สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ความชรา เป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกหนีได้ ทั้งร่างกายและจิตใจของเราจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น และการเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง อาจสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจ และ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

เรื่องเด่นประจำหมวด

สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ผู้สูงอายุเดินออกกำลังกาย มีประโยชน์อย่างไร ทำไมถึงไม่ควรพลาด

การเดินเป็นวิธีรักษาสุขภาพที่ทำได้ง่าย ๆ ไม่สิ้นเปลือง เป็นการออกกำลังกายที่อิสระไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย สามารถทำได้ทุกเพศ ทุกวัย แล้ว ผู้สูงอายุเดินออกกำลังกาย มีประโยชน์อย่างไรบ้าง ไปหาคำตอบกันเลย การเดินออกกำลังกายมีกี่แบบ การเดินออกกำลังกายมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เดินช้า คล้ายเหมือนการเดินเล่นทั่วไป หรือเป็นการเดินแบบจงกรม เดินเร็ว เป็นรูปแบบการเดินที่ง่าย และเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้น Brisk walking คือ การเดินเร็วกว่าการเดินทอดน่องแบบธรรมดา Power Walking คือ การเดินในจังหวะที่เร็วกว่าการเดินปกติ หรือมีการเพิ่มก้าวเดินทีละน้อย โดยแกว่งแขนไปมาขณะเดินไปด้วย เดินแข่ง เดินเร็วจนพูดไม่เป็นคำ พูดคุยกันไม่ได้ศัพท์ เนื่องจากมีความเหนื่อยมากกว่าเดินช้ารวมถึงการเดินเร็ว เพราะมีความรู้สึกการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวข้อง การเดินดีสำหรับผู้สูงอายุหรือไม่ คำตอบคือ ใช่ ผู้สูงอายุเดินออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์ดี ๆ ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะด้านร่างกาย สุขภาพ และสังคม สำหรับผู้สูงอายุที่มีร่างกายแข็งแรงสามารถทำได้ โดยสำหรับผู้เริ่มต้น การเดินนั้นมีแรงกระแทกต่ำ หมายความว่าเป็นวิธีที่ง่ายต่อการออกกำลังกาย สามารถปรับสุขภาพ และ สมรรถภาพทางกายโดยรวม ซึ่งการเดินร่วมกับผู้อื่นก็ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตได้อีกด้วย ถึงแม้ว่าการเดินจะไม่ได้เผาผลาญพลังงานได้มากเท่ากับการออกกำลังกายแบบประเภทอื่น ๆ แต่การเดินก็ถือเป็นการออกกำลังกายเบา ๆ สำหรับผู้สูงอายุ สิ่งสำคัญสำหรับ ผู้สูงอายุเดินออกกำลังกาย […]

หมวดหมู่ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ เพิ่มเติม

สูงวัยอย่างมีพลัง

สำรวจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

แก่ตัวไปอะไร ๆ ก็เสื่อม ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ จะมีอะไรบ้างนะ

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นเรื่องปกติที่ไม่ปกติสำหรับคนที่เรารัก เมื่อคนที่เรารักแก่ตัวลงย่อมมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เข้ามารุมเร้า การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง วันนี้เรามาทำความรู้จัก ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ ที่พบบ่อยเพื่อเตรียมป้องกันก่อนที่จะลุกลามและร้ายแรงขึ้น [embed-health-tool-bmi] ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ ที่พบบ่อย โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) ภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุมีอัตราเพิ่มขึ้นตามอายุ และพบได้มากในผู้สูงอายุทำให้การใช้ชีวิตลำบากยิ่งขึ้น เช่น การขับรถที่ไม่ปลอดภัย การเลือกใช้สิ่งของซึ่งอาจได้รับบาดเจ็บ รวมถึงการจดจำสมาชิกในครอบครัว และสิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือสัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์ เพื่อพร้อมรับมือและสามารถเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อชะลอการลุกลามของโรค ความสมดุลของร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นความสมดุลของร่างกายย่อมลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุของการหกล้มของผู้สูงอายุและเป็นต้นเหตุของอาการบาดเจ็บ การรักษาสมดุลของร่างกายผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจ สุขภาพช่องปาก ในผู้สูงอายุบางคนอาจสูญเสียฟันจนทำให้เกิดปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร การรักษาด้วยฟันปลอมสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุบดเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น และผู้สูงอายุสามารถเกิดโรคเหงือกอักเสบที่นำไปสู่โรคปริทันต์อักเสบ เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลต่อเหงือกและกระดูกรองรับฟัน ดังนั้นควรดูแลช่องปากผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม เข้าพบทันตแพทย์เป็นนประจำเพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก ๆ 6 เดือน เพื่อสุขภาพฟันและเหงือกที่แข็งแรง โรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือดยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดของผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง หัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จำเป็นต้องมีการดูแลสุขภาพหัวใจให้ดีเพราะอาจนำไปสู่ภาวะอื่น ๆ คือการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด เกิดความฝืดของหลอดเลือดทำให้เกิดการอักเสบ เพิ่มความเสี่ยงต่อหลอดเลือดในสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย ความบกพร่องทางสติปัญญา หรืออาจส่งผลต่ออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย โรคข้อเข่าเสื่อมหรือโรคกระดูกพรุน โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุเป็นสาหตุของอาการปวดเรื้อรังและความพิการ โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายและโรคอ้วนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม การรักษาเป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเจ็บปวดได้แต่อาจต้องใช้การผ่าตัดร่วมด้วยในบางคน ซึ่งต้องได้รับการพักฟื้นร่างกายและการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โรคกระดูกพรุนเป็นอีกหนึ่งโรคกระดูกที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เป็นการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกอย่างรุนแรงซึ่งอาจนำไปสู่การแตกหักของกระดูกในอนาคตได้ การตรวจกระดูกเป็นประจำหรือเข้ารับการรักษาจึงเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันการแตกหักของกระดูกได้ การเสริมแคลเซียม วิตามินในอาหารก็อาจช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกได้อีกทางหนึ่ง โรคทางเดินหายใจ ในผู้สูงอายุบางคนอาจเจอปัญหาโรคหอบหืดหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้องรัง (Chronic obstructive pulmonary […]


สูงวัยอย่างมีพลัง

อาหารบำรุงผิวผู้สูงอายุ ที่คุณห้ามพลาดเพราะกินแล้วช่วยให้สุขภาพผิวดี

การเลือกรับประทาน อาหารบำรุงผิวผู้สูงอายุ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับผิวและชะลอความแก่ชราของผิวทั้งริ้วรอยและความแห้งกร้าน เหล่านี้ผู้สูงอายุหรือคนในครอบครัวสามารถทำเองได้ที่บ้าน เพราะปัญหาผิวเป็นเรื่องสำคัญ การรับประทาน อาหารบำรุงผิวผู้สูงอายุ เป็นการบำรุงจากภายในสู่ภายนอก นอกจากได้สุขภาพที่ดีแล้วยังส่งผลดีต่อผิวในระยะยาวอีกด้วย มาเริ่มดูแลผิวผู้สูงอายุด้วย อาหารบำรุงผิวผู้สุงอายุ ได้จากบทความนี้เลย [embed-health-tool-bmi] อาหารส่งผลดีต่อผิวผู้สูงอายุอย่างไร ผิวหนังเป็นบริเวณที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายเป็นเกราะที่คอยปกป้องผิวจากสภาพแวดล้อมและมลภาวะต่าง ๆ นอกจากนั้นผิวยังช่วยปกป้องการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย เมื่ออายุเพิ่มขึ้นผิวหนังย่อมเสื่อมสภาพลงเพื่อรักษาให้ผิวอ่อนเยาว์และสุขภาพดีการรับประทาน อาหารบำรุงผิวผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้สุขภาพผิวแข็งแรง ชะลอความชราของผิว จากภายในสู่ภายนอก และอาหารยังช่วยป้องกันร่างกายจากการรุกรานของริ้วรอยแห่งวัย อีกทั้งยังชะลอความเสื่อมสภาพของผิวหนังลงได้อีกด้วย อาหารบำรุงผิวผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง เมื่ออายุมากขึ้นผิวของคุณจะสูญเสียความชุ่มชื้น ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารเพื่อเสริมเกราะป้องกันผิวและกักเก็บความชุ่มชื่นจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้สูงอายุควรรับประทาน ไขมันดี ไขมันดีในอาหารอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่สามารถพบได้ในปลาแซลม่อน เมล็ดแฟลกซ์บด และวอลนัท ไขมันดีเหล่านี้จะช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ลดริ้วรอยได้ อีกทั้งยังสร้างความแข็งแรงต่อผม ผิวหนังและเล็บ เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวโอ๊ตมีปริมาณน้ำตาลต่ำจึงไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิวและริ้วรอย ข้าวโอ๊ตยังประโยชน์ช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์ผิวและบรรเทาการระคายเคืองของผิวได้อีกด้วย หรือสามารถรับประทานธัญพืชไม่ขัดสีชนิดอื่น ๆ ได้เช่นกัน อะโวคาโด อะโวคาโดเต็มไปด้วยไขมันที่ดีต่อสุขภาพซึ่งช่วยให้ผิวของคุณชุ่มชื้นอยู่เสมอ และไขมันดียังช่วยดูดซึมวิตามินและสารอาหารบางชนิดที่ผิวต้องการได้ หรือสามารถเลือกรับประทาน น้ำมันมะกอก วอลนัท ได้เช่นกัน แซลมอน แซลมอนอุดมไปด้วยไขมันโอเมก้า 3 ที่ดีต่อสุขภาพ ป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งผิวหนังเติบโตและแพร่กระจาย หรือรับประทานเมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย วอลนัท ปลาทู ปลาซาร์ดีน นม ไข่ ก็สามารถเพิ่มไขมันโอเมก้า 3 ได้เช่นกัน อาหารที่มีแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) […]


สุขภาพกายผู้สูงวัย

ดูแลผิวผู้สูงอายุ ยังไง ให้ยังสดใสเปล่งปลั่ง

ควรให้ความสำคัญกับการ ดูแลผิวผู้สูงอายุ เพราะผิวหนังคือด่านแรกที่ช่วยปกป้องคุณจากมลภาวะและสิ่งต่าง ๆ ที่อาจสร้างความบาดเจ็บได้ ยิ่งอายุเพิ่มขึ้นความแข็งแรงของผิวย่อมลดลงการ ดูแลผิวผู้สูงอายุ จึงต้องใส่ใจเป็นพิเศษ และเพื่อให้คุณรู้วิธีการ ดูแลผิวผู้สูงอายุ ได้ดีขึ้น บทความนี้ได้รวบรวมสาระดี ๆ มาฝากคุณแล้วค่ะ [embed-health-tool-bmi] สุขภาพผิวผู้สูงอายุ แน่นอนว่า ผิวหนัง คือส่วนที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายคอยรับมือและปกป้องคุณจากมลภาวะ รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อาจทำร้ายคุณ เมื่ออายุมากขึ้นผิวของคุณจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น ผิวแห้ง ผิวบาง หยาบกร้าน และถูกทำร้ายได้ง่ายขึ้นอีกทั้งยังหายเป็นปกติได้ช้ากว่าในอดีต โดยผู้สูงอายุบางคนอาจมีอาการคัน ผิวเป็นสะเก็ด แห้งกร้าน หรืออาจร้ายแรงไปจนถึง การติดเชื้อและเกิดแผลเปื่อย ซึ่งอาการเหล่านี้อาจส่งผลต่อการเสียชีวิตในผู้สูงอายุได้ ความสำคัญของการดูแลผิวผู้สูงอายุ ผิวของคนเราเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ เมื่อคุณอายุมากขึ้นผิวจะบางลง สูญเสียไขมัน ไม่เต่งตึง อวบอิ่มและเรียบเนียนเหมือนในอดีต ในบางคนผิวอาจบางใสจนมองเห็นเส้นเลือดหรือกระดูกได้ง่ายขึ้น และเมื่อผิวถูกแรงขีดข่วน รอยบาดจากของมีคม หรือโดนกระแทกจนเกิดรอบฟกช้ำอาจใช้เวลานานถึงแผลและรอยต่างๆ จะหายเป็นปกติ ยิ่งคุณออกไปอาบแดดหรือโดนแสงแดดเวลานานอาจทำให้เกิดริ้วรอย ผิวแห้งกร้าน จุดด่างดำ หรือกระทั่งมะเร็งตามมาได้ เพื่อสุขภาพผิวที่ดีคุณอาจใช้วิธี ดูแลผิวผู้สูงอายุ เหล่านี้ได้ วิธี ดูแลผิวผู้สูงอายุ การอาบน้ำเพื่อลดผิวแห้ง ลองเปลี่ยนวิธีอาบน้ำของคุณเพื่อช่วยลดอาการผิวแห้ง คัน ที่อาจส่งผลต่อปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา หยุดใช้สบู่ก้อน ลองเปลี่ยนมาใช่สบู่เหลวที่มีความอ่อนโยน ปราศจากน้ำหอม […]


สุขภาพจิตผู้สูงวัย

ผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า ปัญหาวัยชราที่ไม่ควรละเลย

ภาวะซึมเศร้าเป็นโรคทางอารมณ์ที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง เพราะสามารถส่งผลกระทบต่อความรู้สึก การกระทำ และความคิด ซึ่ง ผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า เป็นปัญหาที่พบบ่อย และยิ่งไปกว่านั้นภาวะซึมเศร้ายังส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้อีกด้วย โดยปัญหาวัยชราเหล่านี้ ผู้ดูแล หรือแม้แต่ลูกหลานก็ไม่ควรละเลย [embed-health-tool-bmi] ผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า เกี่ยวข้องกับอย่างไร ภาวะซึมเศร้านั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ผู้สูงวัยอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่า ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัยพบมากถึง 10-20% ของประชากร และส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ไปอ่านสาเหตุกันต่อได้ที่ด้านล่างกันเลย สาเหตุผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า ในผู้สูงวัยอาจมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย เช่น การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เช่น การสูญเสียคู่ชีวิต หรือคนรัก ออกจากงานเนื่องจากเกษียณ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ชีวิต และวิถีชีวิตอย่างกะทันหัน ไม่ทันต่อเหตุการณ์ การไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับลูกหลาน ยาบางชนิดอาจทำให้มีภาวะอารมณ์เศร้า ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า อาการเตือนของ ผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า อาการเหล่านี้ของผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยและควรสังเกตให้ดี ความรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ โดดเดี่ยว ปวดเมื่อย และมีอาการปวดเรื้อรัง รู้สึกหงุดหงิด กระสับกระส่าย รู้สึกตัวเองไร้ค่า เป็นภาระของผู้อื่น และโทษตัวเองอยู่เสมอ เริ่มมองโลกในแง่ร้าย หรือในด้านลบ มีความคิดอยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย ปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ปัญหาการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงวัย ควรรับมือและช่วยเหลืออย่างไรดี

การสูญเสียการได้ยิน (hearing loss) คือการที่หูข้างเดียวหรือทั้งสองข้างได้ยินเสียงลดลงหรือไม่ได้ยินเสียงใด ๆ เลย เมื่อมีการสูญเสียการได้ยินควรได้รับการชักประวัติในการตรวจการได้ยิน เช่นเดียวกับ ปัญหาการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงวัย ที่ผู้สนทนาควรปฏิบัติอย่างระมัดระวังในการพูดคุย และช่วยเหลือ [embed-health-tool-bmi] ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน การสูญเสียการได้ยินโดยทั่วไปมีสองประเภท คือ การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง (conductive hearing loss) เนื่องจากสาเหตุการอุดตันของรูหู จากขี้หู หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ รวมไปถึง แก้วหูทะลุ พบในผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบ หรือการบาดเจ็บ เช่น ถูกตบหู ของแหลมทิ่มแก้วหู การสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง (sensorineural hearing loss) คือ หูชั้นใน หรือประสาทหูได้รับความเสียหาย โดยสาเหตุนั้นอาจมาจากการได้ยินเสียงที่ดังเฉียบพลัน หรือดังมากกว่า 90 เดซิเบลเป็นเวลานาน การติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ซิฟิลิส รวมไปถึงปัญหาการได้ยินเสื่อมในผู้สูงอายุ อาการของการ ปัญหาการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงวัย การเปลี่ยนแปลงในการได้ยินเป็นเรื่องปกติเมื่อคนมีอายุมากขึ้น ซึ่งสิ่งสำคัญ คือการใส่ใจกับอาการปัญหาการสูญเสียการได้ยินแบบเบื้องต้น ได้แก่ เพิ่มระดับเสียงของโทรทัศน์ หรือวิทยุ หากคนอื่นในบ้านเริ่มบ่นว่าทีวีเสียงดังเกินไป ถึงเวลาตรวจการได้ยินของคุณว่ามีปัญหาในด้านการได้ยิน หรือไม่ เมื่อมีการสนทนาจะขอให้ผู้ร่วมสนทนาพูดช้า ๆ […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ปัญหาการทรงตัวในผู้สูงอายุ สาเหตุและการป้องกัน

ปัญหาการทรงตัวในผู้สูงอายุ สามารถพบได้บ่อยเมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไป และอาการอาจรุนแรงขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาลุกขึ้นกะทันหัน หรือขยับศีรษะเร็วเกินไป  อาจมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และรู้สึกยืนไม่มั่นคง เป็นเหตุที่อาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดการหกล้มและก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ โดยอาจมีหลายสาเหตุที่เป็นปัจจัยในการเกิดปัญหาการทรงตัวในผู้สูงอายุ  ปัญหาการทรงตัวในผู้สูงอายุ อันตรายอย่างไร  ปัญหาการทรงตัวและการหกล้มถือเป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุ เพราะหากผู้สูงอายุสูญเสียการทรงตัว อาจเกิดเหตุการณ์อันตรายต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิดได้ ไม่ว่าจะเป็น การบาดเจ็บทางร่างกาย และอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน มีอาการบ้านหมุน หรือสายตาที่พร่ามัว อย่างไรก็ตามควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อรับการวินิจฉัยว่ามีปัญหาด้านการทรงตัวหรือไม่ และมีสาเหตุอย่างไร เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที  สาเหตุ ปัญหาการทรงตัวในผู้สูงอายุ สาเหตุของการเสียการทรงตัวในผู้สูงอายุ มีหลายปัจจัย โดยอาจเกี่ยวข้องกับสัญญาณหรืออาการที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจประกอบไปด้วย  การเปลี่ยนแปลงตามวัย คือ การเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงานของระบบประสาท และระบบกลไกของสมองส่วนกลาง โดยเฉพาะการสูญเสียเซลล์ประสาทรับสัมผัสของหูชั้นใน หากมีปัญหาทางด้านสุขภาพ เช่น โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาจมีความเสี่ยงที่จะเสียสมดุลมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต โดยการยืนหรือนั่งเร็วเกินไปอาจทำให้ความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ โดยอาการต่าง ๆ อาจหายไปเมื่อความดันโลหิตกลับมาเป็นปกติ  การไหลเวียนของโลหิต เมื่อร่างกายไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การไหลเวียนช้าลง ออกซิเจนไม่สามารถหล่อเลี้ยงไปยังสมอง กล้ามเนื้อ และอวัยวะได้ตามปกติ ซึ่งอาจทำให้เสียการทรงตัว การอักเสบของหูชั้นใน (labyrinthitis) […]


สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

สูงวัยอย่างมีคุณภาพ เคล็ดลับในการเตรียมความพร้อม

ในปัจจุบันเริ่มมีผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น โดยในปี 2564 นี้ ได้มีการประมาณสัดส่วนผู้สูงวัยในช่วง 60 ปีขึ้นไป มีถึง 20 % ของจำนวนประชากรทั้งหมดในไทย และในอนาคตอาจจะเพิ่มขึ้น เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ ให้มีความสุขไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกาย หรือสุขภาพจิต  [embed-health-tool-bmi] เคล็ดลับ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ มีอะไรบ้าง  การเป็นผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ คือการมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี ซึ่งอาจทำได้ดังนี้  การดูแลผิว เมื่ออายุเพิ่มขึ้นผิวพรรณอาจจะเริ่มหย่อนคล้อย และสูญเสียความชุ่มชื่น จึงควรหมั่นใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่อ่อนโยนในการดูแลผิว รวมถึงการดื่มน้ำ 8 แก้วอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อช่วยรักษาสุขภาพผิวและลดสัญญาณริ้วรอยแห่งวัย และทาครีมกันแดดเป็นประจำหากออกไปข้างนอก เนื่องจากรังสียูวีเป็นปัจจัยที่อาจทำให้เกิดริ้วรอย และมะเร็งผิวหนัง  การดูแลสุขภาพปาก ผู้ที่ใช้ฟันปลอมควรดูแล และทำความสะอาดอย่างถูกวิธี เพื่อลดแบคทีเรีย และเชื้อโรคที่อาจอยู่ที่ฟันปลอม และหมั่นหาทันตแพทย์เป็นประจำ คือทุก ๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี  การตรวจสุขภาพ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ควรไปหาคุณหมอ เพื่อเช็คสุขภาพร่างกายอย่างน้อยปีละครั้ง การออกกำลังกาย หากออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ จะช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรงและกระฉับกระเฉง เช่น การเดินอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน […]


สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

กิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ เสริมสร้างความสุขยามสูงวัย

กิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเสริมสร้างความสุขให้กับผู้สูงอายุ เพราะกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ อย่างการร้องเพลง การวาดภาพ ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร นอกจากจะส่งผลดีต่อสุขภาพกายแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวควรประเมินสุขภาพตนเองก่อนเลือกทำกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน  [embed-health-tool-heart-rate] กิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ กิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ คือ กิจกรรมที่ผู้สูงอายุสนใจเลือกทำในเวลาว่าง เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้แบ่งประเภทกิจกรรรมนันทนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้ กิจกรรมประเภทการออกกำลังกาย เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างการเดิน โยคะ การวิ่ง การปั่นจักรยาน  เป็นต้น  กิจกรรมประเภทศิลปะและวัฒนธรรม เช่น เล่นเครื่องดนตรี ชมภาพยนต์  ดูพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์  กิจกรรมประเภทหัตถกรรม เช่น ปั้นเครื่องปั้นดินเผาหรือการเย็บปักถักร้อย กิจกรรมประเภทงานอดิเรก เช่น สะสมแสตมป์ สะสมเหรียญ การสะสมโบราณวัตถุ ร้องเพลง อ่านหนังสือ  กิจกรรมทางสังคม เช่น การพบปะสังสรรค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ไปเยี่ยมญาติหรือเพื่อน  กิจกรรมนันทนาการมีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ อย่างไร กิจกรรมนันทนาการมีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุทั้งทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

วิธีเลือกผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เลือกอย่างไรให้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงหรือไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก แต่ในปัจจุบันผ้าอ้อมผู้ใหญ่มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน วิธีเลือกผ้าอ้อมผู้ใหญ่ จึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและลักษณะการใช้งานเป็นหลัก เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ผ้าอ้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-bmi] วิธีเลือกผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เลือกอย่างไรให้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ทำให้ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระได้ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงหรือมีไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างสะดวก  ในปัจจุบันผ้าอ้อมผู้ใหญ่แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่แบบกางเกง และผ้าอ้อมผู้ใหญ่แบบเทปกาว ซึ่งมี วิธีเลือกผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้  เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ควรเลือกผ้าอ้อมให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน เช่น หากผู้สูงอายุอาศัยอยู่บ้าน ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวมากนัก ควรเลือกผ้าอ้อมแบบซึมซับได้ครั้งเดียว เพื่อลดปัญหาการเกิดกลิ่นอับ แต่ในกรณีผู้สูงอายุที่ต้องเดินทางไกล ไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้บ่อย ๆ ควรเลือกผ้าอ้อมที่มีลักษณะหนา ป้องกันการรั่วซึม และซึมซับได้ดี ความสามารถในการควบคุมการขับถ่าย  ควรเลือกผ้าอ้อมผู้ใหญ่ให้เหมาะสำหรับความสามารถในการควบคุมการขับถ่าย เช่น หากผู้สูงอายุไม่สามารถกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระได้ ควรเลือกผ้าอ้อมที่มีคุณสมบัติหนาเป็นพิเศษ เพื่อให้ซึมซับได้ยาวนานขึ้น ขนาดของผ้าอ้อม ควรเลือกซื้อขนาดผ้าอ้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ใส่แล้วรู้สึกสบาย ไม่คับหรือหลวมเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้ปัสสาวะหรืออุจจาระไหลออกมาด้านนอก ผ้าอ้อมผู้ใหญ่มีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ อย่างไร ผ้าอ้อมผู้ใหญ่มีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้  เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้สูงอายุมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวก ป้องกันการเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากปัญหาการปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด ขณะมีอาการไอ จาม หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ  ลดปัญหาการวิตกกังวลเมื่อไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ ข้อแนะนำในการใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่  ก่อนเปลี่ยนผ้าอ้อมใหม่ทุกครั้งผู้สูงอายุควรทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ รวมถึงบริเวณใกล้เคียง ด้วยน้ำและสบู่สูตรอ่อนโยน หลังจากนั้นให้ทาครีมหรือมอยซ์เจอไรเซอร์เพื่อลดการเกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง […]


สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ลดน้อยลง ทำให้เสี่ยงประสบปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้บ่อยกว่าคนในวัยอื่น ๆ และที่มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาสุขภาพหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างปัญหาสุขภาพที่พบในผู้สูงอายุ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ โรคอัลไซเมอร์ การปรับพฤติกรรมให้ดีต่อสุขภาพอาจช่วยให้ผู้สูงอายุป้องกันการเกิดโรคใหม่และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอยู่เดิมได้ [embed-health-tool-bmi] อายุเท่าไหร่ถึงเรียกว่า ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ (Olderly) หมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่ควรเอาใจใส่เกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากอาจเกิดปัญหาสุขภาพได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่น โดยปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยมักมาจากกลุ่มโรคที่เกิดจากความชราภาพ ทำให้ร่างกายถดถอยและอวัยวะต่าง ๆ เสื่อมลง เช่น สายตาแย่ลง หูตึง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ และกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สะสมมาเป็นเวลานานหลายปี โดยอาจเกิดร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรม นำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ ในวัยสูงอายุ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งการใส่ใจดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกลุ่มหลังหรือลดความรุนแรงของโรคได้ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังอาจมีกลุ่มอาการที่เกิดจากความเสื่อมถอยของสุขภาพในวัยชรา เช่น การหกล้ม อาการหลงลืม นอนไม่ค่อยหลับ เคลื่อนไหวได้ช้าลง ภาวะซึมเศร้า อารมณ์ไม่คงที่ ปัญหาสุขภาพ ผู้สูงอายุ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน