สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูข้อแตกต่างระหว่าง หนองในเทียม และ หนองในแท้ แบบเข้าใจง่าย กันค่ะ จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันอย่างไร และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ เลยค่ะ หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร หนองในเทียม และ หนองในแท้มีข้อแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ สาเหตุ หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) หนองในแท้ (Gonorrhoea) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhea) ระยะการฟักตัว หนองในเทียม มีระยะการฟักตัวค่อนข้างนาน โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวมากกว่า 1-3 สัปดาห์ หนองในแท้ มีระยะการฟักตัวค่อนข้างสั้น โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวภายใน 1-5 วัน อาการของโรคหนองใน อาการโรคหนองในเทียมในเพศชาย ในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกคันที่บริเวณท่อปัสสาวะ และมีน้ำสีใส ๆ หรือขุ่น ๆ ไหลออกมาจากปลายองคชาต อาการโรคหนองในแท้ในเพศชาย […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

หนองในเทียม

หนองในเทียม อาการ สาเหตุ การรักษา

หนองในเทียม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากแบคทีเรียคลามายเดีย ทราโคเมทิส (Chlamydia Trachomatis) อาจเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักพบบ่อยในเพศหญิง อาการของผู้ที่เป็นหนองในเทียม ได้แก่ ปวดบริเวณอวัยวะเพศ และมีสารคัดหลั่งจากช่องคลอดหรือองคชาต มีตกขาวเพิ่มขึ้น หรือปวดหน่วงท้องน้อย อาการดังกล่าวสามารถรักษาให้หายได้ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น ภาวะมีบุตรยาก กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปวดท้องน้อยเรื้อรัง  [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ หนองในเทียม คืออะไร หนองในเทียม หรือ คลามายเดีย (Chlamydia) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Disease หรือ STDs) ที่เกิดจากแบคทีเรียชื่อว่า คลามายเดีย ทราโคเมทิส ผู้ป่วยบางรายอาจไม่ทราบว่าตนเองเป็นหนองในเทียม เพราะมักไม่มีสัญญาณเตือนหรืออาการ นอกจากติดเชื้ออย่างรุนแรงอาจแสดงอาการ ได้แก่ เจ็บที่อวัยวะเพศ และมีสารคัดหลั่งจากช่องคลอดหรือองคชาต หนองในเทียมอาจส่งผลกระทบต่อคอมดลูก ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ ตา และคอได้อีกด้วย หนองในเทียมพบได้บ่อยแค่ไหน หนองในเทียมพบได้บ่อย มีการติดเชื้อประมาณ 131 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี พบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี หนองในเทียมอาจพบได้มากกว่าหนองในแท้ 3 เท่า และมากกว่าซิฟิลิส (Syphilis) […]


สุขภาพทางเพศ

มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออก เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออก อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเนื่อเยื่อฉีกขาดเพราะอาจด้วยแรงเสียดสีระหว่างกันมีมากเกินไป หรือมีเพศสัมพันธ์แบบรุนแรงกว่าปกติ หรืออาจเกิดจากช่องคลอดแห้งซึ่งเป็นไปได้ทั้งในผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน หรือผู้ที่ใช้ยารักษาโรคบางอย่างจนก่อให้เกิดผลข้างเคียง รวมทั้งอาจอยู่ในช่วงใกล้มีประจำเดือนอาจทำให้เลือดออกระหว่างมีเพศสัมพันธ์ได้ [embed-health-tool-ovulation] มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออก เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง หากมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. เนื้อเยื่อฉีกขาดจากการมีเพศสัมพันธ์ การเสียดสีของผิวระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ อาจทำให้เนื้อเยื่อที่บอบบางภายในช่องคลอดฉีกขาด หรือการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ก็อาจเป็นสาเหตุที่ให้ช่องคลอดขยายจนเนื้อเยื่อฉีกขาดได้เช่นกัน และอาจส่งผลให้มีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์ โดยปกติ เลือดมักจะออกมาเพียงเล็กน้อยในระยะเวลาสั้น แต่หากมีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเกิน 1-2 วัน ควรเข้าพบคุณหมอ เพราะอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง 2. ช่องคลอดแห้ง ช่องคลอดแห้งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดแห้งอาจเป็นผลจากภาวะดังต่อไปนี้ อาการทางช่องคลอดของวัยหมดประจำเดือน (Genitourinary syndrome of menopause: GSM) ทำให้สารหล่อลื่นตามธรรมชาติในช่องคลอดลดลง และเนื้อเยื่อในช่องคลอดยืดหยุ่นน้อยลง รังไข่เสียหายหรือตัดรังไข่ออก รังไข่เป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนหลัก และเอสโตรเจนก็สำคัญต่อการสร้างน้ำหล่อลื่นในช่องคลอด หากรังไข่เสียหาย ทำงานบกพร่อง หรือถูกตัดออก ก็อาจทำให้ช่องคลอดแห้งได้ การคลอดลูกและให้นมบุตร ในช่วงตั้งครรภ์ ระดับเอสโตรเจนจะสูงมาก แต่จะลดลงอย่างฉับพลันทันทีหลังคลอด ซึ่งความแปรปรวนของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เกิดขึ้น อาจทำให้ช่องคลอดแห้งได้ ยาบางชนิด เช่น ยาต้านการสร้างเอสโตรเจน ยาแก้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ยาสเตียรอยด์ ยากล่อมประสาท ยารักษาโรคซึมเศร้าหลายชนิด ยารักษาโรคความดันโลหิตอย่างยากลุ่มแคลเซียม แชนแนล […]


สุขภาพทางเพศ

ผู้หญิงเป็นเบาหวาน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ รับมืออย่างไรได้บ้าง

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และไม่ใช่แค่พบได้ในผู้ชาย เพราะผู้หญิงก็สามารถประสบปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลต่อระบบประสาทและการไหลเวียนของเลือด อีกทั้งโรคเบาหวานยังอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ช่องคลอดแห้ง ซึมเศร้า ไม่มีอารมณ์ทางเพศ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ ผู้หญิงเป็นเบาหวาน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เกิดจากอะไร ปัญหาสุขภาพที่มักพบในผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานดังต่อไปนี้ อาจส่งผลให้ผู้หญิงเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือมีปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์ได้ ช่องคลอดแห้ง การเป็นเบาหวาน อาจทำให้เกิดภาวะช่องคลอดแห้ง เนื่องจากร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะน้อยลงอยู่แล้ว ถ้ามีอาการเบาหวานร่วมด้วยก็จะยิ่งส่งผลทำให้ช่องคลอดแห้ง แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในวัยหมดประจำเดือน สาเหตุที่ทำให้ช่องคลอดแห้งอาจเกิดจาก ส่วนประสาทที่หลั่งน้ำหล่อลื่นมีปัญหา ภาวะช่องคลอดแห้ง จะทำให้ผู้หญิงเจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ จนทำให้ไม่อยากมีเพศสัมพันธ์อีก ช่องคลอดติดเชื้อ การติดเชื้อในช่องคลอด ก็ทำให้ผู้หญิงเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์เช่นกัน ด็อกเตอร์เดวิด จี. เมอเรอโร (David G. Merrero, PhD) ประธานแผนก Health Care and Education แห่งสมาคมโรคเบาหวานสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า หากผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวาน แล้วดูแลตัวเองไม่ดี อาจทำให้เกิดภาวะ มีเชื้อราในช่องคลอด และเกิดการติดเชื้ออื่น ๆ ได้ หมดอารมณ์ทางเพศ บางครั้งสาว ๆ อาจมีอาการหมดอารมณ์ทางเพศ หรือไม่สามารถถึงจุดสุดยอดได้ […]


สุขภาพทางเพศ

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและดูแลตัวเองที่ควรรู้

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลทางฮอร์โมนในผู้หญิง ที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายมากกว่าฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้เกิดซีสต์ในรังไข่จำนวนมาก และเกิดปัญหากับรอบเดือน และอื่นๆ คำจำกัดความ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบคืออะไร ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndromr: PCOS) เป็นโรคเกี่ยวกับฮอร์โมน ผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบจะมีซีสต์ในรังไข่เป็นจำนวนมาก ซีสต์เหล่านี้เต็มไปด้วยของเหลวและไข่ที่จะไม่สุก หากคุณมีภาวะดังกล่าว รังไข่ของคุณจะขยายใหญ่ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบทำให้เกิดปัญหากับรอบเดือน ความสามารถในการมีบุตร การทำงานของหัวใจ รวมถึงรูปร่างหน้าตา คุณอาจมีประจำเดือนมามาก และน้ำหนักเกิน และขนขึ้นบริเวณหน้า เนื่องจากโรคทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายมากกว่าฮอร์โมนเพศหญิง ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบพบบ่อยแค่ไหน โรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อย ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงที่พร้อมมีบุตร 1 ใน 10 และ 1 ใน 20 คน มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ การควบคุมโรคทำได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ อาการที่พบได้บ่อยของภาวะนี้ได้แก่ สิว น้ำหนักเพิ่มและลดยาก ขนขึ้นที่ลำตัวและหน้า ส่วนใหญ่ขนจะขึ้นดกและหนาบริเวณหน้าอก ท้อง และหลัง เสียงทุ้ม ผมบาง ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปัญหาในการมีบุตร ซึมเศร้า ระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลในผู้ที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจและหลอดเลือด อาจมีอาการอื่นของโรคที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ควรติดต่อแพทย์ ควรพบหมอเมื่อใด ควรพบหมอหากเกิดสัญญาณของโรค ร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการได้แตกต่างกัน วิธีที่ดีสุดคือการเข้าพบหมอ สาเหตุ สาเหตุของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ […]


สุขภาพทางเพศ

ปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำ ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

ปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำ เป็นปัญหาที่อาจพบได้บ่อยในผู้ชายทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ชายที่มีอายุมาก เมื่อระดับเทสโทสเตอโรนต่ำอาจส่งผลต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น นอนไม่หลับ ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพบางประการ รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันด้วย เทสโทสเตอโรน คืออะไร เทสโทสเตอโรน คือ ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อลักษณะต่าง ๆ ของผู้ชาย เช่น เสียง กล้ามเนื้อ ขนบนใบหน้า รวมถึงยังอkจช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง รักษาความแข็งแรงของกระดูก และช่วยการทำงานของสมอง โดยทั่วไป ระดับปกติของเทสโทสเตอโรนจะอยู่ในระดับตั้งแต่ 300-900 นาโนแกรม/เดซิลิตร ซึ่งระดับเทสโทสเตอโรนจะถึงจุดสูงสุดในช่วงวัยเลขสอง และหลังจากอายุ 30 หรือ 40 จะค่อย ๆ ลดลงปีละ 1% เมื่อระดับเทสโทสเตอโรนทีต่ำลง อาจทำให้ผู้ชายเผชิญกับปัญหาอย่าง เช่น การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพทางเพศ เช่น ความต้องการทางเพศลดลง การแข็งตัวของอวัยวะเพศตามธรรมชาติลดลง มีบุตรยาก การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น มวลกล้ามเนื้อลดลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ความหนาแน่นของกระดูกลดลง หน้าอกบวมหรือกดเจ็บ ผมร่วง ขนตามร่างกายน้อยลง อาจมีพลังวังชาน้อยกว่าที่เคย การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ […]


สุขภาพทางเพศ

ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน มีบทบาทสำคัญหลายอย่างในร่างกายของผู้ชาย เช่น ส่งผลต่อสุขภาพทางเพศของผู้ชาย การแข็งตัวของอวัยวะเพศ การสร้างอสุจิ อย่างไรก็ตาม ผู้ชายหลายคนอาจส่งสัยว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เนื่องจาก หากระดับฮอร์โมนเทสทอสเทอโรนต่ำอาจส่งผลให้การสร้างอสุจิลดลง มวลกล้ามเนื้อลดลง แรงขับทางเพศลดลง ขนาดหน้าอกใหญ่ขึ้น รวมถึงยังอาจส่งผลให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัวได้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน สำหรับปัจจัยที่อาจส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอาจมีดังนี้ วิตามินและแร่ธาตุ วิตามินและแร่ธาตุบางชนิด เช่น สังกะสี วิตามินดี วิตามินซี อาจมีบทบาทสำคัญต่อระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน โดยงานวิจัยบางชิ้น พบว่า การเพิ่มปริมาณการไหลเวียนของวิตามินดีในร่างกายสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้น พบว่า ระดับวิตามินซีที่เพียงพอในแต่ละวันสามารถเพิ่มระดับเทสโทสเตอโรนได้ นอกจากนี้ วิตามินซีและวิตามินอี สามารถทำให้คุณภาพอสุจิ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเทสโทสเตอโรนดีขึ้น นอกจากนี้ สังกะสีก็มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเช่นกัน เนื่องจากหากร่างกายขาดสังกะสี ระดับเทสโทสเตอโรนก็จะลดต่ำลง และการได้รับอาหารเสริมสังกะสีก็สามารถทำให้ระดับเทสโทสเตอโรนกลับคืนสู่ปกติ อย่างไรก็ตาม การกินอาหารเสริมสังกะสีมากเกินไปอาจเป็นอันตรายได้ การกินอาหารที่อุดมไปด้วยสังกะสี เช่น หอยนางรม จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ทั้งนี้ ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของวิตามินซีในการเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน การกินเนื้อสัตว์ การบริโภคเนื้อสัตว์อาจช่วยส่งเสริมให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอยู่ในระดับที่ดี นอกจากนี้ เนื้อสัตว์ยังอุดมไปด้วยสังกะสี กรดอะมิโนคาร์นิทีน ซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำได้ แต่เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับไขมันที่มากเกินไปควรเลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันและไม่ติดหนัง การยกน้ำหนัก ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอาจเพิ่มขึ้นเพียงชั่วคราว หลังจากการออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก โดยทั่วไปแล้ว ยิ่งใช้น้ำหนักมากแค่ไหนก็ยิ่งดี แต่ก็ควรหยุดพักระหว่างการยกน้ำหนักแต่ละเซ็ตประมาณ 90 วินาที เนื่องจากอาจมีผลในการส่งเสริมระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกายมากที่สุด ฮอร์โมนเอสโตรเจน […]


สุขภาพทางเพศ

ฮอร์โมนไม่สมดุลในผู้ชาย คืออะไร ส่งผลอย่างไรบ้าง

ฮอร์โมนไม่สมดุลในผู้ชาย เป็นความไม่สมดุลของฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ซึ่งอาจเกิดจากความเครียด อาการบาดเจ็บ การเจ็บป่วยกะทันหัน ภาวะทุพโภชนาการหรือการกินอาหารที่ไม่ดีพอ การขาดการออกกำลัง และปัจจัยอื่น ๆ ส่งผลทำให้แรงขับทางเพศต่ำ การแข็งตัวของอวัยวะเพศ หน้าอกใหญ่ อย่างไรก็ตาม อาการของความไม่สมดุลของฮอร์โมนอาจไม่ชัดเจน จึงควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัย ฮอร์โมนไม่สมดุลในผู้ชาย คืออะไร ฮอร์โมนไม่สมดุลในผู้ชาย คือ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชายอาจเกิดจากความเครียด อาการบาดเจ็บ การเจ็บป่วยกะทันหัน ภาวะทุพโภชนาการหรือการกินอาหารที่ไม่ดีพอ การขาดการออกกำลัง และปัจจัยอื่น ๆ โดยต่อมต่าง ๆ ในระบบต่อมไร้ท่อทำงานเกี่ยวเนื่องกัน สร้างความสมดุลให้กันและกันอย่างซับซ้อน และอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม อาการของความไม่สมดุลของฮอร์โมนอาจไม่ชัดเจน ดังนั้น การตรวจระดับฮอร์โมนด้วยการตรวจเลือด ตรวจน้ำลาย ตรวจซีรั่มของเลือด หรือตรวจปัสสาวะ จึงอาจช่วยทำให้ทราบถึงฮอร์โมนไม่สมดุลในผู้ชายในผู้ชายได้ ฮอร์โมนไม่สมดุลในผู้ชายส่งผลอย่างไร เทสโทสเตอโรน (Testosterone) โปรแลคติน (Prolactin) และเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนส่วนหนึ่งในจำนวนฮอร์โมนมากมายหลายชนิดที่สร้างขึ้นในร่างกายของผู้ชาย ในกระบวนฮอร์โมนทั้งหมดนี้ เทสโทสเตอโรนส่งผลต่อลักษณะของความเป็นชาย เช่น การสร้างอสุจิ การสร้างขนใบหน้าและขนตามร่างกาย มวลกล้ามเนื้อและกระดูก ภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำอาจเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ชาย แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาเพียงอย่างเดียวที่เกิดกับฮอร์โมนของผู้ชาย ฮอร์โมนไม่สมดุลในผู้ชายอาจส่งผลต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ ดังนี้ […]


สุขภาพทางเพศ

7 วิธี เพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน สำหรับผู้ชาย

การที่ร่างกายของผู้ชายมีเทสโทสเตอโรนในระดับที่เพียงพออาจส่งผลดีต่อสุขภาพ โดยผู้ชายจึงควรดูให้แน่ใจว่า ตัวเองมีระดับเทสโทสเตอโรนที่ปกติหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน ซึ่งระดับเทสโทสเตอโรนในผู้ชายจะเริ่มลดลงตามธรรมชาติ ดังนั้น การออกกำลังกาย กินโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน อาจช่วย เพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ในร่างกาย และอาจช่วยป้องกันภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำได้ 7 วิธี เพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน สำหรับวิธีที่อาจช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน มีดังนี้ ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอาจช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน โดยการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เช่น การยกน้ำหนัก เป็นประเภทการออกกำลังกายที่อาจช่วยในการเพิ่มระดับเทสโทสเตอโรน เช่นเดียวกับการออกกำลังกายแบบหนักเป็นช่วง ๆ (High-intensity interval training หรือ HIIT) ก็อาจช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ได้เช่นกัน กินโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต อาหารอาจสามารถส่งผลกระทบต่อเทสโทสเตอโรนและฮอร์โมนอื่น ๆ การอดอาหารหรือการกินมากเกินไป อาจขัดขวางการสร้างเทสโทสเตอโรน ดังนั้น การกินโปรตีนให้เพียงพออาจช่วยรักษาระดับเทสโทสเตอโรนที่เหมาะสม นอกจากนี้ คาร์โบไฮเดรตที่ก็อาจช่วยอาจช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้เช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงการออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก กินไขมันให้มากขึ้น กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจทำให้การสร้างเทสโทสเตอโรนลดลงได้ ดังนั้น การกินไขมันที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนควรเลือกไขมันอิ่มตัว หรือไขมันอิ่มตัวเชิงเดี่ยว เช่น เนย ไข่แดง น้ำมันมะกอก อัลมอนด์ อะโวคาโด เนื่องจากคอเลสเตอรอลซึ่งพบในไขมันอิ่มตัว […]


สุขภาพทางเพศ

เทสโทสเตอโรนบำบัด มีอะไรบ้าง และข้อควรระวังในการรักษา

ปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำ เป็นปัญหาที่อาจพบได้บ่อยในผู้ชายทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ชายที่มีอายุมาก เมื่อระดับเทสโทสเตอโรนต่ำอาจส่งผลต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น โรคอ้วน นอนไม่หลับ มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำ อาจทำได้ด้วย เทสโทสเตอโรนบำบัด (Testosterone Replacement Therapy หรือ TRT) หรือการให้ฮอร์โมนทดแทน อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอก่อนทำการรักษา เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เทสโทสเตอโรน คืออะไร เทสโทสเตอโรน คือ ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อลักษณะต่างๆ ของผู้ชาย เช่น เสียง กล้ามเนื้อ ขนบนใบหน้า รวมถึงยังอมจช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง รักษาความแข็งแรงของกระดูก และช่วยการทำงานของสมอง โดยทั่วไป ระดับเทสโทสเตอโรนจะถึงจุดสูงสุดในช่วงวัยเลขสอง และหลังจากอายุ 30 หรือ 40 จะค่อย ๆ ลดลงปีละ 1% เมื่อระดับเทสโทสเตอโรนทีต่ำลง อาจทำให้ผู้ชายเผชิญกับปัญหาอย่าง เช่น การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพทางเพศ เช่น ความต้องการทางเพศลดลง การแข็งตัวของอวัยะเพศตามธรรมชาติลดลง มีบุตรยาก การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น มวลกล้ามเนื้อลดลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง […]


สุขภาพทางเพศ

ช่องคลอดมีกลิ่น ปัญหาจุดซ่อนเร้นกับวิธีรับมือง่าย ๆ

ช่องคลอดมีกลิ่น หรือกลิ่นช่องคลอด อาจแตกต่างกันไปในแต่ละรอบเดือน รวมถึงอาจจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคค แต่ส่วนใหญ่แล้วอาจเป็นเรื่องปกติ ช่องคลอดมีกลิ่นอาจสังเกตได้อย่างชัดเจนหลังจากมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนั้น เหงื่อที่ออกตามปกติก็อาจทำให้ช่องคลอดมีกลิ่นได้เช่นกัน แม้ว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องคลอดอาจช่วยลดกลิ่นบริเวณช่องคลอด แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็อาจเพิ่มการระคายเคือง และอาการอื่น ๆ ทางช่องคลอดได้เช่นกัน [embed-health-tool-bmr] ช่องคลอดมีกลิ่น ได้ยังไง ช่องคลอดมีกลิ่น หรือกลิ่นช่องคลอด (Vaginal Odor) อาจแตกต่างกันไปในแต่ละรอบเดือน รวมถึงอาจจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคค แต่ส่วนใหญ่แล้วอาจเป็นเรื่องปกติ ช่องคลอดมีกลิ่นอาจสังเกตได้อย่างชัดเจนหลังจากมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนั้น เหงื่อที่ออกตามปกติก็อาจทำให้ช่องคลอดมีกลิ่นได้เช่นกัน แม้ว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องคลอดอาจช่วยลดกลิ่นบริเวณช่องคลอด แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็อาจเพิ่มการระคายเคือง และอาการอื่น ๆ ทางช่องคลอดได้เช้นกัน นอกจากนั้น สาเหตุที่ทำให้ช่องคลอดมีกลิ่น ก็อาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ กลิ่นจากปัญหาการติดเชื้อที่ช่องคลอด ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักของปัญหากลิ่นช่องคลอด ทำให้ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นคาว โรคพยาธิในช่องคลอด หรือการติดเชื้อทริโคโมแนส (Trichomoniasis) แผลในช่องคลอด โดยเฉพาะแผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ (Donovanosis) และแผลริมอ่อน (Chancroid) ตกขาว หรือ ระดูขาวที่เกิดพร้อมภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน (Pelvic Inflammatory Disease หรือ PID) สิ่งแปลกปลอมที่ตกค้างอยู่ในช่องคลอด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน