backup og meta

กระดูกหน้าแข้งหัก (Tibia Fracture)

คำจำกัดความอาการสาเหตุปัจจัยเสี่ยงการวินิจฉัยและการรักษาโรคการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

กระดูกหน้าแข้งหัก (Tibia Fracture) อาจมีตั้งแต่รอยช้ำไปถึงความเจ็บปวดอย่างรุนแรงที่บริเวณขาส่วนล่าง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ แพทย์จะตรวจร่างกาย และอาจทำการตรวจบางอย่าง เพื่อให้เห็นภาพของอาการกระดูกหน้าแข้งหัก

กระดูกหน้าแข้งหัก (Tibia Fracture)

คำจำกัดความ

กระดูกหน้าแข้งหัก คืออะไร

แข้งหรือกระดูกหน้าแข้ง เป็นกระดูกใหญ่สองชิ้นบริเวณขาส่วนล่าง ภาวะกระดูกหน้าแข้งหัก (Tibia Fracture) อาจมีตั้งแต่รอยช้ำ ถึงความเจ็บปวดอย่างรุนแรง บริเวณขาส่วนล่าง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ ในการวินิจฉัยอาการดังกล่าว แพทย์จะตรวจร่างกาย และอาจทำการตรวจบางอย่าง เพื่อให้เห็นภาพของอาการกระดูกหน้าแข้งหัก

แพทย์จะแนะนำการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับประเภทของอาการกระดูกหน้าแข้งหัก เวลาพักฟื้นก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการเช่นกัน โดยอาจใช้เวลารักษาสี่ถึงหกเดือน เพื่อให้หายเป็นปกติ

กระดูกหน้าแข้งหักพบได้บ่อยแค่ไหน

อาการกระดูกหน้าแข้งหักเป็นอาการกระดูกหักที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

อาการ

อาการของกระดูกหน้าแข้งหักคืออะไร

อาการทั่วไปของกระดูกหน้าแข้งหัก ได้แก่

  • ความเจ็บปวดอย่างรุนแรง บริเวณขาส่วนล่าง
  • เดิน วิ่ง หรือเตะขาลำบาก
  • ขาชา หรือเป็นเหน็บ
  • ขาข้างที่บาดเจ็บไม่สามารถรับน้ำหนักได้
  • ขาส่วนล่าง เข่า หรือหน้าแข้งผิดรูป
  • กระดูกยื่นออกมาจากผิวหนัง
  • สามารถงอเข่าเข้าได้อย่างจำกัด
  • จุดที่บาดเจ็บมีรอยบวม
  • ขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บเกิดรอยช้ำและผิวซีดลง

เมื่อกระดูกหน้าแข้งหัก กระดูกชิ้นอื่นบริเวณขาส่วนล่าง ที่เรียกว่า กระดูกน่อง มักจะได้รับบาดเจ็บด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสัญญาณ หรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับแพทย์ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ กระดูกหน้าแข้งหัก

สาเหตุของภาวะกระดูกหน้าแข้งหักที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • การชนหรือกระแทกอย่างรุนแรง เช่น ได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ และอาจส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกหน้าแข้งหักที่รุนแรงที่สุด
  • การหกล้ม โดยเฉพาะจากที่สูง โดยเฉพาะเมื่อตกลงมากระแทกพื้นผิวแข็ง โดยอาการกระดูกหน้าแข้งหักลักษณะนี้มักพบบ่อยในนักกีฬา หรือผู้สูงอายุ
  • การเคลื่อนไหวที่ต้องบิดตัว หรือหมุนตัว เช่น การเล่นสโนว์บอร์ด สกี กีฬาที่ต้องปะทะกัน
  • อาการป่วยบางประการ อาจส่งผลให้กระดูกหน้าแข้งหัก เช่น เบาหวานชนิดที่สอง โรคข้อกระดูกอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกหน้าแข้งหัก

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยกระดูกหน้าแข้งหัก

การวินิจฉัยอาการกระดูกหน้าแข้งหักขึ้นอยู่กับประวัติผู้ป่วย รวมถึงประเภทของการบาดเจ็บ แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับโรคอื่นๆ ที่ผู้ป่วยอาจเป็นอยู่ หรือยาที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่

การตรวจร่างกาย เพื่อวินิจฉัยภาวะกระดูกหน้าแข้งหัก ได้แก่

แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจด้วยการเอ็กซเรย์ หรือการถ่ายภาพ เช่น การใช้ซีทีสแกน โดยการเอ็กซเรย์จะช่วยยืนยันการหักของกระดูก และหาว่าเข่าหรือข้อต่อกระดูกข้อเท้าหักด้วยหรือไม่

หลังจากดูผลเอ็กซเรย์แล้ว หากแพทย์สงสัยว่า เข่าหรือข้อต่อกระดูกข้อเท้าหักด้วยหรือไม่ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ซีทีสแกน เพื่อให้ได้ภาพตัดขวางของขา

การรักษากระดูกหน้าแข้งหัก

ในการรักษาภาวะกระดูกหน้าแข้งหัก แพทย์จะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ร่วมกัน

  • ขอบเขตของอาการบาดเจ็บ พิจารณาปริมาณความเสียหายของเนื้อเยื่ออ่อน
  • สาเหตุของการบาดเจ็บ
  • สุขภาพโดยรวมและประวัติผู้ป่วย
  • ความพึงพอใจส่วนบุคคล
  • การหักบริเวณอื่น เช่น กระดูกน่องหัก

การรักษากระดูกหน้าแข้งหักโดยไม่ต้องผ่าตัด ได้แก่

จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal Injury นักวิจัยกำลังค้นหาการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาการหักของกระดูกโดยการใช้ Bone Morphogenetic Protein หรือโปรตีนในกลุ่มที่ทำให้เกิดการสร้างกระดูก แต่งานวิจัยสำหรับการรักษาดังกล่าวยังคงอยู่ในขั้นเริ่มต้น

ในบางกรณี เช่น กระดูกหน้าแข้งหักแบบแผลเปิด กระดูกหน้าแข้งแตกหักออกมาเป็นชิ้น กระดูกไม่แข็งแรงอย่างมาก แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด

สำหรับการรักษาอาการกระดูกหน้าแข้งหัก หากใช้วิธีรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัดหลายวิธีร่วมกันแล้วไม่ได้ผล อาจต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดที่นิยมใช้เพื่อรักษาอาการกระดูกหน้าแข้งหัก ต่อไปนี้

  • การผ่าตัดแบบใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายใน โดยใช้ตะปูควง โลหะหรือเพลต (plate) เพื่อยึดกระดูกเข้าด้วยกัน
  • การผ่าตัดแบบใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายนอก ที่เชื่อมตะปูควงหรือหมุดในบริเวณที่กระดูกหัก กับแท่งเหล็กภายนอกบริเวณขา เพื่อเสริมความมั่นคง

โดยทั่วไป การรักษาด้วยการผ่าตัดเหล่านี้ มักใช้ร่วมกับกายภาพบำบัด การออกกำลังกายที่บ้าน และยาแก้ปวด การผ่าตัดเหล่านี้มีความเสี่ยงต่ำ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงของคุณก่อนผ่าตัด

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือกับกระดูกหน้าแข้งหัก

ไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณจัดการกับอาการกระดูกหน้าแข้งหักได้

  • การเคลื่อนไหวช่วงแรก ได้แก่ การเคลื่อนไหวหัวเข่า ข้อเท้า เท้า และนิ้วเท้าจะช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวในขั้นเริ่มแรก เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแข็งตึง
  • กายภาพบำบัด หลังจากนำเฝือกหรือที่ดามขาออก จะช่วยฟื้นฟูความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของข้อต่อ และความยืดหยุดของร่างกาย
  • เดิน โดยใช้เครื่องช่วยเดิน หรือไม้ค้ำยัน หลังการรักษาเสร็จสิ้น

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ดีขึ้น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tibia (Shinbone) Shaft Fractures. http://www.medindia.net/patients/patientinfo/tibia-shinbone-shaft-fractures.htm. Accessed December 31, 2017

Everything You Need to Know About a Tibia Fracture. https://www.healthline.com/health/tibia-fracture. Accessed December 31, 2017

Tibia (Shinbone) Shaft Fractures. https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases–conditions/tibia-shinbone-shaft-fractures/. Accessed December 31, 2017

Tibial Shaft Fractures. https://www.orthobullets.com/trauma/1045/tibial-shaft-fractures. Accessed December 31, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Chayawee Limthavornrak


บทความที่เกี่ยวข้อง

ป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้ง่าย ๆ แค่เปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

กล้ามเนื้ออ่อนแรง MG และ ALS คืออะไร ต่างกันอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไข 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา