สุขภาพตา

คุณรู้หรือเปล่าว่า ดวงตา คือหนึ่งในอวัยวะรับสัมผัส ที่พัฒนามากที่สุดในร่างกายของมนุษย์ เราจำเป็นต้องพึ่งการมองเห็นในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติ ดังนั้น การดูแลรักษา สุขภาพดวงตา ให้ดี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพตา และการดูแลรักษาสุขภาพดวงตาของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพตา

ตาบอดสีรู้ได้อย่างไร ทดสอบตาบอดสี มีอะไรบ้าง

ตาบอดสี เป็นภาวะบกพร่องของประสาทสัมผัสการรับรู้สึก อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้มีการมองเห็นสีที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด แต่ก็อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น การ ทดสอบตาบอดสี ทำได้ด้วยการทำแบบทดสอบแยกสีในแผ่นกระดาษ ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการใช้เครื่องมือแยกสี โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการตาบอดสีไม่สามารถรักษาให้หายได้ ยกเว้นภาวะที่เกิดจากการใช้ยาหรือเกิดจากปัญหาของดวงตาที่เพิ่งมีขึ้นในภายหลัง คุณหมออาจวางแผนการรักษาให้การมองเห็นสีดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ตาบอดสี คืออะไร ภาวะตาบอดสี (Color Blindness) คือ ความผิดปกติของดวงตาในการตอบสนองต่อความยาวคลื่นแสงต่าง ๆ โดยทั่วไป แสงที่มีความยาวคลื่นของทุกสีจะเดินทางเข้าสู่ดวงตาทางกระจกตาผ่านทางเลนส์ตาและวุ้นตาเข้าไปยังเซลล์รูปกรวยในดวงตาที่อยู่บริเวณจุดรับภาพของจอประสาทตาหรือเรตินา (Retina) เซลล์รูปกรวยจะมีความไวต่อแสงความยาวคลื่นสั้น (สีน้ำเงิน) ปานกลาง (สีเขียว) หรือยาว (สีแดง) ที่ทำให้สามารถรับรู้สีได้ตามปกติ แต่หากเซลล์รูปกรวยขาดสารเคมีที่ไวต่อความยาวคลื่นอย่างน้อย 1 ชนิด ก็จะส่งผลให้การรับรู้สีแตกต่างไปจากคนทั่วไป ตาบอดสี เกิดจากอะไร ตาบอดสี เป็นความผิดปกติที่สืบทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นตาบอดสีมักจะมีโอกาสเป็นตาบอดสีได้มากกว่าคนทั่วไป และมักมีภาวะนี้ตั้งแต่กำเนิดและส่งผลต่อดวงตาทั้ง 2 ข้าง ตามปกติแล้วความรุนแรงจะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นและพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สำหรับผู้ที่มีภาวะนี้ในภายหลังอาจเกิดได้เมื่อสมองหรือดวงตาได้รับความเสียหาย ซึ่งทำให้การมองเห็นสีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตาบอดสีมักทำให้สับสนในการแยกแยะสีในชีวิตประจำวันและมองเห็นสีบางสีที่ไม่สดใสเท่าผู้ที่มีสายตาปกติ คนส่วนใหญ่ที่ตาบอดสีไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวบางเฉดได้ ในบางกรณีซึ่งพบได้ไม่บ่อย คนตาบอดสีจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเฉดสีฟ้าและสีเหลืองได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ตาบอดสีไม่ได้มีความเสี่ยงในการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอด ประเภทของตาบอดสี ตาบอดสี อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ตาบอดสีแดง-เขียว เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ที่ตาบอดสีจะแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวได้ยากกว่าปกติ […]

สำรวจ สุขภาพตา

การดูแลสุขภาพตา

มาทำท่า บริหารใบหน้า ลดเลือนริ้วรอยรอบดวงตา กันเถอะ

ริ้วรอยรอบดวงตา อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การพักผ่อนน้อย การจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน หรือกรรมพันธุ์ แม้ว่าการลบเลือนริ้วรอยให้หมดไป เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่รู้หรือไม่ว่าการ บริหารใบหน้า ด้วยการทำท่า บริหารใบหน้า แบบง่ายๆ เหล่านี้ อาจสามารถช่วยลดความชัดของริ้วรอยลงได้ ท่านิ้วตัววี วางนิ้วกลางทั้งสองข้าง ที่บริเวณหว่างคิ้ว กางนิ้วชี้ออกไปจนเป็นรูปตัววี แล้วใช้นิ้วชี้กดเบาๆ บริเวณหางตา จากนั้น กลอกตาขึ้นมองด้านบนอย่างช้าๆ พร้อมกับค่อยๆ ใช้นิ้วชี้ดันเปลือกตาด้านล่างขึ้น จนตาปิด พักสักครู่ แล้วทำซ้ำอีก 6 ครั้ง จบการบริหารด้วยการหยีตาแรงๆ และค้างไว้ 10 วินาที แล้วจึงค่อยลืมตา กระพริบตา เริ่มจากปิดปากให้สนิท จากนั้น ทำปากเป็นรูปตัวโอ ในขณะที่อ้าปากให้กว้างช้าๆ วางนิ้วชี้ขนานกับริ้วรอยใต้ดวงตา และมองขึ้น จากนั้น กระพริบตาถี่ๆ เป็นเวลา 30 วินาที กลอกตา ตั้งคอและหน้าให้ตรง และนิ่ง จากนั้น กลอกตาไปทางขวาและทางซ้าย จากนั้น กลอกตาขึ้นด้านบนและลงล่าง ปิดตาเป็นเวลา 5 วินาที ก่อนทำซ้ำ จากนั้น เปิดตาให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ย่นคิ้ว […]


ความบกพร่องทางการมองเห็นและตาบอด

ความผิดปกติในการมองเห็นสี (Poor Vision Color)

ความผิดปกติในการมองเห็นสี (Poor Vision Color) คือการที่ความสามารถในการแยกแยะความแตกต่างของสีนั้นลดลง หรือที่คนเรียกกันว่าตาบอดสีนั่นเอง คำจำกัดความความผิดปกติในการมองเห็นสี คืออะไร ความผิดปกติในการมองเห็นสี (Poor Vision Color) คือการที่ความสามารถในการแยกแยะความแตกต่างของสีนั้นลดลง แม้คนส่วนใหญ่อาจจะเรียกภาวะนี้ว่า “โรคตาบอดสี” (colorblind) แต่โรคตาบอดสีที่แท้จริงนั้นคือการมองไม่เห็นสีอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นกรณีที่หายาก ความผิดปกติในการมองเห็นสี พบได้บ่อยแค่ไหน ความผิดปกติในการมองเห็นสีมักจะเป็นโรคแต่กำเนิด ผู้ชายมักมีโอกาสเกิดมาเป็นโรคนี้มากกว่า คนส่วนใหญ่ที่มีความผิดปกติในการมองเห็นสี จะไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวบางเฉดได้ หรือในกรณีที่พบได้น้อยลงมาคือ ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสีน้ำเงินและสีเหลืองได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของความผิดปกติในการมองเห็นสี คุณอาจมีความผิดปกติในการมองเห็นสีโดยที่คุณไม่รู้ตัว บางคนอาจทราบว่า ตนหรือบุตรของตนมีภาวะนี้ก็ต่อเมื่อเกิดความผิดปกติหรือความสับสนในการมองเห็น เช่น เมื่อมีปัญหาในการแยกแยะความแตกต่างของสีไฟจราจร หรือบอกสีของอุปกรณ์การเรียนรู้ไม่ถูกต้อง ผู้ที่มีความผิดปกติในการมองเห็นสีอาจไม่สามารถบอกความแตกต่างของสิ่งต่อไปนี้ได้ ความแตกต่างระหว่างเฉดสีแดงและเขียว ความแตกต่างระหว่างเฉดสีน้ำเงินและเหลือง สีใดๆ ก็ตาม ความผิดปกติในการมองเห็นสีที่พบได้มากคือ ภาวะที่ไม่สามารถมองเห็นสีแดงและสีเขียวได้ บ่อยครั้งที่ผู้ที่บกพร่องในการมองเห็นสีแดง-เขียว หรือเหลือง-น้ำเงิน ไม่ได้ขาดการมองเห็นทั้งสองสีไปอย่างสมบูรณ์ ระดับของการมองเห็นสีที่บกพร่องนั้น มีทั้งระดับเบา ปานกลาง หรือรุนแรง สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณสงสัยว่าคุณมีปัญหาในการแยกแยะสีบางสี หรือการมองเห็นสีของคุณเปลี่ยนแปลงไป ควรเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ เด็กๆ ควรได้รับการตรวจดวงตาที่ครอบคลุม รวมไปถึงการตรวจการมองเห็นสี ก่อนที่จะเข้าโรงเรียน ยังไม่มีวิธีการรักษาความผิดปกติในการมองเห็นสีแต่กำเนิด แต่หากสาเหตุมาจากอาการป่วยหรือโรคตา การรักษาอาจจะสามารถพัฒนาการมองเห็นสีได้ สาเหตุสาเหตุของความผิดปกติในการมองเห็นสี การมองเห็นสีผ่านสเปกตรัมแสงนั้นเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน โดยกระบวนการนี้จะที่เริ่มต้นที่ดวงตาของคุณ ในการแยกแยะสีขั้นต้น อย่างสีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว แสงเข้าสู่ดวงตาของคุณผ่านทางกระจกตา (Cornea) ผ่านน้ำวุ้นตา […]


ปัญหาตาแบบอื่น

แค่ "ขยี้ตา" ก็อาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพได้นะ

เมื่อตื่นนอน สิ่งแรกที่ใครหลายคนทำหรือเคยทำบ่อยๆก็คือ การ ขยี้ตา การขยี้ตาอาจช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย แต่คุณทราบหรือไม่ว่า การขยี้ตาบ่อยๆ แรงๆ อาจส่งผลร้ายต่อร่างกายมากกว่าที่คุณคิด Hello คุณหมอนำเรื่องเล็กๆจากการ”ขยี้ตา” ที่อาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพได้ มากฝากกัน ทำไมเราถึง ขยี้ตา การที่เราขยี้ตามักเป็นเพราะคัน เคืองตา หรือตาแห้ง ซึ่งอาจเกิดได้จากปัจจัยเหล่านี้ ตาติดเชื้อ ที่พบได้บ่อยเช่น โรคเยื่อบุตาอักเสบ โรคตาแดง หรือโรคเปลือกตาอักเสบ โรคภูมิแพ้ โรคไข้หวัด หรือโรคโพรงจมูกอักเสบ มีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ความเหนื่อยล้า ใส่คอนแทคเลนส์ ผลเสียที่ตามมาจาการขยี้ตา เกิดรอยคล้ำใต้ตา ผิวหนังบริเวณรอบดวงตาเป็นผิวหนังส่วนที่บอบบางที่สุดในร่างกาย เมื่อเราขยี้หรือเกาบริเวณดวงตา อาจทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังในบริเวณนั้นแตก เลือดไหลซึมเข้าสู้เนื้อเยื่อโดยรอบ จนทำให้ผิวหนังบริเวณรอบดวงตาดูดำคล้ำ เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ ในแต่ละวันมือของเราต้องสัมผัสกับสิ่งต่างๆ มากมาย นั่นจึงเป็นเหตุให้มือเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคนานาชนิด การใช้มือขยี้ตา ก็เท่ากับว่าคุณได้ส่งต่อเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรียสเตรปโทคอกคัส เชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลลา ไปสู่ดวงตาของคุณ ซึ่งนี้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคตาแดง โรคเยื่อบุตาอักเสบ เป็นต้น ทำให้กระจกตาถลอกหรือมีรอยขีดข่วน บางครั้งเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา คนเรามักจะขยี้ตาตามสัญชาตญาณเพื่อพยายามเอาสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออก แต่รู้หรือไม่ว่าการขยี้ตาอาจยิ่งทำให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในดวงตาลึกขึ้น และทำให้กระจกตาของคุณถลอก หรือเกิดรอยขีดข่วนได้ รอยถลอกหรือรอยขีดข่วนที่กระจกตา อาจทำให้เกิดอาการตาแดง เคืองตา ตาไวต่อแสง หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นมีปัญหาในการมองเห็นระยะยาวได้ เสี่ยงเป็นภาวะกระจกตารูปกรวย ผลการวิจัยชี้ว่า การขยี้ตาบ่อยๆ แรงๆ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เส้นใยคอลลาเจนในกระจกตาฉีกขาดหรืออ่อนแอ ส่งผลให้กระจกตาตรงกลางบางลง และยื่นออกมาเป็นรูปกรวย หรือที่เรียกว่า ภาวะกระจกตารูปกรวย […]


ปัญหาตาแบบอื่น

มองเห็นเส้นใยใสๆ ลอยในอากาศ ภาวะเสี่ยงเป็น วุ้นตาเสื่อม

วุ้นตา เป็นส่วนประกอบของลูกตา ลักษณะเป็นของเหลวคล้ายไข่ขาวอยู่หน้าจอตาและยึดติดกับผิวของจอตา เมื่ออายุมาก วุ้นตาเสื่อม อาจเกิดขึ้นได้ตามช่วงอายุที่มากขึ้น หากเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของดวงตา การดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้ดวงตาของเรามีสุขภาพที่ดียาวนานได้ สำหรับใครที่เคยมีอาการมองเห็นเส้นใยใสๆ ลอยในอากาศ ตาม Hello คุณหมอ ไปดูกันเลยว่าเกิดจากอะไร วุ้นตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) คืออะไร องค์ประกอบภายในตาของเราเต็มไปด้วย วุ้นตา ซึ่งมีลักษณะเหมือนไข่ขาว ซึ่งช่วยให้ตาเราเป็นทรงกลม และมีเส้นใยเป็นล้านๆ เส้นอยู่ในนั้น ทำหน้าที่คอยช่วยยึดจอตา เส้นเหล่านี้เป็นเนื้อเยื่อที่มีความไวต่อแสง เมื่อเรามีอายุมากขึ้น วุ้นตา จะค่อยๆ หดตัวลง เส้นใยเล็กๆ ที่อยู่ในวุ้นตาจะขาดและมีการหดตัวลงมาจากจอตา ซึ่งเรียกอาการเหล่านี้ว่า วุ้นในตาเสื่อม ผู้ที่มีอาการ วุ้นตาเสื่อม จะมองเห็นเส้นหยึกหยักสีขาว หรือมีจุดสีดำเล็กๆ ลอยไปลอยมาอยู่กลางอากาศ และจะเห็นได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะขณะที่มองไปบนท้องฟ้าหรือว่าผนังสีขาว หากพยายามจ้องไปที่จุดเหล่านั้นมันจะเคลื่อนหายไปอย่างรวดเร็ว สาเหตุที่เราเห็นเส้นใยใสๆ ลอยในอากาศ เกิดจากอายุที่มากขึ้น อายุที่มากขึ้นมีผลทำให้ วุ้นตา เกิดการเสื่อมลง เมื่ออายุมากขึ้นของเหลวใสๆ คล้ายไข่ขาวที่อยู่ในดวงตาจะมีการหดตัวลง ทำให้เกิดการดึงรั้งที่ผิวจอตา และเกิดเป็นเส้น เมื่อแสงส่องผ่านเข้ามาทำให้เกิดเงาของเส้นเหล่านั้น เมื่อเงาเหล่านี้กระทบกับจอตาทำให้เห็นเป็นเส้นขึ้นมา เกิดการอักเสบที่ด้านหลังดวงตา ภาวะม่านตาอักเสบ คือ การอักเสบที่เกิดขึ้นในชั้นยูเวีย(Uvea) ซึ่งอยู่บริเวณหลังดวงตา เมื่อชั้นยูเวียมีการอักเสบ […]


โรคตา

โรคตาขี้เกียจในเด็ก สาเหตุ การรักษา และการตรวจดวงตาในเด็ก

โรคตาขี้เกียจในเด็ก เป็นหนึ่งในความผิดปกติของดวงตาที่สามารถพบได้บ่อยในเด็กเล็ก เกิดขึ้นจากความผิดปกติของดวงตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว ตาเข หากปล่อยไว้นานอาจทำให้การมองเห็นลดลง และอาจนำไปสู่อาการตาบอดสนิทได้ ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับการตรวจดวงตาเป็นประจำ เพื่อจะได้ตรวจพบความผิดปกติ และทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ โรคตาขี้เกียจในเด็กคืออะไร โรคตาขี้เกียจ เกิดจากความผิดปกติของการมองเห็น เช่น สายตาเอียง สายตาสั้น ตาเข ทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง และหากปล่อยทิ้งไว้อาจเพิ่มความเสี่ยงของอาการตาบอดในอนาคต โรคตาขี้เกียจในเด็กสามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจวัดสายตา และการตรวจพัฒนาการของดวงตา เด็กบางคนอาจสามารถบอกปัญหาการมองเห็นของตัวเองให้ผู้ปกครองรับทราบ เช่น อาการตามัว ตาเบลอ มองเห็นไม่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตการมองเห็นของลูก และพาลูกไปตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ เพื่อจะได้ตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ สาเหตุของโรคตาขี้เกียจในเด็ก โรคตาขี้เกียจ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการมองเห็น ดังนี้ ตาเข ตาเหล่ ค่าสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง หนังตาตก กระจกตาขุ่น ต้อกระจกแต่กำเนิด ต้อหิน ความผิดปกติของดวงตา โดยเฉพาะหากการมองเห็นของดวงตาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน อาจทำให้เด็กใช้ตาข้างใดข้างหนึ่งในการมองมากเกินไป ส่วนดวงตาที่ข้างที่ไม่ค่อยได้ใช้ ก็อาจจะค่อย ๆ เสื่อมถอยลง และกลายเป็นโรคตาขี้เกียจ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ ภาวะแทรกซ้อนของโรคตาขี้เกียจในเด็ก หากเด็กที่ป่วยเป็นโรคตาขี้เกียจไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที อาจส่งผลให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง จนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรในอนาคต […]


ปัญหาตาแบบอื่น

โรคคอพอกตาโปน โรคตาที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงาน และผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป โดยส่วนใหญ่ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษมักทำให้เกิด โรคคอพอกตาโปน (Graves’ disease) ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองชนิดหนึ่ง และดวงตาเป็นอวัยวะที่อ่อนไหวต่อภาวะนี้เป็นพิเศษ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ โรคคอพอกตาโปน ที่เกี่ยวเนื่องกับอาการทางไทรอยด์ โรคคอพอกตาโปน หรือที่รู้จักกันว่า โรคตาที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (Graves’ ophthalmopathy) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดหนึ่ง ที่ต่อมไทรอยด์ได้รับผลกระทบจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน โดยแสดงออกผ่านทาง การสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป เมื่อระบบภูมิคุ้มกัน สร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบ ๆ ดวงตา และกล้ามเนื้อตา ทำให้ดวงตาเกิดอาการอักเสบและบวม นำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับตามากมาย สาเหตุที่ระบบภูมิคุ้มกันตัวเองเจาะจงไปที่ดวงตานั้นเป็นเพราะ ดวงตามีโปรตีนที่เหมือนกับโปรตีนในระบบภูมิคุ้มกันและในต่อมไทรอยด์ ผู้หญิงมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ชาย 5 ถึง 6 เท่า และผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบในการเกิดโรค อาการของโรคคอพอกตาโปน หากเกิดภาวะโรคตาที่เกี่ยวเนื่องกับอาการทางไทรอยด์ กล้ามเนื้อดวงตาและเนื้อเยื่อไขมันที่อยู่ในเบ้าตาจะบวมขึ้น ลูกตาดันมาด้านหน้า และได้รับผลกระทบในการกลอกตา ส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ซึ่งในกรณีที่รุนแรงผู้ป่วยอาจเกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้ ไม่สามารถปิดเปลือกตาได้สนิท เนื่องจากตาโปน ทำให้มีอาการตาแห้ง ระคายเคือง หรือคันตา คุณอาจรู้สึกปวด หรือรู้สึกพองบริเวณรอบดวงตา เนื้อเยื่อรอบดวงตา และเปลือกตาบวมมากเป็นพิเศษตอนเช้า ตาโปน หรือมีลักษณะจ้องเขม็ง เมื่อกล้ามเนื้อรอบดวงตาได้รับผลกระทบ ทำให้การเคลื่อนที่ของดวงตาถูกจำกัด ส่งผลให้เกิดอาการเห็นภาพซ้อน และปวดเวลากลอกตาไปมา การวินิจฉัยและการรักษา อาการไม่รุนแรงที่เกิดจากโรคตา […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ริดสีดวงตา (Trachoma)

ริดสีดวงตา คือการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลต่อดวงตา เป็นโรคติดต่อ และแพร่กระจายโดยการสัมผัสที่ดวงตา เปลือกตา และน้ำมูกหรือเสมหะในลำคอของผู้ป่วย โรคนี้อาจแพร่กระจายโดยการสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดหน้า คำจำกัดความ ริดสีดวงตา คืออะไร ริดสีดวงตา (Trachoma) คือการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลต่อดวงตา โรคนี้เป็นโรคติดต่อ และแพร่กระจายโดยการสัมผัสที่ดวงตา เปลือกตา และน้ำมูกหรือเสมหะในลำคอของผู้ป่วย โรคนี้อาจแพร่กระจายโดยการสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ในระยะแรก ริดสีดวงตาอาจทำให้เกิดอาการคัน หรือระคายเคืองตาและเปลือกตา ที่ไม่รุนแรง จากนั้น คุณอาจสังเกตถึงเปลือกตาที่บวมและหนองที่ไหลออกจากดวงตา ริดสีดวงที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ องค์การอนามัยโรคได้ระบุระยะโรคของริดสีดวงตาไว้ 5 ระยะดังนี้ การอักเสบที่เซลล์ฟอลลิเคิล (folicular) ระยะนี้เป็นระยะที่เริ่มติดเชื้อ โดยเซลล์ฟอลลิเคิล 5 เซลล์ หรือมากกว่านั้น จะปรากฏให้เห็นตุ่มเล็กๆ ที่มีลิมโฟไซต์ (lymphocyte) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง โดยจะเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อใช้กล้องส่องขยายดูที่พื้นผิวด้านในของเปลือกตาบน (เยื่อบุตา) การอักเสบขั้นรุนแรง ในระยะนี้ ดวงตาของคุณจะติดเชื้ออย่างรุนแรงและเริ่มมีอาการระคายเคือง พร้อมทั้งยังรู้สึกถึงเปลือกตาบนที่หนาขึ้นหรือบวมขึ้น รอยแผลเป็นที่เปลือกตา การติดเชื้อที่เกิดขึ้นซ้ำๆ จะนำไปสู่การเกิดรอยแผลเป็นที่ข้างในเปลือกตา รอยแผลเป็นมักจะเห็นเป็นเส้นสีขาว เมื่อตรวจด้วยการขยายภาพ เปลือกตาของคุณอาจเปลี่ยนรูปและอาจจะม้วนเข้า ขนตาคุด (trichiasis) รอยแผลเป็นข้างในเปลือกตาจะเปลี่ยนรูปไปเรื่อยๆ ทำให้ขนตาของคุณม้วนเข้า จนขนตาเหล่านั้นสัมผัสหรือเสียดสีกับพื้นผิวภายนอกที่โปร่งใสของดวงตาหรือกระจกตา (cornea) กระจกตาขุ่น (Corneal clouding) กระจกตาที่ติดเชื้อจากการอักเสบมักพบได้บ่อยที่สุดที่ใต้เปลือกตาบน […]


การดูแลสุขภาพตา

คอนแทคเลนส์ และสิ่งที่ไม่ควรทำ หากไม่อยากให้ดวงตามีปัญหา

สำหรับคนที่มีปัญหาสายตา ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น หรือสายตายาว แล้วอยากมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น แต่ไม่อยากพึ่งพาแว่นสายตา ก็สามารถใส่คอนแทคเลนส์แทนได้ เพียงแค่คุณรู้ค่าสายตาปัจจุบันของตัวเอง ก็สามารถเลือกซื้อคอนแทคเลนส์ได้ทั้งในเว็บไซต์และตามหน้าร้าน แต่ถึงแม้การใช้คอนแทคเลนส์จะสะดวกกว่าการสวมแว่น แต่คุณก็ต้องสวมใส่ คอนแทคเลนส์ ให้ถูกวิธี หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ข้อผิดพลาด หรือข้อห้ามต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพดวงตาตั้งแต่ปัญหาเล็กๆ เช่น อาการเคืองตา ไปจนถึงปัญหาสุขภาพตาร้ายแรง อย่าง สูญเสียการมองเห็น เป็นต้น สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อใส่ คอนแทคเลนส์ ไม่ยอมล้างมือก่อน ถ้าคุณใช้มือสัมผัสกับคอนแทคเลนส์โดยไม่ได้ล้างมือก่อน เชื้อแบคทีเรียที่อยู่บนมือก็อาจแพร่กระจายไปยังคอนแทคเลนส์ได้ และเมื่อเรานำคอนแทคเลนส์ที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียมาใส่ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาตา เช่น กระจกตาอักเสบ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดได้ ดังนั้น คุณจึงควรล้างมือให้สะอาดและเช็ดมือให้แห้งทั้งก่อนและหลังใส่คอนแทคเลนส์ทุกครั้ง ใช้น้ำยาแช่คอนแทคเลนส์ซ้ำ หากคุณไม่ล้างตลับคอนแทคเลนส์และไม่เปลี่ยนน้ำยาแช่คอนแทคเลนส์ใหม่ทุกครั้ง แต่ทิ้งน้ำยาแช่ที่ใช้แล้วไว้ในตลับ ก็จะทำให้สารฆ่าเชื้อในน้ำยาเสื่อมสภาพลงจนไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคต่างๆ ได้ และหากคุณนำน้ำยาเก่านั้นกลับมาแช่คอนแทคเลนส์ซ้ำอีกที ก็จะทำให้เชื้อแบคทีเรียเกิดการแพร่กระจาย หากคุณใส่คอนแทคเลนส์คู่นั้นนาน และทำความสะอาดไม่ถูกวิธี ก็ยิ่งทำให้เสี่ยงเกิดการติดเชื้อที่ส่งผลเสียรุนแรงต่อสุขภาพตาได้  ไม่ยอมเช็ดตลับใส่คอนแทคเลนส์ให้แห้ง พฤติกรรมเสี่ยงในการใช้คอนแทคเลนส์อย่างหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยนึกถึงและอาจทำผิดพลาดกันเป็นประจำก็คือ การไม่เช็ดตลับคอนแทคเลนส์ให้แห้ง เชื้อแบคทีเรียซึ่งชื่นชอบที่ชื้นแฉะก็เลยเติบโต จนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยถึงขั้นเข้าโรงพยาบาล ฉะนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพตา เช่น แผลที่กระจกตา ก็ควรเช็ดตลับใส่คอนแทคเลนส์ให้แห้งทุกครั้ง  ไม่ยอมทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ทุกวัน เชื้อแบคทีเรีย สิ่งสกปรก และคราบโปรตีนสะสม อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน อย่างเช่น โรคภูมิแพ้ดวงตา ที่อาจทำให้คุณรู้สึกเหมือนมีเม็ดกรวดมากมายอยู่ในตา แสบตา หนังตาบวม หากปล่อยทิ้งไว้คุณก็อาจใส่คอนแทคเลนส์ไม่ได้เลยในที่สุด ฉะนั้น หากอยากใส่คอนแทคเลนส์แล้วไม่มีปัญหาดวงตา ก็ควรล้างคอนแทคเลนส์ด้วยน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ทุกครั้งหลังใช้  ไม่ยอมทำความสะอาดตลับใส่คอนแทคเลนส์ หากอยากใส่คอนแทคเลนส์แบบมีแต่ประโยชน์ไม่มีโทษ นอกจากการทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ทุกครั้งหลังใช้แล้ว […]


การดูแลสุขภาพตา

วิธีถนอมสายตา เมื่อต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

เวลาต้องจ้องหน้าจอนานๆ ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ หน้าจอมือถือ หรือหน้าจอโทรทัศน์เป็นเวลานานๆ อาจทำให้คุณรู้สึกปวดตา หรือมีอาการตาล้าได้ เราจึงมี วิธีถนอมสายตา ที่ช่วยผ่อนคลายความเมื่อยล้าการจากใช้หน้าจอมาฝาก เพื่อให้สุขภาพตาของคุณแข็งแรง สดใส และใช้หน้าจอได้อย่างไร้ปัญหา เพื่อถนอมสุขภาพของดวงตาให้อยู่กับคุณไปอย่างยาวนาน  จอคอมพิวเตอร์ส่งผลกระทบต่อสายตายังไง โรคตาจากจอคอมพิวเตอร์ (Computer Vision Syndrome หรือ CVS) เป็นความปกติที่มีสาเหตุคล้ายคลึงกับโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome) นั่นคือ เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดจากการเคลื่อนไหวซ้ำไปซ้ำมา ส่งผลให้อวัยวะบริเวณนั้นผิดปกติ ซึ่งหากฝืนใช้อวัยวะนั้นต่อไปโดยไม่รักษา อาจส่งผลเสียร้ายแรงได้ เวลาที่เราทำงานอยู่ตรงหน้าจอคอมพิวเตอร์ เราอาจต้องก้มลงไปอ่านเอกสาร แล้วเงยหน้าขึ้นมองหน้าจอเพื่อพิมพ์งาน เลนส์ตาของเราจึงต้องปรับโฟกัสอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนบนเรตินาหรือจอประสาทตา จากนั้นเซลล์บนจอประสาทตาจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังสมอง ทำให้เรามองเห็นภาพต่างๆ ซึ่งกระบวนการโฟกัสภาพของเลนส์ตานี้ จะต้องใช้กล้ามเนื้อรอบดวงตาอย่างมาก ประกอบกับหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นมีแสงจ้า แสงวูบวาบ หรือแสงสีที่ตัดกันมากกว่าหนังสือหรือแผ่นกระดาษ จึงทำให้ดวงตาของเราล้าได้ง่าย การใช้หน้าจอคอมพิวเตอร์ หน้าจอโทรศัพท์มือถือ หรือดูโทรทัศน์จะยิ่งลำบากขึ้น เมื่อคุณมีอายุมากขึ้นและเลนส์ตามีความยืดหยุ่นน้อยลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ความสามารถในการปรับโฟกัสวัตถุต่างๆ ทั้งที่อยู่ใกล้และไกลจะเริ่มเสื่อมถอยลง ซึ่งจักษุแพทย์จะเรียกอาการแบบนี้ว่า “สายตายาว“ อาการของการจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการใช้คอมพิวเตอร์จะส่งผลเสียต่อดวงตาในระยะยาว แต่การใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ อาจทำให้เกิดอาการเมื่อยตาหรือไม่สบายตาได้ ซึ่งอาการจากการใช้หน้าจอเป็นเวลานาน ได้แก่ เห็นภาพพร่ามัว เห็นภาพซ้อน ดวงตาแห้งและตาแดง ปวดศีรษะ มีอาการระคายเคืองตา ปวดหลังและปวดคอ หากคุณไม่จัดการกับอาการที่เกิดขึ้น อาการอาจรุนแรงและส่งผลกระทบกับอวัยวะส่วนอื่นนอกเหนือจากดวงตา ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการปฏิบัติงานด้วย วิธีถนอมสายตา เมื่อต้องใช้หน้าจอ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม […]


การดูแลสุขภาพตา

แว่นกันแดด ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับดวงตาได้จริงหรือ

แว่นกันแดด ไม่ได้มีไว้สวมใส่เพื่อความสวยงามอย่างเดียว เนื่องจากมีหลักฐานยืนยันว่า การสวมแว่นกันแดดช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นต้อกระจกด้วย ถ้าอยากรู้ว่าข้อมูลนี้ชัวร์หรือมั่วนิ่ม ก็เชิญอ่านรายละเอียดด้านล่างนี้ได้เลย ลดความเสี่ยงในการเป็นต้อกระจก ด้วยการใส่ แว่นกันแดด แสงแดดมีส่วนอย่างมากที่จะให้เกิดปัญหาต้อกระจกขึ้นมาได้ ซึ่งอาการของโรคต้อกระจกก็คือ ทำให้เลนส์ดวงตาเกิดความพร่ามัว ทำให้ความสามารถในการมองเห็นของเราลดลง โรคต้อกระจกเป็นโรคที่พบได้บ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนสูงอายุ แต่การใส่แว่นกันแดดจะช่วยยับยั้งการพัฒนาของโรค ซึ่งอาจมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดได้ นอกจากนี้ รังสีอัลตร้าไวโอเลตยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม (Macular degeneration) เนื้องอกบริเวณดวงตา และมะเร็งดวงตาบางชนิดที่พบได้ไม่บ่อยด้วย ซึ่งการใส่แว่นกันแดดนั้นมักจะทำกันในช่วงหน้าร้อน หรือเวลาไปเที่ยวทะเลเท่านั้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าความเสี่ยงของรังสียูวีในแสงแดดไม่ได้มีเพียงในฤดูกาลใดฤดูกาลหนึ่งเท่านั้นนะ แต่ควรใส่แว่นกันแดดเป็นประจำในทุกฤดูกาลเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ต้องเจอกับแสงแดดจ้าๆ อย่างในบ้านเราทุกวัน เลือกแว่นกันแดดที่มีคุณภาพ ก็อย่างที่รู้ๆ กันนั่นแหละว่า แว่นกันแดดในยุคนี้มีให้เลือกหลากหลายแบบและหลายหลายราคา คือมีราคาตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทไปจนถึงหลักหมื่นหลักแสนเลยที่เดียว ถึงแม้แว่นกันแดดแบรนด์เนมจะทำขึ้นจากวัสดุชั้นดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยสกัดกั้นแสงยูวีอย่างได้ผลนะ ฉะนั้น อย่าไปคิดว่า…ยิ่งมีราคาแพงก็ยิ่งต้องเป็นของดี ซึ่งราคาที่แพงนั้นอาจมาจากกรอบหรือชื่อแบรนด์มากกว่า ฉะนั้น ก็เลือกแว่นกันแดดที่มีราคากลางๆ ดีว่า เพราะอาจจะมีคุณภาพเทียบเท่าของแพงก็ได้  แต่แว่นกันแดดราคาถูกๆ ตามตลาดนัด แว่นพวกนั้นอาจไม่ได้ช่วยป้องกันแสงยูวีในแสงแดดให้คุณเลยก็ได้นะ การปกป้องผิวรอบดวงตา อีกปัจจัยหนึ่งที่ควรพิจารณาก็คือ แว่นกันแดดนั้นๆ ช่วยปกป้องผิวรอบดวงตาด้วยหรือเปล่า เพราะผิวในบริเวณนั้นก็ทาครีมกันแดดได้ลำบากเหมือนกัน ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้เลือกแว่นกันแดดขนาดใหญ่ๆ เพื่อช่วยปกป้องผิวในบริเวณนั้น พร้อมๆ กับช่วยลดรังสียูวีที่จะลอดเข้ามาทางด้านข้างของแว่นด้วย ส่วนคนที่อยากมีความมั่นใจว่า แว่นกันแดดอันนั้นสามารถป้องกันรังสียูวีได้อย่างดีล่ะก็ ทางเลือกที่ดีที่สุดคือการมองหาร้านที่มีเครื่องวัดแสงยูวี เพื่อจะได้ทำการทดสอบว่า แว่นกันแดดอันนั้นสามารถบล็อกรังสียูวีได้ดีขนาดไหน คนที่ใส่คอนแทคเลนส์สามารถเลือกแว่นกันแดดโดยทั่วๆ ไปได้ตามใจชอบ แต่คอนแทคเลนส์บางยี่ห้อก็มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสียูวีเหมือนกันนะ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบอกว่า […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม