backup og meta

ไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ (Viral Gastroenteritis)

คำจำกัดความอาการสาเหตุปัจจัยเสี่ยงการวินิจฉัยโรคและการรักษาโรคการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

คำจำกัดความ

ไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ คืออะไร

ไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ หรือไวรัสลงกระเพาะ (Viral Gastroenteritis) หรือที่เรียกว่า ไข้หว้ดลงกระเพาะ (stomach flu) เป็นการติดเชื้อในลำไส้ทำให้เกิดอาการถ่ายเหลว ปวดท้องอย่างรุนแรง คลื่นไส้หรืออาเจียน และในบางครั้งอาจมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งอาจเป็นปัญหาร้ายแรงสำหรับทารก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะอาจถึงแก่ชีวิตได้

ไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ พบได้บ่อยได้แค่ไหน

โรคไวรัสลงกระเพาะสามารถพบได้บ่อยมาก อย่างไรก็ดี โรคนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการ

อาการทั่วไปของโรคไข้หวัดลงกระเพาะ ได้แก่

  • ถ่ายเหลว ซึ่งมักไม่มีเลือดปน การถ่ายที่มีเลือดปนมักเกิดจากการติดเชื้อชนิดอื่นที่รุนแรงกว่า
  • ปวดท้องรุนแรง
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการทั้งสองอย่าง
  • ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะในบางครั้ง
  • มีไข้ต่ำ

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

ควรเข้าพบคุณหมอ หากมีอาการดังต่อไปนี้

  • ไม่สามาถหยุดถ่ายเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
  • อาเจียนติดต่อกันมากกว่า 2 วัน หรืออาเจียนเป็นเลือด
  • มีภาวะขาดน้ำ คือเหงื่อออกมากกว่าปกติ ปากแห้ง ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม ปัสสาวะน้อยหรือปัสสาวะไม่ออก รวมทั้งอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หรือมึนศีรษะอย่างรุนแรง
  • มีเลือดปนในอุจจาระ
  • มีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส สำหรับผู้ใหญ่ และ 39 องศาเซลเซียส สำหรับทารกและเด็ก

หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ ไวรัสลงกระเพาะและลำไส้

สาเหตุที่พบได้มากที่สุดของโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ คือ การสัมผัสกับผู้ติดเชื้อหรือการบริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน โดยมีไวรัสหลายชนิดที่สามารถทำให้เกิดโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ได้ เช่น โนโรไวรัส (Norovirus) ไวรัสโรต้า (Rotavirus)

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของไวรัสลงกระเพาะและลำไส้

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสูงในการเกิดไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ ได้แก่

  • เด็กเล็ก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ การที่เด็กใช้เวลาอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนประถมศึกษาก็ยิ่งทำให้เสี่ยงได้รับเชื้อสูงขึ้น
  • ผู้สูงอายุ ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ใหญ่มีแนวโน้มลดลงเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุในสถานพยาบาลจะมีความไวต่อเชื้อ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงและอยู่อาศัยใกล้ชิดกับผู้สูงอายุรายอื่นที่อาจแพร่เชื้อโรคได้
  • เด็กนักเรียน ผู้อาศัยในหอพัก หรืออยู่ในสถานที่ปิดที่มีคนอยู่กันมากๆ ซึ่งถือเป็นสภาพแวดล้อมที่ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้มากขึ้น
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ผู้ที่มีการต้านเชื้อต่ำจากภาวะต่างๆ เช่น ระบบภูมิคุ้มกันเกิดความบกพร่องจากเชื้อเอชไอวี จากโรคเอดส์ การเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือภาวะสุขภาพอื่นๆอาจมีความเสี่ยงสูงกว่าคนอื่น

การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้

การตรวจตามอาการและการตรวจร่างการมักนำมาใช้เพื่อวินิจฉัย

โรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ นอกจากนี้ การตรวจอุจจาระก็สามารถ ตรวจจับโนโรไวรัส หรือไวรัสโรต้า ตลอดจนการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือพยาธิได้

การรักษาโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้

ยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ แม้แต่การใช้ยาปฏิชีวนะก็ไม่สามารถต้านไวรัสได้ อีกทั้งการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปอาจทำให้เกิดแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ดื้อยาได้ การรักษาในเบื้องต้นที่แนะนำนั้นคือ การดูแลตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์บางประการอาจช่วยให้คุณรับมือกับโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ได้

  • ดื่มของเหลวใส เช่น น้ำเปล่า น้ำซุป ซึ่งเป็นของเหลวที่ดีที่สุดที่ควรบริโภค และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก กล้วย ไก่ และควรงดรับประทานอาหารใดๆ หากอาการคลื่นไส้กำเริบ
  • หลีกเลี่ยงอาหารและสารบางชนิดจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น เช่น  ผลิตภัณฑ์จากนม คาเฟอีน แอลกอฮอล์ นิโคติน อาหารไขมันสูง อาหารรสจัด
  • พักผ่อนให้มากๆ อาการป่วยและภาวะขาดน้ำอาจทำให้คุณอ่อนเพลีย และเหนื่อยล้าได้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Viral gastroenteritis. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/viral-gastroenteritis/basics/lifestyle-home-remedies/con-20019350. Accessed September 26, 2016.

Viral gastroenteritis. http://www.webmd.com/children/features/the-truth-about-stomach-flu#1. Accessed September 26, 2016.

Viral Gastroenteritis (Stomach Flu). https://www.healthline.com/health/viral-gastroenteritis. Accessed September 26, 2016.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นจะเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากอะไร

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษา


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไข 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา