Body Fat หรือ ไขมันในร่างกาย เป็นการสะสมของไขมันที่เกิดจากการรับประทานอาหารเข้าไปในแต่ละมื้อ โดยไขมันเหล่านี้ไม่มีการเผาผลาญเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน การมี Body Fat จำนวนมาก อาจสร้างความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรังที่มีความรุนแรงได้ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ
[embed-health-tool-bmi]
ทำความรู้จักกับ Body Fat
Body Fat หรือ ไขมันในร่างกาย เป็นการสะสมของไขมันที่เกิดจากการรับประทานอาหารเข้าไปในแต่ละมื้อ โดยไขมันเหล่านี้ไม่มีการเผาผลาญเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน จึงอาจทำให้มีการสะสมของไขมันเกาะอยู่ใต้ผิวหนังตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา รอบเอว ที่สำคัญ ไขมันในร่างกาย มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ได้แก่
- ไขมันขาว
- ไขมันสีเบจ
- ไขมันจำเป็น
- ไขมันใต้ผิวหนัง
- ไขมันในช่องท้อง
สำหรับบางคน การมี Body Fat จำนวนมาก อาจสร้างความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรังที่มีความรุนแรงได้ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ ซึ่งโรคที่กล่าวมาเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ยาก และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
การคำนวณ Body Fat ประเภทต่าง ๆ
การคำนวณ Body Fat จำเป็นต้องใช้วิธีการหาค่าดัชนีมวลกาย ซึ่งเป็นเทคนิคการประเมินร่างกายเบื้องต้นว่ามีน้ำหนักที่จัดอยู่ในเกณฑ์ตามมาตรฐานหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถใช้คำนวณกับผู้ที่อยู่ในภาวะน้ำหนักน้อย และน้ำหนักเกิน ได้อีกด้วย สำหรับเทคนิคการคำนวณต่าง ๆ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
- การวัดรอบเอว เป็นวิธีที่คุณสามารถตรวจสอบได้เองด้วยการนำสายวัดเอวมาพันรอบเอว โดยให้ต้นสายอยู่ระหว่างกึ่งกลาง หรือตรงสะดือ สำหรับเพศชายหากวัดได้ 94-102 ซม. (37-40 นิ้ว) อาจต้องได้รับการลดน้ำหนักอย่างเร่งด่วน เช่นเดียวกันกับผู้หญิงที่มีรอบเอว 80-88 ซม. (31.5-34 นิ้ว)
- ใช้เครื่องวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง การวัดไขมันด้วยวิธีนี้อาจมีเครื่องมือที่มีชื่อเรียกว่า FAT Caliper เข้ามาช่วย โดยเป็นการวัดไขมันบริเวณหน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา หรือตามส่วนต่าง ๆ ที่มีไขมันสะสม แต่ถึงอย่างไรผลลัพธ์ที่ได้อาจมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจาก เป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้แรงบีบซึ่งแต่ละครั้งที่ทำการวัดอาจใช้แรงบีบได้ไม่เท่ากัน
- นำน้ำหนัก และส่วนสูงมาคำนวณ นับว่าเป็นวิธีที่ผู้คนนิยมนำมาหาค่าดัชนีมวลกายมากที่สุด เพราะเนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และใช้เวลาไม่นานในการคำนวณ
สำหรับวิธีการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย สามารถทำได้ตามตัวอย่างต่อไปนี้
น้ำหนัก = 68 กก. ส่วนสูง 165 แปลเปลี่ยนใส่จุดทศนิยมก่อนนำมาคำนวณจะได้ 1.65 ซม.จากนั้นให้นำ 68 ÷ (1.65) 2 = 24.98 แต่การที่จะรู้ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่มีน้ำหนักปกติหรือไม่นั้น สามารถนำมาเทียบได้จากตารางด้านล่างนี้
ค่าดัชนีมวลกาย | สถานะของน้ำหนัก |
ต่ำกว่า 18.5 | น้ำหนักน้อย (ควรได้รับการเพิ่มน้ำหนัก) |
18.5-24.9 | น้ำหนักปกติ |
25.0-29.9 | น้ำหนักเกิน |
30.00 ขึ้นไป | อ้วน (ควรได้รับการลดน้ำหนัก) |
หากจะให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำมากขึ้น อาจต้องขอเข้ารับการตรวจทดสอบ และวัดปริมาณไขมันสะสมจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพราะหากอยู่ในเกณฑ์ตัวเลขเกินมาตรฐานที่กำหนด คุณหมออาจมีการวางแผนในการลดน้ำหนัก และลดไขมันร่วมด้วย