backup og meta

หนังปลา มีประโยชน์ต่อสุขภาพไหม กินบ่อยๆ จะดีหรือเปล่า?

หนังปลา มีประโยชน์ต่อสุขภาพไหม กินบ่อยๆ จะดีหรือเปล่า?

หนังปลาทอดกรอบ หรือ หนังปลาอบกรอบ ของว่างเรียกน้ำย่อยที่ใครหลายต่อหลายคนติดอกติดใจ เพราะทั้งกรอบ ทั้งอร่อย แต่…เราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า หนังปลา ที่กินกันอยู่ทุกวันนี้เนี่ย จริงๆ แล้วเราควรกินรึเปล่า หรือกินแล้วจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพบ้างไหม ถ้าเกิดสงสัยล่ะก็ เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันกับ Hello คุณหมอ ที่บทความนี้กันเลยค่ะ

เราสามารถกิน หนังปลา ได้หรือเปล่า?

หนังปลา คือ ส่วนที่อยู่ภายนอกสุดของเนื้อปลาหลังจากที่ทำการขอดเกล็ดปลาออกไปแล้ว ซึ่งเป็นส่วนที่ขึ้นอยู่กับความชอบและไม่ชอบส่วนบุคคล เพราะบางคนก็ชอบกินหนังปลา แต่บางคนก็ไม่ชอบ และเหตุผลที่ชอบหรือไม่ชอบนั้นก็มักจะแตกต่างกันไปด้วย

อย่างไรก็ตาม อาจจะเกิดคำถามขึ้นมาว่า แล้วหนังปลาสามารถกินได้หรือเปล่า? กินแล้วจะเป็นอันตรายไหม? ก่อนอื่นต้องกล่าวถึงก่อนว่าเนื้อปลาเป็นแหล่งของสารอาหารสำคัญสำหรับร่างกาย ทั้งโปรตีน กรดไขมันที่มีประโยชน์ รวมถึงวิตามินและแร่ธาตุจำเป็นอีกมากมาย ซึ่งแน่นอนว่า หนังปลาก็เป็นส่วนที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์เช่นเดียวกันกับเนื้อปลา แต่อาจจะอยู่ในปริมาณที่น้อยกว่าเนื้อปลา

นอกเหนือไปจากสารอาหารที่มีประโยชน์แล้ว สิ่งที่อาจจะปนเปื้อนอยู่ในเนื้อปลาและหนังปลาก็คือสารพิษต่างๆ ทั้งจากแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา จากแหล่งซื้อขายหรือส่งออกปลา ที่อาจจะทำให้มีการปนเปื้อนสารพิษได้ แต่…ถ้าเนื้อปลาและหนังปลาผ่านการล้างทำความสะอาดเป็นอย่างดี และผ่านกรรมวิธีการปรุงสุกอย่างเหมาะสม เราก็สามารถรับประทานทั้งเนื้อปลาและหนังปลาได้อย่างปลอดภัย

ประโยชน์ของ หนังปลา

ทั้งเนื้อปลาและหนังปลาต่างก็อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ปลาที่ต่างชนิดกันก็อาจจะให้สารอาหารที่แตกต่างกันบ้าง ซึ่งโดยมากแล้วไม่ว่าจะเป็นปลาชนิดไหนทั้งเนื้อปลาและหนังปลามักจะให้สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพคล้ายกัน ดังนี้

ซึ่งแน่นอนว่าจากสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการนี้ ก็จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างสุขภาพดี อย่างเช่น

  • โปรตีน ก็จะช่วยในการสร้างมวลกล้ามเนื้อ เสริมพลังงาน 
  • กรดไขมันโอเมก้า 3 ก็จะช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ เสริมการทำงานของระบบประสาทและสมอง
  • วิตามินดี ช่วยเสริมสร้างการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง
  • ไอโอดีน ช่วยเสริมสร้างการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคคอพอก

นอกเหนือไปจากคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ในปัจจุบันนี้เรายังอาจผ่านหูผ่านตากับการนำหนังปลามาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์เพื่อใช้รักษาและบรรเทาบาดแผลที่ถูกไฟไหม้ โดยจากผลการทดลองของดร.เจมี่ เพย์ตัน (Dr. Jamie Peyton) หัวหน้าฝ่ายบริการทางการแพทย์แบบผสมผสานแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากทีมนักวิจัยในบราซิลที่ริเริ่มนำเอาหนังปลานิลมาใช้เพื่อรักษาแผลไฟไหม้

ดร.เจมี่จึงได้ทดลองนำหนังปลานิลมาทดลองใช้รักษาแผลไฟไหม้ให้กับหมีที่ถูกไฟครอก และหลังจากมีการทดสอบแล้ว พบว่าหนังปลามีส่วนช่วยลดหรือบรรเทาอาการเจ็บปวดของบาดแผลได้ดี หนังปลานิลมีกระบวนการในการส่งผ่านคอลลาเจนเพื่อใช้รักษาบาดแผล ทั้งยังให้ผลการรักษาที่เป็นไปในทางบวกและช่วยสมานแผลได้เร็วขึ้นกว่าที่คาดคิดด้วย

อย่างไรก็ตาม คุณประโยชน์ของหนังปลาสำหรับใช้ในวงการแพทย์ก็ยังคงได้จะต้องมีการค้นคว้าและศึกษาถึงประโยชน์ต่อไป เพื่อที่ในอนาคตจะได้มีการนำหนังปลามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์กันอย่างกว้างขวาง และแน่นอนว่ากระบวนการรักษาบาดแผลด้วยวิธีนี้ ควรจะได้รับการรักษาผ่านแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ไม่สามารถทำได้เองที่บ้าน

วิธีปรุงหนังปลาให้อร่อยและดีต่อสุขภาพ

โดยทั่วไปแล้วหนังปลานั้นสามารถนำมาปรุงได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การทอด หรือ การย่าง เพื่อให้ได้รสสัมผัสที่กรอบ ซึ่งหลายคนชอบการปรุงหนังปลาด้วยการทอดมาก เพราะได้ทั้งความกรอบ และได้รสชาติจากเครื่องปรุงที่หมักหรือผสมลงไปในหนังปลา

นอกจากนี้ก็ยังสามารถนำไปต้ม ไปนึ่ง เพื่อให้ได้สัมผัสที่นุ่ม ซึ่งหลายคนก็ชอบเพราะให้รสสัมผัสที่ละมุนลิ้น แต่หลายคนก็อาจจะไม่ชอบในแง่ที่ว่าหนังปลาเมื่อนำมาต้มหรือนึ่งแล้ว ให้ความรู้สึกลื่น ติดฟัน หรือมีรสสัมผัสที่ไม่ตรงใจเท่าที่ควร

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะปรุงหนังปลาด้วยวิธีใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือความสะอาด หนังปลาจะต้องล้างทำความสะอาดอย่างหมดจดเพื่อป้องกันสารพิษตกค้าง รวมถึงยังต้องระวังเรื่องเครื่องปรุงที่มีโซเดียมสูง โดยเฉพาะหนังปลาที่นำไปทอด เพราะมักจะใส่เครื่องปรุงจำพวกโซเดียมเยอะ ซึ่งอาจจะทำให้ร่างกายสะสมโซเดียมไว้ในปริมาณที่สูง หากมีการปรุงด้วยเกลือหรือโซเดียมมากเกินไป หรือกินหนังปลาที่ปรุงด้วยโซเดียมเยอะจนเกินไป

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Can You Eat Fish Skin, and Is It Healthy?. https://www.healthline.com/nutrition/fish-skin. Accessed on September 30, 2020.

Fish Skin: Healthy or Not?. https://www.drweil.com/diet-nutrition/nutrition/fish-skin-healthy-or-not/. Accessed on September 30, 2020.

Is It Healthy To Eat Fish Skin?. https://www.medicaldaily.com/it-healthy-eat-fish-skin-453125. Accessed on September 30, 2020.

Can you eat salmon skin?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/320838. Accessed on September 30, 2020.

How using fish skin to heal burn wounds actually works. https://abcnews.go.com/Health/fish-skin-heal-burn-wounds-work/story?id=57122126. Accessed on September 30, 2020.

By the Skin of Tilapia: Fish Skin Bandages Help Heal Canine Burn Victims. https://www.akc.org/expert-advice/news/fish-skin-bandages-heal-canine-burn-victims/. Accessed on September 30, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/10/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักกับ มังสวิรัติปลา (Pescatarian Diet) มังสวิรัติที่ไม่กินเนื้อ แต่ยังกินปลา

คนรักแซลมอนต้องรู้ กินแซลมอน แบบไหน ถึงจะดีต่อสุขภาพที่สุด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 06/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา