การมีประจำเดือน

การมีประจำเดือน คือ การที่มีเลือดปนกับเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกไหลออกมาในแต่ละเดือน ถือเป็นภาวะปกติที่พบในผู้หญิงทุกคนที่เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ การดูแลตัวเองในช่วงที่มีประจำเดือนก็เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับคุณผู้หญิง นอกจากนั้น ก็ยังมีเรื่องต่าง ๆ ที่ควรรู้ไว้ ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้รวบรวมบทความเอาไว้ให้ได้อ่านกัน ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การมีประจำเดือน

ปจด สีดำ เกิดจากอะไร อันตรายไหม เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ

ปจด หรือ ประจำเดือน หมายถึง เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมาเป็นเลือดผ่านทางช่องคลอดทุกเดือน โดยเกิดจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนาขึ้นเพื่อเตรียมรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนหากไข่ปฏิสนธิกับอสุจิ แต่เมื่อไข่ในร่างกายเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ เยื่อบุโพรงมดลูกจึงหลุดลอกออกตามธรรมชาติ โดยทั่วไป ปจด มักเป็นสีแดงสดหรือสีแดงเข้ม แต่บางครั้งอาจพบเป็น ปจด สีดำ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่อาการน่ากังวล ยกเว้นแต่ว่ามี ปจด สีดำ ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ไข้ขึ้น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น คันบริเวณช่องคลอด ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุต่อไป [embed-health-tool-ovulation] ปจด คืออะไร ปจด หรือประจำเดือน เป็นภาวะปกติเมื่อเพศหญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยจะเป็นประจำเดือนครั้งแรก เมื่ออายุประมาณ 12-16 ปี ประจำเดือน จะเกิดขึ้นทุก ๆ 21-35 วัน โดยมีลักษณะเป็นเลือดไหลออกจากช่องคลอด ซึ่งเกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อไข่ของเพศหญิงไม่ได้รับการปฏิสนธิโดยอสุจิของเพศชาย ร่างกายจึงขับเยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนให้หลุดลอกออกตามธรรมชาติ ประจำเดือนจะไหลติดต่อกันประมาณ 5-7 วัน โดยถ้าไหลน้อยกว่า 2 วัน หรือมากกว่า 7 วัน อาจหมายถึงประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ ทั้งนี้ ระหว่างมีประจำเดือน เพศหญิงอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย […]

สำรวจ การมีประจำเดือน

การมีประจำเดือน

ตกขาวก่อนประจำเดือน ต่างจากตกขาวปกติอย่างไร

ตกขาว คือ สารคัดหลั่งที่ไหลออกจากช่องคลอด สามารถพบได้ทั่วไปในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ถือเป็นหนึ่งในกระบวนการของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง มีหน้าที่ช่วยป้องกันช่องคลอดแห้ง และอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อ โดยปริมาณของตกขาว กลิ่น สี อาจจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ตกขาวในแต่ละช่วงหรือในแต่ละวัน อาจมีลักษณะแตกต่างกันออกไป เช่น ตกขาวก่อนประจำเดือน การทราบความแตกต่างระหว่างตกขาวที่มักพบได้ในช่วงก่อนมีประจำเดือนและตกขาวปกติ อาจเป็นอีกหนึ่งข้อสังเกตที่ทำให้ทราบได้ว่าประจำเดือนจะมาเมื่อใด และสามารถเตรียมดูแลตัวเองในช่วงมีประจำเดือนได้ดีขึ้น [embed-health-tool-ovulation] ตกขาว คืออะไร ตกขาว คือ สารคัดหลั่งที่ขับออกมาจากช่องคลอด และปากมดลูก มีหน้าที่ช่วยกำจัดสิ่งสกปรกและเซลล์ที่ตายแล้วออกจากช่องคลอดโดยธรรมชาติ และช่วยป้องกันช่องคลอดแห้ง ตกขาวโดยทั่วไปอาจเป็นเมือกเหนียว สีใสหรือสีขาว อย่างไรก็ตาม สีและปริมาณตกขาวที่ผิดปกติ ที่อาจเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อ หรือปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ภาวะช่องคลอดอักเสบ โรคหนองใน ตกขาวก่อนประจำเดือน ต่างจากตกขาวปกติอย่างไร ตกขาวก่อนประจำเดือน หรือที่เรียกกันว่า ช่วงตกไข่ มักมีสีใส ลักษณะคล้ายไข่ขาวดิบ เนื้อสัมผัสลื่น ไม่มีกลิ่นและมีปริมาณมาก เมื่อไข่ตก หากไม่มีการปฏิสนธิหรือตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูกไม่สำเร็จ ผนังมดลูกที่หนาขึ้นเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนก็จะหลุดออกและกลายเป็นเลือดประจำเดือนไหลออกจากช่องคลอด ทำให้บางครั้ง อาจมีตกขาวสีชมพูซึ่งเกิดจากตกขาวปนเลือดประจำเดือนได้ด้วย และหลังจากหมดประจำเดือน อาจสังเกตเห็นตกขาวได้น้อยลงหรือแทบมองไม่เห็น ตกขาวก่อนประจำเดือน ผิดปกติหรือไม่ ตกขาวก่อนประจำเดือนถือเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามหากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากคุณหมอในทันที คัน ระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ ช่องคลอดบวมแดง แสบหรือเจ็บขณะปัสสาวะ […]


การมีประจำเดือน

ตกขาวเกิดจากอะไร แบบไหนที่เรียกตกขาวผิดปกติ

ตกขาวเกิดจากอะไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยปกติสาเหตุที่ทำให้เกิดตกขาวอาจมีหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งตกขาว คือ ของเหลวใสที่หลั่งออกมาจากช่องคลอด เป็นกระบวนการตามธรรมชาติของร่างกายในการขจัดสิ่งสกปรก แบคทีเรีย และเซลล์ที่ตายแล้วออกจากช่องคลอด ป้องกันการติดเชื้อ อีกทั้งยังเพิ่มความชุ่มชื้นไม่ให้ช่องคลอดแห้งจนเกิดการระคายเคือง แต่หากสังเกตว่าตกขาวมีกลิ่น และมีสีที่เปลี่ยนแปลง อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติ ช่องคลอดอาจเสี่ยงติดเชื้อ ซึ่งควรเข้าตรวจและรับการรักษาทันที [embed-health-tool-ovulation] ตกขาวเกิดจากอะไร ตกขาวเกิดจากต่อมในช่องคลอดและปากมดลูกที่ผลิตของเหลวใสออกมา ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติของผู้หญิง นอกจากนี้ ตกขาวอาจมีปริมาณมากขึ้น มีสีขาวขุ่นเล็กน้อยในช่วงก่อนเป็นประจำเดือน ระหว่างตั้งครรภ์ และให้นมบุตร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน โดยปกติ ตกขาวจะมีความเหนียว บาง เป็นเมือกขาว ๆ ใส ๆ ทั้งนี้ ปริมาณของตกขาวอาจไม่เท่ากัน บางคนอาจมีตกขาวมาก ในขณะที่บางคนอาจมีตกขาวน้อยมาก  ตกขาวที่ผิดปกติเป็นอย่างไร ตกขาวที่ผิดปกติ อาจสังเกตได้จาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังนี้ ตกขาวสีเทา เป็นการติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรียที่อาจทำให้ช่องคลอดอักเสบ บางคนอาจมีอาการคัน แสบร้อนช่องคลอด และช่องคลอดบวมแดง ตกขาวสีน้ำตาล หรือมีเลือดออกมาปะปน อาจหมายถึงอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ หรืออาจเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ตกขาวสีชมพูอ่อน อาจมาจากเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ที่ส่งผลให้มีเลือดปะปนกับตกขาวกลายเป็นสีชมพู ตกขาวสีครีมจนถึงสีเหลืองอ่อน หากมีตกขาวสีครีม เหลืองอ่อน อาจเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากเนื้อเยื่อในช่องคลอดถูกเสียดสีระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ทำให้ต่อมในช่องคลอดผลิตตกขาวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น แต่หากมีอาการคัน […]


การมีประจำเดือน

ตกขาว อาการ สาเหตุ การรักษา และการดูแลตัวเอง

ตกขาว เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน พบบ่อยในช่วงก่อนมีประจำเดือนหรือในหญิงตั้งครรภ์ การตกขาวเป็นกระบวนการทางธรรมชาติของร่างกายที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ โดยการจำกัดเซลล์ที่ตายแล้วและแบคทีเรียออกจากช่องคลอด ทำให้ช่องคลอดสะอาดมากขึ้น แต่หากตกขาวมีสีและกลิ่นรุนแรง โดยเฉพาะหากมีอาการคันหรือแสบในช่องคลอดร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในช่องคลอด อุ้งเชิงกรานอักเสบ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การดูแลสุขภาพช่องคลอดอาจช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ ตกขาว คืออะไร ตกขาว คือ ของเหลวที่ผลิตจากต่อมภายในช่องคลอดและปากมดลูก เพื่อจำกัดเซลล์ที่ตายแล้วและแบคทีเรียออกจากช่องคลอด ป้องกันการติดเชื้อ เพิ่มความชุ่มชื้นของช่องคลอด และช่วยให้ช่องคลอดสะอาด ในบางกรณีตกขาวอาจมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น สีและกลิ่นที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ช่วงมีประจำเดือน ช่วงไข่ตก ถูกกระตุ้นทางเพศ ตั้งครรภ์ หรือให้นมลูก ตกขาวเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่หากตกขาวมีสีหรือกลิ่นที่รุนแรง โดยเฉพาะหากมีอาการคันหรือแสบในช่องคลอดร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ เช่น การติดเชื้อในช่องคลอด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มะเร็งปากมดลูกหรือเยื่อบุโพรงมดลูก อาการ อาการตกขาว อาการของตกขาวที่อาจบอกถึงความผิดปกติของสุขภาพ มีดังนี้ ตกขาวมีกลิ่นเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอาการตกขาวมีกลิ่นเหม็น สีเปลี่ยน เช่น สีเขียวเข้ม สีเหลือง หรือดูเหมือนเป็นสีของหนอง มีตกขาวร่วมกับอาการคัน แสบ บวม หรือแดงในบริเวณอวัยวะเพศ เป็นผื่น หรือเป็นแผลที่อวัยวะเพศ ตกขาวมีลักษณะเป็นก้อนหรือเป็นฟอง สาเหตุ สาเหตุตกขาว โดยปกติ ตกขาวจะมาในช่วงมีประจำเดือน หรือก่อนมีประจำเดือนไม่กี่วัน แต่อาการตกขาวมากกว่าปกติตลอดทั้งเดือน มีสีและกลิ่นที่รุนแรงหรืออาจมีอาการคันและแสบในช่องคลอด อาจเป็นสัญญาณปัญหาสุขภาพ ดังนี้ […]


การมีประจำเดือน

เมนไม่มา มีสาเหตุมาจากอะไร

เมนไม่มา หรือ ประจำเดือนไม่มา คือ ภาวะที่ประจำเดือนไม่มาประมาณ 1-3 เดือน อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะความเครียด ฮอร์โมนไม่สมดุล การตั้งครรภ์ หากไม่ทำการรักษาอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่าง เยื่อบุโพรงมดลูกหนา มีบุตรยาก ภาวะกระดูกพรุน เป็นต้น [embed-health-tool-”ovulation”] เมนไม่มา คืออะไร ประจำเดือนของผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะมาโดยเฉลี่ยประมาณ 28 วัน หรือในช่วง 21-40 วัน ซึ่งอาการประจำเดือนไม่มาตามรอบเดือน อาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary Amenorrhea) คือ ภาวะที่ไม่มีประจำเดือน เมื่อมีอายุ 15 ปี ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary Amenorrhea) คือ ภาวะที่เคยมีประจำเดือนมาก่อน แต่อาจมีภาวะประจำเดือนไม่มาประมาณ 3 เดือนขึ้นไป นอกจากนี้ ผู้หญิงบางคนอาจมีรอบเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนมามากกว่าปกติ ซึ่งอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล สาเหตุที่เมนไม่มา สาเหตุที่อาจทำให้ประจำเดือนไม่มา อาจมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ดังนี้ ความเครียด เมื่อระดับความเครียดเพิ่มขึ้น อาจทำให้รอบเดือนเลื่อน หรือประจำเดือนไม่มาได้ ควรบรรเทาความเครียดด้วยกิจกรรมที่ชื่นชอบ เพื่อความผ่อนคลาย เช่น การออกกำลังกาย การวิ่ง การลดน้ำหนัก […]


การมีประจำเดือน

ประจำเดือนมาน้อย กับปัญหาสุขภาพที่ควรรู้

ประจำเดือน หรือรอบเดือน (Menstruation) สามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ โดยเฉพาะในผู้ที่ ประจำเดือนมาน้อย มีเลือดออกมาแบบกะปริดกะปรอย อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพบางประการ เช่น วัยทอง วัยหมดประจำเดือน น้ำหนัก การรับประทานอาหาร ซึ่งการแก้ปัญหาประจำเดือนมาน้อยอาจทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ แต่หากประจำเดือนยังมาน้อยจนเกิดความวิตกกังวล ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษา [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือนมาน้อย กับปัญหาสุขภาพที่ควรรู้ โดยปกติทั่วไป รอบเดือนของผู้หญิงจะอยู่ในช่วง 21-35 วัน เป็นครั้งละประมาณ 2-7 วัน แต่ในผู้ที่ ประจำเดือน มาไม่ปกติ (Irregular Periods) ประจำเดือนมาน้อยมักมีรอบเดือนครั้งละประมาณ 1-2 วันเท่านั้น  อย่างไรก็ตาม การที่ประจำเดือนมาน้อยนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ โดยอาจเกิดจากหลายสาเหตุและหลายปัจจัยต่าง ๆ เช่น ช่วงอายุวัย วัยทอง วัยหมดประจำเดือน น้ำหนัก การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างหนัก ภาวะความเครียด รวมถึงอยู่ที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่า ประจำเดือนมาน้อย หากประจำเดือนมาน้อยอาจส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้ เลือดประจำเดือนออกน้อย  มีเลือดออกกะปริดกะปรอยการมีประจำเดือน ส่วนใหญ่ผู้ที่ประจำเดือนมาน้อย มักมีรอบเดือนครั้งละประมาณ 1-2 วัน เท่านั้น ประจำเดือนมาน้อยและเกิดขึ้นหลายครั้งมากกว่าการมีรอบเดือนตามปกติ วิธีการรักษาอาการประจำเดือนมาน้อย อาการประจำเดือนมาน้อยนั้นไม่ใช่ปัญหาสุขภาพร้ายแรง อาจเกิดจากหลายสาเหตุหลายปัจจัยด้วยกัน […]


การมีประจำเดือน

น้ำหนักขึ้นขณะมีประจำเดือน เป็นเพราะอะไรกันนะ

การขึ้นลงของน้ำหนักนั้นถือเป็นเรื่องปกติของคนเรา บางคนอาจจะมีน้ำหนักคงที่ ขณะที่บางคนนั้นมีการผันผวนของน้ำหนักตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งโดยมากแล้วมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารที่มีส่วนทำให้น้ำหนักขึ้น การไม่ค่อยออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออาจเป็นอาการทางสุขภาพ เช่น ภาวะไทรอยด์ อย่างไรก็ตาม อีกหนี่งสภาวะที่ทำให้น้ำหนักตัวผันผวน โดยจะพบได้เฉพาะผู้หญิงนั่นก็คือ การมีประจำเดือน แต่ทำไมผู้หญิงถึง น้ำหนักขึ้นขณะมีประจำเดือน Hello คุณหมอ มีข้อมูลมาฝากคุณผู้อ่านแล้วค่ะ น้ำหนักขึ้นขณะมีประจำเดือน เป็นเพราะอะไร การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ปัญหาหลักที่ครอบคลุมถึงสาเหตุต่าง ๆ ในขณะที่มีรอบเดือนก็คือ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณและระดับของฮอร์โมน โดยในช่วงก่อนมีประจำเดือนเพียงไม่กี่วันนั้น ร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen)และโปรเจสเตอโรน(progesterone) จะเริ่มลดลง จากนั้นร่างกายจะเริ่มมีการกักเก็บน้ำ และการกักเก็บน้ำเนื่องจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปนี้นี่เอง ที่มีส่วนทำให้น้ำหนักขึ้นในขณะที่มีรอบเดือน อาการท้องอืด ในช่วงที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงนี้ มีส่วนที่ทำให้เกิดอาการท้องอืด เพราะเป็นการไปเพิ่มปริมาณของแก๊สให้เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร เมื่อมีแก๊สมากขึ้นจึงทำให้เกิดอาการท้องอืด  รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว และเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ว่าทำไมช่วงวันแดงเดือดของสาว ๆ ถึงมีภาวะน้ำหนักตัวพุ่ง การกินไม่ยั้ง เป็นเพราะฮอร์โมนอีกเช่นกัน ที่เป็นตัวการทำให้ช่วงนี้ของคุณผู้หญิงหลายท่านมีอาการหิวบ่อย ๆ จนกระทั่งกินเกินลิมิตของตัวเอง เป็นเพราะว่า ช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ร่างกายจะมีระดับของโปรเจสเตอโรนที่สูง และจะลดลงเมื่อใกล้วันที่มีรอบเดือน ซึ่งการเพิ่มขึ้นของโปรเจสเตอโรนนั้นก็มีผลทำให้คุณกินเยอะขึ้น ในขณะเดียวกันเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมเซโรโทนิน (serotonin)ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความอยากอาหาร เมื่อมีประจำเดือน ฮอร์โมนทั้งสองลดลง เซโรโทนินจึงทำหน้าที่โดยไม่มีอะไรมาคอยควบคุม ทำให้รู้สึกหิวและกินมากขึ้นผิดปกติในระหว่างนี้นั่นเอง ปริมาณของแมกนีเซียมลดลง แมกนีเซียมทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ เมื่อเวลาของประจำเดือนมาถึง […]


การมีประจำเดือน

มี ประจำเดือน 2 ครั้ง ต่อเดือน ร่างกายเราผิดปกติ อะไรเปล่านะ ?

ปกติรอบเดือนของคุณผู้หญิงมักมาแค่เดือนละ 1 ครั้ง แต่จู่ๆ ก็ดันมีเลือดคล้าย ประจำเดือน ไหลออกมาอีกเป็นครั้งที่ 2 จนทำให้เราสับสนในการนับวันตกไข่ หรือวันที่รอบเดือนจะมาในครั้งถัดไป สาวๆ บางคนแอบวิตกกังวลเล็กน้อย เพราะกลัวโรคร้ายแรงจะถามหา วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาคุณผู้หญิงทั้งหลายมาคลายข้อสงสัยกัน ประจำเดือน มาถี่ๆ เกิดจากสาเหตุอะไรหรือ… วงจรของรอบเดือนที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นเรื่องปกติที่มักพบในเด็กสาววัยรุ่นส่วนใหญ่ สำหรับบางคนประจำเดือนอาจมาช้า หรือเร็วต่างจากรอบเดือนเดิม แต่บางคนประจำเดือนก็ดันมามากถึง 2 ครั้งต่อเดือนเลยทีเดียว ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้ ฮอร์โมนของวัยแรกรุ่นที่ยังไม่สมดุลคงที่ มีความตึงเครียดปะปนในขณะถึงวันตกไข่ ภาวะไข่ไม่ตก (Lack of ovulation) ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) การใช้ยาที่เกี่ยวข้องกับการคุมกำเนิด น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างรวดเร็ว ภาวะร่างกายที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน สีของประจำเดือนในรอบที่สองนั้นอาจแตกต่างจากรอบแรก มักปรากฏให้เห็นลักษณะสีแดงเข้ม น้ำตาล หรือชมพูอ่อนๆ และมีจำนวนปริมาณของเลือดลดน้อยลงกว่าเดิม เพื่อป้องกันการเปอะเปื้อนควรพกผ้าอนามัยติดตัวไว้ เมื่อเริ่มมีอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อย อาการแทรกซ้อนเมื่อ ประจำเดือน คุณกำลังมารอบที่ 2 ปวด เมื่อยล้าทั้งลำตัว หรือบริเวณหลัง อาการปวดหัว อ่อนเพลียง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง เวียนหัว […]


การมีประจำเดือน

ผ้าอนามัยแบบสอด ทำความเข้าใจก่อนใช้งานจริง

ผ้าอนามัย เป็นของใช้จำเป็นในช่วงมีประจำเดือนสำหรับคุณผู้หญิง ซึ่งผ้าอนามัยมีหลากหลายรูปแบบ  ไม่ว่าจะเป็น ผ้าอนามัยแบบแผ่น ผ้าอนามัยแบบสอด และอื่น ๆ ที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นตามยุคตามสมัย โดยการเลือกใช้ผ้าอนามัยอาจขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้หญิงที่ต้องการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ควรศึกษาถึงวิธีการใช้ที่ถูกต้อง เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย [embed-health-tool-ovulation] ทำความรู้จักกับ ผ้าอนามัยแบบสอด ทางองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FDA ได้ประกาศให้ผ้าอนามัยแบบสอด (Tampon) ถือเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ เนื่องจากผ้าอนามัยแบบสอดจะถูกแทรกเข้าไปในช่องคลอด เพื่อดูดซับประจำเดือน ซึ่งผ้าอนามัยแบบสอดมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ทำจากฝ้าย เรยอน หรืออาจจะมีการผสมทั้ง 2 อย่างเข้าด้วยกัน สำหรับวิธีการใส่ก็ได้รับการออกแบบมาให้ใส่โดยใช้พลาสติก กระดาษแข็ง หรือสามารถใส่โดยตรงก็ได้เช่นกัน เมื่อผ้าอนามัยแบบสอดถูกใส่เข้าไปในช่องคลอดจะมีการขยายตัวเกิดขึ้น ซึ่งผ้าอนามัยแบบสอดมีให้เลือกหลายขนาดด้วยกัน โดยขนาดนั้นหมายถึงความสามารถในการดูดซับ ไม่ได้หมายถึงความยาว หรือความกว้าง เมื่อผ้าอนามัยแบบสอดเข้าไปอยู่ในร่างกาย นอกจากผ้าอนามัยแบบสอดจะใช้ในการดูดซับประจำเดือนแล้ว บางครั้งยังถูกนำมาใช้สำหรับการห้ามเลือดในการผ่าตัดอีกด้วย วิธีใช้ผ้าอนามัยแบบสอดอย่างถูกต้อง เนื่องจากผ้าอนามัยแบบสอดมีวิธีการใช้หลายรูปแบบด้วยกัน ดังนั้น บางวิธีการใช้จะไม่ได้เพียงแค่ตัวผ้าอนามัยแบบสอดเพียงชิ้นเดียว โดยส่วนประกอบของผ้าอนามัยแบบสอด มีดังนี้ ตัวผ้าอนามัยแบบสอดและเชือก มักทำจากฝ้าย เรยอน และฝ้ายออร์แกนิก รูปร่างของผ้าอนามัยแบบสอดคือ รูปทรงกระบอก และสามารถขยายเมื่อเปียกน้ำ เชือกที่ยื่นออกมาจากผ้าอนามัยแบบสอด มีไว้สำหรับถอดผ้าอนามัยแบบสอดออกจากช่องคลอด สิ่งที่ล้อมรอบผ้าอนามัยแบบสอดและเชือก ประกอบด้วยกล่อง ด้ามจับ […]


การมีประจำเดือน

ประจำเดือนมาไม่ปกติ เกิดจากสาเหตุใด และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล

โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุกๆ 24-38 วัน และจะมีประจำเดือนเป็นเวลา 2-8 วันต่อเดือน หากประจำเดือนมาไม่ปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วไม่เป็นอันตราย แต่บางกรณีก็อาจหมายถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง แล้ว ประจำเดือนมาไม่ปกติ เกิดจากสาเหตุใด และเมื่อไหร่ที่ควรปรึกษาคุณหมอ ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีลักษณะเป็นอย่างไร รอบประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจมีลักษณะต่างๆ เช่น ประจำเดือนมาน้อยหรือมากผิดปกติ ประจำเดือนมาหลายวัน มากเกินไป ช่วงเวลาก่อนมีประจำเดือนเริ่มเปลี่ยนแปลง จำนวนวันที่มีประจำเดือนแตกต่างกันมาก การบันทึกข้อมูลของการมีประจำเดือน จะช่วยให้คุณรู้ว่าประจำเดือนมาปกติ หรือไม่ปกติ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการที่ประจำเดือนมาไม่ปกติจะไม่ถือเป็นเรื่องร้ายแรง แต่ในบางกรณีก็อาจเป็นสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีดังต่อไปนี้ ประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดจาก สาเหตุใดบ้าง ประจำเดือนมาไม่ปกติอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโพเจสเตอโรน (Progesterone) จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมวัยรุ่นและวัยใกล้หมดประจำเดือน จึงเกิดภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติบ่อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายนั่นเอง นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อรอบประจำเดือน ดังนี้ การตั้งครรภ์ หรือการให้นมลูก ประจำเดือนไม่มา สามารถเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ และการให้นมลูกอาจส่งผลให้ การกลับมามีประจำเดือนหลังคลอดช้าลง การกินผิดปกติ การลดน้ำหนักเร็วเกินไป หรือออกกำลังกายอย่างหนัก รวมถึงการกินผิดปกติ ทั้ง 3 สาเหตุนี้สามารถทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติได้ ถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome, PCOS) […]


การมีประจำเดือน

กินมากผิดปกติ อีกหนึ่งอาการก่อนมีประจำเดือน

สมาคมสูตินรีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (ACOG) ให้ข้อมูลว่า ผู้หญิงกว่า 85% จะมีอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS หรือ Pre-menstrual syndrome) อย่างน้อย 1 อาการ โดยอาการก่อนมีประจำเดือนนั้นมีด้วยกันมีหลายอาการ แต่วันนี้ Hello คุณหมอ จะกล่าวถึงอาการ กินมากผิดปกติ พร้อมบอกวิธีรับมือกับอาการดังกล่าวแบบง่าย ๆ แถมไม่เสียสุขภาพด้วย กินมากผิดปกติ… อาการก่อนมีประจำเดือนที่พบบ่อย อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS หรือ Pre-menstrual syndrome) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์ที่ไม่ปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน และสมาคมสูตินรีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาให้ข้อมูลว่า 70% ของผู้หญิง ต้องประสบกับอาการก่อนมีประจำเดือน ได้แก่ อยากอาหารมากขึ้น ท้องอืด เหนื่อยล้า มีปัญหาการนอนหลับ อารมณ์แปรปรวน และหงุดหงิดง่าย นอกจากนี้ ยังมีอาการกินมากผิดปกติหรือกินไม่หยุด (Compulsive eating หรือ Binge eating) กล่าวคือ อยากกินอาหารอยู่ตลอดเวลาแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึ่งในบางกรณี อาจพัฒนาไปสู่โรคกินไม่หยุด (Binge eating disorder) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน