สุขภาพหญิง

เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ คุณผู้หญิงทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องได้รับข้อมูลและการสนับสนุนในเรื่องของสุขภาพ เพื่อจะได้รักษาสุขภาพและป้องกันตนเองจากสภาวะต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ ความไม่สมดุลของฮอร์โมน และการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ทาง Hello คุณหมอได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ สุขภาพหญิง เอาไว้ โดยเนื้อหาจะครอบคลุมตั้งแต่ช่วงเริ่มมีประจำเดือน ไปจนถึงช่วงหมดประจำเดือน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหญิง

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพหญิง เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพหญิง

ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

เต้านมอักเสบ สัญญาณเตือนที่อาจนำไปสู่ ฝีเต้านม

ฝีเต้านม เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของอาการ เต้านมอักเสบ อาจเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน โดยส่วนใหญ่มักพบบ่อยในคุณแม่ให้นมบุตร ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บทรมาน ป่วย และอาจรุนแรงถึงขั้นการติดเชื้อในกระแสเลือดและหมดสติได้ ดังนั้น หากกดบริเวณเต้านมแล้วรู้สึกเจ็บผิดปกติ ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] ฝีเต้านมเกิด จากอะไร ฝีเต้านมส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแตฟีโลค็อกคัสออเรียส (Staphylococcus Aureus) และเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอกคัส (Streptococcus) โดยเชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายจากทารกผ่านทางปากหรือผิวหนังทารกจากการดูดนม หรือผ่านการเปิดท่อหัวนม ส่งผลให้เนื้อเยื่อเต้านมเกิดอาการอักเสบ โดยเฉพาะบริเวณท่อน้ำนมและต่อมน้ำนม อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่ไม่ได้ให้นมบุตรก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นฝีเต้านมได้เช่นกัน หากมีพฤติกรรมเหล่านี้ สูบบุหรี่ โรคอ้วน เจาะหัวนม เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่เต้านมผ่านหัวนมที่เจ็บหรือหัวนมแตก เต้านมอักเสบ ที่อาจนำไปสู่ ฝีเต้านม โดยปกติ คุณแม่ให้นมบุตรจะมีอาการบวมบริเวณเต้านมในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของการให้นมบุตร แต่ถ้าคุณแม่มีอาการเต้านมอักเสบ บวม แดง และมีไข้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคเต้านมอักเสบ จึงควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้เป็น ฝีเต้านม ที่อาจให้เกิดอาการเจ็บทรมาน ป่วย และอาจรุนแรงถึงขั้นการติดเชื้อในกระแสเลือดและหมดสติได้ เต้านมอักเสบภาวะสุ่มเสี่ยงที่อาจนำไปสู่ฝีเต้านม หากพบว่าเต้านมมีอาการผิดปกติ บวม อักเสบ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของฝีเต้านม  รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่บ่งบอกโรคดังกล่าว ดังนี้ เต้านมมีอาการบวมแดง ปวดร้อนบริเวณเต้านม มีหนองไหลออกมาจากหัวนม ปวดศีรษะ มีไข้สูง หนาวสั่น […]


วัยหมดประจำเดือน

เตรียมพร้อมรับมืออย่างไร เมื่อ คนใกล้ตัวเข้าสู่วัยทอง

เมื่อผู้หญิงเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน เป็นช่วงที่ฮอร์โมนในร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปจนส่งผลให้อารมณ์มีความแปรปรวน รู้สึกเหนื่อยล้า นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นอาจทำให้หงุดหงิด จนส่งผลต่อคนรอบข้างอย่าง สามี ผู้ที่ต้องคอยรับอารมณ์ที่แปรปรวนของภรรยาในช่วงที่เข้าสู่วัยทอง  เคล็ดลับดี ๆ หรือสิ่งที่ผู้ชายควรรู้เมื่อ คนใกล้ตัวเข้าสู่วัยทองมีอะไรบ้าง [embed-health-tool-ovulation] อาการวัยทองในผู้หญิง เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทอง เป็นช่วงที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้หญิงนั้นลดลง จนส่งผลต่ออารมณ์และร่างกาย ทำให้อารมณ์แปรปรวน บางครั้งก็มีภาวะซึมเศร้า และมีอารมณ์ทางเพศลดลง นอกจากนี้ เมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ยังทำให้ช่องคลอดแห้ง เพราะเมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงจะส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงช่องคลอด ทำให้ผนังช่องคลอดบาง นอกจากนี้ การเข้าสู่วัยทองยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอื่น ๆ อีก เช่น น้ำหนักขึ้น เหงื่อออกมากในช่วงกลางคืน รู้สึกร้อนวูบวาบ หงุดหงิดง่าย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจทำให้คนรอบข้างหงุดหงิดตามไปด้วย สิ่งที่ผู้ชายควรรู้เมื่อ คนใกล้ตัวเข้าสู่วัยทอง เมื่อผู้หญิงเข้าสู่ช่วงวัยทองนั้นการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างทั้งร่างกายและอารมณ์อาจทำให้คนใกล้ตัวไม่เข้าใจ ดังนั้น คุณผู้ชายต้องเรียนรู้ก่อนว่าวัยทองคืออะไร สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงอายุเท่าไร อาการของวัยทองนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อเรียนรู้เกี่ยวกับ วัยทอง แล้ว จะทำให้เข้าใจมากขึ้นว่าควรจัดการหรือดูแลผู้หญิงอย่างไร หรือมีวิธีการใดที่สามารถช่วยให้ผู้หญิงวัยทองรู้สึกดีขึ้นได้ นอกจากนี้ ช่วงวัยทองยังทำให้ผู้หญิงมีอารมณ์ซึ่งทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ ผู้หญิงบางคนยังมีอาการร้อนวูบวาบและมีเหงื่อออกมากในเวลากลางคืน คนใกล้ตัวจึงควรยืดหยุ่นและพยายามทำความเข้าใจอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง ไม่โวยวายจนทำให้ผู้หญิงรู้สึกแย่ คอยเตือนอย่างใจเย็น คอยให้กำลังใจและให้พื้นที่ส่วนตัวให้ผู้หญิงวัยทองได้อยู่กับตัวเองและมีเวลาทำกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบ นอกจากนี้ ฝ่ายชายควรอดทนกับเรื่องบนเตียง เพราะผู้หญิงในวัยทองนั้นอาจจะมีความต้องการทางเพศลดลง หรือไม่สนุกกับกิจกรรมทางเพศเพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดทำให้ช่องคลอดแห้ง เมื่อมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้รู้สึกเจ็บได้ […]


ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

ผู้หญิงออกกำลังกายมากไป เสี่ยงกระดูกพรุน ขาดสารอาหาร และประจำเดือนขาด

การรักษาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะทำ ถึงแม้ว่าการออกกำลังกายจะมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แต่การออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นมากๆ นั้น ก็สามารถทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้ โดยเฉพาะในผู้หญิง หาก ผู้หญิงออกกำลังกายมากไป เสี่ยงกระดูกพรุน ขาดสารอาหารและประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือที่เรียกว่า Female Athlete Triad Syndrome ผู้หญิงคนไหนที่ออกกำลังกายมากไป วันนี้ Hello คุณหมอมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ Female Athlete Triad Syndrome คืออะไร Female Athlete Triad Syndrome เป็นโรคที่เมื่อ ผู้หญิงออกกำลังกายมากไป เสี่ยงกระดูกพรุน ซึ่งจะประกอบไปด้วยอาการ 3 อย่าง ซึ่งเป็นผลมาจากการออกกำลังกายที่หนักเกินไป ประกอบไปด้วย ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือนมาไม่ปกติที่เกี่ยวข้องกับโรค Female Athlete Triad Syndrome จะมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกตินาน 3 เดือนหรือมากกว่านั้น ซึ่งนักกีฬาที่มีรอบเดือนไม่ปกติจะมีความอ่อนไหว และจะส่งผลต่ออารมณ์ของนักกีฬา กระดูกพรุน ผู้หญิงที่เป็นโรค Female Athlete Triad Syndrome จะที่มีอัตราเสี่ยงในการสูญเสียกระดูกหรือมีมวลกระดูกที่ต่ำ ลงซึ่งนำไปสู่โรคกระดูกพรุนในรูปแบบที่รุนแรง ซึ่งการสูญเสียกระดูกประเภทนี้อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแตกหักเพิ่มขึ้นรวมถึงการเกิดความเครียดด้วย  ขาดสารอาหาร เป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคนี้เลยทีเดียว การขาดสารอาหารคือความไม่สมดุลระหว่างปริมาณพลังงานที่เราได้รับจากอาหารและปริมาณพลังงานที่ใช้ไป ขณะออกกำลังกาย ซึ่งรวมไปถึงการจำกัดการรับประทานอาหาร การขาดสารอาหารทำให้เกิดโรคอื่นๆ […]


วัยหมดประจำเดือน

คีโตเจนิค กับประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพของสาววัยทอง

คีโตเจนิค (Ketogenic Diet) คือรูปแบบการรับประทานอาหารที่ลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรต โดยเน้นการบริโภคไขมันดี เช่น อะโวคาโด ไข่ น้ำมันปลา ซึ่งอาจช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมันและลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ การรับประทานอาหารแบบคีโตเจนิคยังอาจมีส่วนช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับวัยทอง เช่น ปัญหาการนอนหลับ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน ได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] คีโตเจนิค คืออะไร การรับประทานอาหารแบบ คีโต หรือ คีโตเจนิค ไดเอต เป็นการรับประทานอาหารที่ที่ลดคาร์โบไฮเดรต หากต้องรับประทานคาร์โบไอเดรตก็จะรับประทานในปริมาณที่ต่ำมาก ๆ  และแทนที่ด้วยการรับประทานไขมันดีเข้าไปแทน ซึ่งการรับประทานรูปแบบนี้จะทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า ภาวะคีโตซิส ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายจะดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงาน และเปลี่ยนไขมันไปเป็นคีโตในตับ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของสมอง ซึ่งการรับประทานอาหารรูปแบบคีโตนั้นจะช่วยให้น้ำตาลในเลือดและอินซูลินลดลงอย่างมาก และยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างอื่นอีกมากมาย ประโยชน์ดี ๆ ของคีโตเจนิค ต่อสาววัยทอง ช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน วัยทอง เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเพศ เช่น เอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเหล่านี้ทำให้ความสามารถในการควบคุมอินซูลินของร่างกายลดลง มีงานวิจัยที่บ่งบอกว่าการรับประทานอาหารแบบคีโตช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลินของร่างกาย ทำให้ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี จากการวิจัยพบว่า การรับประทานอาหารแบบคีโต นาน 12 สัปดาห์ สามารถช่วยให้ร่างกายควบคุมระดับอินซูลินได้ดีขึ้น ช่วยควบคุมน้ำหนัก การที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นนั้น เป็นหนึ่งในอาการของวัยทอง ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และการเผาผลาญร่างกายที่ช้าลง จากงานวิจัยบ่งบอกว่า […]


สุขภาพหญิง

ฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง จะสังเกต และปรับสมดุลฮอร์โมนได้อย่างไรบ้าง

สาวๆ เคยไหม อยู่ดีๆ ก็ปวดท้อง ท้องอืด รู้สึกไม่สบายตัว หรือรู้สึกว่าสุขภาพผิดปกติไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ความจริงแล้ว ตัวการที่อยู่เบื้องหลังปัญหาสุขภาพเหล่านั้นของคุณอาจเป็น “ฮอร์โมน” ก็ได้ ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย หากฮอร์โมนไม่สมดุล ก็สามารถส่งผลให้ร่างกายทำงานผิดปกติได้ ว่าแต่สาวๆ จะสามารถสังเกตภาวะ ฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง ได้อย่างไร แล้วจะปรับสมดุลฮอร์โมนได้ด้วยวิธีใดบ้าง Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณแล้ว [embed-health-tool-ovulation] สัญญาณของ ฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง ปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง สามารถสังเกตได้จากปัญหาสุขภาพเหล่านี้ ประจำเดือนมาไม่ปกติ รอบการมีประจำเดือนของผู้หญิงส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 21-35 วัน แต่หากรอบประจำเดือนของคุณแตกต่างกันมาก หรือประจำเดือนไม่มาหลายเดือน นั่นอาจหมายความว่าร่างกายของคุณหลั่งฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจน หรือโปรเจสเตอโรนออกมาน้อยหรือมากเกินไป หรือหากคุณเป็นผู้หญิงวัย 40 หรือ 50 ก็อาจเป็นเพราะคุณกำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรืออยู่ในวัยหมดประจำเดือน แต่ประจำเดือนผิดปกติก็อาจเป็นเพราะภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovarian Syndrome หรือ PCOS) ได้ ฉะนั้น หากประจำเดือนมาไม่ปกติเรื้อรัง ควรปรึกษาคุณหมอ อย่าปล่อยไว้ เป็นสิวเรื้อรัง การมีสิวประปราย หรือมักมีสิวในช่วงก่อนมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากคุณเป็นสิวเรื้อรังก็อาจเป็นสัญญาณของฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิงได้ ปัญหาสิวเรื้อรังนั้นอาจเกิดจากร่างกายของคุณหลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายออกมามากเกินไป จึงทำให้ต่อมไขมันทำงานผิดปกติ และส่งผลต่อเซลล์ผิวหนังรอบรูขุมขน […]


สุขภาพหญิง

วัยทอง วิตกกังวล ง่าย ควรรับมืออย่างไรดี

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ความเครียดในชีวิต ปัญหาการนอนหลับ ความกังวลเกี่ยวกับรูปร่าง ภาวะมีบุตรยาก อายุที่เพิ่มขึ้น ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับ วัยทอง ที่สามารถนำไปสู่การมีอารมณ์แปรปรวน ความเครียด หรือความวิตกกังวลได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ วัยทอง ความวิตกกังวล ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรมาให้ได้อ่านกันค่ะ วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน คืออะไร วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน (Menopause) เป็นช่วงที่เข้าสู่วัยที่มักจะไม่มีประจำเดือนแล้ว ส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงมักจะเริ่มมีอาการวัยทอง หลังจากที่ประจำเดือนหมดติดต่อกันนาน 12 เดือน โดยเฉลี่ยแล้ววัยทองมักจะเกิดขึ้นในช่วงอายุ 40-50 ปี วัยทองนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย ซึ่งสามารถส่งผลได้ทั้งทางกายภาพและทางอารมณ์ จิตใจ เช่น มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก นอนหลับยาก อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย น้ำหนักเพิ่ม วัยทอง วิตกกังวล ง่าย เกิดจากอะไร ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยทองหลายๆ คนมักจะมีความรู้สึกเศร้าและมีปัญหารบกวนจิตใจ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น ภาวะตั้งครรภ์ยาก แต่ก็ยังมีผู้หญิงหลายๆ คนที่รู้สึกดีเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้แล้ว นอกจากนี้ผู้หญิงในช่วงที่อยู่ในช่วงวัยทอง มักจะพบเจอกับการเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญมากมาย เช่น ลูกๆ […]


การมีประจำเดือน

น้ำหนักขึ้นขณะมีประจำเดือน เป็นเพราะอะไรกันนะ

การขึ้นลงของน้ำหนักนั้นถือเป็นเรื่องปกติของคนเรา บางคนอาจจะมีน้ำหนักคงที่ ขณะที่บางคนนั้นมีการผันผวนของน้ำหนักตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งโดยมากแล้วมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารที่มีส่วนทำให้น้ำหนักขึ้น การไม่ค่อยออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออาจเป็นอาการทางสุขภาพ เช่น ภาวะไทรอยด์ อย่างไรก็ตาม อีกหนี่งสภาวะที่ทำให้น้ำหนักตัวผันผวน โดยจะพบได้เฉพาะผู้หญิงนั่นก็คือ การมีประจำเดือน แต่ทำไมผู้หญิงถึง น้ำหนักขึ้นขณะมีประจำเดือน Hello คุณหมอ มีข้อมูลมาฝากคุณผู้อ่านแล้วค่ะ น้ำหนักขึ้นขณะมีประจำเดือน เป็นเพราะอะไร การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ปัญหาหลักที่ครอบคลุมถึงสาเหตุต่าง ๆ ในขณะที่มีรอบเดือนก็คือ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณและระดับของฮอร์โมน โดยในช่วงก่อนมีประจำเดือนเพียงไม่กี่วันนั้น ร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen)และโปรเจสเตอโรน(progesterone) จะเริ่มลดลง จากนั้นร่างกายจะเริ่มมีการกักเก็บน้ำ และการกักเก็บน้ำเนื่องจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปนี้นี่เอง ที่มีส่วนทำให้น้ำหนักขึ้นในขณะที่มีรอบเดือน อาการท้องอืด ในช่วงที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงนี้ มีส่วนที่ทำให้เกิดอาการท้องอืด เพราะเป็นการไปเพิ่มปริมาณของแก๊สให้เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร เมื่อมีแก๊สมากขึ้นจึงทำให้เกิดอาการท้องอืด  รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว และเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ว่าทำไมช่วงวันแดงเดือดของสาว ๆ ถึงมีภาวะน้ำหนักตัวพุ่ง การกินไม่ยั้ง เป็นเพราะฮอร์โมนอีกเช่นกัน ที่เป็นตัวการทำให้ช่วงนี้ของคุณผู้หญิงหลายท่านมีอาการหิวบ่อย ๆ จนกระทั่งกินเกินลิมิตของตัวเอง เป็นเพราะว่า ช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ร่างกายจะมีระดับของโปรเจสเตอโรนที่สูง และจะลดลงเมื่อใกล้วันที่มีรอบเดือน ซึ่งการเพิ่มขึ้นของโปรเจสเตอโรนนั้นก็มีผลทำให้คุณกินเยอะขึ้น ในขณะเดียวกันเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมเซโรโทนิน (serotonin)ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความอยากอาหาร เมื่อมีประจำเดือน ฮอร์โมนทั้งสองลดลง เซโรโทนินจึงทำหน้าที่โดยไม่มีอะไรมาคอยควบคุม ทำให้รู้สึกหิวและกินมากขึ้นผิดปกติในระหว่างนี้นั่นเอง ปริมาณของแมกนีเซียมลดลง แมกนีเซียมทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ เมื่อเวลาของประจำเดือนมาถึง […]


ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

ช็อกโกแลตซีสต์ อันตรายของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) คือถุงน้ำในรังไข่ที่ภายในประกอบไปด้วยเลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดและอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ รวมไปถึงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ได้ในอนาคต ดังนั้น หากสังเกตพบอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องประจำเดือนมากผิดปกติ ท้องเสีย มีเลือดออกกะปริบกะปรอย ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาในทันที [embed-health-tool-bmi] ทำความรู้จักกับ ช็อกโกแลตซีสต์  ช็อกโกแลตซีสต์ เป็นถุงน้ำในรังไข่ที่เต็มไปด้วยเลือดเก่า ซีสต์เหล่านี้แพทย์มักจะเรียกว่า เอนโดเมทริโอมา (Endometrioma) ซึ่งมันไม่ใช่มะเร็ง แต่แพทย์มักจะให้ความหมายว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือเรียกว่า เอนโดเมทริโอซิส (Endometriosis) ผู้ที่มีเยื่อโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดขึ้นในผู้หญิงประมาณ 20-40% จะสามารถพัฒนาเป็นช็อกโกแลตซีสต์ได้ ช็อกโกแลตซีสต์ มักก่อตัวลึกภายในรังไข่ จะมีสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายดินน้ำมันและมองดูแล้วจะคล้ายกับช็อกโกแลตที่ละลายแล้ว สีน้ำตาลนั้นมาจากเลือดประจำเดือนและเนื้อเยื่อที่เติมเข้าในโพรงของถุงน้ำ ช็อกโกแลตซีสต์อาจมีผลต่อรังไข่ข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ และสามารถเกิดขึ้นได้หลายๆ ครั้ง เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นความผิดปกติทั่วไปที่เยื่อบุของมดลูก หรือที่เรียกว่าเยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตนอกมดลูก และสู่รังไข่ ท่อรังไข่ และพื้นที่อื่น ๆ ของระบบสืบพันธุ์ การมีเยื่อบุมากเกินไปทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงและบางครั้งก็มีบุตรยากช็อกโกแลตซีสต์เป็นกลุ่มย่อยของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ นอกจากนั้นแล้วมันยังสามารถเปลี่ยนแปลงสถานะให้กลายเป็นโรคที่รุนแรงอื่นๆ ได้อีกด้วย สาเหตุของช็อกโกแลตซีสต์ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกทำให้เกิดซีสต์ช็อกโกแลต เนื้อเยื่อเยื่อบุโพรงมดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ทำให้เนื้อเยื่อนี้เติบโตนอกมดลูก เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกสามารถติดกับรังไข่ ท่อนำไข่ และอวัยวะใกล้เคียง เช่น […]


การมีประจำเดือน

มี ประจำเดือน 2 ครั้ง ต่อเดือน ร่างกายเราผิดปกติ อะไรเปล่านะ ?

ปกติรอบเดือนของคุณผู้หญิงมักมาแค่เดือนละ 1 ครั้ง แต่จู่ๆ ก็ดันมีเลือดคล้าย ประจำเดือน ไหลออกมาอีกเป็นครั้งที่ 2 จนทำให้เราสับสนในการนับวันตกไข่ หรือวันที่รอบเดือนจะมาในครั้งถัดไป สาวๆ บางคนแอบวิตกกังวลเล็กน้อย เพราะกลัวโรคร้ายแรงจะถามหา วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาคุณผู้หญิงทั้งหลายมาคลายข้อสงสัยกัน ประจำเดือน มาถี่ๆ เกิดจากสาเหตุอะไรหรือ… วงจรของรอบเดือนที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นเรื่องปกติที่มักพบในเด็กสาววัยรุ่นส่วนใหญ่ สำหรับบางคนประจำเดือนอาจมาช้า หรือเร็วต่างจากรอบเดือนเดิม แต่บางคนประจำเดือนก็ดันมามากถึง 2 ครั้งต่อเดือนเลยทีเดียว ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้ ฮอร์โมนของวัยแรกรุ่นที่ยังไม่สมดุลคงที่ มีความตึงเครียดปะปนในขณะถึงวันตกไข่ ภาวะไข่ไม่ตก (Lack of ovulation) ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) การใช้ยาที่เกี่ยวข้องกับการคุมกำเนิด น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างรวดเร็ว ภาวะร่างกายที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน สีของประจำเดือนในรอบที่สองนั้นอาจแตกต่างจากรอบแรก มักปรากฏให้เห็นลักษณะสีแดงเข้ม น้ำตาล หรือชมพูอ่อนๆ และมีจำนวนปริมาณของเลือดลดน้อยลงกว่าเดิม เพื่อป้องกันการเปอะเปื้อนควรพกผ้าอนามัยติดตัวไว้ เมื่อเริ่มมีอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อย อาการแทรกซ้อนเมื่อ ประจำเดือน คุณกำลังมารอบที่ 2 ปวด เมื่อยล้าทั้งลำตัว หรือบริเวณหลัง อาการปวดหัว อ่อนเพลียง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง เวียนหัว […]


สุขภาพหญิง

สุขภาพช่องคลอด แข็งแรงได้ ด้วยการเลือกสวมชุดชั้นในที่เหมาะสม

เคยคิดไหมว่า “ฉันกำลังเลือกชุดชั้นในผิดอยู่รึเปล่า?” ความจริงแล้วเรื่องของชุดชั้นในถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะชุดชั้นในที่คุณสวมใส่นั้นสามารถส่งผลต่อสุขภาพของช่องคลอดได้เลยทีเดียว ทาง Hello คุณหมอ จึงมีเรื่องเทคนิคการเลือกชุดชั้นในเพื่อ สุขภาพช่องคลอด มาฝากกันในบทความนี้ สุขภาพช่องคลอด ที่ดี เริ่มต้นจากการเลือกชุดชั้นใน รู้หรือไม่ว่าหากเลือกคุณส่วนชุดชั้นในที่ไม่เหมาะสมไปออกกำลังกาย อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ ดังนั้นการเลือกชุดชั้นในให้เหมาะสมกับกิจวัตรต่างๆ จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ้งเทคนิคการเลือกชุดชั้นในให้เหมาะสม มีดังนี้ เลือกชุดชั้นในที่ทำจากผ้าธรรมชาติ ช่องคลอดถือเป็นบริเวณที่บอบบางมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี การเลือชุดชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้ายถือเป็นเนื้อผ้าที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นเนื้อผ้าที่เรียบ อ่อนโยนต่อการสัมผัสที่ผิว นอกจากนี้ยังระบายอากาศและดูดซับได้ดี ซึ่งสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อจากยีสต์ได้ ชุดชั้นในที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ เช่น ไนลอน และสแปนเด็กซ์ นอกจากจะระบายอากาศไม่ดีแล้ว ยังเก็บความร้อนและความชื้นไว้อีกด้วย ซึ่งความร้อนและความชื้นถือเป็นพื้นที่เพาะพันธุ์ที่สมบูรณ์แบบสำหรับเชื้อยีสต์ หลีกเลี่ยงการใส่จีสตริงเมื่อต้องออกกำลังกาย เนื่องจากการสวมกางเกงผ้าสแปนเด็กซ์ตอนออกกำลังกายนั้นทำให้เห็นขอบของชุดชั้นใน ดังนั้นชุดชั้นในจีสตริงจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด แต่รู้หรือไม่ว่าแม้จีสตริงจะกระชับ แต่เมื่อมันเลื่อนไปมาระหว่างออกกำลังกาย ก็จะทำให้เกิดการเสียดสีและความร้อน ซึ่งเป็นการนำไปสู่การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดได้ นอกจากนั้นแล้วชุดชั้นในแบบจีสตริงยังอาจทำให้ช่องคลอดติดเชื้ออีโคไล (E. coli) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มักพบบ่อยในอุจจาระ การส่งผ่านเชื้อนี้ผ่านทางชุดชั้นในจีสตริงไปยังช่องคลอด อาจนำไปสู่มดลูก และพัฒนาการเป็นโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบได้ด้วย ควรเปลี่ยนชุดชั้นในทุกวันหรือมากกว่าหนึ่งครั้ง โดยปกติแล้วเรามักจะส่วมชุดชั้นในหนึ่งคู่ต่อวัน แล้วนำไปซัก ซึ่งบางครั้งก็ไม่จำเป็นเสมอไป แพทย์บางคนบอกว่าหากมีเหงื่อออกมาก หรือรู้สึกไม่สบายใจจากการตกขาว ก็สามารถเปลี่ยนชุดชั้นในได้มากกว่าหนึ่งครั้งต่อวัน การสวมชุดชั้นในที่มีความชื้นตลอดเวลาไม่ใช่พฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากนั้นยังสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองขึ้นได้ ไม่สวมชุดชั้นในเวลากลางคืน เพื่อระบายความชื้น มีการถกเถียงกันเป็นอย่างมากว่าการไม่สวมชุดชั้นในเวลากลางคืนนั้นดีหรือไม่ แต่ความจริงแล้วการไม่สวมชุดชั้นในเวลากลางคืนช่วยไม่ให้เกิดการติดเชื้อยีสต์ได้ นอกจากนั้นแล้วการไม่สวมชุดชั้นในเวลากลางคืน ยังทำให้เพิ่มพื้นที่หายใจและป้องกันความชื้นที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งความชื้นนั้นเป็นสภาพที่เหมาะสมสำหรับการสร้างแบคทีเรีย แต่หากไม่ชอบควมรู้สึกโล่ง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน