backup og meta

วิธีแก้อาหารเป็นพิษ ให้ดีขึ้น และสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ

วิธีแก้อาหารเป็นพิษ ให้ดีขึ้น และสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ

อาหารเป็นพิษ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกกลุ่มอายุตลอดปี แต่ในช่วงที่มีอากาศร้อนมักพบได้บ่อย เพราะสภาพอากาศส่งผลให้อาหารบูดและเสียได้เร็ว อาจทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้ โรคนี้ยังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ความรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคและสารพิษที่ได้รับ วิธีแก้อาหารเป็นพิษ จึงต้องพิจารณาให้เหมาะสม

[embed-health-tool-bmi]

สาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ

โรคอาหารเป็นพิษ เป็นอาการป่วยที่เกิดจากการรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย ทั้งการปนเปื้อนจากสารเคมี โลหะหนัก เกิดได้จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส สารพิษจากพืชและสัตว์ การปนเปื้อนในอาหารกระป๋อง การประกอบอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ โดยเฉพาะอาหารทะเลที่ปรุงไม่สุก อาหารที่ค้างไว้หลายชั่วโมง ซึ่งสาเหตุของการปนเปื้อนที่พบได้บ่อย มีดังนี้

  • ร่างกายได้รับสารพิษของแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียได้เจริญเติบโตในอาหารตั้งแต่ก่อนรับประทานเข้าไป เช่น สารพิษของเชื้อ V.parahaemolyticus, Clostridium botulinum, Staphylococcus aureus, Bacillus cereus หรือผลิตสารพิษภายในลำไส้เมื่อรับประทานเข้าไป เช่น Clostridium perfringens
  • เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือ พยาธิ เช่น Escherichia coli, Salmonellosis, Shigellosis, Viral gastroenteritis และ Trichinosis  
  • สาหร่ายบางชนิดก็อาจทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ เช่น Ciguatera Fish Poisoning และ Paralytic Shellfish Poisoning 

อาการของโรคอาหารเป็นพิษ

ผู้ที่ได้รับเชื้อที่ปนเปื้อน ร่างกายจะแสดงอาการภายใน 1 – 2 วัน บางกรณีแสดงอาการทันทีในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งที่ปนเปื้อน ปริมาณของเชื้อโรคหรือสารพิษที่ได้รับ โดยอาการอาหารเป็นพิษ ได้แก่

  • เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน 
  • ท้องเสีย 
  • ปวดท้อง 
  • มีอาการสูญเสียน้ำ เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ กระหายน้ำ 

อาการอาหารเป็นพิษแบบไหนต้องไปพบคุณหมอ

โดยทั่วไป อาการอาหารเป็นพิษที่ไม่รุนแรงจะหายได้เองใน 1-2 วัน แต่มีสัญญาณของร่างกายที่บ่งบอกว่า อาการรุนแรงขึ้นและต้องไปปรึกษาแพทย์ เช่น

  • ท้องเสียมาก ท้องเสียหลายวัน หรือมีเลือดปนในอุจจาระ 
  • อาเจียนบ่อย ๆ มีเลือดปนในอาเจียน
  • แขนขาอ่อนแรง 
  • หายใจลำบาก 
  • ตาเริ่มมัวมองเห็นได้ไม่ชัดเจน 
  • อาการปวดท้องอย่างรุนแรงร่วมกับมีไข้สูง 

วิธีแก้อาหารเป็นพิษ ให้ดีขึ้น

หากผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษไม่มีอาการรุนแรงจนน่ากังวล สามารถดูแลตัวเองให้ดีขึ้นได้ เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

  1. ดูแลร่างกายไม่ให้เกิดการขาดน้ำ ดื่มน้ำสะอาดโดยจิบน้ำบ่อย ๆ ให้ร่างกายชดเชยการสูญเสียน้ำจากการอาเจียนและท้องเสีย
  2. ทดแทนน้ำและแร่ธาตุบางชนิดที่สูญเสียไป ด้วยการจิบน้ำผสมผงเกลือแร่ ซึ่งจะมีเกลือและน้ำตาลกลูโคสเป็นส่วนประกอบหลัก แต่ไม่ใช่น้ำเกลือแร่สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย เพราะน้ำเกลือแร่ชนิดนี้จะไปกระตุ้นให้ร่างกายท้องเสียมากขึ้น
  3. เลือกรับประทานอาหารอ่อน ๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม งดอาหารเผ็ดและย่อยยาก 
  4. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ย่อยยาก ไม่รับประทานอาหารรสเผ็ด
  5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

หากปฏิบัติตาม วิธีแก้อาหารเป็นพิษ แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง แต่ควรรีบพบคุณหมอ เพื่อช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย นอกจากนี้ ยังต้องระมัดระวังในการรับประทานอาหาร เลือกอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สด สะอาด ไม่รับประทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบหรืออาหารค้างคืน เพื่อไม่ให้กลับมาเป็นอีก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

อาหารเป็นพิษ โรคฮิตหน้าร้อน. https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1109. Accessed May 23, 2023.  

อาหารเป็นพิษ … 5 คำถามที่พบบ่อย. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/146/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9-5%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2/. Accessed May 23, 2023. 

อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning). https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=10. Accessed May 23, 2023. 

Food poisoning. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/food-poisoning/symptoms-causes/syc-20356230. Accessed May 23, 2023.

ท้องเสีย ถ่ายเหลว จิบเกลือแร่ออกกำลังกายแทนได้ไหม?. https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2-%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7-%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5/. Accessed May 23, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/05/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดท้องบิด ตรงกลาง เป็นๆหายๆ มีเกิดจากสาเหตุจากอะไร

รู้หรือไม่ อาหารที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง มีอะไรบ้าง?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 24/05/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา