โรคกระดูกแบบอื่น

ในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น ร่างกายจะสร้างมวลกระดูกใหม่ได้เร็วกว่าสลายมวลกระดูกเก่า แต่หลังจากอายุเลย 20 ปี ร่างกายจะสูญเสียมวลกระดูกได้เร็วกว่าสร้างใหม่ ยิ่งหากคุณเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก เช่น ข้ออักเสบ เนื้องอกกระดูก กระดูกติดเชื้อ ก็ยิ่งส่งผลเสียต่อกระดูกได้มากขึ้น แต่นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมี โรคกระดูกแบบอื่น อีกหลายโรค ซึ่งเรานำข้อมูลมาฝากคุณแล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคกระดูกแบบอื่น

นักกีฬาควรรู้! ฟิตผิดวิธี อาจเสี่ยงเป็น โรคเข่าปูด โดยไม่รู้ตัว

อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะในนักกีฬา ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเสี่ยงเป็น โรคเข่าปูด โดยไม่รู้ตัว บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคเข่าปูดให้มากขึ้น จะมีสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันอย่างไร ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ ทำความรู้จักโรคเข่าปูด (Osgood-Schlatter’s Disease) โรคเข่าปูด (Osgood-Schlatter’s Disease) เป็นภาวะที่ทำให้ใต้หัวเข่ามีอาการปวด บวม ซึ่งเกิดจากแรงดึงของเส้นเอ็นกระดูกที่ยึดติดกับสะบ้าหัวเข่าและด้านบนของกระดูกหน้าแข้ง ส่งผลให้กระดูกหน้าแข้งอักเสบ  อย่างไรก็ตาม เข่าปูด มักพบในเด็กผู้ชาย ที่มีอายุระหว่าง 10-15 ปี ที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องวิ่งและกระโดดเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว เช่น กีฬาวิ่ง ฟุตบอล บาสเก็ตบอล บัลเลต์ เป็นต้น  โรคเข่าปูด มีสาเหตุและอาการอย่างไรบ้าง? เข่าปูด มักเกิดขึ้นขณะเล่นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิ่ง การกระโดด การงอ เป็นต้น ขณะที่เรากำลังวิ่ง กล้ามเนื้อขาจะหดตัว ส่งผลให้เอ็นตรงที่ยึดติดกับลูกสะบ้าหัวเข่าตึงรั้งกระดูกใต้เข่า ทำให้กระดูกบริเวณนั้นเกิดการแตกร้าวขึ้น รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อายุ เพศชายอายุระหว่าง 12-14 ปี เพศหญิงอายุ 10-13 ปี เพศ พบได้บ่อยในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง  กีฬา ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการวิ่ง […]

สำรวจ โรคกระดูกแบบอื่น

โรคกระดูกแบบอื่น

ภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูก (Achondroplasia)

ภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูกคืออะไรภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูก (Achondroplasia) เป็นโรคกระดูกที่เกิดจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่หาได้ยาก การเปลี่ยนรูปแบบของยีนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสถาวะร่างกายไม่สมส่วน มีอาการดังนี้คือ กระดูกอ่อนของผู้ป่วยไม่สามารถเปลี่ยนรูปร่างไปตามปกติ คนที่มีความผิดปกติของกระดูกมีลักษณะเตี้ย สูงประมาณ 131 เซนติเมตรในเพศชาย และ 124 เซนติเมตรในเพศหญิง ความผิดปกติของกระดูกสามารถสืบทอดมาจากพ่อแม่ได้ เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ (ประมาณ 80%) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม   อาการทั่วไปของภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูกความผิดปกติของกระดูกเป็นเรื่องธรรมดามาก โดยทั่วไปแล้วจะมีผลต่อเพศหญิงมากกว่าเพศชายและอาจส่งผลต่อผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการที่ควรรู้ ความผิดปกติของกระดูก มีอาการแบบไหนบ้าง อาการทั่วไปของภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูก คือ มีสัดส่วนเตี้ย ในเพศชายมีสัดส่วนประมาณ 131 เซนติเมตร ในเพศหญิงมีสัดส่วนประมาณ 124 เซนติเมตร มีแขนขาที่สั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแขนและต้นขา, การเคลื่อนไหวข้อศอกได้แคบ มีศีรษะที่โตกว่าธรรมดาและมีหน้าผากกว้าง มีนิ้วมือสั้น มือมีลักษณะสามง่ามเพราะนิ้วมือขดและนิ้วกลางผายออก ภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของกระดูก  คือ ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ การหายใจช้าหรือหยุดลงเป็นระยะเวลาสั้น โรคอ้วน การติดเชื้อที่หูเป็นประจำ อาการชักและอาการปวดหลัง กระดูกสันหลังตีบ ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ อาจมีอาการบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้นหากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ผู้รักษา คุณควรไปหาหมอเมื่อไรคุณควรไปหาหมอหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ มีสัดส่วนที่เตี้ยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของอายุและเพศ แขนและขาสั้นเมื่อเทียบกับความสูงของร่างกาย นิ้วสั้นและมือเป็นง่าม ศีรษะขนาดใหญ่ที่ไม่สมส่วนและหน้าผากใหญ่ผิดปกติ การหยุดหายใจ เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ และมีอาการหายใจช้า หรือหยุดหายใจ ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ ความยากในการเคลื่อนไหวข้อศอก มีโรคอ้วน การติดเชื้อที่หูกำเริบ หลังโก่งหรือหลังแอ่น สาเหตุภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูกความผิดปกติของกระดูกเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในยีน FGFR3 ที่ป้องกันไม่ให้กระดูกอ่อนปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างกระดูกในระหว่างการพัฒนาของทารกในครรภ์ ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรรู้สิ่งที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูก มีปัจจัยเสี่ยงบางประการสำหรับการเกิดภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูก เช่น เด็กที่พ่อแม่มีความผิดปกติของกระดูก เด็กที่พ่อแม่มียีน FGFR3 ในสายพันธุ์ อายุของฝ่ายบิดาสูง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำความเข้าใจการวินิจฉัยและการรักษาโรคข้อมูลในที่นี้ไม่สามารถทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ กรุณาปรึกษากับหมอของคุณทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติม ภาวะแคระแกร็นจากความผิดปกติของกระดูกวินิจฉัยอย่างไร ผิดปกติของกระดูกสามารถตรวจพบได้ในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร ระหว่างตั้งครรภ์ ภาพอัลตราซาวนด์สามารถตรวจจับลักษณะของความผิดปกติของกระดูกได้ เช่น ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ หรือหัวขนาดใหญ่ผิดปกติ การทดสอบทางพันธุกรรม สามารถสั่งให้ตรวจได้ในกรณีที่สงสัยว่าเกิดความผิดปกติของกระดูก โดยการสุ่มตัวอย่างโพรงมดลูกกับเนื้อเยื่อรก หรือการเจาะนํ้าครํ่าไปตรวจ หลังจากที่เด็กคลอดแล้ว การตรวจความผิดปกติของกระดูกสามารถทำได้โดยพิจารณาจาก ลักษณะทางกายภาพทั่วไป เอ็กซเรย์ อัลตราซาวนด์ และเทคนิคการถ่ายภาพอื่นๆ เพื่อวัดความยาวของกระดูกของเด็ก การตรวจเลือดเพื่อค้นหายีน FGFR3 ความผิดปกติของกระดูกรักษาได้อย่างไร ยังไม่มีการรักษาเฉพาะทาง […]


โรคกระดูกแบบอื่น

กระดูกบาง (Osteopenia)

กระดูกบาง เป็นอาการที่กระดูกสูญเสียความหนาแน่น ทำให้กระดูกบาง เปราะง่าย อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมกับวัยที่มากขึ้น และเป็นสัญญาณสัญญาณที่บอกว่ากระดูกของคุณกำลังอ่อนแอ หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกว่า เช่น โรคกระดูกพรุนได้ คำจำกัดความโรคกระดูกบาง คืออะไร กระดูกบาง (Osteopenia) เป็นอาการทางพยาธิวิทยาของกระดูกที่สูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูก เป็นสัญญาณว่ากระดูกกำลังอ่อนแอลงเรื่อยๆ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ หากคุณเป็นโรคกระดูกบาง ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะต่ำกว่าปกติ โดยความหนาแน่นของมวลกระดูกของมนุษย์จะอยู่ในระดับสูงสุดในช่วงอายุประมาณ 35 ปี ส่วนใหญ่แล้ว โรคกระดูกบางมักจะพัฒนาไปเป็นโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม โรคกระดูกบางพบได้บ่อยแค่ไหน โรคกระดูกบางพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือที่เรียกว่าวัยทอง มักไม่พบในคนวัยหนุ่มสาว ยกเว้นในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยง อาการอาการของโรคกระดูกบางคืออะไร ความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ลดลงนั้น ไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกบางจึงมักไม่แสดงอาการใดๆ และอาจรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ก็ต่อเมื่อกระดูกหัก ซึ่งส่วนใหญ่แม้ผู้ป่วยโรคกระดูกบางจะเกิดปัญหากระดูกหัก ก็มักไม่รู้สึกเจ็บปวดเช่นกัน หากมีข้อสงสัยใดๆ หรือต้องการข้อมูลเกี่ยวกับอาการของโรคกระดูกบางเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับกระดูก หรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุสาเหตุของโรค กระดูกบาง เมื่อคนเราอายุมากขึ้นกระดูกย่อมบางลงตามธรรมชาติ โดยกระบวนการนี้มักจะเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงวัยกลางคน ซึ่งเซลล์สลายตัวรวดเร็วขึ้น และสร้างเซลล์ใหม่ช้าลง กระดูกเปราะบางมากขึ้น ทำให้กระดูกของเราเริ่มสูญเสียแร่ธาตุ มวลกระดูก และโครงสร้าง จนกระดูกเริ่มอ่อนแอลงและเสี่ยงแตกหักได้ง่ายกว่าเดิม นอกจากนี้ การรักษาโรค หรือภาวะโรคบางประการก็สามารถทำให้เกิดโรคกระดูกบางได้เช่นกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกบาง ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกบาง […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม