สำหรับผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง หากลองปรับเปลี่ยนรูปแบบการกินอาหารและการออกกำลังกายมากขึ้นแล้ว ยังไม่สามารถช่วยปรับระดับคอเลสเตอรอลให้เหมาะสมได้ ก็จำเป็นต้องได้รับยารักษาและควบคุมระดับคอเลสเตอรอล เช่น ยาสแตติน แต่นอกเหนือจากยาชนิดนี้แล้ว ไนอาซิน (Niacin) ก็เป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการเพิ่มระดับ HDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดดี และลดระดับ LDL หรือคอเลสเตอรอลไม่ดีได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกกับยาชนิดนี้ให้มากขึ้นกัน
ไนอาซิน (Niacin) คืออะไร
ไนอาซีน (Niacin) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่าวิตามินบี 3 โดยส่วนใหญ่จะถูกผลิตในรูบแบบของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม แต่ก็ถือว่าเป็นยาชนิดหนึ่งมีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมให้ระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร และผิวหนังแข็งทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยาทุกชนิดมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ การใช้ยาไนอาซินจึงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยาไนอาซินที่ขายตามร้านขายยา อาจมีส่วนผสม สูตรยา ผลข้างเคียง และความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ดังนั้น ก่อนซื้อยาไนอาซินจากร้านขายยา และรับประทาน ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชให้ระเอียด เพราะอาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้
ยาไนอาซิน มีประโยชน์อย่างไร
จุดประสงค์หลักของการรักษาคอเลสเตอรอล คือ การลดระดับ LDL ซึ่งหากพิจารณาจากจุดนี้ ถือว่ายาสแตตินให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า แต่หากพิจารณาเรื่องการเพิ่มระดับ HDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดดี ยาไนอาซินอาจมีประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากนี้ยาไนอาซินยังช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย
สรุปคือ ยาไนอาซินอาจเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนบางกลุ่ม เช่น ผู้ที่มีระดับ HDL ต่ำมาก ผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูง ผู้ที่มีปัญหาในการใช้ยาสแตติน เช่น แพ้ยา แม้ว่าไนอาซินจะสามารถเพิ่มระดับ HDL ได้ แต่งานวิจัยในปัจจุบันก็แสดงให้เห็นว่า การรับประทานไนอะซินไม่สามารถลดอัตราเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือการเสียชีวิตได้
ความเสี่ยงเมื่อใช้ยาไนอาซินมากเกินไป
ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของการรับประทานยาไนอาซิน คือ ทำให้ผู้ที่รับประทานอาจเกิดรอยแดงรุนแรง โดยเฉพาะบนใบหน้าและร่างกายท่อนบน รอยแดงที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพ ผ่านไปสักพักก็จะหายไปเอง รอยแดงนี้ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนหยุดใช้ยาไนอาซิน เพราะรู้สึกว่าส่งผลกระทบกับรูปลักษณ์นั่นเอง
การใช้ยาไนอาซินในปริมาณมาก สามารถก่อให้เกิดภาวะท้องไส้ปั่นป่วน และอาการคันตามผิวหนัง ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอาการต่าง ๆ ได้แก่
- ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- การติดเชื้อ
- ตับเสียหาย
- โรคหลอดเลือดสมอง
- การตกเลือด
ทางเลือกอื่น ๆ ในการเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ต่อไปนี้ นอกจากจะช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีให้กับร่างกายได้แล้ว ยังทำให้สุขภาพโดยรวมแข็งแรงขึ้น จึงลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ด้วย
- เลิกสูบบุหรี่
- กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณที่เหมาะสม
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
[embed-health-tool-bmi]