ไขข้อสงสัย วัคซีนคืออะไร? อันตรายจริงไหม?
วัคซีน คือ สารที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อโรค โดยเลียนแบบการติดเชื้อ ทำให้ร่างกายสามารถจดจำและป้องกันโรคนั้นได้ในอนาคต โดยไม่ต้องป่วยก่อน วัคซีนถือเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุด ช่วยลดอัตราการตายและโรคภัยไข้เจ็บทั่วโลก แต่หลายคนยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยว่าวัคซีนอันตรายจริงหรือไม่ พร้อมอธิบายความเข้าใจผิด ๆ ที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับวัคซีน [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนคืออะไร และทำงานอย่างไร วัคซีนคือสารกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อโรค เพื่อช่วยป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรค โดยเลียนแบบการติดเชื้อ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเรียนรู้ที่จะจดจำและป้องกันโรคในอนาคต โดยที่ไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรคนั้นก่อน ชนิดของวัคซีนสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทตามวิธีการผลิต ดังนี้ วัคซีนชนิดเชื้อตาย ใช้เชื้อโรคที่ตายแล้วเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโปลิโอ วัคซีนพิษสุนัขบ้า วัคซีนชนิดเชื้อเป็น ใช้เชื้อโรคที่ถูกทำให้อ่อนแรงหรือหมดฤทธิ์จนไม่สามารถก่อโรคได้ แต่ยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ เช่น วัคซีนโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน และวัคซีนป้องกันวัณโรค วัคซีนที่ผลิตจากพิษของเชื้อโรค ใช้พิษของเชื้อโรคที่ถูกทำให้หมดฤทธิ์เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น วัคซีนบาดทะยัก และวัคซีนคอตีบ วัคซีนแต่ละชนิดมีวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน แต่ทุกชนิดต้องผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวดเพื่อความปลอดภัย การใช้วัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค นอกจากจะมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรค ช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงมากมาย ยังสามารถช่วยให้สังคมได้รับประโยชน์จากภูมิคุ้มกันกลุ่ม ซึ่งเกิดจากการที่คนส่วนใหญ่ในสังคมได้รับการเสริมภูมิคุ้มกันจากวัคซีน ส่งผลให้โรคบางอย่างมีโอกาสในการแพร่กระจายน้อยลงอีกด้วย วัคซีนอันตรายจริงไหม แม้ว่าการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคจะเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายใจปัจจุบัน แต่หลายคนก็อาจจะมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของการฉีดวัคซีน คิดว่าวัคซีนอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย จริง ๆ แล้ว วัคซีนไม่อันตรายหากใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันล้วนผ่านการทดสอบและการตรวจสอบความปลอดภัยอย่างเข้มงวดก่อนนำมาใช้งานจริง ส่วนผสมในวัคซีน เช่น ไธเมอโรซอล ฟอร์มาลดีไฮด์ หรืออะลูมิเนียม ถูกใช้ในปริมาณต่ำมากและปลอดภัยกว่าปริมาณที่เราพบในชีวิตประจำวันจากอาหาร […]