backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ

1

ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 08/07/2020

ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)

ไส้ติ่งอักเสบ เป็นภาวะเกิดการอักเสบที่ไส้ติ่ง ซึ่งมักไม่มีหน้าที่ที่ชัดเจน แต่เมื่อมีการอุดกั้น สามารถก่ออันตรายต่อร่างกายและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

คำจำกัดความ

ไส้ติ่งอักเสบ คืออะไร

ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) เป็นภาวะเกิดการอักเสบที่ไส้ติ่ง ซึ่งเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีขนาดเล็ก และรูปร่างเหมือนท่อ ติดอยู่กับลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ในบริเวณด้านขวาล่างของช่องท้อง มักไม่มีหน้าที่ชัดเจน แต่เมื่อมีการอุดกั้น สามารถทำให้ก่ออันตรายต่อร่างกาย และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ไส้ติ่งอักเสบ พบได้บ่อยแค่ไหน

ไส้ติ่งอักเสบพบได้บ่อยและสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่มักเกิดขึ้นได้มากที่สุดในผู้ที่มีอายุระหว่าง 10-30 ปี โรคนี้สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของไส้ติ่งอักเสบ

อาการหลักของไส้ติ่งอักเสบคืออาการปวดท้อง ที่เริ่มต้นบริเวณกลางท้องส่วนบนใกล้กับสะดือ จากนั้นอาการปวดมักลุกลามลงไปยังช่องท้องด้านขวาล่าง และการเคลื่อนไหวร่างกาย การไอ หรือการออกแรงอาจทำให้อาการปวดแย่ลง

อาการอื่น ๆ ที่พบ ได้แก่

  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • ท้องผูก หรือท้องร่วง
  • ผายลมไม่ได้
  • ท้องบวม
  • มีไข้ต่ำ
  • หากไม่รีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว และปล่อยไว้จนอาการรุนแรง อาจทำให้ไส้ติ่งแตกและทำให้เกิดการติดเชื้อที่เป็นอันตรายต่อชีวิต

    สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ

    ควรไปพบหมอเมื่อใด

    ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หรือไปโรงพยาบาลทันที หากมีอาการดัง ต่อไปนี้

    • หากสงสัยว่ามีอาการใด ๆ ของไส้ติ่งอักเสบ
    • อาการปวดที่ช่องท้องด้านขวาล่างที่ไม่หายไป
    • ท้องร่วงหรือมีเลือดปนในอุจจาระ
    • ท้องบวมร่วมกับมีไข้
    ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

    สาเหตุ

    สาเหตุของไส้ติ่งอักเสบ

    สาเหตุของไส้ติ่งอักเสบเกิดจากการอุดกั้น โดยสามารถเกิดจากอุจจาระ สิ่งแปลกปลอม หรือมะเร็ง เมื่อเกิดการอุดกั้น แบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนได้ ทำให้ไส้ติ่งบวมและมีหนอง หากไส้ติ่งแตก แบคทีเรียสามารถแพร่กระจายและทำให้เกิดการติดเชื้อในร่างกาย ในผู้ป่วยบางราย ไส้ติ่งอักเสบเป็นอาการตอบสนองต่อการติดเชื้อในร่างกาย

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของไส้ติ่งอักเสบ

    ปัจจัยเสี่ยงสำหรับไส้ติ่งอักเสบมีหลายประการ เช่น

    การไม่มีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่มีโอกาสเป็นโรคนี้ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เป็นข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น คุณควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบ

    เพื่อให้การวินิจฉัยที่เหมาะสม แพทย์อาจทำการทดสอบดังต่อไปนี้

    • การตรวจร่างกายเพื่อประเมินอาการปวด
    • การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาการติดเชื้อ
    • การตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจว่าอาการปวดเกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือนิ่วในไต
    • การตรวจด้วยภาพถ่ายในช่องท้อง เช่น การเอ็กซเรย์ การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง การตรวจซีทีสแกน

    การรักษาไส้ติ่งอักเสบ

    การรักษาไส้ติ่งอักเสบคือการนำไส้ติ่งออกไป ซึ่งมักเรียกว่าการผ่าตัดไส้ติ่ง โดยมักเป็นการผ่าตัดช่องท้องฉุกเฉินที่พบได้มากที่สุด การผ่าตัดไส้ติ่งมีสองประเภทดังต่อไปนี้

    • การผ่าตัดไส้ติ่งโดยใช้กล้อง โดยใช้ท่อ (กล้อง) ขนาดเล็กใส่เข้าไปในช่องท้องและนำไส้ติ่งออกมา
    • การผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิด เป็นการผ่าตัดเปิดช่องท้องส่วนขวาล่างเพื่อนำไส้ติ่งออกมา

    แพทย์มักจะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ ยาแก้ปวด และยาที่ทำให้อุจจาระนิ่มเพื่อบรรเทาอาการท้องผูก

    ในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นเวลา 1 วันหรืออาจกลับบ้านในวันเดียวกันกับที่ผ่าตัด ในกรณีที่อาการรุนแรงมากจนถึงขั้นไส้ติ่งแตก จะต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลนานขึ้น และต้องให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด และแพทย์จำเป็นต้องเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ด้วย

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือกับโรคไส้ติ่งอักเสบ

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับโรคไส้ติ่งอักเสบได้

    ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการไส้ติ่งอักเสบได้ด้วยการรายงานอาการให้แพทย์ทราบโดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับวิธีใช้ยาและการดูแลแผลหลังการผ่าตัด และควรเข้ารับการตรวจซ้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด

    หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 08/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา