backup og meta

ผู้ป่วย หนองในแท้ เป็นเอดส์ ได้ง่ายขึ้นหรือไม่

ผู้ป่วย หนองในแท้ เป็นเอดส์ ได้ง่ายขึ้นหรือไม่

หากเป็นโรค หนองในแท้ เป็นเอดส์ ได้ง่ายขึ้นหรือไม่ ? คำตอบคือ ไม่ว่าจะเป็นโรคหนองในแท้ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เป็นโรคเอดส์ (AIDS) ได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หากต้องการลดความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีเพศสัมพันธ์กับคนไม่รู้จัก มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน

[embed-health-tool-bmi]

หนองในแท้ คืออะไร

โรคหนองในแท้ หรือ โรคหนองใน (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases หรือ STDs) ที่พบได้บ่อยทั้งในเพศชายและเพศหญิง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก (ออรัลเซ็กส์) นอกจากนี้ อาจติดโรคได้จากการใช้ไวเบรเตอร์ (Vibrator) หรือเซ็กส์ทอยอื่น ๆ ร่วมกับผู้อื่นโดยที่ไม่ได้ล้างให้สะอาดทั้งก่อนหรือหลังใช้ หรือไม่ได้สวมถุงยางอนามัยเวลาที่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าว

อาการของหนองในแท้

อาการของหนองในแท้ มีดังต่อไปนี้

อาการหนองในแท้ในผู้หญิง

  • มีตกขาวผิดปกติ เช่น สีเหลือง สีเขียว เหลวเป็นน้ำ
  • เจ็บหรือแสบร้อนบริเวณอวัยวะเพศขณะปัสสาวะ
  • มีเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงที่ไม่เป็นประจำเดือน
  • ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  • มีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ปวดท้องน้อย แต่อาจพบได้ไม่บ่อย

อาการหนองในแท้ในผู้ชาย

  • มีของเหลวหรือหนองไหลออกมาจากปลายองคชาต อาจเป็นสีขาว สีเหลือง หรือสีเขียว
  • เจ็บหรือแสบร้อนบริเวณอวัยเพศขณะปัสสาวะ
  • หนังหุ้มปลายองคชาตอักเสบหรือบวม
  • ปวดบริเวณลูกอัณฑะ แต่อาจพบได้ไม่บ่อย

ผู้ป่วย หนองในแท้ เป็นเอดส์ ง่ายขึ้นหรือไม่

การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นโรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม (Chlamydia) โรคซิฟิลิส (Syphilis) หรือโรคอื่น ๆ ก็ตาม ล้วนเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV มากกว่าปกติ เนื่องจากเซลล์เยื่อบุภายในช่องคลอด องคชาต ทวารหนัก หรือปาก มักอ่อนแอลงหลังการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยิ่งเมื่อไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อ HIV โดยไม่สวมถุงยางอนามัย ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV ได้ง่ายขึ้น และเมื่อติดเชื้อ HIV แล้วร่างกายไม่แสดงอาการ ทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมด้วยการกินยาต้านไวรัสเป็นประจำทุกวัน อาจทำให้เข้าสู่ระยะเป็นโรคเอดส์ ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ HIV ได้ในที่สุด

ผู้ป่วยหนองในแท้ ป้องกันการเป็นเอดส์ ได้หรือไม่

วิธีป้องกันผู้ป่วยหนองในแท้ จากการเป็นเอดส์ ให้ได้ผลดีที่สุด ควรเริ่มต้นด้วยการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยตั้งแต่แรกด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และควรไปตรวจคัดกรองโรคเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่มีกิจกรรมทางเพศสุ่มเสี่ยง หากตรวจพบว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรไปพบคุณหมอและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายขาดได้หากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ นอกจากนี้ การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยจะช่วยป้องกันการลุกลามของโรคและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV ที่อาจนำไปสู่การเป็นโรคเอดส์ ทั้งยังช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่นได้อีกด้วย

วิธีป้องกันผู้ป่วย หนองในแท้ เป็นเอดส์

วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อ HIV อาจทำได้ดังนี้

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ถุงยางอนามัย 1 ชิ้นจะมีอายุการใช้งานเพียง 30 นาทีและจะเสื่อมประสิทธิภาพลง จึงควรเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งเมื่อใช้จนครบเวลา และหากมีการร่วมเพศหลายช่องทาง เช่น ช่องคลอด ทวารหนัก ช่องปาก ควรป้องกันอย่างถูกต้องทุกครั้ง เช่น ใช้ถุงยางอนามัย 1 ชิ้น/ 1 ช่องทาง และใช้แผ่นอนามัยออรัลเมื่อมีออรัลเซ็กส์
  • จำกัดจำนวนคนที่ร่วมเพศด้วยให้น้อยที่สุด
  • ไม่ใช้เซ็กส์ทอยร่วมกับผู้อื่นและล้างทำความสะอาดก่อนและหลังใช้ทุกครั้ง
  • ก่อนมีเพศสัมพันธ์กับคนใหม่ ๆ ควรสอบถามประวัติทางเพศของคู่นอนของตัวเองด้วย
  • หากเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาให้หายก่อน
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะหากมีประวัติเสี่ยงสูง
  • จำกัดหรือหลีกเลี่ยงการใช้ยาเสพติดและแอลกอฮอล์ก่อนและระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ที่อาจทำให้สติสัมปชัญญะลดลง และส่งผลให้มีการป้องกันตนเองน้อยลง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sexually Transmitted Infections. https://www.hiv.gov/hiv-basics/staying-in-hiv-care/other-related-health-issues/sexually-transmitted-diseases/. Accessed May 3, 2023

Gonorrhea – CDC Detailed Fact Sheet. https://www.cdc.gov/std/gonorrhea/stdfact-gonorrhea-detailed.htm#:~:text=Gonorrhea%20is%20a%20sexually%20transmitted,urethra%20in%20women%20and%20men. Accessed May 3, 2023

STDs and HIV – CDC Basic Fact Sheet. https://www.cdc.gov/std/hiv/stdfact-std-hiv.htm. Accessed May 3, 2023

What You Need To Know About the Links Between HIV and STDs. https://www.health.ny.gov/diseases/aids/consumers/hiv_basics/stds_hiv.htm. Accessed May 3, 2023

HIV and Opportunistic Infections, Coinfections, and Conditions. https://hivinfo.nih.gov/understanding-hiv/fact-sheets/hiv-and-sexually-transmitted-diseases-stds.  Accessed May 3, 2023

Gonorrhoea. https://www.nhs.uk/conditions/gonorrhoea/#:~:text=The%20bacteria%20that%20cause%20gonorrhoea,each%20time%20they’re%20used. Accessed May 3, 2023

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/07/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการโรคเอดส์ สาเหตุ การรักษาและวิธีป้องกัน

ยารักษาหนองใน มีอะไรบ้าง และการดูแลตัวเองเมื่อเป็นหนองใน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 13/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา