backup og meta

ดีซ่าน (Jaundice)

ดีซ่าน (Jaundice)

โรค ดีซ่าน (Jaundice หรือ Icterus) เป็นภาวะตกเหลืองบริเวณผิวหนังและตาขาว มีสาเหตุมาจากระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) ในเลือดพุ่งสูงมาก

คำจำกัดความ

ดีซ่าน คืออะไร

โรคดีซ่าน (Jaundice หรือ Icterus) เป็นภาวะตกเหลืองบริเวณผิวหนังและตาขาว มีสาเหตุมาจากระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) ในเลือดพุ่งสูงมาก บิลิรูบินก่อตัวขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัว ร่างกายมักจะกำจัดบิลิรูบินผ่านตับ โดยทั่วไป ตับในเด็กแรกเกิดจะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ซึ่งทำให้บิลิรูบินก่อตัวเร็วกว่าที่ตับจะสามารถกำจัดได้ สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับเช่นกัน

ดีซ่านพบได้บ่อยแค่ไหน

โรคดีซ่านเป็นอาการที่พบได้บ่อย ดีซ่านเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด ดีซ่านมักหายไปเองในเด็กแรกเกิด แต่หากไม่หาย นั่นอาจเป็นสัญญาณของอาการรุนแรงกว่านั้นได้ ซึ่งเราสามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของตัวเอง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของโรค ดีซ่าน

สัญญาณและอาการของภาวะตกเหลืองทางผิวหนังและดวงตาที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ภายในช่องปากมีสีเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเข้มหรือสีน้ำตาล
  • อุจจาระมีสีซีดหรือสีเหมือนโคลน
  • ระดับบิลิรูบินสูง
  • เบื่ออาหาร
  • รู้สึกเหนื่อยและอ่อนแรง

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากคุณมีสัญญาณหรืออาการ ควรเข้าพบคุณหมอทันที

  • ผิวหนังของลูกเป็นสีเหลืองมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • ผิวหนังบริเวณท้อง แขนและขา ดูมีลักษณะออกสีเหลือง
  • ส่วนตาขาวของลูกคุณกลายเป็นสีเหลือง
  • ลูกของคุณดูไม่มีชีวิตชีวา หรือป่วย หรือปลุกแล้วตื่นยาก
  • น้ำหนักของลูกคุณไม่เพิ่มขึ้น หรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
  • ลูกของคุณร้องไห้เสียงดังมาก
  • ลูกของคุณมีสัญญาณหรือเกิดอาการใด ๆ ก็ตามที่คุณกังวล
  • โรคดีซ่านเกิดขึ้นต่อเนื่องมานานกว่า 3 สัปดาห์

ในผู้ใหญ่ ผิวหนังเหลืองอาจเป็นอาการของโรคไตได้ด้วย

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคดีซ่าน

ดีซ่านมีสาเหตุการก่อตัวของบิลิรูบินที่เป็นผลผลิตของเซลล์เม็ดเลือดแดง บิลิรูบินก่อตัวขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัว ร่างกายมักจะขจัดบิลิรูบินผ่านทางตับ เมื่อตับทำงานผิดปกติ ตับจะไม่สามารถกรองบิลิรูบินออกจากเลือดได้ เป็นอาการทั่วไปเมื่อตับเกิดความเสียหายหรือยังไม่เติบโตเต็มที่

บิลิรูบินที่มีระดับสูงมากสามารถส่งผลเสียได้ เช่น ระบบประสาทของเด็กเสียหาย เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีโอกาสในการเป็นดีซ่านมากกว่าเด็กที่คลอดตามกำหนด

สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่

  • การติดเชื้อ
  • กรุ๊ปเลือดที่ไม่ตรงกันของแม่กับเด็ก
  • การป้อนน้ำนมจากเต้า เพราะในบางครั้ง น้ำนมจากเต้า จะรบกวนความสามารถในการขจัดบิลิรูบินของตับในเด็ก ดีซ่านประเภทนี้จะเกิดอาการช้ากว่าประเภทอื่น และสามารถเรื้อรังเป็นเวลาหลายสัปดาห์

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคดีซ่าน

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคดีซ่านมีด้วยกันมากมาย เช่น

  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนด อาจไม่สามารถขจัดบิลิรูบินได้เร็วเท่ากับเด็กที่คลอดตามกำหนด อีกทั้ง การที่เด็กดูดนมหรือขับถ่ายน้อยลง ส่งผลให้การขจัดบิลิรูบินในอุจจาระลดลง
  • รอยฟกช้ำระหว่างการคลอด หากเด็กแรกเกิดได้รับรอยฟกช้ำระหว่างการคลอด เด็กอาจมีระดับบิลิรูบินสูงขึ้นจากเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แตกตัวมากขึ้น
  • หากกรุ๊ปเลือดของแม่เด็กกับเด็กแตกต่างกัน เด็กอาจได้รับภูมิต้านทานผ่านสายรกในครรภ์ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เซลล์เม็ดเลือดแดงของเด็กแตกตัวไวขึ้น
  • ความลำบากในการป้อนนม เด็กที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดหรือไม่ได้รับสารอาหารจากการดูดนมจากเต้าอย่างเพียงพอ มีความเสี่ยงสูงในการเป็นดีซ่าน ภาวะขาดน้ำหรือการบริโภคแคลอรี่น้อย อาจมีส่วนสำคัญต่อการเกิดโรคดีซ่านได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังคงแนะนำการป้อนนมจากเต้า เนื่องจากวิธีนี้ยังมีคุณประโยชน์ การทำให้ลูกของคุณได้รับสารอาหารและของเหลวอย่างเพียงพอถือเป็นสิ่งสำคัญ

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคดีซ่าน

แพทย์จะตรวจเลือดเพื่อเช็คระดับของบิลิรูบิน ซึ่งสำหรับผู้ใหญ่ อาจมีการตรวจเพื่อดูโรคอื่น ๆ ได้แก่

  • ไวรัสตับอักเสบ เพื่อดูการติดเชื้อของตับ
  • การตรวจประสิทธิภาพการทำงานของตับ
  • การตรวจเม็ดเลือดเพื่อดูภาวะเกล็ดเลือดต่ำหรือโรคโลหิตจาง
  • การอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง
  • ทำการซีที สแกน บริเวณช่องท้อง
  • การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP)
  • การเอ็กซเรย์ดูภาพท่อน้ำดี (PTCA)
  • การเจาะตับ
  • ระดับคอเลสเตอรอล
  • การวัดระยะเวลาที่เลือดแข็งตัว (Prothrombin time)

การรักษาโรคดีซ่าน

การรักษาในผู้ใหญ่ เป็นการรักษาที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของการเกิดดีซ่านที่ซ่อนอยู่ แต่สำหรับเด็กส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรักษา

วิธีรักษาที่ดีที่สุด คือ

  • การฉายแสง (Phototherapy)

วิธีนี้ใช้กับเด็ก โดยให้เด็กนอนเปลือยอยู่ใต้แสงไฟฟลูออเรสเซนท์ เด็กจะได้รับผ้าปิดตา เพื่อป้องกันตาระหว่างการรักษา แสงไฟจะช่วยแตกตัวบิลิรูบินที่มีมากเกินไป เพื่อที่จะสามารถกำจัดบิลิรูบินออกได้ง่ายขึ้น

  • ผ้าห่มยูวี (Ultraviolet Blanket)

อาจถูกนำมาใช้ หากมีการเช็กระดับบิลิรูบินในเลือดอย่างต่อเนื่อง การฉายแสงมักจะลดระดับบิลิรูบินลงได้ใน 2 วัน บางครั้งระดับของบิลิรูบินจะเพิ่มขึ้นชั่วคราวหลังการฉายรังสี อาการตกเหลืองอาจคงอยู่ไม่กี่วันหรือแค่ 1-2 สัปดาห์ แม้ว่าระดับบิลิรูบินจะลดลงแล้วก็ตาม

  • การถ่ายเลือด

หากระดับบิลิรูบินสูงมากจนไม่สามารถรักษาได้ด้วยการฉายแสง อาจจำเป็นต้องถ่ายเลือด วิธีนี้จะเป็นการถ่ายเลือดที่มีระดับบิลิรูบินสูงออก และแทนที่ด้วยเลือดอื่น แต่กรณีนี้ค่อนข้างพบได้ยาก

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยรับมือกับโรคดีซ่าน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยคุณรับมือกับโรคดีซ่านได้

  • ป้อนนมลูกบ่อย ๆ วิธีนี้จะช่วยให้เด็กขับถ่ายอุจจาระมากขึ้น ส่งผลให้ลำไส้ดูดซึมบิลิรูบินน้อยลง
  • ไปพบหมอของคุณทันที หากลูกของคุณเกิดดีซ่านกำเริบขึ้นมาอีกครั้ง เพราะนั่นหมายความว่ายังมีปัญหาอื่นซ่อนอยู่ เมื่อดีซ่านในเด็กแรกเกิดหายไปแล้ว มักจะไม่กลับมาอีก

หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ferri, Fred. Ferri’s Netter Patient Advisor. Philadelphia, PA: Saunders / Elsevier, 2012. Print edition. Page 459

Porter, R. S., Kaplan, J. L., Homeier, B. P., & Albert, R. K. (2009). The Merck manual home health handbook. Whitehouse Station, NJ, Merck Research Laboratories. Print edition. Page 214

Infant Jaundice. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/infant-jaundice/basics/lifestyle-home-remedies/con-20019637. Accessed July 14, 2016.

Jaundice. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000210.htm. Accessed July 14, 2016.

Jaundice in Newborns. https://kidshealth.org/en/parents/jaundice.html. Accessed July 14, 2016.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/06/2020

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

7 เคล็ดลับ ให้คุณบอกลา ฟันเหลือง พร้อมเผยรอยยิ้มอย่างมั่นใจ

ตาเหลือง หม่นหมองแบบนี้ เกิดจากอะไรกันนะ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 26/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา