สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูข้อแตกต่างระหว่าง หนองในเทียม และ หนองในแท้ แบบเข้าใจง่าย กันค่ะ จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันอย่างไร และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ เลยค่ะ หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร หนองในเทียม และ หนองในแท้มีข้อแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ สาเหตุ หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) หนองในแท้ (Gonorrhoea) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhea) ระยะการฟักตัว หนองในเทียม มีระยะการฟักตัวค่อนข้างนาน โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวมากกว่า 1-3 สัปดาห์ หนองในแท้ มีระยะการฟักตัวค่อนข้างสั้น โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวภายใน 1-5 วัน อาการของโรคหนองใน อาการโรคหนองในเทียมในเพศชาย ในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกคันที่บริเวณท่อปัสสาวะ และมีน้ำสีใส ๆ หรือขุ่น ๆ ไหลออกมาจากปลายองคชาต อาการโรคหนองในแท้ในเพศชาย […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

ตกขาวคันแก้ยังไง และเมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

ตกขาวเป็นสารคัดหลั่งบริเวณช่องคลอดที่ทำหน้าที่หล่อลื่น รักษาความชุ่มชื้น ทำความสะอาด และป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอด ตกขาวโดยปกติจะเป็นสีใสหรือขาวขุ่นและไม่มีกลิ่น แต่บางครั้ง ตกขาวก็อาจมีลักษณะผิดปกติ เช่น มีตกขาวแล้วเกิดอาการคัน ทำให้ไม่สบายตัวและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จนต้องรีบหาวิธีว่า ว่า ตกขาวคันแก้ยังไง โดยทั่วไป การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดูแลความสะอาดของช่องคลอด อาจช่วยบรรเทาอาการคันได้ แต่หากอาการคันไม่ดีขึ้นและมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ตกขาวเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว สีเหลือง ตกขาวมีกลิ่น ตกขาวเป็นก้อนแป้ง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ตกขาวคัน เกิดจากสาเหตุใด ตกขาวเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ แต่หากมีตกขาวพร้อมกับมีอาการคันอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การมีพฤติกรรมหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ช่องคลอดระคายเคือง เช่น การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด การสวมกางเกงชั้นในเนื้อหยาบ การซักกางเกงชั้นในด้วยน้ำยาปรับผ้านุ่มที่มีน้ำหอมหรือเป็นสูตรเข้มข้น การใช้ครีม โลชั่น สบู่ โดยเฉพาะยี่ห้อที่แต่งเติมกลิ่น บริเวณอวัยวะเพศ การใช้ถุงยางอนามัย การสวนล้างช่องคลอดหรือการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น โดยทั่วไปอาการคันจะบรรเทาลงเมื่อหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันและระคายเคือง การมีภาวะสุขภาพ อย่างภาวะช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis) เนื่องจากติดเชื้อ เช่น รา (ยีสต์) แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ส่งผลให้ตกขาวเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล สีเขียว สีเหลือง มีกลิ่นเหม็นคาว และเกิดอาการคันและระคายเคือง โดยการติดเชื้อบริเวณช่องคลอดชนิดที่พบบ่อยและควรรีบเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ อาจมีดังนี้ โรคช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย […]


การคุมกำเนิด

ฉีดยา คุมแบบ 1 เดือน ปล่อยในได้ไหม และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

ผู้ที่ต้องการเลือกวิธีการคุมกำเนิดแบบฉีดอาจมีคำถามว่า ฉีดยา คุมแบบ 1 เดือน ปล่อยในได้ไหม และจะก่อให้เกิดการตั้งครรภ์หรือมีข้อควรระวังอะไรบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปหากฉีดยาคุมกำเนิดเกิน 7 วัน สามารถมีเพศสัมพันธ์และปล่อยในได้โดยไม่ทำให้ตั้งครรภ์ แต่การปล่อยในก็ยังอาจมีความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเสี่ยงตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจได้ โดยเฉพาะหากเข้ารับการฉีดยาคุมรอบใหม่ไม่ตรงเวลา ดังนั้น ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งหากไม่ต้องการตั้งครรภ์ และเพื่อป้องกันการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ [embed-health-tool-vaccination-tool] ฉีดยาคุมกำเนิดอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ยาคุมกำเนิดแบบฉีดมีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียว (Progestin-only Injectable Contraceptives) ส่วนใหญ่ฉีดบริเวณชั้นกล้ามเนื้อ ทุก ๆ 12 สัปดาห์ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Injectable Contraceptives) ที่ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินและฮอร์โมนเอสโตรเจน ระยะเวลาในการฉีดประมาณทุก ๆ 1 เดือน จนกว่าจะเลิกคุมกำเนิด การฉีดยาคุมกำเนิดอย่างถูกต้องและตรงเวลาตามที่คุณหมอกำหนด อาจมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้ถึง 99% โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดที่ดีมากขึ้น อาจมีดังนี้ หากยังไม่ได้ตั้งครรภ์ สามารถเริ่มฉีดยาคุมกำเนิดเมื่อไหร่ก็ได้ การคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่องด้วยยาคุมกำเนิดแบบฉีด ควรเข้ารับการฉีดยาคุมกำเนิดภายใน 1 สัปดาห์หลังครบกำหนด เพื่อประสิทธิภาพการคุมกำเนิดที่ต่อเนื่อง การฉีดยาคุมกำเนิดหลังคลอด สามารถทำได้ทันทีโดยคุณหมออาจแนะนำให้ฉีดหลังคลอดประมาณ 6 สัปดาห์ แต่หากฉีดยาคุมกำเนิดหลังคลอดเกิน […]


สุขภาพทางเพศ

Open Relationship คือ อะไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

Open Relationship คือ ความสัมพันธ์แบบเปิดที่เกิดขึ้นภายใต้ข้อตกลงระหว่างคู่รัก ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้ง 2 ฝ่ายสามารถมีเพศสัมพันธ์ ออกเดทหรือผูกมัดทางอารมณ์กับผู้อื่นได้อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งความสัมพันธ์รูปแบบนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่อาจไม่เหมาะกับทุกคน จึงควรพิจารณาถึงความเหมาะสมก่อนเริ่มความสัมพันธ์ [embed-health-tool-vaccination-tool] Open Relationship คือ อะไร Open Relationship หรือความสัมพันธ์แบบเปิด เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับคู่รักที่ยังไม่แต่งงานหรือแต่งงานแล้ว โดยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้ง 2 ฝ่ายสามารถมีเพศสัมพันธ์หรือสามารถผูกมัดทางอารมณ์กับผู้อื่นได้เมื่อรู้สึกพิเศษกับคน ๆ นั้น ซึ่งความสัมพันธ์ในรูปแบบนี้ต้องเป็นข้อตกลงที่ทั้ง 2 ฝ่ายยินยอม โดยมีข้อแม้ว่ายังเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ โดยความสัมพันธ์แบบ Open Relationship อาจแตกต่างกับความสัมพันธ์แบบสวิงกิ้ง (Swinging) และการมีภรรยาหรือสามีหลายคน เนื่องจากความสัมพันธ์แบบสวิงกิ้งเป็นความสัมพันธ์ที่มีเป้าหมายเพื่อมีเพศสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว ส่วนการมีภรรยาหรือสามีหลายคนเป็นความสัมพันธ์รูปแบบคู่รักลึกซึ้งที่เกิดขึ้นกับหลายคน ประเภทของ Open Relationship ความสัมพันธ์แบบเปิดอาจแบ่งได้หลายประเภท ดังนี้ ออกเดทกับคนที่ไม่ใช่คู่สมรสหรือแฟนอย่างไม่เป็นทางการ อยู่ในความสัมพันธ์แบบคู่รักกับคนที่ไม่ใช่คู่สมรสหรือแฟน มีความสัมพันธ์ทางกายกับคนที่ไม่ใช่คู่สมรสหรือแฟน ข้อดีของ Open Relationship ความสัมพันธ์แบบเปิดอาจมีข้อดีสำหรับคนบางกลุ่มที่สนใจในความสัมพันธ์รูปแบบนี้ ดังนี้ อาจเกิดการสื่อสารที่มากขึ้นเกี่ยวกับความต้องการและความจำเป็นกับบางเรื่องในความสัมพันธ์ อาจให้ประสบการณ์ทางเพศที่แตกต่างจากคู่รักและมีความน่าตื่นเต้นขึ้น อาจได้ค้นหาประสบการณ์และความสนใจใหม่ ๆ อาจมีอิสระในการแสดงตัวตนในด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น เช่น พฤติกรรมหรือนิสัยบางอย่างอาจไม่สามารถแสดงกับคู่รักได้ แต่สามารถแสดงกับผู้ที่มีความสัมพันธ์แบบเปิดได้ อาจไม่ทำให้คนใดคนหนึ่งเกิดความกดดันในการตอบสนองความต้องการ ความสนใจทางอารมณ์และทางเพศทั้งหมด ข้อเสียของ Open Relationship นอกจากข้อดีบางประการแล้ว […]


หนองในเทียม

Chlamydia คืออะไร มีอาการอย่างไร และรักษาได้อย่างไร

Chlamydia (คลาไมเดีย) คือ เชื้อแบคทีเรียที่พบได้ทั้งในอสุจิของผู้ชายหรือในช่องคลอดของผู้หญิง ที่สามารถติดต่อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ได้หากไม่มีการป้องกัน โดยบางคนอาจไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แต่หากสังเกตว่ามีอาการแสบร้อนอวัยวะเพศขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น สีตกขาวผิดปกติ ปวดอัณฑะ หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายอักเสบ ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-ovulation] Chlamydia คือ Chlamydia (คลาไมเดีย) คือ เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดโรคหนองในเทียม ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุดและพบได้ในสารคัดหลั่งหรืออสุจิของผู้ชายและภายในช่องคลอดผู้หญิง ที่อาจได้รับเชื้อแบคทีเรียผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางปาก และทวารหนักโดยไม่ป้องกัน นอกจากนี้ สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นหนองในเทียมยังเสี่ยงต่อการแพร่กระจายไปยังทารกในระหว่างการคลอดบุตรผ่านทางช่องคลอดที่ทำให้ทารกเกิดการติดเชื้อที่ตา เป็นโรคปอดบวมอย่างรุนแรงได้ อาการของการติดเชื้อ Chlamydia อาการของการติดเชื้อ Chlamydia ในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่หลังจากร่างกายได้รับเชื้อประมาณ 1-3 สัปดาห์ อาจทำให้มีอาการต่าง ๆ ดังนี้ อาการติดเชื้อคลาไมเดียในผู้หญิง รู้สึกแสบร้อนและคันในช่องคลอดและรอบนอกช่องคลอด ปวดท้องเกร็งและอาจมีเลือดออกทางช่องคลอด ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น สีตกขาวผิดปกติ เช่น ตกขาวสีเหลือง ตกขาวสีเทา ตกขาวสีเขียว หรือตกขาวสีใสและสีขาวแต่ไหลปริมาณมาก ปัสสาวะมีสีขุ่น ปัสสาวะแสบขัด มีเลือดออกกระปริบกระปอย เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ปวดท้องน้อยเรื้อรัง อาการติดเชื้อคลาไมเดียในผู้ชาย มีของเหลวใสหรือขุ่น คล้ายหนองไหลออกจากปลายองคชาต เจ็บแสบองคชาตระหว่างปัสสาวะและมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะขัด หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศอักเสบ ปวดอัณฑะและอัณฑะบวม อันตรายจาก Chlamydia เชื้อแบคทีเรีย […]


สุขภาพทางเพศ

ประจําเดือนขาด มีสาเหตุมาจากอะไร และวิธีช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ

ประจําเดือนขาด เป็นภาวะของประจำเดือนมาไม่ปกติตามรอบเดือน ซึ่งบางคนอาจประจำเดือนขาดนานกว่า 1 เดือนขึ้นไป ที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การตั้งครรภ์ กินยาคุมกำเนิด ดังนั้น หากมีความกังวลใจควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็ว เพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนขาดและรักษาในทันที [embed-health-tool-ovulation] ประจําเดือนขาด มีสาเหตุจากอะไร ประจําเดือนขาด ส่วนใหญ่อาจเกิดจากการตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัวที่มีสาเหตุมาจากมีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน เพราะการตั้งครรภ์จะทำให้ร่างกายหยุดกระบวนการตกไข่ส่งผลให้ประจำเดือนขาดและจำกลับมามีประจำเดือนอีกครั้งหลังคลอดประมาณ 6-24 สัปดาห์ นอกจากนี้ ประจำเดือนขาดยังอาจเกิดปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้ ยาคุมกำเนิด การใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนกลุ่มเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนกลุ่มโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เช่น ยาคุมแบบรับประทานรายเดือน ยาคุมฉุกเฉิน ยาคุมแบบแผ่นแปะผิวหนัง อาจทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางส่งผลให้ตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวได้ และอาจชะลอการตกไข่ที่ทำให้ประจำเดือนขาดด้วยเช่นกัน  ความเครียด อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ที่อยู่บริเวณสมองส่วนหน้า ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการตกไข่ นำไปสู่การชะลอการตกไข่ ที่ทำให้ประจำเดือนมาช้ากว่าวันที่กำหนดหรืออาจส่งผลให้ประจำเดือนขาดในรอบเดือนนั้น การออกกำลังกายมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายเกิดความเครียด และส่งผลกระทบต่อกระบวนการตกไข่ ที่อาจทำให้ประจำเดือนขาดหรือมาช้ากว่าปกติ น้ำหนักตัว การมีน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป อาจทำให้ร่างกายมีฮอร์โมนไม่สมดุลและหยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนที่จำเป็นต่อการตกไข่ ส่งผลให้รอบเดือนนั้นประจำเดือนไม่มา กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ อาจส่งผลให้ฮอร์โมนแปรปรวน และรบกวนการตกไข่ จึงส่งผลให้ประจำเดือนขาด วัยหมดประจำเดือน อาจส่งผลให้ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้การตกไข่น้อยลง นำไปสู่ประจำเดือนขาดหรืออาจหยุดลงโดยสมบูรณ์ ที่พบได้มากในผู้หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป  วิธีรักษาอาการประจำเดือนขาด วิธีรักษาอาการประจำเดือนขาด […]


สุขภาพทางเพศ

ตกขาวก่อนประจําเดือน เกิดจากอะไร และอาการแบบไหนที่ควรเข้าพบคุณหมอ

ตกขาวก่อนประจําเดือน อาจเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น เพราะตกขาว คือ สารคัดหลั่งที่ไหลออกจากช่องคลอดซึ่งเป็นระบวนการทำความสะอาดของระบบสืบพันธุ์ ซึ่งจริงๆแล้วตกขาวสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งเดือนไม่ใช่เฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือน เพื่อช่วยขจัดสิ่งสกปรกภายในช่องคลอดและป้องกันช่องคลอดแห้ง แต่อาจจะทำให้มีปริมาณมากเมื่อประจำเดือนใกล้มาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อย่างไรก็ตาม หากตกขาวสีขาวใสเปลี่ยนเป็นสีเขียว เหลือง น้ำตาล หรือปนเลือด หรือมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่นมีอาการคันหรือมีกลิ่นผิดปกติ ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็วเพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง [embed-health-tool-ovulation] ตกขาวก่อนประจําเดือน เกิดจากอะไร ตกขาวก่อนประจําเดือน อาจเกิดจากการระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงตกไข่ ที่อาจทำให้มีตกขาวไหลอกจากช่องคลอด ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำใส แต่ถ้าตกขาวมีลักษณะหนาและเหนียว อาจเป็นสัญญาณเตือนที่อาจบ่งบอกได้ว่าใกล้เข้าสู่ช่วงเวลาที่ประจำเดือนจะมา อย่างไรก็ตาม ตกขาวอาจไหลออกมาหากช่องคลอดแห้งและมีสิ่งสกปรกสะสม เพราะตกขาวจะช่วยขจัดสิ่งสกปรกออกและเพิ่มความชุ่มชื้นให้ช่องคลอด ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการประจำเดือนอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้องเกร็ง เจ็บนม อารมณ์แปรปรวน คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกเหนื่อยล้าง่ายและอยากอาหารมากขึ้น อาการตกขาวก่อนประจําเดือนแบบไหนที่ควรเข้าพบคุณหมอ อาการตกขาวก่อนเป็นประจำเดือนที่ควรเข้าพบคุณหมอ อาจสังเกตได้ดังนี้ ตกขาวเปลี่ยนสี เช่น ตกขาวสีเขียว เหลือง เทา ฟ้า ชมพู น้ำตาล ดำ และอาจปนเลือด ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา ปรสิต จากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือเชื้อเจริญเติบโตมากเกินไป รวมถึงแพ้สบู่ ผงซักฟอก […]


สุขภาพทางเพศ

วิธีแก้ปวดท้องประจําเดือน และอาการผิดปกติที่ควรสังเกต

อาการปวดท้องประจำเดือน เป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงนั้นมักพบเจอ โดยเฉพาะช่วงก่อนหรือระหว่างที่เป็นประจำเดือน และอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันส่งผลให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ไม่สะดวก ดังนั้น จึงควรศึกษา วิธีแก้ปวดท้องประจําเดือน เพื่อช่วยบรรเทาอาการหรือเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็วหากมีอาการที่รุนแรงขึ้นเพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อน เช่น เนื้องอก มะเร็งมดลูก กลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่หลายใบ [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุที่ทำให้ปวดท้องประจําเดือน สาเหตุที่ทำให้ปวดท้องประจำเดือนเกิดจากกล้ามเนื้อผนังมดลูกบีบตัว ส่งผลให้ขวางการไหลเวียนของออกซิเจนที่ส่งไปยังมดลูกชั่วคราว และเมื่อไม่มีออกซิเจนเนื้อเยื่อมดลูกจะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่าสารพรอสตาแกลนดินส์ (Prostaglandins) ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวมากขึ้นเพื่อขับเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาเป็นประจำเดือนและส่งผลให้รู้สึกปวดท้องเกร็งรู้สึกปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณท้องน้อย และยิ่งมีสารพรอสตาแกลนดินส์มากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้มดลูกบีบตัวเพิ่มขึ้นที่นำไปสู่อาการปวดท้องประจำเดือนมาก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้มีอาการปวดท้องประจำเดือน ดังนี้ การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่และเนื้องอกในมดลูก พบได้มากบริเวณรังไข่ ท่อนำไข่ และเนื้อเยื่อบริเวณอุ้งเชิงกราน ที่อาจส่งผลให้มีอาการปวดท้องเกร็งบริเวณท้องน้อยมาก ภาวะปากมดลูกตีบ (Cervical Stenosis) เพราะอาจทำให้ประจำเดือนไหลออกจากช่องคลอดยาก ส่งผลให้ความดันภายในมดลูกเพิ่มสูง จนนำไปสู่การอาการปวดท้องประจำเดือน อุ้งเชิงกรานอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จนนำไปสู่อาการปวดท้องประจำเดือน ห่วงคุมกำเนิด เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดที่ใช้ใส่ในโพรงมดลูกเพื่อช่วยคุมกำเนิด โดยอาจส่งผลให้มีอาการปวดท้องเมนส์เล็กน้อยโดยเฉพาะช่วงแรกของการใส่ วิธีแก้ปวดท้องประจําเดือน วิธีแก้ปวดท้องประจําเดือน อาจทำได้ดังนี้ ประคบร้อน ใช้ถุงน้ำร้อนหรือขวดใส่น้ำร้อนและห่อด้วยผ้า วางไว้บนหน้าท้องส่วนล่าง เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน โซเดียม (Naproxen sodium) ใช้เพื่อช่วยลดระดับของสารพรอสตาแกลนดินส์ ที่เป็นสาเหตุทำให้มดลูกบีบตัวจนนำไปสู่อาการปวดท้องประจำเดือน ที่สามารถรับประทานจนกว่าอาการจะหายไปหรือตามคำแนะนำของคุณหมอ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและไต ควรรับประทานยาพร้อมอาหารเพื่อป้องกันอาการปวดท้อง ออกกำลังกาย เช่น […]


โรคพยาธิในช่องคลอด

Trichomonas คืออะไร มีสาเหตุ อาการ และการรักษาอย่างไร

Trichomonas (โรคพยาธิในช่องคลอด) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ส่วนใหญ่พบได้ในผู้หญิง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องคลอดทำให้มีตกขาวผิดปกติ มีอาการคันอวัยวะเพศ ซึ่งควรได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง โดยเฉพาะผู้หญิงตั้งครรภ์ เช่น คลอดทารกก่อนกำหนด ทารกติดเชื้อ ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ  [embed-health-tool-ovulation] Trichomonas คืออะไร Trichomonas คือ คำศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้เรียกโรคพยาธิในช่องคลอด ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดจากการติดเชื้อปรสิตหรือพยาธิที่ชื่อว่าทริโคโมแนส วาจินาลิส (Trichomonas vaginalis) พบบ่อยในผู้หญิงและมักส่งผลกระทบต่อช่องคลอด ขณะเดียวกันก็สามารถพบได้ในผู้ชายแต่อาจไม่แสดงอาการหรืออาจมีอาการน้อยกว่าผู้หญิง สาเหตุของ Trichomonas คืออะไร สาเหตุของโรคพยาธิในช่องคลอดเกิดจากการติดเชื้อประสิตในระบบสืบพันธุ์ส่วนล่างภายในและภายนอกของผู้หญิง เช่น ปากช่องคลอด ปากมดลูก ท่อปัสสาวะ และสำหรับผู้ชายอาจติดเชื้อบริเวณองคชาต ต่อมลูกหมาก ท่อปัสสาวะ โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก การมีเพศสัมพันธ์หลายคน และมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ มาก่อน อาการของ Trichomonas คืออะไร อาการของโรคพยาธิในช่องคลอด คือ อาการติดเชื้อที่อาจใช้ระยะเวลาฟักตัวประมาณ 4-28 วัน ก่อนแสดงอาการผิดปกติ ดังนี้ อาการโรคพยาธิช่องคลอดในผู้หญิง อวัยวะเพศแดง มีอาการคันหรือรู้สึกแสบร้อน ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น สีตกขาวผิดปกติ เช่น สีเขียว สีเทา สีเหลือง และอาจมีลักษณะเป็นฟองหรือเป็นก้อนหนา รู้สึกเจ็บแสบขณะปัสสาวะหรือระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ […]


สุขภาพทางเพศ

วิธีวัดขนาดน้องชาย เพื่อช่วยเลือกถุงยางอนามัยให้ถูกไซส์

ขนาดน้องชายหรือขนาดอวัยวะเพศชาย ในขณะที่ตื่นตัวอาจทำให้ทราบถึงไซส์ ถึงแม้ว่าอาจมีขนาดที่แตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละครั้ง แต่ก็ยังคงมีค่าเฉลี่ยที่ไม่เกินหรือไม่ต่ำกว่าขนาดที่วัดได้ โดย วิธีวัดขนาดน้องชาย ควรวัดทั้งความยาวและเส้นรอบวงของอวัยวะเพศ เพื่อให้ทราบขนาดที่ถูกต้อง [embed-health-tool-ovulation] การวัดขนาดน้องชายสำคัญอย่างไร การวัดขนาดน้องชายหรืออวัยวะเพศชาย อาจช่วยให้ทราบถึงไซส์ที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้เลือกไซส์กางเกงชั้นในที่พอดีและเลือกถุงยางอนามัยอย่างเหมาะสมที่ไม่หลวมหรือไม่รัดแน่นจนเกินไป เพราะหากเลือกถุงยางในขนาดที่ไม่พอดีกับอวัยวะเพศ อาจส่งผลให้ระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์เกิดการรั่วไหลของอสุจิและถุงยางหลุดเข้าไปในช่องคลอดผู้หญิง นำไปสู่การติดเชื้อในช่องคลอดและก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ อีกทั้งยังอาจเสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม โรคซิฟิลิส หูดหงอนไก่ หนองในแท้ หนองในเทียม  นอกจากนี้ขนาดของอวัยวะเพศชายยังมีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ในระหว่างการสอดใส่อาจเข้าไปโดนจุดเสียวหรือคลิตอริสได้ง่าย ส่งผลให้ผู้หญิงรู้สึกมีอารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้นและไปถึงจุดสุดยอดได้  วิธีวัดขนาดน้องชาย  วิธีวัดขนาดน้องชาย ควรวัดความยาวและเส้นรอบวงในขณะที่อวัยวะเพศแข็งตัว ที่อาจทำได้ดังนี้ การวัดความยาวของน้องชาย ใช้ไม้บรรทัดหรือสายวัดเอวมาวัดด้วยการใช้ปลายอุปกรณ์วางระนาบกับโคนของอวัยวะเพศ อ่านค่าบริเวณปลายไม้บรรทัดหรือสายวัดที่อยู่บริเวณหัวอวัยวะเพศนั้นมีค่ากี่มิลลิเมตร กรณีที่อวัยวะเพศชายโค้งควรวัดความยาวระนาบตามความโค้งได้เลย การวัดเส้นรอบวงของน้องชาย ใช้สายวัดเอวมาพันรอยอวัยวะเพศชายบริเวณที่มีความอวบมากที่สุดโดยพันให้พอดีไม่รัดแน่นจนเกินไป ควรวัดด้านหน่วยมิลลิเมตร เมื่อได้ค่าเส้นรอบวงแล้ว นำผลลัพธ์มาหาร 2.3  ยกตัวอย่าง ขนาดเส้นรอบวงอยู่ที่ 130 นำมาหาร 2.3 (130÷2.3) ก็จะได้ 56.52 เท่ากับขนาดของอวัยวะเพศชายจะอยู่ที่ 56 มิลลิเมตร ผลลัพธ์ของขนาดอวัยวะเพศและการเลือกไซส์ถุงยางอนามัย ความยาวเส้นรอบวง 94-105 มิลลิเมตร ควรเลือกถุงยางอนามัยไซส์ 47 มิลลิเมตร ความยาวเส้นรอบวง 105-110 มิลลิเมตร ควรเลือกถุงยางอนามัยไซส์ 47-49 มิลลิเมตร ความยาวเส้นรอบวง 111-115 […]


สุขภาพทางเพศ

ไข้ทับระดู อาการ และวิธีดูแลตัวเอง

ไข้ทับระดู อาการ ที่เกิดขึ้นช่วงก่อนเป็นประจำเดือนหรือในระหว่างเป็นประจำเดือน และอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการดูแลตัวเองเพื่อช่วยบรรเทาอาการไข้ทับระดูและช่วยให้ใช้ชีวิตประจำวันในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปตามปกติ [embed-health-tool-ovulation] ไข้ทับระดู คืออะไร ไข้ทับระดู คือ การเจ็บป่วยในช่วงก่อนหรือระหว่างเป็นประจำเดือน ที่ส่งผลให้มีไข้หรือความรู้สึกไม่สบายตัว โดยอาจมีสาเหตุมาจากร่างกายอ่อนแอลงส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง นำไปสู่การเจ็บป่วย มีไข้ และอาจมีอาการดีขึ้นในช่วงประจำเดือนใกล้หมด  นอกจากนี้ ไข้ทับระดูยังอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุลและมีอาการป่วยในระหว่างที่เป็นประจำเดือนได้เช่นเดียวกัน อาการ ไข้ทับระดู อาการของไข้ทับระดูอาจแตกต่างกันออกไป โดยแบ่งออกตามประเภท ได้ดังนี้ ไข้ทับระดูทั่วไป จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว มีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดท้องน้อย ปวดหลัง ที่สามารถรักษาอาการเบื้องต้นด้วยการรับประทานยาลดไข้และยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน โซเดียม (Naproxen sodium) พาราเซตามอล (Paracetamol) ไข้ทับระดูแฝง จะทำให้เกิดอาการรุนแรง ที่ส่งผลให้มีไข้สูง หนาวสั่น วิงเวียนศีรษะ มีตกขาวผิดปกติ ปวดหลัง ประจำเดือนมามาก ช่องคลอดมีกลิ่นและปวดท้องน้อยรุนแรง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเป็นสัญญาณเตือนของภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณมดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ เยื่อบุช่องท้อง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน