส์แก้วตาแข็งตัวมากขึ้น ยืดหยุ่นได้น้อยลง จึงไม่สามารถปรับรูปร่างของเลนส์ให้โป่งนูนขึ้น เพื่อโฟกัสแสงให้ตกกระทบที่จอประสาทตาเวลาที่มองวัตถุระยะใกล้ได้ ส่งผลให้มองเห็นวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้ไม่ชัดเจน มักเกิดหลังอายุ 40 ปี และสายตาจะคงที่เมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีภาวะสายตายาวตามอายุ เมื่อจะอ่านหนังสือ จากที่เคยมองเห็นตัวหนังสือในระยะ 30 เซนติเมตร ก็ต้องถือหนังสือแบบเหยียดสุดแขนจึงจะมองเห็น หากมองเพ่งใกล้ๆ จะมีอาการปวดหัว หรือตาล้า ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตัดแว่นที่เหมาะกับค่าสายตา โรคตาแห้ง (Dry eye) เมื่ออายุมากขึ้น ต่อมน้ำตาจะผลิตน้ำตาได้น้อยลง แถมบางครั้งน้ำตาที่ผลิตได้ยังไม่มีคุณภาพ เข้มข้นไม่พอ หรือระเหยเร็วเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการตาแสบร้อน พร่ามัว และระคายเคืองคล้ายมีฝุ่นผงเข้าตา บางรายอาจมีขี้ตาเป็นเมือกเหนียวยืดเป็นเส้น หรือมีน้ำตาไหลไม่หยุด สำหรับผู้ป่วยโรคตาแห้ง คุณหมออาจแนะนำให้คุณติดตั้งเครื่องทำความชื้น หรือหยอดน้ำตาเทียมเพื่อให้ดวงตาชุ่มชื้นตลอดเวลา หากตาแห้งรุนแรงอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด อาการน้ำตาไหลไม่หยุด เกิดจากต่อมน้ำตาผลิตน้ำตามากเกินไป เพราะดวงตาไวต่อแสง ลม หรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป แก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการสวมแว่นกันแดด […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ตากระตุก เป็นลาง...ว่าคุณอาจมีปัญหาสุขภาพ

อาการ ตากระตุก หรือ ตาเขม่น หลายคนอาจคิดว่านี่เป็นเรื่องของโชคลาง หรือลางบอกเหตุอะไรบางอย่าง แม้เราจะไม่รู้แน่ชัดว่าอาการตากระตุกนี้เป็นลางบอกเหตุจริงหรือไม่ แต่อย่างหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือ อาการตากระตุกที่เกิดขึ้น อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าสุขภาพของคุณกำลังมีปัญหาซึ่งคุณไม่ควรละเลย ตากระตุกคืออะไร ตากระตุก หรือ หนังตากระตุก (eyelid twitch) ที่หลายคนเรียก “ตาเขม่น” นั้น ทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะกล้ามเนื้อหนังตากระตุก (Blepharospasm) เกิดจากการส่งกระแสประสาทมาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อออบิคูลารีสออรีส (orbicularis oris muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เรียงอยู่รอบเปลือกตาหรือหนังตาบนและล่างมากเกินไป ทำให้เปลือกตากระตุกเองแบบไม่สามารถควบคุมได้ มักเกิดกับเปลือกตาบน และเป็นที่ตาข้างเดียว โดยเปลือกตาจะกระตุกยิบๆ ต่อเนื่องเป็นพักๆ ส่วนใหญ่จะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่บางคนอาจมีอาการยาวนานเป็นปี ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะ ตากระตุก ตากระตุกส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากปัญหาสุขภาพร้ายแรง และมักมาจากสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ ความเครียดและความวิตกกังวล ความเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย อาการตาล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการตาล้าที่เกิดจากการจ้องหน้าจอเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เป็นเวลานาน สภาพแวดล้อม เช่น ลม แสงสว่าง แสงแดด มลภาวะทางอากาศ การอดนอน การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำอัดลม อาการภูมิแพ้ขึ้นตา การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น แมกนีเซียม แคลเซียม วิตามินบี 12 […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ใช้สายตามากเกินจนเกิด อาการตาล้า จัดการอย่างไรดี?

อาการตาล้า (Eye fatigue) เกิดจากอาการแสบ อาการคัน และอาการเมื่อยล้าของดวงตา สามารถพบได้บ่อย และไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรง แม้บางครั้งเราอาจมีอาการตาล้าจนแทบทนไม่ได้ แต่อาการที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ทำให้ดวงตาเสียหายแต่อย่างใด ต่อไปนี้ คือข้อแนะนำและวิธีการจัดการกับอาการตาล้า ที่ Hello คุณหมอนำมาฝาก อาการตาล้า คืออะไร ตาล้า เป็นอาการหนึ่งที่ไม่ใช่โรคเกี่ยวกับดวงตา มักเกิดขึ้นหลังจากการใช้สายตาเป็นเวลานาน เช่น ขับรถยนต์ ใช้คอมพิวเตอร์ และอ่านหนังสือ หากรู้สึกไม่สบายตาในขณะจ้องมองสิ่งต่างๆ นั่นอาจหมายถึงอาการสายตาล้า โดยปกติแล้ว อาการจะหายไปหลังจากได้พักดวงตา แต่ในบางกรณี สายตาล้าเป็นอาการของปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา สาเหตุของอาการตาล้า ปัจจุบัน สาเหตุของอาการตาล้าที่พบได้มากที่สุดคือ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใหญ่ทุกคนใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างน้อยที่สุด 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งทำให้กะพริบตาน้อยกว่าปกติ และทำให้เกิดอาการตาแห้ง นอกจากนี้ เมื่อคุณพยายามใช้สายตาในความมืด จะทำให้กล้ามเนื้อหนังตาและใบหน้าต้องบีบตัวแน่นมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว จนเกิดอาการปวดเพราะกล้ามเนื้อดวงตาทำงานหนักเกินไปจากการใช้งานกล้ามเนื้อดวงตา และอาจทำให้เกิดอาการตาล้าได้มากขึ้น ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ หรือมีการมองเห็นไม่ชัด อาจมีอาการแย่ลงจากปัญหาเกี่ยวกับดวงตาที่เป็นอยู่ เช่น สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง โดยผู้ที่มีปัญหาทางสายตาจำเป็นต้องใส่แว่นสายตาเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ หากใครนอนน้อย นอนไม่พอ มักต้องทำงานภายใต้แรงกดดัน หรือมีอาการเหนื่อยล้า อาจมีอาการสายตาล้าแย่ลง อาการตาล้าเป็นอย่างไร อาการสายตาล้ามีดังต่อไปนี้ ระคายเคืองดวงตา ตาแห้ง ตาแฉะ มองเห็นไม่ชัด แพ้แสง ปวดตา ตาแดง สายตาเปลี่ยนแปลงมากขึ้น หากมีปัญหาดังกล่าว ควรเข้ารับการทดสอบทางจักษุวิทยา […]


ปัญหาตาแบบอื่น

เมื่อยล้าทางสายตา (Eye Fatigue)

เมื่อยล้าทางสายตา (Eye Fatigue) เป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่่ไม่ใช่อาการที่ร้ายแรง สามารถรักษาให้หายได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรักษาทางการแพทย์  สาเหตุเกิดจากการใช้สายตาอย่างหนักเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน เช่น การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การขับรถยนต์ เป็นต้น   คำจำกัดความเมื่อยล้าทางสายตา คืออะไร อาการ เมื่อยล้าทางสายตา (Eye Fatigue) หรือ อาการตาล้า เป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่่ไม่ใช่อาการที่ร้ายแรง สามารถรักษาให้หายได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรักษาทางการแพทย์ สาเหตุเกิดจากการใช้สายตาอย่างหนักเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน เช่น การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การขับรถยนต์ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน พบได้บ่อยเพียงใด อาการเมื่อยล้าทางสายตา  สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่ใช้สายตาอย่างหนัก เช่น การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การขับรถยนต์ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน อาการอาการของการเมื่อยล้าทางสายตา อาการทั่วไปของการเมื่อยล้าทางสายตา มีดังนี้ ตาเจ็บ ตาระคายเคือง การมองเห็นไม่ชัด ตาแห้ง มองเห็นภาพไม่ชัด ภาพซ้อน ความไวต่อแสง ปวดศีรษะ ปวดบริเวณคอ ไหล่ และหลัง ควรไปพบหมอเมื่อใด คุณควรไปพบหมอเมื่อมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ เคืองตา มองเห็นภาพซ้อน การมองเห็นเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน สาเหตุสาเหตุของอาการเมื่อยล้าทางสายตา สาเหตุของอาการเมื่อยล้าทางสายตา มีดังนี้ อ่านหนังสือ เป็นระยะเวลานานโดยไม่พักสายตา จ้องหน้าจออุปกรณ์ดิจิทัลเป็นเวลานาน เช่น จ้องโทรศัพท์ โทรทัศน์ ขับรถในระยะทางไกลและทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องใช้สายตาเป็นเวลานาน ใช้สายตาในที่ที่มีแสงสว่างหรือแสงจ้าเกินไป ตากระตุก อากาคเครียด หรือเหนื่อยล้า การสัมผัสอากาศแห้งหรือลมจากพัดลม เครื่องทำลมร้อน หรือระบบเครื่องปรับอากาศ ความผิดปกติเกี่ยวกับปัญหาดวงตา เช่น ตาแห้ง สายตาผิดปกติ ปัจจัยเสี่ยงของอาการเมื่อยล้าทางสายตา ปัจจัยความเสี่ยงของการเกิดอาการ เมื่อยล้าทางสายตามีหลายประการ ดังนี้ อ่านหนังสือเป็นเวลานาน เพ่งสายตาเป็นเวลานาน ขับรถยนต์เป็นเวลานาน ทำงานโดยใช้สายตาจ้องคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยอาการเมื่อยล้าทางสายตา ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย […]


ปัญหาตาแบบอื่น

แค่ "ขยี้ตา" ก็อาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพได้นะ

เมื่อตื่นนอน สิ่งแรกที่ใครหลายคนทำหรือเคยทำบ่อยๆก็คือ การ ขยี้ตา การขยี้ตาอาจช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย แต่คุณทราบหรือไม่ว่า การขยี้ตาบ่อยๆ แรงๆ อาจส่งผลร้ายต่อร่างกายมากกว่าที่คุณคิด Hello คุณหมอนำเรื่องเล็กๆจากการ”ขยี้ตา” ที่อาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพได้ มากฝากกัน ทำไมเราถึง ขยี้ตา การที่เราขยี้ตามักเป็นเพราะคัน เคืองตา หรือตาแห้ง ซึ่งอาจเกิดได้จากปัจจัยเหล่านี้ ตาติดเชื้อ ที่พบได้บ่อยเช่น โรคเยื่อบุตาอักเสบ โรคตาแดง หรือโรคเปลือกตาอักเสบ โรคภูมิแพ้ โรคไข้หวัด หรือโรคโพรงจมูกอักเสบ มีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ความเหนื่อยล้า ใส่คอนแทคเลนส์ ผลเสียที่ตามมาจาการขยี้ตา เกิดรอยคล้ำใต้ตา ผิวหนังบริเวณรอบดวงตาเป็นผิวหนังส่วนที่บอบบางที่สุดในร่างกาย เมื่อเราขยี้หรือเกาบริเวณดวงตา อาจทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังในบริเวณนั้นแตก เลือดไหลซึมเข้าสู้เนื้อเยื่อโดยรอบ จนทำให้ผิวหนังบริเวณรอบดวงตาดูดำคล้ำ เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ ในแต่ละวันมือของเราต้องสัมผัสกับสิ่งต่างๆ มากมาย นั่นจึงเป็นเหตุให้มือเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคนานาชนิด การใช้มือขยี้ตา ก็เท่ากับว่าคุณได้ส่งต่อเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรียสเตรปโทคอกคัส เชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลลา ไปสู่ดวงตาของคุณ ซึ่งนี้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคตาแดง โรคเยื่อบุตาอักเสบ เป็นต้น ทำให้กระจกตาถลอกหรือมีรอยขีดข่วน บางครั้งเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา คนเรามักจะขยี้ตาตามสัญชาตญาณเพื่อพยายามเอาสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออก แต่รู้หรือไม่ว่าการขยี้ตาอาจยิ่งทำให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในดวงตาลึกขึ้น และทำให้กระจกตาของคุณถลอก หรือเกิดรอยขีดข่วนได้ รอยถลอกหรือรอยขีดข่วนที่กระจกตา อาจทำให้เกิดอาการตาแดง เคืองตา ตาไวต่อแสง หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นมีปัญหาในการมองเห็นระยะยาวได้ เสี่ยงเป็นภาวะกระจกตารูปกรวย ผลการวิจัยชี้ว่า การขยี้ตาบ่อยๆ แรงๆ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เส้นใยคอลลาเจนในกระจกตาฉีกขาดหรืออ่อนแอ ส่งผลให้กระจกตาตรงกลางบางลง และยื่นออกมาเป็นรูปกรวย หรือที่เรียกว่า ภาวะกระจกตารูปกรวย […]


ปัญหาตาแบบอื่น

มองเห็นเส้นใยใสๆ ลอยในอากาศ ภาวะเสี่ยงเป็น วุ้นตาเสื่อม

วุ้นตา เป็นส่วนประกอบของลูกตา ลักษณะเป็นของเหลวคล้ายไข่ขาวอยู่หน้าจอตาและยึดติดกับผิวของจอตา เมื่ออายุมาก วุ้นตาเสื่อม อาจเกิดขึ้นได้ตามช่วงอายุที่มากขึ้น หากเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของดวงตา การดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้ดวงตาของเรามีสุขภาพที่ดียาวนานได้ สำหรับใครที่เคยมีอาการมองเห็นเส้นใยใสๆ ลอยในอากาศ ตาม Hello คุณหมอ ไปดูกันเลยว่าเกิดจากอะไร วุ้นตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) คืออะไร องค์ประกอบภายในตาของเราเต็มไปด้วย วุ้นตา ซึ่งมีลักษณะเหมือนไข่ขาว ซึ่งช่วยให้ตาเราเป็นทรงกลม และมีเส้นใยเป็นล้านๆ เส้นอยู่ในนั้น ทำหน้าที่คอยช่วยยึดจอตา เส้นเหล่านี้เป็นเนื้อเยื่อที่มีความไวต่อแสง เมื่อเรามีอายุมากขึ้น วุ้นตา จะค่อยๆ หดตัวลง เส้นใยเล็กๆ ที่อยู่ในวุ้นตาจะขาดและมีการหดตัวลงมาจากจอตา ซึ่งเรียกอาการเหล่านี้ว่า วุ้นในตาเสื่อม ผู้ที่มีอาการ วุ้นตาเสื่อม จะมองเห็นเส้นหยึกหยักสีขาว หรือมีจุดสีดำเล็กๆ ลอยไปลอยมาอยู่กลางอากาศ และจะเห็นได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะขณะที่มองไปบนท้องฟ้าหรือว่าผนังสีขาว หากพยายามจ้องไปที่จุดเหล่านั้นมันจะเคลื่อนหายไปอย่างรวดเร็ว สาเหตุที่เราเห็นเส้นใยใสๆ ลอยในอากาศ เกิดจากอายุที่มากขึ้น อายุที่มากขึ้นมีผลทำให้ วุ้นตา เกิดการเสื่อมลง เมื่ออายุมากขึ้นของเหลวใสๆ คล้ายไข่ขาวที่อยู่ในดวงตาจะมีการหดตัวลง ทำให้เกิดการดึงรั้งที่ผิวจอตา และเกิดเป็นเส้น เมื่อแสงส่องผ่านเข้ามาทำให้เกิดเงาของเส้นเหล่านั้น เมื่อเงาเหล่านี้กระทบกับจอตาทำให้เห็นเป็นเส้นขึ้นมา เกิดการอักเสบที่ด้านหลังดวงตา ภาวะม่านตาอักเสบ คือ การอักเสบที่เกิดขึ้นในชั้นยูเวีย(Uvea) ซึ่งอยู่บริเวณหลังดวงตา เมื่อชั้นยูเวียมีการอักเสบ […]


ปัญหาตาแบบอื่น

โรคคอพอกตาโปน โรคตาที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงาน และผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป โดยส่วนใหญ่ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษมักทำให้เกิด โรคคอพอกตาโปน (Graves’ disease) ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองชนิดหนึ่ง และดวงตาเป็นอวัยวะที่อ่อนไหวต่อภาวะนี้เป็นพิเศษ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ โรคคอพอกตาโปน ที่เกี่ยวเนื่องกับอาการทางไทรอยด์ โรคคอพอกตาโปน หรือที่รู้จักกันว่า โรคตาที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (Graves’ ophthalmopathy) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดหนึ่ง ที่ต่อมไทรอยด์ได้รับผลกระทบจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน โดยแสดงออกผ่านทาง การสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป เมื่อระบบภูมิคุ้มกัน สร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบ ๆ ดวงตา และกล้ามเนื้อตา ทำให้ดวงตาเกิดอาการอักเสบและบวม นำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับตามากมาย สาเหตุที่ระบบภูมิคุ้มกันตัวเองเจาะจงไปที่ดวงตานั้นเป็นเพราะ ดวงตามีโปรตีนที่เหมือนกับโปรตีนในระบบภูมิคุ้มกันและในต่อมไทรอยด์ ผู้หญิงมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ชาย 5 ถึง 6 เท่า และผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบในการเกิดโรค อาการของโรคคอพอกตาโปน หากเกิดภาวะโรคตาที่เกี่ยวเนื่องกับอาการทางไทรอยด์ กล้ามเนื้อดวงตาและเนื้อเยื่อไขมันที่อยู่ในเบ้าตาจะบวมขึ้น ลูกตาดันมาด้านหน้า และได้รับผลกระทบในการกลอกตา ส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ซึ่งในกรณีที่รุนแรงผู้ป่วยอาจเกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้ ไม่สามารถปิดเปลือกตาได้สนิท เนื่องจากตาโปน ทำให้มีอาการตาแห้ง ระคายเคือง หรือคันตา คุณอาจรู้สึกปวด หรือรู้สึกพองบริเวณรอบดวงตา เนื้อเยื่อรอบดวงตา และเปลือกตาบวมมากเป็นพิเศษตอนเช้า ตาโปน หรือมีลักษณะจ้องเขม็ง เมื่อกล้ามเนื้อรอบดวงตาได้รับผลกระทบ ทำให้การเคลื่อนที่ของดวงตาถูกจำกัด ส่งผลให้เกิดอาการเห็นภาพซ้อน และปวดเวลากลอกตาไปมา การวินิจฉัยและการรักษา อาการไม่รุนแรงที่เกิดจากโรคตา […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ริดสีดวงตา (Trachoma)

ริดสีดวงตา คือการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลต่อดวงตา เป็นโรคติดต่อ และแพร่กระจายโดยการสัมผัสที่ดวงตา เปลือกตา และน้ำมูกหรือเสมหะในลำคอของผู้ป่วย โรคนี้อาจแพร่กระจายโดยการสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดหน้า คำจำกัดความ ริดสีดวงตา คืออะไร ริดสีดวงตา (Trachoma) คือการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลต่อดวงตา โรคนี้เป็นโรคติดต่อ และแพร่กระจายโดยการสัมผัสที่ดวงตา เปลือกตา และน้ำมูกหรือเสมหะในลำคอของผู้ป่วย โรคนี้อาจแพร่กระจายโดยการสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ในระยะแรก ริดสีดวงตาอาจทำให้เกิดอาการคัน หรือระคายเคืองตาและเปลือกตา ที่ไม่รุนแรง จากนั้น คุณอาจสังเกตถึงเปลือกตาที่บวมและหนองที่ไหลออกจากดวงตา ริดสีดวงที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ องค์การอนามัยโรคได้ระบุระยะโรคของริดสีดวงตาไว้ 5 ระยะดังนี้ การอักเสบที่เซลล์ฟอลลิเคิล (folicular) ระยะนี้เป็นระยะที่เริ่มติดเชื้อ โดยเซลล์ฟอลลิเคิล 5 เซลล์ หรือมากกว่านั้น จะปรากฏให้เห็นตุ่มเล็กๆ ที่มีลิมโฟไซต์ (lymphocyte) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง โดยจะเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อใช้กล้องส่องขยายดูที่พื้นผิวด้านในของเปลือกตาบน (เยื่อบุตา) การอักเสบขั้นรุนแรง ในระยะนี้ ดวงตาของคุณจะติดเชื้ออย่างรุนแรงและเริ่มมีอาการระคายเคือง พร้อมทั้งยังรู้สึกถึงเปลือกตาบนที่หนาขึ้นหรือบวมขึ้น รอยแผลเป็นที่เปลือกตา การติดเชื้อที่เกิดขึ้นซ้ำๆ จะนำไปสู่การเกิดรอยแผลเป็นที่ข้างในเปลือกตา รอยแผลเป็นมักจะเห็นเป็นเส้นสีขาว เมื่อตรวจด้วยการขยายภาพ เปลือกตาของคุณอาจเปลี่ยนรูปและอาจจะม้วนเข้า ขนตาคุด (trichiasis) รอยแผลเป็นข้างในเปลือกตาจะเปลี่ยนรูปไปเรื่อยๆ ทำให้ขนตาของคุณม้วนเข้า จนขนตาเหล่านั้นสัมผัสหรือเสียดสีกับพื้นผิวภายนอกที่โปร่งใสของดวงตาหรือกระจกตา (cornea) กระจกตาขุ่น (Corneal clouding) กระจกตาที่ติดเชื้อจากการอักเสบมักพบได้บ่อยที่สุดที่ใต้เปลือกตาบน […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม