backup og meta

เลือกรองเท้า อย่างไร ให้ปลอดภัยต่อสุขภาพเท้าของคุณ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    เลือกรองเท้า อย่างไร ให้ปลอดภัยต่อสุขภาพเท้าของคุณ

    รองเท้า อาจถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คนเราต้องใช้งานเป็นประจำ สำหรับบางคน รองเท้าเป็นอาจเป็นเสมือนเครื่องประดับอีกหนึ่งชิ้นในชีวิตประจำวันเลยก็ว่าได้ แต่การ เลือกรองเท้า ที่ไม่เหมาะสมก็อาจจะสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน ดังนั้น การเลือกรองเท้าให้เหมาะสมจึงถือเป็นเรื่องที่ควรคำถึงนึงเพื่อสุขภาพเท้าที่ดี บทความนี้ทาง Hello คุณหมอ จึงมีเรื่องนี้มานำเสนอกัน

    เลือกรองเท้าอย่างไร ให้ดีต่อสุขภาพเท้าของคุณ

    มาดูวิธีการ เลือกรองเท้า เพื่อให้ดีต่อสุขภาพเท้าของคุณกันดีกว่า ว่าควรทำอย่างไร เพื่อให้ได้ทั้งรองเท้าและสุขภาพเท้าที่ดี และคุณยังทำสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นการทำลายสุขภาพเท้าของคุณอยู่รึเปล่า

    ไม่เคยวัดเท้าของคุณ

    จำได้ไหมว่าคุณวัดไซส์เท้าครั้งสุดท้ายของตัวเองเมื่อไหร่ ด้วยแรงโน้มถ่วงและน้ำหนักอาจทำให้เท้าของคุณขยายหรือยืดได้ ดังนั้น ควรวัดไซส์อย่างน้อยปีละครั้งเมื่อคุณจำเป็นจะต้องซื้อรองเท้า และอย่าลืมว่าเท้าข้างหนึ่งมักจะมีขนาดใหญ่กว่าเท้าอีกข้างหนึ่งเสมอ จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องวัดไซส์เท้าทั้ง 2 ข้าง ขณะวัดไซส์รองเท้าจำเป็นจำต้องยืนขึ้น และทิ้งน้ำหนักตัวให้เต็มที่ เพื่อจะได้รู้ว่าเท้าของคุณขยายขนาดไหน

    ส้นรองเท้าสูงเกินไป

    จากการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มีอายุมากมักจะชอบสวมรองเท้าส้นสูง ซึ่งมีส้นสูงกว่า  2 เท่าของความสูงตัวเอง การใส่รองเท้าที่มีส้นสูงเกินไปจะทำให้เกิดการเจ็บปวด ทั้งยังทำให้ข้อต่อนิ้วเท้าใหญ่ขึ้นด้วย เพราะรองเท้าส้นสูงไปสร้างแรงกดดันให้กับเท้าของคุณ ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดและข้อเท้าอาจได้รับบาดเจ็บได้ ทางแพทย์แนะนำว่าควรสวมส้นสูงไม่เกิน 2 นิ้วครึ่ง แต่ถ้าเลือกได้ก็พยายามใส่ให้น้อยที่สุด หรือหากจำเป็นต้องใส่ ในวันถัดมาควรเลือกใส่ รองเท้าส้นเตี้ย ที่มีพื้นนุ่มสบาย จะเป็นการดีกว่า

    พื้นรองเท้าไม่จำเป็นจริงหรือ?

    ความจริงแล้วพื้นรองเท้าข้างใน ไม่ได้มีไว้สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องเท้าเท่านั้น แต่มันมีเม็ดเจลที่ช่วยรองรับน้ำหนักขณะยืนได้อีกด้วย ตรงช่วงส้นนั้นมักจะถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อเสริมส้นเท้าของคุณ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นส้นเท้าของคุณก็จะบางลงนั่นเอง ดังนั้นการมีพื้นรองเท้าจึงถือเป็นเรื่องที่จำเป็น ยิ่งคุณเป็นโรคเบาหวาน การไหลเวียนของเลือดไม่ดี หรือมีความกังวลอื่นๆ เกี่ยวกับเท้า ของให้คุณหมอช่วยแนะนำพื้นรองเท้าที่เหมาะกับคุณก็ย่อมได้

    ติดอยู่กับขนาดเท้าเดิมที่เคยวัด

    ถึงคุณจะบอกว่ารองเท้าไซส์นั้นๆ เหมาะกับเท้าคุณแล้ว แต่ความจริงรองเท้าแต่ละยี่ห้อก็จะแตกต่างกันไป แม้รองเท้าจะมีรูปร่าง สีสัน ที่ถูกตาต้องใจคุณ แต่ขอแนะนำว่าให้ลองไปสวมของจริงจะเป็นการดีที่สุด เพื่อดูว่าเมื่อสวมไปแล้วมันสบายเท้าไหม ซึ่งการสวมรองเท้าแล้วสามารถกระดิกนิ้วเท้าได้ทั้งหมด ใส่แล้วรู้สึกสบายส้น นั่นแปลว่ารองเท้านั้นเหมาะกับคุณ สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือ ช่วงส้นเท้าของรองเท้าที่แข็งจนเกินไปอาจทำให้เกิดการกระแทกส้นได้ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อกระดูกช่วงส้นเท้าได้ด้วย

    ใส่รองเท้าที่มีสภาพดีอยู่เสมอ

    แม้ว่าคุณจะเก็บรักษารองเท้าเอาไว้เป็นอย่างดี แต่ถ้าเปิดออกมาแล้วพบว่ารองเท้าของคุณกลายเป็นรู ถึงแม้จะเป็นรูที่ไม่มีใครสังเกตเห็น ควรทิ้งมันไป แม้จะเป็นรองเท้าคู่โปรดของคุณมากแค่ไหนก็ตาม เพราะรองเท้าที่ถูกเก็บเอาไว้นานจนเป็นรู เมื่อสวมแล้วพื้นรองเท้ามันอาจจะทรุดตัว ทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพเท้าได้ แต่ก็มีข้อยกเว้นที่คุณอาจจะยังพอทำใจได้อยู่ นั่นก็คือ หากรองเท้ายังอยู่ในสภาพดี และมีปัญหาเพียงเล็กน้อย เช่น รองเท้ามีรอยขีดข่วน คุณสามารถนำรองเท้าไปซ่อมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่เน้นย้ำว่าถ้ารองเท้ามีรูแล้ว ทางที่ดีที่สุดคือการทิ้งมันไป

    อย่าคิดว่าจะใส่รองเท้าได้

    เมื่อคุณลองรองเท้าแล้วมีความรู้สึกเกิดขึ้นว่า “มันแน่นจนเกินไป” อย่าพยายามใส่มัน เพราะรองเท้าใหม่ๆ ที่คุณเลือกซื้อ ควรเป็นรองเท้าที่ใส่สบาย นอกจากนั้นแล้วการลองก่อนซื้อควรสวมถุงเท้าเข้าไปด้วย เพื่อจะได้ดูว่ามันพอดีกับเท้าของคุณและสวมใส่สบายหรือไม่ แต่สำหรับรองเท้าที่ใส่และคับแน่น แนะนำว่าให้เลือกคู่อื่นจะเป็นการดีที่สุด ไม่เช่นนั้นมันอาจจะทำให้คุณเกิดความเจ็บปวด และอาจเป็นอันตรายได้

    อย่าใส่แต่รองเท้าสีดำ

    แม้สีดำจะเป็นสีที่สามารถเข้าได้กับทุกชุด และเหมาะสำหรับหลากหลายโอกาส แต่รองเท้าของคุณก็ควรจะมีสีอื่นบ้าง หรือแม้กระทั่งลวดลายก็จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ ทั้งยังทำให้คุณรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้นอีกด้วย ลองพักสมองจากรองเท้าสีดำที่ซ้ำซากจำเจ แล้วเปลี่ยนสไตล์ไปลองอะไรที่ใหม่ๆ ดูบ้างก็ถือเป็นเรื่องที่ดี

    สวมถุงเท้าตลอดเวลา

    แม้ถุงเท้าจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับรองเท้าหลากหลายประเภท รวมไปถึงอาจจะช่วยส่งเสริมเรื่องการแต่งตัว แต่บางครั้งรองเท้าของคุณอาจจะไม่เหมาะกับถุงเท้าเสมอไปก็ได้ อย่างบางคู่สวมแล้วอาจจะดูดีกว่าในขณะที่เท้าเปลือย แต่การสวมถุงเท้ากับรองเท้าแตะนั้นถือเป็นเรื่องที่ไม่เข้ากันเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

    สวมรองเท้าที่ไม่ได้ขนาดเท้า หรือใหญ่เกินไป

    ในความเป็นจริงทุกคนรู้ดีว่าการสวมรองเท้าที่เหมาะสมกับตัวเองนั้นเป็นอย่างไร แต่ก็ยังมีคนส่วนมากที่คิดว่าการสวมรองเท้าที่ใหญ่กว่าเท้าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง สิ่งที่ถูกต้องก็คือการเลือกรองเท้าให้พอดีกับเท้าของคุณ เพื่อสุขภาพเท้าที่ดี ทั้งยังทำให้คุณดูเป็นมืออาชีพอีกด้วย

    ซื้อรองเท้าผิดเวลา

    มีหลายคนที่มักจะชอบดูรองเท้าในช่วงเช้าแล้วซื้อกลับมา แต่เมื่อถึงช่วง 5 โมงเย็นกลับมาลองอีกครั้งกลับรู้สึกว่ามันเล็กเกินไป นั่นก็เป็นเพราะเท้าของคุณเริ่มบวมในตอนเช้าและจะไปหยุดบวมเมื่อเวลา 4 โมงเย็น ความจริงแล้วการซื้อรองเท้าควรเลือกซื้อรองเท้าในช่วงเย็นถึงจะเหมาะสมที่สุด

    เลือกรองเท้าผิดประเภทกับกีฬา

    การเลือกรองเท้าให้ถูกกับประเภทกีฬาก็ถือเป็นอีกเรื่องที่จำเป็นจะต้องคำนึงถึง เนื่องจากรองเท้าแต่ละชนิดนั้นจะรองรับการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกัน อย่างนักวิ่งก็ต้องการรองเท้าที่ช่วยลดแรงกระแทก ดังนั้น ถ้าคุณเป็นคนที่เล่นกีฬาอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ การเลือกรองเท้าให้เหมาะกับประเภทกีฬาจึงถือเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะหากคุณสวมใส่รองเท้าผิดประเภท อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บตามมาได้

    สำรวจช่องโค้งที่ฝ่าเท้า

    การสำรวจช่องโค้งที่ใต้ฝ่าเท้าของตัวคุณเอง สามารถบอกได้เช่นกันว่าคุณควรเลือกสวมใส่รองเท้าประเภทไหน วิธีง่ายๆ ก็คือการแช่เท้าในน้ำแล้วนำเท้ามาวางบนกระดาษแข็ง เพื่อดูรอยโค้งของฝ่าเท้า

    • ถ้าตรงกลางของฝ่าเท้าเต็มไปครึ่งหนึ่ง นั่นถือว่าช่องโค้งของเท้าคุณนั้นเป็นเรื่องปกติ
    • หากมีช่องโค้งนิดหน่อย นั่นแหละว่าคุณมีเท้าที่แบน ดังนั้นควรมองหารองเท้าที่จะช่วยเหลือการเดินของคุณให้ดีขึ้นจะเป็นการดีที่สุด
    • มีช่องโค้งที่สูง คุณควรหารองเท้าที่ช่วยรับแรงกระแทกได้ดีเป็นพิเศษมาสวมใส่ เพื่อเป็นการช่วยลดแรงกระแทกของเท้าคุณกับพื้น

    Hello Health Groupไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา