backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased Intracranial Pressure หรือ ICP)


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 23/08/2021

ความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased Intracranial Pressure หรือ ICP)

ความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased Intracranial Pressure หรือ ICP) เป็นภาวะที่อาจส่งผลให้มีการเพิ่มแรงดันเข้าไปในบริเวณโดยรอบของสมอง ซึ่งถือว่าอาจเป็นภาวะที่ค่อนข้างอันตรายอย่างมาก เพราะเป็นการเสี่ยงทำให้ระบบประสาท และเซลล์ต่าง ๆ ถูกทำลายได้

คำจำกัดความ

ความดันในกะโหลกศีรษะสูง คืออะไร

ความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased intracranial pressure หรือ ICP) เป็นการเพิ่มขึ้นของแรงดันโดยรอบสมอง ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณของเหลว เช่น อาจมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นของน้ำหล่อเลี้ยงสมอง และไขสันหลัง (Cerebrospinal Fluid) นอกจากนี้ ความดันในกะโหลกศีรษะสูง ยังหมายความว่า เนื้อเยื่อสมองอาจมีอาการบวมจากการบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วย เช่น โรคลมชัก (Epilepsy) ได้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งโรคนี้ยังพบได้กับทุกเพศทุกวัย เรียกได้ว่าความดันในกะโหลกศีรษะสูง เป็นภาวะอันตรายถึงอาจถึงแก่ชีวิตได้ หากสังเกตพบความผิดปกติใด ๆ โปรดแจ้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ทราบในทันที

อาการ

อาการของ ความดันในกะโหลกศีรษะสูง

อาการทั่วไปของความดันในกะโหลกศีรษะสูง ได้แก่

  • ปวดศีรษะ (Headache)
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ความสามารถทางจิตใจต่ำ
  • มึนงงเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และผู้คน เมื่อความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้นอีก
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • ลูกตาไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของแสง
  • หายใจตื้น
  • ชัก (Seizures)
  • ไม่รู้สึกตัว
  • โคม่า (Coma)

อาการในข้างต้นนี้ อาจแสดงให้เห็นถึงภาวะรุนแรงอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เนื้องอกในสมอง (Brain tumor) หรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head Injury)

สัญญาณเตือนของ ความดันในกะโหลกศีรษะสูง ในทารก

ความดันในกะโหลกศีรษะสูงในทารกเกิดจากการบาดเจ็บ เช่น การตกจากเตียง หรือเป็นสัญญาณเตือนของการกระทำทารุณต่อเด็ก (child abuse) ที่เรียกว่ากลุ่มอาการ shaken baby syndrome ซึ่งเป็นภาวะหนึ่งที่เด็กเล็กถูกกระทำอย่างรุนแรง โดยอาการของความดันในกะโหลกศีรษะสูงในทารก อาจคล้ายกับอาการในผู้ใหญ่ แต่อาจสัญญาณเตือนเพิ่มเติมบางประการ ที่มีความเฉพาะสำหรับเด็กทารกที่อายุต่ำกว่า 12 เดือน เนื่องจากแผ่นกระดูกที่ก่อตัวเป็นกะโหลกในเด็ก มีความนุ่มกว่าในเด็กโตและผู้ใหญ่ แผ่นกระดูกอาจแยกตัวออกในทารกที่มีความดันในกะโหลกศีรษะสูง ภาวะนี้เรียกว่า “Separated Sutures Of The Skull’ อีกทั้งความดันในกะโหลกศีรษะสูงยังทำให้เกิดขม่อม ซึ่งเป็นบริเวณอ่อนนุ่มด้านบนสุดของศีรษะเด็กยื่นตัวออกมาได้

สาเหตุ

สาเหตุของความดันในกะโหลกศีรษะสูง

สาเหตุของความดันในกะโหลกศีรษะสูง ได้แก่

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนของความดันในกะโหลกศีรษะสูง

เนื่องจากเป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง จึงอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ร่วมด้วย ดังต่อไปนี้

  • อาการชัก

  • ความเสียหายภายในระบบประสาท

  • เสียชีวิต

  • การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์เสมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัย ดันในกะโหลกศีรษะสูง

    เพื่อวินิจฉัย ความดันในกะโหลกศีรษะสูงนั้น แพทย์ที่ทำการรักษาอาจดำเนินการ ดังต่อไปนี้

    • ประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกาย ซึ่งได้แก่ การตรวจทางประสาท เพื่อตรวจความรู้สึก สมดุล และภาวะทางจิต
    • การเจาะน้ำไขสันหลัง (Spinal Tap) หรือการเจาะหลัง (Lumbar Puncture) ซึ่งวัดแรงดันของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง
    • การตรวจด้วยคอมพิวเตอร์ (Computed Tomography หรือ CT) เป็นการตรวจโดยใช้ภาพถ่ายอวัยวะที่ได้มาตรฐานสูงสร้างโครงสร้างออกมาเป็นภาพถ่ายตามแนวขวางของศีรษะและสมองจากเอกซเรย์
    • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI) เป็นเทคนิคการตรวจจับความเปลี่ยนแปลงที่ละเอียดมากในเนื้อเยื่อสมอง และแสดงให้เห็นรายละเอียดได้มากกว่าการตรวจเอ็กซเรย์ หรือการตรวจด้วยคอมพิวเตอร์

    การรักษาความดันในกะโหลกศีรษะสูง

    การรักษาที่ได้ผลเพื่อลดแรงดัน ได้แก่ การระบายของเหลวผ่านทางเลี่ยง ผ่านรูขนาดเล็กในกะโหลก หรือผ่านทางไขสันหลัง นอกจากนี้ ยาแมนนิทอล (Mannitol) และสารละลาย Hypertonic Saline ยังสามารถลดแรงดันได้โดยออกฤทธิ์ขับของเหลวออกจากร่างกาย เนื่องจาก ความกังวลทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะสูงมีอาการแย่ลง

    การรักษาที่แพทย์อาจเลือกใช้เป็นทางเลือกสุกท้าย ได้แก่

    • การนำส่วนของกะโหลกออก
    • การใช้ยาเพื่อหน่วงนำภาวะโคม่า
    • ทำให้ร่างกายเย็นลง หรือหน่วงนำภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ (Hypothermia)

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐาน

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานที่ช่วยจัดการความดันในกะโหลกศีรษะสูง

    คุณไม่สามารถป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงได้ แต่คุณสามารถป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะได้ โดยให้สวมใส่หมวกนิรภัยเสมอเมื่อขับรถจักรยานยนต์ หรือเล่นกีฬาที่มีการปะทะ หรือใช้แรงมาก คาดเข็มขัดนิรภัยเวลาขับรถ ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ขณธเดินทางไม่ว่าจะระยะทางใกล้ หรือไกลก็ตาม พร้อมกับขับรถด้วยความเร็วตามกฏหมายกำหนด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน

    การหกล้มที่บ้าน ก็เป็นสาเหตุที่พบได้ทั่วไปของการบาดเจ็บที่ศีรษะ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ โปรดระมักระวังเรื่องของการหกล้มโดยรักษาพื้นให้แห้งและสะอาด หากจำเป็นให้ติดตั้งรางสำหรับจับยึด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 23/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา