สุขภาพตา

คุณรู้หรือเปล่าว่า ดวงตา คือหนึ่งในอวัยวะรับสัมผัส ที่พัฒนามากที่สุดในร่างกายของมนุษย์ เราจำเป็นต้องพึ่งการมองเห็นในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติ ดังนั้น การดูแลรักษา สุขภาพดวงตา ให้ดี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพตา และการดูแลรักษาสุขภาพดวงตาของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพตา

ตาบอดสีรู้ได้อย่างไร ทดสอบตาบอดสี มีอะไรบ้าง

ตาบอดสี เป็นภาวะบกพร่องของประสาทสัมผัสการรับรู้สึก อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้มีการมองเห็นสีที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด แต่ก็อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น การ ทดสอบตาบอดสี ทำได้ด้วยการทำแบบทดสอบแยกสีในแผ่นกระดาษ ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการใช้เครื่องมือแยกสี โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการตาบอดสีไม่สามารถรักษาให้หายได้ ยกเว้นภาวะที่เกิดจากการใช้ยาหรือเกิดจากปัญหาของดวงตาที่เพิ่งมีขึ้นในภายหลัง คุณหมออาจวางแผนการรักษาให้การมองเห็นสีดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ตาบอดสี คืออะไร ภาวะตาบอดสี (Color Blindness) คือ ความผิดปกติของดวงตาในการตอบสนองต่อความยาวคลื่นแสงต่าง ๆ โดยทั่วไป แสงที่มีความยาวคลื่นของทุกสีจะเดินทางเข้าสู่ดวงตาทางกระจกตาผ่านทางเลนส์ตาและวุ้นตาเข้าไปยังเซลล์รูปกรวยในดวงตาที่อยู่บริเวณจุดรับภาพของจอประสาทตาหรือเรตินา (Retina) เซลล์รูปกรวยจะมีความไวต่อแสงความยาวคลื่นสั้น (สีน้ำเงิน) ปานกลาง (สีเขียว) หรือยาว (สีแดง) ที่ทำให้สามารถรับรู้สีได้ตามปกติ แต่หากเซลล์รูปกรวยขาดสารเคมีที่ไวต่อความยาวคลื่นอย่างน้อย 1 ชนิด ก็จะส่งผลให้การรับรู้สีแตกต่างไปจากคนทั่วไป ตาบอดสี เกิดจากอะไร ตาบอดสี เป็นความผิดปกติที่สืบทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นตาบอดสีมักจะมีโอกาสเป็นตาบอดสีได้มากกว่าคนทั่วไป และมักมีภาวะนี้ตั้งแต่กำเนิดและส่งผลต่อดวงตาทั้ง 2 ข้าง ตามปกติแล้วความรุนแรงจะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นและพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สำหรับผู้ที่มีภาวะนี้ในภายหลังอาจเกิดได้เมื่อสมองหรือดวงตาได้รับความเสียหาย ซึ่งทำให้การมองเห็นสีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตาบอดสีมักทำให้สับสนในการแยกแยะสีในชีวิตประจำวันและมองเห็นสีบางสีที่ไม่สดใสเท่าผู้ที่มีสายตาปกติ คนส่วนใหญ่ที่ตาบอดสีไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวบางเฉดได้ ในบางกรณีซึ่งพบได้ไม่บ่อย คนตาบอดสีจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเฉดสีฟ้าและสีเหลืองได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ตาบอดสีไม่ได้มีความเสี่ยงในการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอด ประเภทของตาบอดสี ตาบอดสี อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ตาบอดสีแดง-เขียว เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ที่ตาบอดสีจะแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวได้ยากกว่าปกติ […]

หมวดหมู่ สุขภาพตา เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพตา

ปัญหาตาแบบอื่น

อาการผิดปกติของดวงตา ที่อาจดูเหมือนเล็กน้อย..แต่ไม่ใช่เรื่องเล็ก

ตาพร่า ตาแห้ง เคืองตา เริ่มมองเห็นไม่ชัด อาการผิดปกติของดวงตา ต่างๆ ถึงแม้บางเรืองอาจดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ในความจริงแล้ว อาจไม่ใช่เรื่องเล็กก็เป็นได้ และการสังเกตถึงปัญหาต่าง ๆ อย่าง อาการผิดปกติของดวงตา เหล่านี้เพื่อการรับมือได้อย่างทันท่วงทีและเหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรรู้ว่า ดวงตากำลังบอกอะไรกับคุณ กับบทความนี้ของ Hello คุณหมอ มองเห็นไม่ชัด ปกติดวงตาไม่มีอาการผิดปกติอะไร แต่อยู่ดีๆ ก็เกิดภาพเบลอหรือมองเห็นไม่ชัด ถือเป็นสัญญาณของปัญหาดวงตา เช่น โรคต้อหิน โรคม่านตาอักเสบ (Uveitis) เรตินาฉีกขาด หรือโรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) นอกจากนี้การที่ดวงตาข้างเดียวมองเห็นไม่ชัดหรือมองไม่เห็นเลย เป็นหนึ่งในอาการของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) อาการมองไม่ชัด มองไม่เห็น โดยเฉพาะมองไม่เห็นข้างเดียว อาจหมายถึงการที่หลอดเลือดดวงตาเกิดการอุดตัน ทำให้เลือดไม่ไหลเวียนบริเวณดวงตา จนเกิดอาการมองเห็นไม่ชัด แต่ถ้ามีอาการเจ็บตาร่วมด้วย อาจหมายถึงการมีอะไรบางอย่างติดอยู่ในดวงตา ถ้าเป็นแบบนี้ต้องรีบไปพบคุณหมอทันที เจ็บตา นายแพทย์ริชาร์ด ชูกาแมน จักษุแพทย์ ในเวสต์ ปาล์ม บีช ฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า โรคเกี่ยวกับตาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยทำให้เกิดอาการเจ็บ แต่บางโรค หรือบางอาการบาดเจ็บ จะทำให้เจ็บตา อาการเจ็บตาอาจมีสาเหตุจากโรคต้อหิน ตาแห้ง กระจกตามีรอยขีดข่วน […]


ปัญหาตาแบบอื่น

สารพันปัญหาที่ทำให้คุณ น้ำตาไหลตลอดเวลา โดยไม่ได้ร้องไห้!

ดวงตา เป็นอวัยวะสำคัญที่เราต่างใช้งานกันอย่างแทบไม่ได้หยุดได้หย่อน เว้นเสียก็แต่ตอนนอนหลับพักผ่อน แต่ถ้าใครพักผ่อนน้อย ดวงตาก็ได้พักไม่เต็มที่ ก็สามารถทำให้ดวงตามีปัญหาได้เช่นกัน หนึ่งในอาการที่แสดงว่า ดวงตาของเราอาจมีปัญหา ก็คืออาการ น้ำตาไหลตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีเรื่องเศร้าใจให้ต้องร้องไห้แต่อย่างใด อาการน้ำตาไหลตลอดเวลา สามารถเกิดจากอะไรได้บ้าง แล้วควรรับมืออย่างไรดี Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน น้ำตาไหลตลอดเวลา สามารถเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง ตาแดง ถ้าคุณมีอาการตาแดงและมีน้ำตาด้วย คุณอาจกำลังเป็นโรคตาแดง หรือเยื่อบุตาอักเสบ ซึ่งเป็นอาการของการติดเชื้อที่ดวงตา ซึ่งควรต้องพบหมอ เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา อาการนี้สามารถเกิดได้จากการติดเชื้อ หรือมาจากอาการภูมิแพ้ก็เป็นได้ ถ้าคุณเป็นโรคตาแดงจากการติดเชื้อ ซึ่งสามารถติดต่อผู้อื่นได้ ควรระวังการสัมผัส ดวงตา และอย่าใช้ของร่วมกับคนอื่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ภูมิแพ้ เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ ไรฝุ่น หรือควันไฟ ต่างก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ จนทำให้น้ำตาไหลตลอดเวลา ถ้าหากมีอาการตาแดง คันตาร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาที่ต้นเหตุ ตาแห้ง คุณอาจคิดว่าการมีน้ำตาไหล ไม่เกี่ยวกับอาการตาแห้ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว น้ำตาอาจไหลออกมาอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากตาแห้งจนเกิดอาการระคายเคือง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย กระตุ้นให้น้ำตาไหลออกมามากเพื่อหล่อเลี้ยง ดวงตา ในกรณีของน้ำตาไหลเพราะตาแห้ง อาจมีอาการปวดแสบ และมองเห็นไม่ชัดร่วมด้วย มีสิ่งอุดตันในท่อน้ำตา ดวงตาของคุณจะมีท่อน้ำตา เพื่อระบายน้ำตาออก แต่หากมีสิ่งอุดตันในท่อน้ำตา อาจทำให้น้ำตาย้อนกลับขึ้นมาที่ ดวงตา จนทำให้เกิดการระคายเคือง […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ท่าบริหารดวงตา ฟื้นฟูความสดใสให้ดวงตาที่อ่อนล้าแบบง่ายๆ

คนเรามักกล่าวกันว่า “ดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ” เนื่องจากดวงตาถ่ายทอดได้มากกว่าคำพูด ในโลกยุคใหม่ พวกเราต่างจ้องมองหน้าจอมือถือและจอคอมพิวเตอร์หลายต่อหลายชั่วโมง และบางครั้งก็เป็นการจ้องหน้าจอในพื้นที่ที่แสงไม่เพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อดวงตาของเราได้ แต่จะให้งดดูหน้าจอโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์เลยก็คงเป็นไปไม่ได้ วันนี้ Hello คุณหมอเลยมี ท่าบริหารดวงตา ง่ายๆ มาฝาก หากคุณทำเป็นประจำ จะช่วยบรรเทาและผ่อนคลายความเมื่อยล้าของดวงตาได้แน่นอน ท่าบริหารดวงตา ที่ทำได้ง่ายๆ กะพริบตา อาการตาล้าที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ มักเกิดจากคุณจ้องหน้าจอโดยแทบไม่ได้กะพริบตาเลย เชื่อหรือไม่ว่า คนส่วนใหญ่มักลืมที่จะกะพริบตา เมื่อจดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือ เมื่อคุณกระพริบตาไม่พอ ตาของคุณจะเริ่มแห้งและมีน้ำตาไหล ดังนั้น ลองทำท่าบริหารดวงตาง่ายๆ อย่างการกะพริบตาดู โดยให้กะพริบตาทุก 4 วินาที เพื่อให้ดวงตาของคุณมีความชุ่มชื่น และปราศจากอาการระคายเคือง มองวัตถุรอบตัว หลังจากการจดจ่อและจ้องมองจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมงติดต่อกัน ลองพยายามสลับสายตาไปมองวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้และไกล สลับกับการมองรอบๆ ไปมา โดยลองมองหาวัตถุรอบตัวที่ห่างออกไป 150 ฟุตจากตัวคุณ และจ้องมองดูรูปร่างของมัน จากนั้นค่อยๆ มองวัตถุที่อยู่ใกล้ตัวเข้ามาอีกประมาณ 30 ฟุต โดยจ้องมองดูรูปร่างของมันอีกครั้ง คุณอาจใช้เวลา 10-15 วินาทีกับการมองวัตถุแต่ละอย่าง และทำซ้ำ 4-5 ครั้ง กลอกตา ท่าบริหารดวงตาด้วยการกลอกตานี้ทำได้ง่ายมากๆ แถมช่วยบริหารดวงตาได้เป็นอย่างดียิ่งด้วย หลังจากที่คุณใช้ดวงตาหนึ่งชั่วโมง ให้เอนหลังพิงพนักเก้าอี้ หลับตา และค่อยๆ […]


ปัญหาตาแบบอื่น

บอกลา ถุงใต้ตา ด้วยวิธีเหล่านี้ที่คุณก็สามารถทำเองได้ที่บ้าน

ถุงใต้ตา มักจะเป็นปัญหาในเรื่องความสวยความงาม ส่วนปัญหาเรื่องสุขภาพ มักจะไม่ค่อยพบว่าถุงใต้ตาเป็นสัญญาณทางการแพทย์ที่ร้ายแรง สำหรับวิธีการลดถุงใต้ตาที่ทำได้ที่บ้าน เช่น การประคบเย็นสามารถช่วยลดถุงใต้ตาได้ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีถุงใต้ตาถาวรหรือรู้สึกเป็นปัญหา ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง สาเหตุของการเกิด ถุงใต้ตา อายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้โครงสร้างของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อที่พยุงหนังตาอ่อนแอลง และการสะสมของเหลวบริเวณใต้ตาของคุณ สามารถทำให้เกิดถุงใต้ตา ซึ่งผิวหนังบริเวณใต้ดวงตาจะบวมขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดถุงใต้ตา หรือทำให้อาการแย่ลง ได้แก่ นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ โรคภูมิแพ้ การสูบบุหรี่ กรรมพันธุ์ การกักเก็บของเหลวบริเวณใต้ดวงตา โดยเฉพาะช่วงตื่นนอน หรือหลังจากกินอาหารเค็ม วิธีลดและบรรเทาการเกิด ถุงใต้ตา วิธีการลดถุงใต้ตา ที่คุณสามารถเริ่มทำได้ที่บ้าน มีดังต่อไปนี้ ใช้ถุงชา คุณสามารถใช้ถุงชาที่มีสารคาเฟอีน วางทับบริเวณใต้ดวงตาเพื่อช่วยลดรอยคล้ำใต้ดวงตาและถุงใต้ตา เนื่องจากคาเฟอีนในชามีสารต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดให้ผิว นอกจากนี้ยังอาจช่วยป้องกันรังสียูวี และอาจช่วยชะลอวัยด้วย โดยหลังจากดื่มชาที่มีคาเฟอีน คุณอาจทำดังนี้ แช่ถุงชา 2 ถุงในน้ำชาเป็นเวลา 3-5 นาที แช่ถุงชาไว้ในตู้เย็น 20 นาที บีบน้ำชาออกจนถุงชาแห้งหมาด วางถุงชาบริเวณใต้ดวงตาไว้ประมาณ 15-30 นาที ใช้แผ่นเจลประคบเย็น การใช้แผ่นเจลประคบเย็นบริเวณถุงใต้ตา เป็นเวลา 1-3 นาที อาจช่วยลดถุงใต้ตาได้ชั่วคราว เนื่องจากการใช้ความเย็นจะทำให้หลอดเลือดหดตัวอย่างรวดเร็วจึงสามารถบรรเทาชั่วคราวได้ โดยคุณอาจซื้อแผ่นเจลประคบเย็นจากร้านค้า หรือประคบเย็นจากการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้ ช้อนแช่แข็ง แตงกวาเย็น ถุงผักแช่แข็ง ผ้าเย็น อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะประคบเย็นควรห่อแผ่นเจลประคบเย็นด้วยผ้านุ่ม เพื่อป้องกันผิวจากความเย็นจัด ดื่มน้ำให้เพียงพอ ภาวะขาดน้ำเกี่ยวข้องกับการเกิดถุงใต้ตา โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรดื่มน้ำอย่างน้อย 13 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย ส่วนผู้หญิงควรดื่มน้ำ 9 แก้วต่อวัน ดังนั้นคุณอาจบอกลาถุงใต้ตา ด้วยการดื่มน้ำให้มากขึ้นกว่าเดิม รักษาอาการของโรคภูมิแพ้ ถุงใต้ตาอาจเกิดจากโรคภูมิแพ้ […]


ปัญหาตาแบบอื่น

โรคตาในผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมอายุที่มากขึ้น

ร่างกายของมนุษย์ย่อมร่วงโรยไปตามวัย เมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพกายใจที่เคยแข็งแรงก็อาจเริ่มมีปัญหา เมื่อย่างเข้าสู่วัย 40 ปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นก็คือ ปัญหาสุขภาพตา นั่นเอง อายุที่มากขึ้นทำให้ดวงตาเปลี่ยนแปลง จนเกิดเป็น โรคตาในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง และสามารถป้องกันได้อย่างไร เราไปดูกันเลย โรคตาในผู้สูงอายุที่พบบ่อย ภาวะสายตายาวตามอายุ (Presbyopia) ภาวะที่ความสามารถในการเพ่งมองวัตถุที่อยู่ใกล้ลดลงตามวัย เกิดจากเลนส์แก้วตาแข็งตัวมากขึ้น ยืดหยุ่นได้น้อยลง จึงไม่สามารถปรับรูปร่างของเลนส์ให้โป่งนูนขึ้น เพื่อโฟกัสแสงให้ตกกระทบที่จอประสาทตาเวลาที่มองวัตถุระยะใกล้ได้ ส่งผลให้มองเห็นวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้ไม่ชัดเจน มักเกิดหลังอายุ 40 ปี และสายตาจะคงที่เมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีภาวะสายตายาวตามอายุ เมื่อจะอ่านหนังสือ จากที่เคยมองเห็นตัวหนังสือในระยะ 30 เซนติเมตร ก็ต้องถือหนังสือแบบเหยียดสุดแขนจึงจะมองเห็น หากมองเพ่งใกล้ๆ จะมีอาการปวดหัว หรือตาล้า ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตัดแว่นที่เหมาะกับค่าสายตา โรคตาแห้ง (Dry eye) เมื่ออายุมากขึ้น ต่อมน้ำตาจะผลิตน้ำตาได้น้อยลง แถมบางครั้งน้ำตาที่ผลิตได้ยังไม่มีคุณภาพ เข้มข้นไม่พอ หรือระเหยเร็วเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการตาแสบร้อน พร่ามัว และระคายเคืองคล้ายมีฝุ่นผงเข้าตา บางรายอาจมีขี้ตาเป็นเมือกเหนียวยืดเป็นเส้น หรือมีน้ำตาไหลไม่หยุด สำหรับผู้ป่วยโรคตาแห้ง คุณหมออาจแนะนำให้คุณติดตั้งเครื่องทำความชื้น หรือหยอดน้ำตาเทียมเพื่อให้ดวงตาชุ่มชื้นตลอดเวลา หากตาแห้งรุนแรงอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด อาการน้ำตาไหลไม่หยุด เกิดจากต่อมน้ำตาผลิตน้ำตามากเกินไป เพราะดวงตาไวต่อแสง ลม หรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป แก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการสวมแว่นกันแดด […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ตากระตุก เป็นลาง...ว่าคุณอาจมีปัญหาสุขภาพ

อาการ ตากระตุก หรือ ตาเขม่น หลายคนอาจคิดว่านี่เป็นเรื่องของโชคลาง หรือลางบอกเหตุอะไรบางอย่าง แม้เราจะไม่รู้แน่ชัดว่าอาการตากระตุกนี้เป็นลางบอกเหตุจริงหรือไม่ แต่อย่างหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือ อาการตากระตุกที่เกิดขึ้น อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าสุขภาพของคุณกำลังมีปัญหาซึ่งคุณไม่ควรละเลย ตากระตุกคืออะไร ตากระตุก หรือ หนังตากระตุก (eyelid twitch) ที่หลายคนเรียก “ตาเขม่น” นั้น ทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะกล้ามเนื้อหนังตากระตุก (Blepharospasm) เกิดจากการส่งกระแสประสาทมาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อออบิคูลารีสออรีส (orbicularis oris muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เรียงอยู่รอบเปลือกตาหรือหนังตาบนและล่างมากเกินไป ทำให้เปลือกตากระตุกเองแบบไม่สามารถควบคุมได้ มักเกิดกับเปลือกตาบน และเป็นที่ตาข้างเดียว โดยเปลือกตาจะกระตุกยิบๆ ต่อเนื่องเป็นพักๆ ส่วนใหญ่จะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่บางคนอาจมีอาการยาวนานเป็นปี ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะ ตากระตุก ตากระตุกส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากปัญหาสุขภาพร้ายแรง และมักมาจากสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ ความเครียดและความวิตกกังวล ความเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย อาการตาล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการตาล้าที่เกิดจากการจ้องหน้าจอเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เป็นเวลานาน สภาพแวดล้อม เช่น ลม แสงสว่าง แสงแดด มลภาวะทางอากาศ การอดนอน การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำอัดลม อาการภูมิแพ้ขึ้นตา การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น แมกนีเซียม แคลเซียม วิตามินบี 12 […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ใช้สายตามากเกินจนเกิด อาการตาล้า จัดการอย่างไรดี?

อาการตาล้า (Eye fatigue) เกิดจากอาการแสบ อาการคัน และอาการเมื่อยล้าของดวงตา สามารถพบได้บ่อย และไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรง แม้บางครั้งเราอาจมีอาการตาล้าจนแทบทนไม่ได้ แต่อาการที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ทำให้ดวงตาเสียหายแต่อย่างใด ต่อไปนี้ คือข้อแนะนำและวิธีการจัดการกับอาการตาล้า ที่ Hello คุณหมอนำมาฝาก อาการตาล้า คืออะไร ตาล้า เป็นอาการหนึ่งที่ไม่ใช่โรคเกี่ยวกับดวงตา มักเกิดขึ้นหลังจากการใช้สายตาเป็นเวลานาน เช่น ขับรถยนต์ ใช้คอมพิวเตอร์ และอ่านหนังสือ หากรู้สึกไม่สบายตาในขณะจ้องมองสิ่งต่างๆ นั่นอาจหมายถึงอาการสายตาล้า โดยปกติแล้ว อาการจะหายไปหลังจากได้พักดวงตา แต่ในบางกรณี สายตาล้าเป็นอาการของปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา สาเหตุของอาการตาล้า ปัจจุบัน สาเหตุของอาการตาล้าที่พบได้มากที่สุดคือ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใหญ่ทุกคนใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างน้อยที่สุด 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งทำให้กะพริบตาน้อยกว่าปกติ และทำให้เกิดอาการตาแห้ง นอกจากนี้ เมื่อคุณพยายามใช้สายตาในความมืด จะทำให้กล้ามเนื้อหนังตาและใบหน้าต้องบีบตัวแน่นมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว จนเกิดอาการปวดเพราะกล้ามเนื้อดวงตาทำงานหนักเกินไปจากการใช้งานกล้ามเนื้อดวงตา และอาจทำให้เกิดอาการตาล้าได้มากขึ้น ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ หรือมีการมองเห็นไม่ชัด อาจมีอาการแย่ลงจากปัญหาเกี่ยวกับดวงตาที่เป็นอยู่ เช่น สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง โดยผู้ที่มีปัญหาทางสายตาจำเป็นต้องใส่แว่นสายตาเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ หากใครนอนน้อย นอนไม่พอ มักต้องทำงานภายใต้แรงกดดัน หรือมีอาการเหนื่อยล้า อาจมีอาการสายตาล้าแย่ลง อาการตาล้าเป็นอย่างไร อาการสายตาล้ามีดังต่อไปนี้ ระคายเคืองดวงตา ตาแห้ง ตาแฉะ มองเห็นไม่ชัด แพ้แสง ปวดตา ตาแดง สายตาเปลี่ยนแปลงมากขึ้น หากมีปัญหาดังกล่าว ควรเข้ารับการทดสอบทางจักษุวิทยา […]


โรคตา

ตาล้า สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตาล้า เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการใช้สายตามาเกินไป เช่น การขับรถเดินทางไกล จ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดอาการปวดตา ระคายเคือง โดยปกติอาการตาล้าอาจไม่ก่อให้เกิดภาวะรุนแรง และสามารถหายไปได้เองหากดูแลอย่างถูกวิธี คำจำกัดความตาล้า คืออะไร ตาล้า คืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตา ส่งผลให้การมองเห็นเปลี่ยนแปลงชั่วคราว เนื่องจากมีการใช้สายตาอย่างหนักในระหว่างวัน เช่น การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ เล่นแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เพราะการใช้สายตายเป็นเวลานานอาจทำให้กะพริบตาน้อยลง ทำให้ขาดความชุ่มชื้นในดวงตา จนตาแห้ง แสบตา และตาล้า ซึ่งปกติแล้วควรกะพริบตาประมาณ 18 ครั้งต่อนาที เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดวงต ตาล้าอาการตาล้า อาการตาล้า สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้ เจ็บตา ระคายเคืองตา ตาแห้ง หรือตาแฉะ น้ำตาไหล ปวดศีรษะ ลืมตายาก มีปัญหาในการโฟกัสสิ่งรอบตัว มองเห็นเป็นภาพซ้อน ตาไวต่อแสง ปวดคอ ไหล่ หรือหลังจากการนั่งจดจ่อเป็นเวลานาน สาเหตุสาเหตุตาล้า สาเหตุที่อาจทำให้ตาล้า มีหลายประการ ดังนี้ การจ้องหน้าจออุปกรณ์ดิจิทัล โดยไม่หยุดพักสายตา ใช้สายตาในพื้นที่ที่แสงน้อย ขับรถเดินทางไกล เนื่องจากต้องใช้สมาธิจ้องมองถนนเป็นเวลานาน ดวงตาสัมผัสกับอากาศ หรือลมแรง เช่น เครื่องปรับอากาศ พัดลม โรคสายตา เช่น ตาแห้ง สายตาสั้น สายตายาว ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงตาล้า ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยที่สุดคือการใช้สายตาจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ เป็นเวลานาน โดยไม่กะพริบตาเพิ่มความชุ่มชื้น และได้รับผลกระทบจากแสงหน้าจอสะท้อนเข้าดวงตา ทำให้ดวงตามีความตึงเครียด ส่งผลให้เกิดอาการตาล้า […]


ปัญหาตาแบบอื่น

เมื่อยล้าทางสายตา (Eye Fatigue)

เมื่อยล้าทางสายตา (Eye Fatigue) เป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่่ไม่ใช่อาการที่ร้ายแรง สามารถรักษาให้หายได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรักษาทางการแพทย์  สาเหตุเกิดจากการใช้สายตาอย่างหนักเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน เช่น การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การขับรถยนต์ เป็นต้น   คำจำกัดความเมื่อยล้าทางสายตา คืออะไร อาการ เมื่อยล้าทางสายตา (Eye Fatigue) หรือ อาการตาล้า เป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่่ไม่ใช่อาการที่ร้ายแรง สามารถรักษาให้หายได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรักษาทางการแพทย์ สาเหตุเกิดจากการใช้สายตาอย่างหนักเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน เช่น การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การขับรถยนต์ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน พบได้บ่อยเพียงใด อาการเมื่อยล้าทางสายตา  สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่ใช้สายตาอย่างหนัก เช่น การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การขับรถยนต์ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน อาการอาการของการเมื่อยล้าทางสายตา อาการทั่วไปของการเมื่อยล้าทางสายตา มีดังนี้ ตาเจ็บ ตาระคายเคือง การมองเห็นไม่ชัด ตาแห้ง มองเห็นภาพไม่ชัด ภาพซ้อน ความไวต่อแสง ปวดศีรษะ ปวดบริเวณคอ ไหล่ และหลัง ควรไปพบหมอเมื่อใด คุณควรไปพบหมอเมื่อมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ เคืองตา มองเห็นภาพซ้อน การมองเห็นเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน สาเหตุสาเหตุของอาการเมื่อยล้าทางสายตา สาเหตุของอาการเมื่อยล้าทางสายตา มีดังนี้ อ่านหนังสือ เป็นระยะเวลานานโดยไม่พักสายตา จ้องหน้าจออุปกรณ์ดิจิทัลเป็นเวลานาน เช่น จ้องโทรศัพท์ โทรทัศน์ ขับรถในระยะทางไกลและทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องใช้สายตาเป็นเวลานาน ใช้สายตาในที่ที่มีแสงสว่างหรือแสงจ้าเกินไป ตากระตุก อากาคเครียด หรือเหนื่อยล้า การสัมผัสอากาศแห้งหรือลมจากพัดลม เครื่องทำลมร้อน หรือระบบเครื่องปรับอากาศ ความผิดปกติเกี่ยวกับปัญหาดวงตา เช่น ตาแห้ง สายตาผิดปกติ ปัจจัยเสี่ยงของอาการเมื่อยล้าทางสายตา ปัจจัยความเสี่ยงของการเกิดอาการ เมื่อยล้าทางสายตามีหลายประการ ดังนี้ อ่านหนังสือเป็นเวลานาน เพ่งสายตาเป็นเวลานาน ขับรถยนต์เป็นเวลานาน ทำงานโดยใช้สายตาจ้องคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยอาการเมื่อยล้าทางสายตา ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย […]


ความบกพร่องทางการมองเห็นและตาบอด

ตาพร่ามัว เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล

คงไม่ดีเท่าไหร่ ถ้าการมองเห็นของเราเปลี่ยนไปจากภาพคมชัดระดับ HD กลายเป็นภาพไม่ชัดเนื่องจาก ตาพร่ามัว ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้ โดยคุณควรปรึกษาคุณหมอถ้าตาพร่ามัวส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคุณ ตาพร่ามัว เกิดจากสาเหตุใด 1.มีปัญหาสายตา เมื่อลูกตาของคุณมีรูปร่างคล้ายไข่มากกว่าทรงกลม หรือกระจกตาและเลนส์ตาไม่โค้งอาจทำให้แสงมีจุดโฟกัสที่ไม่ตรงจุด ซึ่งจะส่งผลให้มองเห็นอย่างชัดเจนได้แค่ช่วงระยะหนึ่ง ที่เป็นปัญหาสายตา เช่น สายตาสั้น คือมองเห็นชัดเจนเมื่ออยู่ในระยะใกล้ และสายตายาวคือมองเห็นชัดเจนเมื่ออยู่ในระยะไกล รวมถึงสายตาเอียง โดยคุณสามารถแก้ปัญหาตาพร่ามัว ที่เกิดจากปัญหาสายตาได้ด้วยการสวมแว่นตา คอนแทคเลนส์ หรือการศัลยกรรมเล็ก (minor surgery) 2.ใช้สายตามากเกินไป สัญญาณที่บอกว่าคุณใช้สายตามากเกินไป คือการไม่ค่อยกระพริบตา เนื่องจากคนเรามีแนวโน้มที่จะกระพริบตาน้อยลง ในเวลาที่จดจ่ออยู่กับอะไรบางอย่าง และทุกครั้งที่คุณกระพริบตา น้ำตาจะแพร่กระจายทั่วพื้นผิวดวงตาของคุณ เพื่อให้ตาหล่อลื่น สะอาด และสดชื่น ดังนั้นถ้าคุณตาพร่ามัวเนื่องจากใช้สายตามากเกินไป ให้หยุดพักและกระพริบตาให้บ่อยขึ้น 3.โรคเบาหวาน ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดไม่ปกติ ของเหลวอาจซึมเข้าไปในเลนส์ของดวงตา และทำให้พองตัว ซึ่งอาการอาจเกิดขึ้นก่อนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีแนวโน้มว่าจะเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy) และปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับดวงตาซึ่งควรปรึกษาคุณหมอ ถ้าคุณสงสัยว่าอาการตาพร่ามัวมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน 4.การติดเชื้อในดวงตา การนอนหลับทั้งๆ ที่ไม่ได้ถอดคอนแทคเลนส์ออก หรือใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่สะอาด สามารถนำไปสู่การติดเชื้อได้ นอกจากนี้โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS) และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน