backup og meta

หัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว มีสาเหตุจากโรคร้ายแรงอะไร มาดูกัน

หัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว มีสาเหตุจากโรคร้ายแรงอะไร มาดูกัน

ไม่ใช่ว่าใครก็ได้ที่จะเผชิญกับ หัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว แบบเฉียบพลัน แต่หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่กำลังมีภาวะนั้น ก็สามารถคาดเดาได้ว่าอาจมีโรคร้ายแรงบางอย่างเข้ามาแทรกซ้อน จนส่งผลให้การทำงานของหัวใจขวาล่างผิดปกติขึ้น เรามาดูกันดีกว่าว่าจะมีโรคใดบ้างที่จะสร้างผลเสียต่อสุขภาพหัวใจ จนอาจนำไปสู่ ภาวะหัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว ในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากวันนี้

โรคร้ายแรงที่ทำให้ หัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว

หัวใจห้องล่างขวา เป็นหนึ่งในสี่ห้องของหัวใจที่ตั้งอยู่ด้านล่างขวา ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและออกซิเจนไปยังปอดโดยผ่านหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ การที่ผู้ป่วยเผชิญกับ ภาวะหัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว อาจเป็นไปได้ว่า อาจจะมีโรคร้ายแรงหรือภาวะบางอย่างที่ส่งผลเชิงลบไปยังทำงานของหัวใจโดยตรง ดังต่อไปนี้

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ คือ โรคที่มักจะเป็นสาเหตุหลักในการเกิด ภาวะหัวใจห้องล่างขวาล้มเหลว เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ มักจะมีคราบจุลินทรีย์เข้ามาอุดกั้นภายในหลอดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อของหัวใจทำงานได้ช้า และหยุดลงในที่สุด

  • ความดันโลหิตสูง

ยิ่งเรามีความดันโลหิตสูงมากเท่าไหร่ หัวใจก็ยิ่งต้องทำงานหนักขึ้นมากเท่านั้น จนสุดท้ายอาจส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และระบบการทำงานอื่น ๆ จนทำให้หัวใจคุณเกิดอ่อนแรง และล้มเหลวในที่สุด

  • โรคปอดเรื้อรัง

โรคปอดเรื้อรัง เป็นโรคที่สืบเนื่องมาจากการความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดแดง ส่งผลให้ปอดอาจมีการทำงานหนักขึ้น และส่งผลให้หัวใจห้องล่างขวาที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน ต้องทำงานหนักมากขึ้นตามไปด้วย หากปล่อยทิ้งเอาไว้เป็นระยะเวลานาน ก็อาจทำให้เกิด ภาวะหัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว ในที่สุด

  • เยื่อหุ้มหัวใจตีบ

เยื่อหุ้มหัวใจมีลักษณะคล้ายกับพังผืดอยู่รอบ ๆ หัวใจ เมื่อใดที่เยื่อหุ้มหัวใจนี้เกิดการอักเสบ จนเกิดอาการบวมหนาขึ้น ก็อาจทำให้หัวใจไม่สามารถขยายตัวเพื่อสูบฉีดเลือดได้ตามปกติ และส่งผลให้เกิด ภาวะหัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว ได้

นอกเหนือจากภาวะต่าง ๆ ทางสุขภาพที่กล่าวมานั้น อาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่สามารถทำให้หัวใจห้องขวาล่างล้มเหลวอีกได้ หากคุณต้องการทราบสาเหตุในการเกิดโรคให้แน่ชัดแล้วละก็ โปรดเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์โดยตรงจะดีที่สุด

อาการที่เกิดขึ้นเมื่อเกิด ภาวะหัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว

ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการของ ภาวะหัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว ที่แตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว คุณสามารถสังเกตตนเองได้เบื้องต้นได้จากสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้ได้

  • หายใจยากลำบาก
  • เส้นเลือดบวม
  • รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย
  • มีการสะสมของเหลวในช่องท้อง
  • เป็นลมหมดสติ
  • วิงเวียนศีรษะ
  • รู้สึกไม่อยากอาหาร
  • เจ็บหน้าอก
  • มีเหงื่อออกปริมาณมาก
  • อุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลง

แนวทางการรักษา ภาวะหัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว

การรักษา ภาวะหัวใจห้องขวาล่างล้มเหลว นั้นยังไม่มีวิธีการรักษาที่ตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยว่า ควรจะได้รับเทคนิคการรักษาแบบใด ยกตัวอย่าง หากภาวะหัวใจห้องล่างขวาล้มเหลวนั้นเกิดขึ้นจากปัญหาความดันในเลือดสูง แพทย์อาจทำการให้ยาลดความดัน เป็นต้น

แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจจากผู้บริจาค เพื่อเปลี่ยนเป็นหัวใจใหม่ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่าอาจเป็นตัวเลือกสุดท้ายของการรักษาที่แพทย์จะพิจารณานำเข้ามาใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องขวาล่างล้มเหลวก็ว่าได้

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Right-side Heart Failure? https://www.webmd.com/heart-disease/heart-failure/right-sided-heart-failure . Accessed April 26, 2021

Right-Sided Heart Failure https://www.umcvc.org/health-library/tx4093abc . Accessed April 26, 2021

What Is Right-Sided Heart Failure? https://www.verywellhealth.com/right-sided-heart-failure-causes-and-treatment-4141662 . Accessed April 26, 2021

Right ventricle. https://radiopaedia.org/articles/right-ventricle#:~:text=The%20right%20ventricle%20(RV)%20is,open%20tricuspid%20valve%20(TV). Accessed April 26, 2021

How the Heart Works https://www.cdc.gov/ncbddd/heartdefects/howtheheartworks.html . Accessed April 26, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/06/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร

เคล็ดลับการกำหนดอาหารสำหรับ ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 18/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา