โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เกิดจากการที่เนื้อเยื่อของหัวใจบวม จะเป็นถุงหุ้มรอบ ๆ หัวใจ จนส่งผลให้คุณมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น ปวดกระดูกไหล่ซ้ายลามไปถึงคอ ขาบวม อย่างไรก็ตาม โรคเยื่อหุ้มหัวใจยังแบ่งออกได้อีกหลายประเภทด้วยกัน ที่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามารู้จักกับ ประเภทของโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ พร้อมสาเหตุที่ทำให้เยื่อบุหัวใจคุณอักเสบ กัน
สาเหตุที่ทำให้คุณเป็น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
บางครั้งแพทย์ก็อาจไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ได้ชัดเจน แต่เบื้องต้นนั้นอาจเป็นผลกระทบที่ได้รับมาจากสภาวะต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับสุขภาพหัวใจร่วม ดังนี้
- ภาวะหัวใจวาย
- เคยรับการผ่าตัดแก้ไขปัญหาของหัวใจบางอย่าง
- การติดเชื้อบริเวณรอบ ๆ หัวใจ
- ผลกระทบจากโรคเอดส์ วัณโรค โรคมะเร็ง
- โรคภูมิแพ้ตัวเองที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคลูปัส และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- อาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
- ยารักษาบางชนิด เช่น กลุ่มยาต้านอาการชัก ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
- การฉายรังสีรักษาโรค
ประเภทของโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ มีอะไรบ้าง
โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ บางครั้งก็สามารถหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน หรือหลายสัปดาห์โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่ถึงอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเยื่อหุ้มหัวใจที่คุณเป็นดังต่อไปนี้ร่วมด้วย เพราะหากคุณจัดอยู่ในประเภทที่ส่งผลความรุนแรงก็อาจต้องดำเนินการรักษาในทันที
-
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน
ส่วนใหญ่มักทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างกะทันหัน ในระหว่างที่คุณมีการหายใจเข้า หรือนอนราบ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย
-
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรัง
เชื่อกันว่า โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ประเภทเรื้อรังนั้น มักเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่แอนติบอดีในร่างกายคุณจะโจมตีทำลายเซลล์เนื้อเยื่อของตนเอง จนเกิดเป็นอาการที่คุณสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ นั่นก็คือ อาการเหนื่อยล้า หายใจลำบาก ไอ ที่มีระยะเวลานานถึง 6 เดือน
-
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบกำเริบ
เป็นประเภทที่มีผลจากการที่คุณมีอาการของโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบอยู่ซ้ำ ๆ ไม่จบสิ้น จนร่างกายของคุณเริ่มอ่อนแอลง
-
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบและตีบ
เมื่อ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ทำให้ชั้นเยื่อหุ้มหัวใจหนาขึ้น จนอาจก่อให้เกิดแผลเป็น และเนื้อเยื่อเริ่มบีบรัดหัวใจภายในช่องทรวงอก ส่งผลจำกัดการทำงานของหัวใจ หรือลดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลง
-
ของเหลวในช่องเนื้อเยื่อหุ้มหัวใจเกิน
ปกติในเนื้อเยื่อหุ้มหัวใจของคนเรา จะเต็มไปด้วยของเหลวประมาณ 20-50 มิลลิลิตร แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะไทรอยด์ต่ำ ภาวะไตวาย ก็อาจมีการสะสมของเหลวนี้ได้มาก และไม่แสดงอาการผิดปกติขึ้นจนกว่าจะมีการถูกบีบอัดของอวัยวะภายในช่องท้อง ทำให้คุณรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน
-
เยื่อหุ้มอักเสบจากไวรัส
สามารถเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายของคุณรับไวรัสคอกแซกกี้ เอ (Coxsackie Virus A) โรคมือเท้าปาก และไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่เข้ามา จนลุกลามทำลายระบบทางเดินหายใจส่วนบน เมื่อไหร่ที่คุณรู้สึกว่าตนเองเหมือนมีไข้ หายใจไม่อิ่ม ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดจากแพทย์ในทันที เพราะเป็นไปได้ว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ จากเชื้อไวรัสอยู่
สัญญาณเตือน โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ที่ควรเข้าพบคุณหมอ
เนื่องจากเ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพหัวใจ ดังนั้น หากคุณมีอาหารเจ็บหน้าอกขณะหายใจเข้า นอนราบ และอาการใจสั่น ควรเข้าขอรับการวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเบื้องต้นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที เพื่อให้แพทย์ได้เลือกเทคนิคการทดสอบได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ทรวงอก การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) เป็นต้น ก่อนรับยารักษาตามอาการ
[embed-health-tool-heart-rate]