เหตุฉุกเฉินในบ้าน นอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายทางทรัพย์สินแล้ว ยังอาจนำมาสู่อันตรายต่อผู้อยู่อาศัยที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่การบาดเจ็บเล็กน้อยไปจนถึงการเสียชีวิต ดังนั้น การวางแผนเพื่อรับมือเหตุฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นจึงถือเป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอย่างมาก แล้วถ้าหากว่ามีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นในบ้านแบบไม่ทันตั้งตัว ควรจะทำอย่างไรดี วันนี้ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องราวเหล่านี้มาให้อ่านกัน
เมื่อเกิด เหตุฉุกเฉินในบ้าน จะทำอย่างไรดี
การรับมือกับเหตุฉุกเฉินในบ้าน ถือเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมความพร้อมไว้เสมอ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า เหตุฉุกเฉินนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด และถ้าเกิดขึ้นแล้วเราจะรับมืออย่างไรดี ลองมาอ่านคำแนะนำในการรับมือเหล่านี้กัน
ไฟดับ หรือไฟฟ้าขัดข้อง
การอยู่ในที่มืดนั้น ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากมันง่ายต่อการประสบอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ยังไม่สามารถปรับสภาพสายตาได้ นอกจากนั้นยังอาจทำให้สะดุดหกล้มได้อีกด้วย ถ้าหากไฟดับเกินกว่า 4 ชั่วโมง ลองทำตามวิธีเหล่านี้ดู เพื่อการอยู่อย่างปลอดภัย
- ใช้ไฟฉาย อย่าจุดเทียน
- ปิดประตูตู้เย็น
- ตัดการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ไฟฟ้า
- ถอดปลั๊กต่างๆ ที่คุณไม่ได้ใช้ออก
ท่อระบายน้ำอุดตัน
หากท่อระบายน้ำที่บ้านอุดตัน การใช้ลูกสูบเพื่อทำให้ท่อหายอุดตันถือเป็นการดีที่สุด อีกทางเลือกก็คือการเทส่วนผสมของโซดาไฟลงในท่อระบายน้ำ แต่ควรทำอย่างระมัดระวัง แต่ถ้าทำแล้วยังไม่ได้ผล การโทรหาช่างประปาเพื่อขอความช่วยเหลือจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
การสะสมของคาร์บอนมอนออกไซด์
อุปกรณ์บางอย่างในบ้านอาจจะมีส่วนประกอบของก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ประกอบอยู่ ซึ่งก๊าซเหล่านี้สามารถนำไปสู่อันตรายได้ เพราะหากคุณหายใจเอาคาร์บอนมอนออกไซด์เข้าไป มันจะเข้าไปขัดขวางการทำงานของออกซิเจน และทำให้เกิดอาการป่วยได้ โดยอาการที่มักจะพบบ่อยก็คือ เป็นหวัดโดยไม่มีไข้นั่นเอง ดังนั้นคุณควรทำดังนี้
- หาเครื่องมือในการตรวจจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
- ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ก๊าซปีละครั้ง
- พยายามตรวจสอบเตาแก๊ส เครื่องทำน้ำอุ่น และเตาผิงอย่างสม่ำเสมอ
เปลวไฟ (Grease Fire) ในครัว
ไฟในครัวนั้นเรียกว่า ไฟจาระบี (Grease Fire) เป็นไฟที่ห้ามใช้นำในการดับ เนื่องจากจะทำให้เกิดไขมัน วิธีการดับที่ดีที่สุดคือการหาฝาโลหะมาปิดไฟเอาไว้ จนกว่าไฟจะดับ จากนั้นค่อยเปิดฝาออก เพื่อตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ถ้าหากหาฝาไม่ได้จริงๆ การใช้เบกกิ้งโซดาในการช่วยดับไฟก็สามารถทำได้ แต่ต้องทำอย่างระมัดระวัง
แก๊สรั่ว
ความจริงแล้วแก๊สมักจะไม่ได้รั่วบ่อยหนัก แต่ถ้าคุณได้กลิ่นแก๊สที่มีกลิ่นเหมือนไข่เน่า มันอาจจะทำให้คุณป่วย ทั้งยังอาจทำให้เกิดการระเบิดได้อีกด้วย นี่คือสิ่งที่คุณจำเป็นจะต้องทำ เมื่อมีกลิ่นแก๊สรั่ว
- พยายามออกไปข้างนอกทันทีและติดต่อหน่วยกู้ภัย
- อย่าหารอยรั่ว
- ห้ามเปิดหรือปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า
- อย่าสูบบุหรี่ หรืออย่าให้มีเปลวไฟเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียง
ประตูหรือหน้าต่างกระจกแตก
หากในบ้านของคุณมีประตูหรือหน้าต่างที่ชำรุด การแก้ไขโดยเร็วที่สุดถือเป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอย่างมาก พยายามอย่าเปลี่ยนหรือแก้ไขสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวเอง เพราะมันอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บได้ การเรียกช่างซ่อมมืออาชีพมาจัดการให้ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
ชักโครกล้น
โดยปกติแล้วชักโครกจะล้นก็ต่อเมื่อมันไม่สามารถหยุดทำงาน และไม่สามารถระบายได้อย่างถูกต้อง สิ่งที่ควรทำมากที่สุดก็คือการปิดวาล์วที่ด้านหลังของชักโครก พยายามซับน้ำที่ล้นออกมาก่อนที่มันจะสร้างความเสียหายมากขึ้น จากนั้นลองหาสาเหตุของการเกิดเหตุ โดยเริ่มดูจากท่อ คุณอาจจะพบปัญหาอุดตันหรือปัญหาอื่นๆ ที่ทำให้ชักโครกไม่สามารถระบายน้ำได้ก็เป็นได้
แก้วแตก
แม้คุณจะอยู่ในครัวมากแค่ไหนก็ตาม แต่ก็อาจจะทำสิ่งที่จับบ่อยๆ หลุดมือได้ ดังนั้นคุณควรจะต้องระมัดระวังในการทำความสะอาด หรือหยิบจับสิ่งต่างๆ ในครัวให้ดี และเมื่อแก้วแตกควรปฏิบัติ ดังนี้
- ไม่ควรจะไปจับแก้วด้วยมือเปล่า เพราะเศษแก้วอาจจะบาดมือของคุณได้
- ควรใช้กระดาษแข็ง หรือเทปขนาดใหญ่ในการเก็บเศษแก้วเล็กๆ
- ซับหรือเช็ดพื้นให้สะอาดด้วยผ้าเปียก หรือกระดาษที่หนาเป็น 2 เท่า จะปลอดภัยมากที่สุด
ตกบันได
สาเหตุทั่วไปของการเข้าห้องฉุกเฉินมาจากอาการบาดเจ็บหลายๆ ชนิด การตกบันไดนั้นถือเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ซึ่งถ้าหากคุณกำลังทำความสะอาดรางน้ำตรงหลังคาบ้าน ควรจะต้องระมัดระวังดังนี้
- บันไดควรอยู่บนพื้นผิวที่แห้งและมั่นคง
- อย่าให้บันไดอยู่ตรงที่ประตูสามารถเปิดได้
- พยายามอย่ายืนสูงกว่ารางน้ำที่คุณกำลังทำความสะอาดอยู่
เครื่องปรับอากาศเสีย
หากเครื่องปรับอากาศของคุณเริ่มส่งคลื่นความร้อนแทนความเย็นออกมา สิ่งที่ต้องทำก็คือการตรวจสอบและซ่อมแซม นอกจากนั้นควรดูอุณหภูมิในร่างกายตัวเองว่ายังปกติดีอยู่หรือไม่ เพื่อป้องกันความร้อนและช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น นอกจากนั้นคุณควรตรวจสอบพฤติกรรมของตัวเองและทำตามคำแนะนำ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์อาจเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายของคุณ
- ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเย็นวางไว้บนคอ ข้อมือ หรือหลังหัวเข่า
- ดื่มน้ำแข็งบ่อยๆ
- ทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ผักและผลไม้
Hello Health Groupไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]