backup og meta

ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ (Septic Arthritis)

ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ  (Septic Arthritis)

ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ  (Septic Arthritis)  คือการติดเชื้อในข้อต่อ เกิดขึ้นเมื่อเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปยังบริเวณข้อต่อหรือของเหลวรอบ ๆ ข้อต่อ ที่เรียกว่า น้ำไขข้อ การติดเชื้อมักเริ่มต้นที่บริเวณส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย และแพร่กระจายผ่านทางเลือดไปยังเนื้อเยื่อข้อต่อ

คำจำกัดความ

ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ  (Septic Arthritis) คืออะไร

ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ  (Septic Arthritis)  คือการติดเชื้อในข้อต่อ เกิดขึ้นเมื่อเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปยังบริเวณข้อต่อหรือของเหลวรอบๆ ข้อต่อ ที่เรียกว่า น้ำไขข้อ การติดเชื้อมักเริ่มต้นที่บริเวณส่วนอื่น ๆของร่างกาย และแพร่กระจายผ่านทางเลือดไปยังเนื้อเยื่อข้อต่อ

อย่างไรก็ตามข้ออักเสบจากการติดเชื้อ  อาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อต่อทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ข้อต่อโดยตรง ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดบวมบริเวณข้อต่อ มีไข้ รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า

พบได้บ่อยเพียงใด

โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อพบได้บ่อยในผู้สูงอายุและเด็กทารก

อาการของข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

อาการของโรคข้ออักเสบติดเชื้อ

อาการของโรคข้ออักเสบติดเชื้อ อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุและยาที่รับประทาน โดยมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดอย่างรุนแรงเมื่อเริ่มเคลื่อนไหว
  • อาการบวมของข้อต่อ
  • ไข้
  • หนาวสั่น
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • ความอยากอาหารลดลง
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • รู้สึกหงุดหงิด

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของข้ออักเสบติดเชื้อ

โรคข้ออักเสบติดเชื้อส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส (Staphylococcus) สเตรปโตค็อคคัส (Streptococcus)  โดยแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

นอกจากนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากขั้นตอนการผ่าตัดหัวเข่า  รวมถึงเชื้อแบคทีเรียกอื่น ๆ ที่ก็ให้เกิดโรคดังกล่าวนี้ เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ บี และซี  เชื้อพาร์โวไวรัส บี 19 เชื้อเอชไอวี (HIV) เชื้อไวรัสอะดีโน เชื้อไวรัสคอกแซกกี้ (Coxsackie virus) เชื้อไวรัสคางทูม และเชื้อราฮิสโตพลาสโมซิส เชื้อราบลาสโตไมโคซิส เป็นต้น

 ปัจจัยเสี่ยงของข้ออักเสบติดเชื้อ

  • เป็นโรคมะเร็ง
  • โรคเบาหวาน
  • สูบบุหรี่
  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • ใช้สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์ที่ผิดกฎหมาย
  • มีบาดแผลเปิด
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
  • โรคลูปัส (Systemic Lupus Erythrematosus; SLE)

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยข้ออักเสบจากการติดเชื้อ  

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและตรวจดูอาการข้อต่อของผู้ป่วย หากมีอาการเข้าข่ายต่อโรคดังกล่าว แพทย์จะตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยวิธีดังนี้

  • เก็บตัวอย่างน้ำไขข้อ ด้วยการสอดเข็มเข้าไปในข้อต่อเพื่อเก็บตัวอย่างน้ำไขข้อ
  • เก็บตัวอย่างเลือด การเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อตรวจเม็ดเลือดขาวว่ามีเชื้อแบคทีเรียอยู่ในกระแสเลือดหรือไม่
  • ทดสอบโดยภาพ การทดสอบเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์เห็นตำแหน่งความผิดปกติได้ชัดเจนขึ้น เช่น การเอกซเรย์ (X-Ray) ตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI) การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan : CT SCAN)  เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear scans)

การรักษาข้ออักเสบจากการติดเชื้อ  

วิธีการรักษาข้ออักเสบจากการติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แพทย์อาจเริ่มต้นด้วยการจ่ายยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งจะได้ผลเร็วกว่าการจ่ายยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง หลังการรักษาด้วยปฏิชีวนะครั้งแรก รวมถึงวิธีการรักษาแบบอื่น ๆ เช่น ใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ กายภาพบำบัด เป็นต้น

ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจทำการระบายน้ำไขข้อด้วยวิธี  อาร์โทรสโคปี้ (Arthroscopy) ซึ่งเป็นเทคนิคการผ่าตัดที่ใช้เครื่องมือเล็ก ๆเจาะรูเข้าไปในข้อ แล้วมองภาพจากกล้องเพื่อดูดของเหลวที่ติดเชื้อออกจากข้อต่อ ทำให้แผลดูเล็ก ช่วยบรรเทาอาการปวด บวม และป้องกันความเสียหายของข้อต่อ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาข้ออักเสบจากการติดเชื้อด้วยการรักษาสุขอนามัย หากมีอาการบาดเจ็บ หรือแผลควรหมั่นล้างทำความสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Septic arthritis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bone-and-joint-infections/symptoms-causes/syc-20350755. Accessed on September 15, 2020.

Septic Arthritis. https://www.webmd.com/arthritis/septic-arthritis-symptoms-diagnosis-and-treatment. Accessed on September 15, 2020.

Infectious (Septic) Arthritis. https://www.healthline.com/health/septic-arthritis. Accessed on September 15, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/09/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

กล้ามเนื้ออ่อนแรง MG และ ALS คืออะไร ต่างกันอย่างไร

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 16/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา