backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) กับความรู้พื้นฐานที่ควรรู้เอาไว้

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์สุรพงษ์ หล่อสมฤดี · สุขภาพ · คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 09/05/2022

หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) กับความรู้พื้นฐานที่ควรรู้เอาไว้

หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถรองรับการทำงาน และไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวจะทำให้เลือดลำเลียงไปทั่วร่างกาย และผ่านทางหัวใจในอัตราที่ช้าลง เนื่องจากปริมาณเลือดที่ไม่เพียงพอ ห้องหัวใจอาจมีการตอบสนองโดยการขยายตัวออกเพื่อเติมเลือดให้มากขึ้น แต่อาจส่งผลให้ผนังหัวใจมีความแข็ง และความหนาตามไปด้วย

คำจำกัดความ

หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) คืออะไร

หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้อธิบายหัวใจที่ไม่สามารถรองรับการทำงาน และไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จะทำให้เลือดลำเลียงไปทั่วร่างกาย และผ่านทางหัวใจในอัตราที่ช้าลง เนื่องจากปริมาณเลือดที่ไม่เพียงพอ ห้องหัวใจอาจมีการตอบสนองโดยการขยายตัวออกเพื่อเติมเลือดให้มากขึ้น แต่อาจส่งผลให้ผนังหัวใจมีความแข็ง และความหนาตามไปด้วย

ในการขยายตัวของห้องหัวใจอาจช่วยรักษาการไหลเวียนของเลือดได้ แต่ในท้ายที่สุดแล้วกล้ามเนื้อหัวใจจะอ่อนแอลงไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวใจล้มเหลว พบได้บ่อยเพียงใด

หัวใจล้มเหลวอาจพบได้ทั่วไป และมีความรุนแรงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล อีกทั้งยังสามารถส่งผลได้ทุกวัย ในปัจจุบัน หัวใจล้มเหลวไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจจัดการได้โดยการลดความเสี่ยง

อาการ

อาการของหัวใจล้มเหลว

อาการทั่วไปของหัวใจล้มเหลวอาจได้แก่

  • หายใจลำบากในระหว่างทำกิจกรรมหรือพักผ่อน
  • อ่อนเพลียมาก
  • มีอาการบวมที่เท้า ข้อเท้า กระเพาะอาหาร หรือบริเวณหลังส่วนล่าง
  • มีอาการบวมมากขึ้นที่เท้า ขา ข้อเท้า และท้อง
  • ไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้
  • ไอในเวลากลางคืน
  • มึนงงหรือกระสับกระส่าย
  • มีภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
  • เจ็บหน้าอก
  • หัวใจเต้นเร็ว (มากกว่า 120/นาที ในขณะที่พักผ่อน)

สาเหตุ

สาเหตุของหัวใจล้มเหลว

สาเหตุทั่วไปบางประการของหัวใจล้มเหลวที่ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ อาจมีดังนี้

  • โรคเบาหวาน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของหัวใจล้มเหลว

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โดยเฉพาะพฤติกรรมที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อาจมีดังนี้

  • การรับประทานอาหารที่มีไขมัน คอเลสเตอรอล และโซเดียมในปริมาณสูง
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือการใช้สารเสพติด
  • ยารักษามะเร็งบางชนิด

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยหัวใจล้มเหลว

เพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลว คุณหมออาจถามคำถามเกี่ยวกับอาการและประวัติสุขภาพ เพื่อต้องการทราบข้อมูลบางอย่าง ได้แก่

  • ภาวะเกี่ยวกับสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูง คอเรสเตอรอลสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และอาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจอื่น ๆ หรือไม่ มีการใช้สารเสพติดหรือไม่
  • ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • สูบบุหรี่หรือใช้ยาสูบหรือไม่
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่และดื่มมากเท่าใด
  • เคยได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือไม่
  • ยา วิตามิน อาหารเสริม ที่กำลังใช้อยู่ปัจจุบัน

จากนั้นจึงจะทำการตรวจอย่างละเอียดในขั้นตอนถัดไปด้วยเทคนิคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเลือด การตรวจเอกซเรย์หน้าอก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) เป็นต้น

การรักษาหัวใจล้มเหลว

ปัจจุบันนี้ หัวใจล้มเหลวยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจมีการรักษาต่าง ๆ เพื่อควบคุมไม่ให้มีอาการรุนแรง และช่วยควบคุมความดันโลหิตเท่านั้น โดยคุณหมอจะกำหนดยารักษาตามอาการ หรือโรคเป็น ดังนี้

  • ยากลุ่ม Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors
  • ยากลุ่ม Angiotensin II receptor blockers
  • ยากลุ่ม Beta blockers
  • ยาขับปัสสาวะ
  • ยากลุ่ม Aldosterone antagonists
  • ยากระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว (Inotropes)

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองที่ช่วยจัดการภาวะหัวใจล้มเหลว

คุณหมออาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับไลฟ์สไตล์ เพื่อนำไปปรับใช้และอาจช่วยป้องกันการเกิดอาการรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลว ดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พยายามเลิก หรือลดการสูบบุหรี่
  • จัดการความเครียด
  • รักษาน้ำหนักของร่างกายอย่างเหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • จำกัดการบริโภคคอเลสเตอรอล

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์สุรพงษ์ หล่อสมฤดี

สุขภาพ · คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 09/05/2022

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา