backup og meta

จัดการนิ่วในไต แบบง่าย ๆ ที่ทำได้ด้วยตัวเอง

จัดการนิ่วในไต แบบง่าย ๆ ที่ทำได้ด้วยตัวเอง

โรคนิ่วในไต เกิดจากแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ ที่รวมตัวกันเป็นก้อนแข็ง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเกิดที่ไต หากนิ่วในไตไปอุดกั้นที่ท่อไต อาจทำให้ผู้ที่ป่วยปัสสาวะออกมาเป็นเลือด และทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อปัสสาวะได้ บางครั้งนิ่วในไตเหล่านี้ อาจถูกขับออกมาทางปัสสาวะ วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธี จัดการนิ่วในไต แบบง่าย ด้วยวิธีธรรมชาติมาให้อ่านกัน

[embed-health-tool-bmr]

ปัญหา โรคนิ่วในไต ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

นิ่วในไต (Kidney Stones) หรือเรียกอีกอย่างว่า “นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ” ซึ่งเกิดขึ้นจากแร่ธาตุทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น เกลือ แคลเซียมออกซาเลต (Calcium Oxalate) เกิดการตกผลึกในไต จนเป็นก้อนแข็ง ๆ แม้ว่านิ่วเหล่านี้จะก่อตัวขึ้นที่ไต แต่ก็สามารถอยู่ที่ส่วนใดของระบบทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคนิ่วคือ ภาวะขาดน้ำ เมื่อร่างกายขาดน้ำหรือของเหลวที่ไหลผ่านไตน้อย จะเพิ่มโอกาสในการตกผลึกของแร่ธาตุ จนทำให้เกิด โรคนิ่วในไต

โดยปกติแล้ว หากนิ่วอยู่ที่ไตมักจะไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา จนกว่านิ่วจะอยู่ที่ท่อไต หรือไปอุดกั้นติดอยู่ที่ท่อไต ก็จะขัดขวางการไหลของปัสสาวะ ทำให้ไตเกิดอาการบวม ปวด ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้

วิธี จัดการนิ่วในไต แบบธรรมชาติ

สำหรับผู้ป่วย โรคนิ่วในไต ควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการรักษา นอกจากวิธีการรักษาทางการแพทย์แล้ว วิธีการหลาย ๆ อย่างยังสามารถจัดการหรือมีส่วนช่วยบรรเทาอาการ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด โรคนิ่วในไต ได้ด้วย ซึ่งวิธีการต่าง ๆ มีดังนี้

ดื่มน้ำให้เพียงพอ

สาเหตุหนึ่งของการเกิด โรคนิ่วในไต คือ ภาวะขาดน้ำ ซึ่งทำให้เกิดการตกผลึกของเกลือและแร่ธาตุต่าง ๆ จนเป็น โรคนิ่วในไต การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เป็นอีกหนึ่งวิธีง่าย ๆ ที่สามารถป้องกันการเกิด โรคนิ่วในไต เนื่องจากภาวะขาดน้ำได้ ปริมาณน้ำที่แนะนำให้ดื่มต่อวันคือ 8 แก้วเพื่อป้องกันการขาดน้ำ

น้ำมะนาว

ในมะนาวมีสารซิเทรต (Citrate) ซึ่งเป็นสารที่มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกผลึกเป็นก้อน นอกจากนี้ สารซิเทรตยังมีส่วนช่วยสลายนิ่วก้อนเล็ก ๆ ให้ผ่านหรือขับออกทางปัสสาวะได้ง่ายขึ้น สำหรับผู้ป่วย โรคนิ่วในไต น้ำมะนาวจึงถือเป็นตัวเลือกที่ดี ที่สำคัญ น้ำมะนาวยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและให้วิตามินซีสูง

แอปเปิ้ลไซเดอร์ (Apple Cider Vinegar)

แอปเปิลไซเดอร์ (Apple Cider Vinegar) เป็นน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิลสด ซึ่งมีปริมาณกรดซิตริก (Citric Acid) ที่มีส่วนช่วยในการสลายนิ่วในไต นอกจากนี้ แอปเปิ้ลไซเดอร์ยังมีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดที่เกิดจาก โรคนิ่วในไต ได้

โหระพา

โหระพา ก็เป็นพืชที่มีกรดซิติก ซึ่งมีส่วนช่วยสลายนิ่วในไต ลดอาการปวด นอกจากนี้ ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านการอักเสบที่ช่วยรักษาสุขภาพของไตได้อีกด้วย

ควบคุมน้ำหนัก

จากการศึกษาพบว่า ผู้กลับมาเป็น โรคนิ่วในไต ซ้ำ ร้อยละ 43.8 มีโรคอ้วนและมีน้ำหนักเกิน การควบคุมน้ำหนัก และรักษาน้ำหนักให้มีความสมดุลด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นวิธีการที่มีส่วนช่วยป้องกันการเกิด โรคนิ่วในไต

หลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำตาลหรือคาเฟอีน

เครื่องดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ ล้วนเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสในการเกิด โรคนิ่วในไต จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่ว นอกจากนี้ อาหารที่มีน้ำตาล เกลือ และไขมันสูง ยังเพิ่มการทำงานของไต

สำหรับผู้ป่วย โรคนิ่วในไต ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ และใช้วิธีการข้างต้นควบคู่กันไป เพื่อช่วยจัดการกับ โรคนิ่วในไต ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากเกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง หรือมีอาการปวดที่อวัยวะเพศควรเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ในทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to Remove Kidney Stones Naturally? 8 Ways to Cleanse Your Kidneys.https://food.ndtv.com/food-drinks/how-to-remove-kidney-stones-naturally-8-ways-to-cleanse-your-kidneys-1693610.Accessed April 1, 2021

Home Remedies for Kidney Stones: What Works?.https://www.healthline.com/health/kidney-health/home-remedies-for-kidney-stones.Accessed April 1, 2021

6 natural home remedies for kidney stones.https://www.medicalnewstoday.com/articles/319418.Accessed April 1, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/11/2022

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (ESWL) อีกหนึ่งเทคนิคการรักษานิ่วที่อาจเหมาะกับคุณ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 03/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา